Skip to main content

20080408 1

ขบวนรถด่วนยาวเหยียดปล่อยสองพ่อลูกลงสถานีพัทลุง   กระเป๋าเป้ใบใหญ่อย่างกับบ้านย่อมๆ  ทุกอย่างยัดอัดแน่นอยู่ในนั้น   ถ้ามีห้องน้ำยัดใส่เข้าไปได้  ผมก็คงจับยัดลงไปด้วยอยู่หรอก  อีกทั้งกล่องกระดาษ  กระเป๋าใส่ของฝาก  พะรุงพะรังอยู่ในอาการโกลาหลอยู่พักใหญ่  กว่าทุกอย่างจะวางกองอยู่ในความสงบ  

20080408 2

ที่นี่ที่ไหน  ไปไหน  ไปอย่างไร  ไปไกลมั้ย ..  เหล่าคำถามนั้น  เจ้าลูกชายถามเป็นข้าวตอก   ต่อเมื่อผมชี้ให้ดูรถโดยสารธรรมดาที่จอดนิ่งสงบดำมืดอยู่บนราง  อย่างกับสัตว์โบราณกบดานเงียบ  ดูไม่มีพิษภัย  รอเวลาตื่นขึ้นรับแดดเช้าเพียงเท่านั้น   

หรือจะบอกว่า  มันเป็นรถจักรหัวเก่าแก่ชราภาพเต็มที   ราวกับมันจะจมอยู่ในความเงียบมานานนับศตวรรษ   จอดนิ่งกับที่  ไม่ส่งเสียงใดๆ
รอจนกว่ารถด่วนอีกขบวน  รถเร็วอีกขบวนจากกรุงเทพ  แซงหน้าผ่านไป   มันจึงจะตื่นด้วยสำนึกคำรามเป็นครั้งแรก   สั่นสะเทือนไปทั่วอาณาบริเวณ 
นั่นเอง  รถไฟโดยสารชั้นธรรมดา  ต้นทางพัทลุง  มุ่งสู่ปลายทางสุไหงโกลก     
ชาวบ้านรู้จักในชื่อ รถโกลก     

ช่องขายตั๋วเริ่มเปิดบริการ  คนเดินออต่อคิวยาวซื้อตั๋ว  ดูหน้าตาคนซื้อส่วนใหญ่ขรึมเงียบ  เป็นชาวบ้านชาวสวนมากกว่าจะเป็นคนประกอบอาชีพอื่นใด  ต่อเมื่อใครคนหนึ่งคนใดจะเจอเพื่อน เจอญาติ  เจอคนรู้จักจึงจะได้ยินเสียงพูดกันดัง  พูดเรื่องอะไรก็ตาม  เผื่อแผ่หูคนรอบข้างได้อย่างทั่วถึง   ใครเจ็บใครตายใครแต่งงานที่ไหน  ลูกหลานใคร  เราจะได้ยินกันชัดเจน

ถึงแล้วครับ บ้านเกิดผมเอง ผมถึงเข้าใจและคุ้นเคยอารมณ์ความรู้สึกเช่นนี้ เสียงดูไม่มีพิษภัยกับใคร    กระทบกระเทียบใครก็เปิดออกมาให้รู้ในที่แจ้ง   

ขณะผมนั่งจดจ่อมองคนขายตั๋ว  ที่กำลังสั่นหน้าใส่หญิงชราคนหนึ่ง  แกเข้ามาถามเป็นครั้งที่สอง  ว่าเป็นตั๋วรถโดยสารธรรมดาหรือเปล่า   แต่คนขายตอบกลับไปครั้งหนึ่งแล้วว่า   ขายตั๋วรถเร็วก่อน

“รถป้าจะขายเมื่อไร”  เสียงยายพูดเน้นย้ำคำ
“ต้องท้าก่อน” (คอยก่อน) เสียงตอบมาไม่ยิ้ม
“ขายไม่ขายก็บอกแหละ” ..
เสียงยายบ่นพึมพัมออกมาอย่างไม่สบอารมณ์   คนอื่นๆยืนรุมมองส่งสายตาเห็นใจ  อย่างกับยืนดูละครฉากผ่านไปตอนอื่นๆ

พอถึงคิวยายจริงๆ  ยายล้วงเอาเหรียญจากกระเป๋านานมาก   นานจนคนต่อท้ายเริ่มร้อนรน  คนขายตั๋วก็สั่นหัวไปมา

คอยเหรียญออกมาจากกระเป๋ายาย ..
“ลงไหนยาย” เสียงหนึ่งถาม
“ควนเคี่ยมลูกเหอ”  เสียงยายตอบแล้วเดินจากไป

เสียงขายตั๋วทำให้ผมนึกถึงการตีตั๋วในอดีต  เสียงตึงๆ  เป็นเสียงกระแทกของแข็ง  ตัดตั๋วกระดาษหนาๆสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลเท่ากำมือรอบ  กลับกลายเป็นเสียงวิ่งของเครื่องกลอิเลคโทรนิกส์  แล้วแผ่นกระดาษยาวๆก็ลอดออกมาจากเครื่อง  

