Skip to main content
 

นพพร ชูเกียรติศิริชัย  

 

บางครั้งผมก็รู้สึกเบื่อหน่ายที่จะต้องหอบสัมภาระมากมายเข้าไปในโรงภาพยนตร์

ปัจจุบันผมแอบสงสัยว่าเหตุใดความสุขในการชมภาพยนตร์แบบเมื่อครั้งยังเป็นเด็กจึงสูญหายไป จนเมื่อมีโอกาสชมภาพยนตร์เรื่องสะบายดีหลวงพระบาง'จึงทำให้ผมรับรู้ว่าแท้จริงแล้วความสุขในวัยเด็กของผมไม่ได้หายไปไหน แต่หนังสือ ตำรา คำวิพากษ์วิจารณ์ ที่ผมแบกเอาไว้ในสมองต่างหากที่บดบังความสุขแบบที่เราคุ้นเคย

 

จริงอยู่ที่ใครบางคนอาจจะมองว่าการที่เขาสามารถจะวิพากษ์วิจารณ์และจับผิดคนอื่นนั้น คือความสุขประการหนึ่ง และนั่นก็ทำให้เรารู้สึกว่าเราฉลาดกว่าคนอื่นๆ แต่ขณะเดียวกัน การที่ปล่อยให้สารต่างๆ ไหลผ่านหูผ่านตาโดยไม่ต้องใช้เครื่องกรองมันก็ทำให้เรารับรู้ว่าอย่างน้อยเราก็ยังเป็นส่วนหนึ่งในสังคมนั้นๆ

หากจะให้พูดกันตรงๆ ในความคิดของผม ผมมองว่า การมัวนั่งวิเคราะห์วิจารณ์ฝีมือของคนอื่น โดยที่เราไม่สามารถผลิตงานแข่งกับเขาได้นั้นเป็นการเอาเปรียบผู้สร้างไปนิด (ในการหากินกับงานของเขา เธอ และอื่นๆ) ผมจึงพยายามหลีกเลี่ยงที่จะบอกว่าหนังเรื่องนั้นดี หรือไม่ดี และต้องการนำเสนอเพียงว่าผมได้อะไรจากหนังเรื่องนั้น (แต่คุณก็ไม่จำเป็นต้องได้แบบที่ผมได้ก็ได้)

ผมชอบความเป็น โพสต์โมเดิร์น' (แม้ว่าจะอ่านหรือรู้จักมันน้อยมาก) ตรงที่ว่า อย่างน้อยมันก็เป็นเครื่องมือที่ทำให้ ใครๆ' ก็สามารถพูดถึงประเด็นหนึ่งๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็น ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ' (ไม่รู้เข้าใจผิดไปเองหรือเปล่า?) นั่นหมายความว่าคนโง่ๆ อย่างผมก็คงไม่จำเป็นจะต้องไปเข้าไปเรียนปริญญาโทในมหาวิทยาลัย แล้วจึงจะสามารถมานั่งวิเคราะห์เรื่องนั้นเรื่องนี้ได้

เพราะฉะนั้นผมจึงไม่เห็นด้วยกับใครก็ตามที่พยายามบอกว่าตนเองเป็นนักวิชาการหัวก้าวหน้า หรือเป็นโพสต์แต่ว่าพยายามที่จะหากรอบมาครอบชาวบ้าน เช่น "คุณควรจะไปอ่านหนังสือเรื่องนั้นเรื่องนี้ก่อน คุณจึงจะสามารถพูดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้ได้ ไม่งั้นคุณก็โง่เกินไป"  ซึ่งบางครั้งสิ่งเหล่านี้ก็ทำให้ผมคลื่นเหียนอยากจะอาเจียน

เกริ่นมาเสียยืดยาว จนเกือบจะเลยหลวงพระบาง...

หลายปีมาแล้วที่ผมเคยมีโอกาสนั่งเรือล่องแม่น้ำโขงเพื่อสัมผัสกับบรรยากาศของสองฟากฝั่ง (แม้จะยังไม่เคยมีโอกาสไปเยี่ยมเยียนหลวงพระบาง) การเดินทางในครั้งนั้นทำให้ผมรับรู้ว่าบางครั้งการเป็น คนแปลกหน้า' ในสถานที่ซึ่งอบอวลไปด้วยธรรมชาติ ก็ทำให้เราสามารถสืบค้นและตั้งคำถามเกี่ยวกับความต้องการภายในจิตใจของตนเอง

