Skip to main content
ไฟป่า ยังคงเป็นปัญหาที่กลุ่มอนุรักษ์เขาแผงม้าต้องจัดการ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหน้าแล้ง เช่นนี้

...


แดดอ้าวผ่าเปรี้ยงลงกลางหัว เหล่าอาสาสมัคร v4n ยืนฟังขั้นตอนการทำงานดับไฟป่าโดยกลุ่มอนุรักษ์เขาแผงม้า ไกลโพ้น เมฆฤดูร้อนลอยอยู่เหนือเทือกเขาที่ได้ชื่อว่า ภูเขาไฟ

เนินลูกแล้วลูกเล่าถูกแปรสภาพเป็นไร่ เหนือเนินหลายลูก ทะเลหญ้าสลับดงกล้วยป่าแซมเป็นจุดๆ รถบรรทุกน้ำถูกนำมาเตรียมเอาไว้ให้พร้อม


ขั้นแรก เริ่มต้นด้วยการตัดฟันทำลายใบหญ้าแห้งให้เตียนโล่งเป็นแนว ภารกิจครั้งนี้ อาสาสมัครจะต้องทำระยะทางให้ได้ 2 กิโลเมตร

ขั้นที่สอง คือ การเผาทำลายหญ้าเพื่อขยายแนวกันไฟออกไป

ขั้นที่สาม คือ ฉีดดับไฟไม่ให้ลามหรือลอยไปไหม้ในจุดอื่น

นอกจากสายยางแล้ว อาสาสมัครจะได้รับแจกโคนต้นกล้วย ผ่าเป็นแฉกๆ สัก 10 แฉก เอาไว้ตีไฟกองเล็กกองน้อย งานนี้ ต้องลุยไฟกันทีเดียว

 

ประสบการณ์บอกลุงโชคว่า 99% ของไฟป่าเกิดจากคนและฟ้าผ่าเป็นเพียงเหตุการณ์ทางธรรมชาติเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่ทำให้เกิดไฟป่าได้ ส่วนที่ตำรับตำราเขียนเอาไว้ว่า ไม้ไผ่สีกันนั้น ผมอยากเจอคนเขียน ผมจะตัดไม้ไผ่ให้เค้าลองสี (HAAAAAAAA)


ลุงโชคยืนยันว่า แนวกันไฟที่เหล่าอาสาจะได้ร่วมกันทำนั้น ได้ผล 100%

ชั้นแรก คือ แนวถนนที่สร้างเอาไว้แล้วซึ่งจะกันไฟได้เป็นอย่างดี หากหญ้าแห้งมากๆ เราจะใช้วิธีเอารถไปไถกลบหรือเผาหญ้าแห้งเพื่อป้องกันพร้อมๆ กับขยายแนวกันไฟออกไป

ตามศัพท์ของนักผจญเพลิงแห่งเขาแผงม้า เรียกว่า ‘ชิงจุด'


งานของพวกเขาจะเริ่มกันตั้งแต่ 18.00 น. เพราะมองเห็นแนวไฟได้ดีกว่ากลางวัน เน้นการทำงานเชิงป้องกัน เขาแผงม้ามีพื้นที่ลาดชัน เกิดไฟป่าแล้วดับได้ยาก ต้องใช้คนเป็นจำนวนมากรวมไปถึงการลาดตระเวน

 

ใครคนหนึ่งถามว่า "ทำไม ลุงถึงปลูกต้นไผ่เอาไว้เยอะแยะ"

"ผมคิดว่า ไผ่เป็นพืชที่เหมาะกับผมมากที่สุด ไม่ต้องตัดแต่งดูแล มันโตของมันเองแต่มีประโยชน์มหาศาล ผมไม่ได้ทำสวนเพื่อขายผลผลิตแต่ผมต้องการให้ธรรมชาติคงอยู่"

คุณฟังสิ ได้ยินเสียงนกไหม

 

สิ่งที่พวกเราได้มาทำ อาจจะไม่เห็นผลทันที หากหน่ออ่อนของความรักในโลกธรรมชาติกำลังเติบโตในความคิด เชื่อผมสิ

น้ำเสียงของลุงโชคกังวานในแบบคนใต้

 

ขอบคุณชาวคณะ v4nature ทุกคน

ที่ชวนไปทำแนวป้องกันไฟป่าที่เขาแผงม้า

 

 

  