ผมได้ตั๋วในราคา  8 บาท  เด็ก 4 บาท  ราคาถูกน่าตกใจ  รถไฟบริการประชาชนน่าจะจริงเป็นแน่แท้  หากมันจะถูกกว่านี้  ก็คงต้องแถมน่องไก่ทอดฟรีอะไรทำนองนั้น

ผมบอกลูกชายว่า  เราต้องนั่งรถขบวนนี้ไปอีกราวเกือบชั่วโมง “ก็จะถึงบ้านเกิดพ่อแล้ว”        
“ทำไมไม่ไปรถที่เรามาล่ะ”
ลูกชายช่างถาม
“มันไม่จอดป้ายสถานี”
“เพราะอะไรเหรอ”
“ป้ายมีไว้ให้รถไฟธรรมดาจอด”
“อ๋อ” ..


ผมนั่งมองเขาอกทะลุผ่านอากาศมัวซัวตอนเช้า  ขณะรอรถไฟออกจากสถานี   สัญลักษณ์ของจังหวัดตั้งตระหง่านใหญ่ยักษ์อยู่ใกล้ๆ   ยอดเขาหินปูนที่ยืนสู้แดดลมฝนมานานอย่างไม่อาจย้อนเวลาก่อเกิดอันแน่นอน  

20080408 3

ตำนานเรื่องเล่าแทนยอดเขาอกทะลุมีชีวิต   อกทะลุอันมาจากสากทิ่มตำ  กลายเป็นยอดอกทะลุมาจนถึงทุกวันนี้   ผมคงไม่ได้แวะหยิบเอาเกล็ดเรื่องที่มา  เล่าไว้ตรงนี้  แต่ลูกหลานพัทลุงล้วนได้ชิมลางเรื่องเล่าความหมายสัญลักษณ์เขาอกทะลุ   

และผ่านมาชะเง้อมองนับครั้งไม่ถ้วน

ผมผ่านมาแค่ชะเง้อมองตั้งแต่จำความได้   ยืนอยู่มุมไหนของเมือง  มักจะเห็นยอดเขาอกทะลุ  ยืนอยู่บนถนนโคลีเซียมตามเรื่องสั้นของ กนกพงศ์  สงสมพันธุ์  ก็ยังมองเห็นยอดอกทะลุได้ชัดเจน   หนังสือรวมเรื่องสั้น แผ่นดินอื่น ที่ผมพกมาด้วย  คงได้อ่านนึกย้อนถนนโคลีเซียม

20080408 4

พอรถออกจากสถานี  เสียงโครมครามๆ  ผ่านหน้าเขาอกทะลุ  ลมเช้าตีเข้ามาทางหน้าต่าง  ตึงตังๆ โครมๆ ฉั่กๆๆ ครือๆๆ  นั่งนับสถานีที่เหลืออยู่
       

