Skip to main content

 


ถ้า คสช.จะจับคนที่คลิ๊กไลค์ สเตตัสหรือภาพในเฟซบุ๊ก ในข้อหา 112 นี่น่าจะได้ผู้ต้องขังเอาไปเป็นผลงานเป็นแสนน่ะครับ


ผมเขียนสเตตัสยาวเป็นหน้า แชร์ลงเฟซบุ๊กในเสี้ยววินาทีนั้นก็มีเพื่อนมาไลค์เลย

น้ำตาไหลพราก crying ไม่ใช่เพราะว่าซาบซึ้ง แต่ตะหงิดๆคิดว่า "สัส...มึงช่วยอ่านไอ้ที่กูเขียนให้จบก่อนดีไหม ขอแค่อ่านจบ จบแล้วไม่ต้องไลค์ก็ได้" wink

แต่ก็อย่างว่า ทำยังไงได้ พฤติกรรมการไลค์บนเฟซบุ๊กมันไม่ได้มีความหมายว่าเห็นด้วยแต่เพียงอย่างเดียวซักหน่อย  หลายๆคนใช้เป็นเครื่องหมายแค่ว่าได้อ่านได้พิจารณาแล้ว และอีกหลายคนอาจยังไม่ได้อ่านแต่คลิ๊กไลค์เพื่อที่ระบบบนเฟซบุ๊กอาจจะได้รู้ว่าเราสนใจสเตตัสของคนนี้เพื่อที่จะได้ feed สเตตัสอื่นขึ้นมาอย่างสม่ำเสมอ

การไลค์อาจใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีกตามสาขาอาชีพ อาจารย์ต้องการทวงงานวิทยานิพนธ์ลูกศิษย์แบบสุภาพ หรือนายจ้างจะทวงงานลูกน้องแบบละมุนละม่อมก็มักจะเข้ามาไลค์แบบเบาๆบนสเตตัสเวิ่นเว้อที่ไม่ได้เกี่ยวกับงานของลูกศิษย์หรือลูกจ้าง

แค่นี้ลูกศิษย์หรือลูกจ้างก็จะรีบกลับไปทำงานที่ติดค้างด้วยความสยดสยองพองขน

นอกจากนั้นการไลค์อาจหมายความว่ารัก ห่วงใย หรืออาจเพราะว่าสงสารสมเพชก็ได้

แต่คนที่ไลค์สเตตัสผมเร็วๆนี่น่าจะเป็นอย่างหลัง crying

โดยส่วนตัว ผมเองก็ไลค์รัวๆเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าจะต่างจากคนอื่น ไม่ได้มีเหตุผลแค่ถูกใจหรือชอบ เมื่อแปลความหมายอย่างตรงตัวทับศัพท์ด้วย 

ความจริงมันก็เป็นเหตุผลปนเปอย่างที่ผมอ้างมาทั้งหมดจากข้างต้น

สรุปง่ายๆว่าการไลค์ ก็คือเครื่องมืออย่าง"หยาบๆ" สำหรับการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้ใช้เฟซบุ๊กบนโลกออนไลน์  และที่สำคัญมันเป็นเครื่องมือที่ไม่ได้มีมาตรฐานเดียวด้วย ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แต่ละคนจะวางมาตรฐานให้กับมันเลย

หลายมาตรฐาน หรืออาจจะหามาตรฐานไม่ได้ด้วยซ้ำมันยืดหยุ่นมาก และคงอีกนานกว่ามันจะตกผลึก หรืออาจจะไม่มีวันเลยก็เป็นได้

ดังนั้นกรณีการที่ วิจารณ์ จดแตง กับ บุรินทร์ ทองประไพ สองเสนาธิการใหญ่ของ คสช. จะมาแจ้งจับคนคลิ๊กไลค์ว่าผิดตาม กม.อาญา มาตรา 112 จึงเป็นเรื่องที่ปัญญาอ่อน เลวร้าย บัดซบมาก

เป็นการสร้างกระแส กลบข้อครหาเรื่องการทุจริตในโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ที่ "หมาไม่แดก" 

นอกจากนั้นแล้วยังทำให้เห็นได้อย่างเด่นชัดถึงการนำ "สถาบันกษัตริย์" มาเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมในการดำรงอยู่ของรัฐบาลทหารได้อย่างชัดเจน

นี่คือการแสดงความจงรักภักดีเพื่อกลบเกลื่อนปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในแวดวงผู้นำเหล่าทัพ 

โดยเอาคนเล็กคนน้อยเป็นเครื่องบัดพลีสังเวย

การเอาสถาบันกษัตริย์ลงมาเป็นเครื่องมือไล่ทุบ ไล่ฟาดฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองหรือผู้ด้อยอำนาจที่ไม่มีปากเสียงโดยการดูจากพฤติกรรมการไลค์ ยิ่งจะทำให้เห็นว่า ยิ่งโหนยิ่งชิบหาย

ไม่เชื่อก็ทำไปเรื่อยๆ การเปลี่ยนผ่านจากระบอบเผด็จการสู่ประชาธิปไตยจะเป็นไปโดยเร็วยิ่งขึ้น


 

บล็อกของ gadfly

gadfly
เห็นมีเรื่อง พ่อ-ลูก ซึ้งบ้างไม่ซึ้งบ้าง ฮาบ้างไม่ฮาบ้าง คิดถึงคนที่ไม่มีพ่อ หรือคนที่พ่อไม่ค่อยมีดีอะไรให้อวดนัก แล้วเลยไพล่ไปนึกถึงพี่สุรพล จึงขออนุญาตรำลึกถึงความสัมพันธ์ของพ่อลูกคู่หนึ่งที่ผมสามารถทำได้เพียงเฝ้ามอง
gadfly
จากกรณีของ อ.สายพิณ จนถึงกรณีของ อ.ลลิตา รวมแล้วน่าจะประมาณกว่าสองทศวรรษ เวลาสองทศวรรษสำหรับบ้านเมืองอื่น ผมเชื่อว่าสถานการณ์ การรับรู้ ทัศนะคติ หรือโครงสร้างทางการเมือง-วัฒนธรรม ของพวกเขาน่าจะเปลี่ยนไปเยอะแล้ว แต่สำหรับบ้านเมืองของเรา ผมเชื่อว่ารูปแบบความขัดแย้ง ปรากฎการณ์อาจเปลี่ยนไปบ้าง แต่โดยแก่นแท้แล้วยังคงเหมือนเดิม