ภาพยนตร์เรื่อง สะบายดีหลวงพระบาง' ค่อยๆ นำความทรงจำที่เรียบง่ายของคนริมฝั่งโขงกลับมายังมันสมองของผมอย่างช้าๆ จนกว่าจะรู้สึกตัวอีกทีผมก็หลงคิดไปว่าตนเอง คือ สอน' (รับบทโดย อนันดา เอเวอริ่งแฮม) ช่างภาพหนุ่มเมืองกรุง ผู้ถูกส่งไปยังประเทศลาวเพื่อตามหา ชีวิต' ให้กับ ภาพถ่าย' ของเขา แม้รูปร่างหน้าตา (ของผม) จะผิดแผกแตกต่างจาก อนันดา' อย่างลิบลับ แต่ผมกลับรู้สึกว่า ความเป็นคนแปลกหน้า' หรือ ความเป็นอื่น' ใน ช่วงขณะหนึ่ง' คือสิ่งที่ช่วยเชื่อมโยงโลกของผมกับโลกของตัวละครในภาพยนตร์ให้บรรจบพบเจอกัน แม้การเดินทางของผมในครั้งนั้นจะไม่มีโอกาสพบเจอกับ น้อย' (รับบทโดย คำลี่ พิลาวง)  ไกด์สาว ผู้นำ สอน' ให้ค้นพบกับ ส่วนหนึ่งของชีวิต' ที่เขาหลงลืมไปก็ตาม

ผมประทับใจในกลวิธีการเล่าเรื่องเรียบๆ ที่คละคลุ้งไปด้วยบรรยากาศแบบลาวๆ (ไม่รู้คิดไปเองหรือเปล่า) ที่ไม่ต้องสวยมาก และไม่ต้องใสซื่อไปทั้งหมด

เพราะในมุมหนึ่งขณะที่ภาพยนตร์เรื่องนี้พยายามจะนำเสนอ ความเป็นลาว' ผ่าน วิถีชีวิตที่เรียบง่าย' ของชาวบ้าน และ ความน่ารัก' จริงใจ' ผ่านตัวละครอย่าง น้อย' แต่ในอีกมุมหนึ่ง ความเป็นคนชนชั้นกลาง' ของ น้อย' (นิยามของผู้เขียน) คือ ความเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูง และไม่ได้อยู่ในสถานะผู้ผลิต (อาชีพเกษตรกรรม) ก็ช่วยเติมเต็ม ความเป็นลาว' ในยุคโลกาภิวัตน์ ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

และถึงแม้ว่าแม่หญิงลาวอย่าง น้อย' จะยังคงความจริงใจ และยึดมั่นในประเพณีอันดีงามเหมือนเมื่อครั้งบรรพบุรุษ แต่ เธอ' (ลาว) ก็พร้อมที่จะตั้ง กฎเกณฑ์' ของเธอ เพื่อต่อรองกับการยอมรับสิ่งแปลกใหม่อย่าง สอน' (ตัวแทนความทันสมัย) เช่นเดียวกับพ่อค้าน้อยๆ ชาวลาว ในภาพยนตร์ที่มาพร้อมกับเล่ห์เหลี่ยมน่ารักๆ ในการรับมือกับนักท่องเที่ยวซึ่งมาพร้อมกับกระแสโลกาภิวัตน์

หลังภาพยนตร์จบ ผมลุกขึ้นเดินออกจากโรงภาพยนตร์ด้วยรอยยิ้มเล็กๆ... รอยยิ้มที่ไม่ต้องฉูดฉาด กับมันสมองที่ไม่ต้องหนักอึ้ง และแอบขอบคุณ สะบายดีหลวงพระบาง' ที่ช่วยปลดเปลื้องสัมภาระที่มักจะแบกติดตัวเวลาเข้าไปชมภาพยนตร์

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย   “การที่ใครจะเป็น ‘modern’ (ทันสมัย) เขาคนนั้นก็จะต้องคงไว้ซึ่งจิตวิญญาณแห่งการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และพร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากของเก่าที่ดำรงอยู่ (tradition) และที่สำคัญ คือ พร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากตัวตนของตัวเองที่ดำรงอยู่ ถ้าตัวตนเป็น modern ก็ต้องพร้อมที่จะละทิ้งความเป็น modern ด้วยเหตุผลของความเป็น modern เอง”  “ในการจะเป็น modern มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเป็น postmodern หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าใครจะเป็น modern เขา หรือเธอคนนั้นก็จะต้องเป็น postmodern มิฉะนั้นแล้ว เขาก็ไม่สามารถเป็น modern ได้” (Jean-Francois…
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย   ผมชอบคำว่า ‘เพื่อนบ้าน' (Neighbor) เนื่องจากผมเล็งเห็นว่า คำว่า ‘เพื่อนบ้าน' นั้นดูจะมีความหมายในการมอง ‘มนุษย์' ที่อยู่รอบๆ ตัวของผู้พูด ผู้เขียน ผู้ใช้ คำๆ นี้ในแง่ดี (Positive Thinking) ส่วนคำว่า ‘จ๊ะเอ๋' นั้น ผมจำได้ว่าเป็นคำที่ผู้ใหญ่หลายๆ ท่าน (รวมทั้งตัวผม) มักจะใช้เล่นกับเด็กๆ ด้วยการเอามือ ผ้า หรือสิ่งของอื่นๆ ที่หาได้สะดวก ปิดหน้าปิดตาของตัวผู้ใหญ่เอง (หรือใช้ปิดตาเด็ก) หลังจากนั้นจึงเปิดหน้าออกพร้อมรอยยิ้มแล้วกล่าวคำว่า ‘จ๊ะเอ๋' ซึ่งเด็กๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะชอบและมักจะมอบรอยยิ้มหรือเสียงหัวเราะเป็นการแสดงความพึงพอใจต่อการละเล่นชนิดนี้…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย    บางครั้งผมก็รู้สึกเบื่อหน่ายที่จะต้องหอบสัมภาระมากมายเข้าไปในโรงภาพยนตร์ปัจจุบันผมแอบสงสัยว่าเหตุใดความสุขในการชมภาพยนตร์แบบเมื่อครั้งยังเป็นเด็กจึงสูญหายไป จนเมื่อมีโอกาสชมภาพยนตร์เรื่อง ‘สะบายดีหลวงพระบาง'จึงทำให้ผมรับรู้ว่าแท้จริงแล้วความสุขในวัยเด็กของผมไม่ได้หายไปไหน แต่หนังสือ ตำรา คำวิพากษ์วิจารณ์ ที่ผมแบกเอาไว้ในสมองต่างหากที่บดบังความสุขแบบที่เราคุ้นเคย 
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย ถ้าหาก E เท่ากับ EMOTION (อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง และ อื่นๆ), M เท่ากับ MAN (มนุษย์ไม่ว่าหญิง ชาย และอื่นๆ) และ C เท่ากับ CLOCK (ซึ่งหมายถึงระยะเวลา) จากสมการ E=mc2คุณคิดว่า ‘จำนวนของบุคคล' ที่เหมาะสมกับ ‘ความรัก' จะเท่ากับเท่าไหร่? รัก/สาม/เศร้า ตามสมการ รัก/สอง/สุข และเวลาแค่ไหนถึงจะพอสำหรับ ‘รัก' ‘รัก/สาม/เศร้า' เป็นเรื่องราวของเพื่อนรักสามคน ที่ ‘แอบรัก' กัน ในฐานะที่มากกว่าเพื่อน ‘น้ำ' แอบรัก ‘พายุ' ‘พายุ' แอบรัก ‘ฟ้า' โดยที่ตัวฟ้าเองก็ไม่เคยรับรู้มาก่อนเลยว่าพายุแอบรักตนเอง (และก็ไม่เคยรับรู้เช่นกันว่าเพื่อนรักของตนอย่าง ‘น้ำ' ก็แอบรักเพื่อนรักอย่าง ‘พายุ'…
Cinemania
  < นพพร ชูเกียรติศิริชัย >     หากพูดถึงประเทศจีน คุณนึกถึงอะไร? กังฟู, ก๋วยเตี๋ยว, หมีแพนด้า,มังกร, ลูกท้อ,ซาลาเปา, ปรัชญาลัทธิเต๋า และภูเขาสูงหน้าตาแปลกๆ   หากสิ่งเหล่านี้คือคำตอบของคุณ นั่นก็หมายความว่า คุณพร้อมแล้วที่จะไปสัมผัสกับภาพยนตร์ ‘KUNG FU PANDA’ หรือในชื่อภาษาไทยว่า ‘กังฟูแพนด้า จอมยุทธพลิกล็อค ช็อคยุทธภพ’   ผมไม่แน่ใจว่าหมีแพนด้าถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของ ‘มิตรภาพ’ ระหว่างประเทศจีน กับประเทศอื่นๆ ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ที่แน่ๆ บทบาทความเป็น ‘ทูตสันติภาพ’ ของหมีแพนด้า ในบัดนี้ได้ถูกนำเสนอผ่านจอภาพยนตร์ฮอลีวู้ดไปเป็นที่เรียบร้อย 