ก่อนลงมือปฏิบัติงานต้องบรรยายรายละเอียดและข้อควรระวังกันก่อนเพราะกำลังเล่นกับไฟ





ขั้นตอนแรก เริ่มด้วยการตัดทำลายหญ้าและกล้วยป่า รอชิงเผา



หน้าตากล้วยป่าก็มีเมล็ดเยอะอย่างนี้



ปฏิบัติการชิงเผาเริ่มต้นแล้ว



พระเพลิงกำลังทำหน้าที่ของเขา เผาเพื่อตัดตอนไฟป่า







คุณลุงนักผจญเพลิงแห่งเขาแผงม้ากำลังทำหน้าที่อย่างขมักเขม้น



เพลิงสงบเป็นอันว่างานของนักผจญเพลิงแห่งเขาแผงม้าเรียบร้อยไปอีกหนึ่งครั้ง

 

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทิศทางการเติบโตของธุรกิจการท่องเที่ยวที่สะเปะสะปะทำให้ชาวบ้านหลายคนทิ้งชีวิตเรือกสวนไร่นา หันมาเป็นผู้ประกอบการอย่างไร้ทิศทาง ไร้การจัดการ ไร้ความคิด ในสังคมมือใครยาวสาวได้สาวเอาที่ต้องการแต่ประโยชน์ส่วนตน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
แดดยามบ่ายกระทบสายน้ำเป็นริ้วเต้นระริกรินไหลไปตามแก่งหินน้อยใหญ่ ทิวไม้สองฝั่งแน่นขนัดทอดกายยึดผืนดินไม่ให้น้ำกัดเซาะ ราวกับมืออันอบอุ่นของแม่ที่โอบอุ้มทารกแนบอก
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูภาพขยาย    
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
คนงานบนเรือขนสินค้าขนาดใหญ่ริมฝั่งโขง กำลังทำงานของพวกเขา เรือขุดทรายตักทรายจากกลางลำน้ำ ชายชราหาปลาอยู่บนเรือท้องแบน ธุรกิจการค้าคึกคัก ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เชียงคานเมืองริมฝั่งโขง ถูกพูดถึงมากมายในหมู่นักท่องเที่ยว นักเดินทางหลายคนหยุดเวลาเอาไว้ที่นั่นด้วยการนอนอ่านหนังสือเป็นอาทิตย์ ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทุกเช้าๆ คุณแม่ชาวปกาเกอญอจะออกมาสะพายลูก ... ระหว่างเดินไปตามถนนกลางหมู่บ้าน ระหว่างอาบน้ำริมห้วยแม่แงะ ระหว่าง รอ ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ในลมหนาวมีใบหน้าใสซื่อ ดูเหมือนว่า จะกลายเป็นธรรมเนียมไปแล้วอย่างยิ่ง ที่จะต้องถ่ายภาพใบหน้าคน ... ทุกปีที่ไปงานวันเด็กไร้สัญชาติ รอยยิ้มของคนหลังภูเขา อ่อนโยนแบบเด็กๆ ..
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ห้องทะเบียนราษฏรเคลื่อนที่ถูกจำลองขึ้นบนลานโล่งบริเวณบ้านผู้ใหญ่บ้าน ,คนไร้รัฐบ้านแม่แพะมารวมตัวกันเพื่อทำประชาคม ,ยกมือรับรองสถานะบุคคลเป็นพยานรู้เห็นว่าครอบครัวที่ได้รับการสำรวจทั้งหมดอยู่บนผืนดินแห่งนี้มานาน ก า เ ล
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดินแดนอันไกลโพ้นเหนือความคิดฝัน ,เทือกเขาและดวงตะวันนิ่งงัน ราวกับภาพวาด
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มุมหนึ่งของเชียงคาน จ.เลย ,หากใครเคยไปเชียงคานจะเห็นแม่น้ำโขงยาวสุดลูกหูลูกตา ก่อนจะลับหายเข้าไปยังฝั่งลาวตรงแก่งคุดคู้ ,ในภาพมองเห็นเรือดูดทรายเอกชน ,แนวโน้มการพัฒนาเพื่อให้เป็นเมืองท่องเที่ยว ,คนที่นั่นออกปากปฏิเสธเป็นพัลวันถึงความไม่ต้องการให้เจริญขีดสุดแบบปาย ,แต่ขณะเดียวกันก็อ้าแขนต้อนรับนักท่องเที่ยว ,รวมถึงนักเก็งกำไรเข้ามาหาซื้อที่ดิน ,หลับตาก็พอมองออกว่าภายในระยะ 5-10 ปี เชียงคานจะอยู่ในสภาพของเมืองท่องเที่ยวที่ถึงพร้อมไปด้วยสาธารณูปโภคที่เสนอสนองความต้องการของคนในทุกระดับชั้น ,แต่ความเห็นส่วนตัว ผมชอบปายคับ (คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยายภาพ)