Skip to main content


กรณีหมุดคณะราษฎรที่ผ่านมาผมโพสต์เฟซบุ๊กเล่นๆ แบบฮาๆ แต่ก็เริ่มรู้สึกว่ามันอาจเป็นปัญหาได้เหมือนกัน

ในเฟซบุ๊ก หลายคนเปรยว่า ที่ผ่านมาหลักฐานวัตถุทางประวัติศาสตร์ในยุคของคณะราษฎรได้ถูกเคลื่อนย้าย ทุบทำลาย หรือลดทอนความหมายคุณค่าทางประวัติศาสตร์ลงไปหลายสิ่งอย่างแล้ว จะฟูมฟายอะไรนักหนา

ผู้รู้ประวัติศาสตร์บางท่านยังกระหน่ำซ้ำว่าบรรดาพวกที่ฟูมฟาย จะเป็นจะตายกับหมุดคณะราษฎร แต่มีความรู้ทางประวัติศาสตร์อ่อนด้วยจำตัวละครทางประวัติศาสตร์หรือวันเดือนปี พศ.ไม่ได้ สรุปง่ายๆ ว่า กาก!

พูดตรงๆ ว่าผมเห็นใจคนที่แสดงออกทั้งในเรื่องเหตุผลและความรู้สึกที่มีต่อการหายไปของหมุดคณะราษฎร

ประเด็นแรกเลยก็คือ มันไม่ได้มีคนจำนวนมากนักที่ออกมาแสดงความคิดเห็นเดือดร้อนในเรื่องนี้ ประเด็นที่สองก็คือ ขณะที่โวยวายกันอยู่ เกิดหัวขโมยไม่พอใจวกกลับมาปล้นหรือทำร้ายเจ้าทรัพย์อีกรอบ มันก็แย่ไปอีก

หนำซ้ำนอกจากที่จะโต้เถียงอะไรกับฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ซึ่งมันก็มีเพดานความเสี่ยงที่จะโดนข้อหาร้ายแรงต่ำมากแล้ว ดันมาโดนแซะด่า หาว่าตื้นเขิน ฟูมฟาย ฯลฯ

ถึงไม่ได้ลุ่มลึกมากนัก แต่ผมก็ชอบนะกับการวิพากษ์วิจารณ์ การรื้อถอนนี่ก็ชอบ แต่ที่ผมรู้ตัวก็คือเราจะรื้อถอนมันไปทุกเรื่องไม่ได้

ขณะที่คนตัวใหญ่ คนมีกำลังพร้อมสรรพกำลังทำร้ายคนที่ตัวเล็ก อ่อนด้อยกว่าด้วยประการทั้งมวล ซึ่งในความขัดแย้งอาจเดิมพันด้วยชีวิตหรืออิสรภาพของพวกเขา เราก็ไม่ควรที่จะไปรื้อถอนฝ่ายที่เสียเปรียบ

เราควรยืนอยู่ข้างฝ่ายที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือถ้ากลัว ยืนดูเฉยๆ ก็ยังดี

กลับมาประเด็นเรื่องการหายไปของหมุดคณะราษฎร ผมคิดว่ามันมีความต่างกว่ากรณีอนุสาวรีย์ปราบกบฎหรือกรณีทุบทำลายอาคารศาลฎีกา

เปรียบเทียบอย่างง่ายที่สุดเลยก็คือทั้งสองกรณีข้างต้น อย่างน้อยมันก็มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ มันการรับรู้ในทางสาธารณะ และก็ยังมีเหตุผลในการอธิบายซึ่งอาจจะฟังไม่ค่อยเข้าหูนัก แต่อย่างน้อยมันก็ยังมีคำอธิบาย

นี่คือความต่างอย่างเห็นได้ชัด และถ้าระบบเหตุผลทั้งในระดับบุคคลและในระดับสังคมไม่รวนมากนัก และแม้ว่าเราไม่ได้ให้ค่าต่อหมุดคณะราษฎรแต่อย่างไร แต่เราควรที่จะต้องออกมาหาข้อเท็จจริงและเหตุผลในการหายไปของมัน



บทความแนะนำ:

ชาตรี ประกิตนนทการ : ความทรงจำ และ อำนาจ บนถนนราชดำเนิน


เผยแพร่ครั้งแรกใน: Facebook Sarayut Tangprasert

 

บล็อกของ gadfly

gadfly
เห็นมีเรื่อง พ่อ-ลูก ซึ้งบ้างไม่ซึ้งบ้าง ฮาบ้างไม่ฮาบ้าง คิดถึงคนที่ไม่มีพ่อ หรือคนที่พ่อไม่ค่อยมีดีอะไรให้อวดนัก แล้วเลยไพล่ไปนึกถึงพี่สุรพล จึงขออนุญาตรำลึกถึงความสัมพันธ์ของพ่อลูกคู่หนึ่งที่ผมสามารถทำได้เพียงเฝ้ามอง
gadfly
จากกรณีของ อ.สายพิณ จนถึงกรณีของ อ.ลลิตา รวมแล้วน่าจะประมาณกว่าสองทศวรรษ เวลาสองทศวรรษสำหรับบ้านเมืองอื่น ผมเชื่อว่าสถานการณ์ การรับรู้ ทัศนะคติ หรือโครงสร้างทางการเมือง-วัฒนธรรม ของพวกเขาน่าจะเปลี่ยนไปเยอะแล้ว แต่สำหรับบ้านเมืองของเรา ผมเชื่อว่ารูปแบบความขัดแย้ง ปรากฎการณ์อาจเปลี่ยนไปบ้าง แต่โดยแก่นแท้แล้วยังคงเหมือนเดิม