Cinemania
   ปิติ-ชูใจท่ามกลาง ‘หนังซัมเมอร์' ที่ดาหน้ากันมาถมจนเต็มพื้นที่ในโรงภาพยนตร์ช่วงฤดูร้อน ทางเลือกของคนดูหนังใน ‘โรงหนังชั้นนำใกล้บ้านคุณ' ก็ยังไม่ได้หลากหลายอะไรนัก เพราะแนวทางหลักๆ ของหนังซัมเมอร์ที่เห็นอยู่ตอนนี้ก็มีแค่ แอ๊กชั่น, ตลก, สยองขวัญ และอนิเมชั่น กรณีที่อยากดูหนังนอกกระแส ก็ต้อง ‘เข้าเมือง' กันอย่างเดียว เพราะที่ทางของหนังเหล่านี้ยังกระจุกตัวอยู่ที่สยามหรือไม่ก็สุขุมวิทแค่นั้น (ซึ่งมันก็เป็นเรื่องเข้าใจได้ในยุคที่หนังถูกจำกัดความหมายให้เป็นแค่เครื่องมือผ่อนคลายและสร้างความบันเทิง) แต่อย่างน้อยที่สุด หน้าร้อนปีนี้ยังมีหนังไทยน่าสนใจอยู่ 2 เรื่อง ที่พอจะแหวกกระแสเดิมๆ…
Cinemania
   ::: ข้อความหลังเส้นประของข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์ ::: โดย...ณภัค เสรีรักษ์ภาพยนตร์พูดภาษาอังกฤษเรื่องแรกของผู้กำกับชื่อดัง ‘หว่องการ์ไว' (Wong Kar Wai) ที่เพิ่งเข้าฉายให้ผู้ชมในดินแดนประเทศไทยได้ชมกันตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่เพิ่งจะผ่านมา (2008) ที่มีชื่อว่า My Blueberry Nights นั้น อาจมีประเด็นต่างๆ นานาให้สามารถสร้างบทสนทนากันได้มากมายและยาวนาน แต่สำหรับในที่นี้นั้น ผมอยากจะ ‘หยิบเลือก' เพียงบางประเด็นมา ‘อ่าน' หรืออีกนัยหนึ่ง ‘สนทนา' เกี่ยวกับ ‘ตัวละคร' ในภาพยนตร์ดังกล่าว ภายใต้ความคิดเกี่ยวกับเรื่อง ‘ความทรงจำ' ซึ่งสะท้อนร่วมกับความคิดเกี่ยวกับ ‘…
Cinemania
Between the FramesE-mail: betweentheframes@gmail.com:::Spoil::: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาที่สำคัญของภาพยนตร์ :::Spoil::: "All those gathered here will know that it is not by sword or spear that the LORD saves; for the battle is the LORD's, and He will give all of you into our hands."                                                   …
Cinemania
 :::Spoil::: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาที่สำคัญของภาพยนตร์ :::Spoil::: เวลา 2 ชั่วโมงกว่า (158 นาที) ในหนัง There will be blood - ผลงานเรื่องที่ 5 ของผู้กำกับ Paul Thomas Anderson คือเรื่องราวในด้านที่มืดดำของมนุษย์ เต็มไปด้วยความโลภ ความอ่อนแอ สันดานดิบ และแน่นอน...มันรวมไปถึง ‘การสร้างศรัทธา' ด้วยวิธีการอันน่าขนลุกด้วย...เราได้รู้จัก ‘เดเนียล เพลนวิว' (Daniel Day-Lewis) นักเสี่ยงโชคที่ตั้งใจทำเหมืองเงิน แต่บังเอิญได้ที่ดินซึ่งมีน้ำมันดิบนอนสงบนิ่งอยู่ใต้พื้นมาแทน โลกของเดเนียลไม่มีคำว่า ‘สุดแท้แต่โชคชะตา' หรือ ‘ศรัทธา' ไม่มีแม้กระทั่งคำว่า ‘พระผู้เป็นเจ้า'…
Cinemania
ซาเสียวเอี้ยการไล่ตีแมลงสาบบนฝาบ้าน อาจเป็นเกมสนุกสนานอย่างหนึ่ง และเพียงสายลมเย็นจากพัดลมมือสองที่เป่าไล่ความร้อนในค่ำคืนอบอ้าวอาจเป็นถึง ‘รางวัลชีวิต' ของสองพ่อลูกผู้ยากจน...ผู้อาศัยอยู่ในโลกแห่งความแร้นแค้นทั้งหมดที่่ว่ามา-อาจฟังไม่ต่างจากสงครามชีวิตสุดรันทด (บัดซบ!) แต่เมื่อเรื่องราวเหล่านี้ถูกถ่ายทอดผ่านมุมมองของ ‘โจวซิงฉือ' ไอ้สิ่งที่ควรจะเศร้า...กลับทำให้เราหัวเราะออกมาได้000ถึงแม้ว่าหน้าหนังของ CJ7 จะถูกโฆษณาว่าเป็นแนว Sci-fi แต่ ‘ใจความสำคัญ' ที่อยู่ในนั้น ไม่ใช่ ‘ความลี้ลับ' ของจักรวาลอันกว้างใหญ่ หรือถ้าจะพูดให้ชัดๆ ก็ต้องบอกว่า นี่คือหนังครอบครัวแนว Comedy-Drama ที่ให้ ‘…