บล็อกของ ชนกลุ่มน้อย

ชนกลุ่มน้อย
ห้องครัวซ้อมดนตรี ถึงเพลงบันนังสตา บ้านเช่าบ้านไม้เป็นบ้านชาวนาในหมู่บ้านแม่เหียะ ชานเมืองเชียงใหม่   ห้องครัวคือห้องทำงาน  ห้องนอนบางเวลา  ห้องซ้อมดนตรี   ห้องนั่งเล่นและห้องรับแขก 
ชนกลุ่มน้อย
ประชาชน  สัตว์เลี้ยงของแวมไพร์
ชนกลุ่มน้อย
สองทุ่ม   อังคารที่ 16 มีนาคม  2553   นักดนตรีในเชียงใหม่  และคนในแวดวงหนังสือ ศิลปะ  นัดรวมตัวกันที่ร้านสุดสะแนน  ร่วมรำลึกถึงการจากไปของ ”จ่าเพียร”(พ.ต.อ สมเพียร เอกสมญา) วีรบุรุษแห่งเทือกเขาบูโด  ด้วยสายสัมพันธ์กับไวล์ดซี๊ด (ชุมพล  เอกสมญา) ลูกชายจ่าเพียรที่ผ่านมาเล่นดนตรีในเชียงใหม่อยู่เสมอๆ   เยียวยาจิตใจเมล็ดเถื่อนจากบันนังสตา  ร่วมรำลึก ...   
ชนกลุ่มน้อย
ขอต่อยาวสาวความยืดถึงน้ามาดบางมุมดูหน้าดุ เวลาเดินเหมือนนุ่นลอยอีกหน่อย อย่างที่บอกไว้ บุรุษไร้นาม(และหนาม)ตามใจคนนี้ อย่าให้นั่งหน้าทับหน้าหนังกลองแล้วกัน ความจืดของหน้าจะถูกขับออกมาอย่างเผ็ดร้อน ไม่เรียบเฉยปล่อยวางอีกแล้ว บางด้านดูดุเทียบได้ใบหน้าเสือจ้องขบ กลับเกลี่ยเสียใหม่ เป็นเสียงทะลวงไส้พุงเร้าใจผิดหน้าผิดหูผิดตาไปทันที
ชนกลุ่มน้อย
  “เลสาปหน้าร้อนเปื่อยหมดแล้ว” ประโยคนี้ถ้าเขียนใหม่ตามภาษาบรรพบุรุษของใต้สวรรค์ ต้องบอกว่า เลสาปหน้าร้อนเปื่อยแผล็ดๆ เหตุที่เปื่อยเห็นด้วยตา ถ้าพูดผ่านปากของบ่าวทอง ต้องเริ่มต้นว่า“ที่จริง”เช่นเคย “ที่จริงมันไม่เปื่อยหร็อก ที่มันเปื่อยเพราะเลกลายเป็นโคลน เปื่อยแผล็ดๆไปทั้งเล” …
ชนกลุ่มน้อย
  สวรรค์ปักษ์ใต้มีสะตอกับลูกเนียงรวมอยู่ด้วย หรอยที่สุดต้องเหนาะ(จิ้ม)กับน้ำชุบ(น้ำพริก-ต้องกะปิเท่านั้น) หรือกินกับแกงคั่ว คั่วกะทิหรือแกงคั่วเผ็ดไม่กะทิ เผ็ดร้อนไม่แพ้ขาดเหลือกันนัก ไม่มีใครบอกว่าพริกพัทลุงหรือพริกนครศรีธรรมราช เผ็ดแรงร้อนกว่ากัน...
ชนกลุ่มน้อย
นักดนตรีกลุ่มนี้ขับเคลื่อนด้วยความรัญจวนจากฤดูความว่างของชีวิต ออกไปเล่นดนตรีบรรเลงชีวิตร่วมกัน หรือจะพูดอีกที การมาถึงของพวกเขาใต้สวรรค์ ไม่ต่างจากฝูงปลาดุกหนีน้ำแถกเหงือกมาหากันในช่วงหน้าแล้ง หนวดยั้วคลุกนัวกันมาบนโคลนเปียกๆ เหนียวเหนอะไปยังถิ่นที่คาดว่าจะมีน้ำ สีผิวฝูงปลาดุกเลื่อมมันน่าเกรงขาม
ชนกลุ่มน้อย
คำ  สุวิชานนท์ รัตนภิมล และคำของอา' รงค์ ทำนอง  สุวิชานนท์  รัตนภิมล
ชนกลุ่มน้อย
ลมบาดหิน ของอา… “ผู้ชายคนนั้นกับผู้หญิงของเขาตัดสินใจแรมคืนในกระโจม(เต็นท์) เขาพบว่าการเสียบก้านปลั๊กตัวผู้ลงในรูปลั๊กตัวเมียเพื่อต้มน้ำกับกาไฟฟ้านั้นเป็นความสะดวกสบายของคนในทาวน์เฮาส์ที่กรุงเทพฯ และอย่างน่าอิจฉา แต่การมองหาก้อนหินนำมาวางเป็นก้อนเส้า กิ่งไม้ง่ามปักกับดินแล้วพาดราวแขวนหม้อและริ้วชิ้นวัวฝานหมักเกลือ ก่อกองไฟและต้มกาแฟ นี้เป็นบางแบบของชีวิตซึ่งผู้ชายควรเรียนรู้...”
ชนกลุ่มน้อย
พอออกมาจากห้องฝึกเรียนไวโอลินกลางเมืองเชียงใหม่  ผมบอกเจ้า 9 ขวบว่าไปเยี่ยมคุณลุงหน่อยนะ   เจ้าเก้าขวบถามทันทีที่ไหน  ผมตอบกลับวัดเจดีย์หลวง  ไปทำอะไรเหรอ เขาสงสัย  อยากไปเยี่ยม พ่อไม่ได้เข้าไปนานแล้ว
ชนกลุ่มน้อย
  ในห้องทำงาน โต๊ะเขียนหนังสือ เก้าอี้ไม้ไม่เหมือนวันก่อน หนังสือเล่มใหม่หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนเล่มมาวาง ชั้นหนังสือเรียงตามกัน โน้ตสั้นๆ เขียนถึงเวลานัดหมาย เวลาส่งงาน หมายเลขโทรศัพท์ ม้านั่งไม้ไว้นอนเอกเขนก โคมไฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดีด โต๊ะกลม กีตาร์ กล้องถ่ายรูป รูปภาพบนผนัง ...
ชนกลุ่มน้อย
  ในชีวิต ณ ปัจจุบัน ผมไม่นึกไม่ฝันว่าจะมาข้องเกี่ยวกับเครื่องดนตรีชื่อ ไวโอลิน และยิ่งไม่เคยนึกว่าวันหนึ่ง จะมีไวโอลินมานอนอยู่ในห้อง ตั้งวางอยู่ข้างตัว รวมถึงได้ยินมันส่งเสียงทุกวันตอนย่ำค่ำ