Skip to main content

"ต้นตอของปัญหาใหญ่ๆ ในสังคม พบว่าเรื่องหนึ่งคือ คนที่เป็นเจ้าของปัญหาไม่มีช่องทางส่งเสียงของตัวเองในช่องทางสื่อสารมวลชน ยิ่งวิทยุและทีวีนั้นยิ่งไม่ต้องพูดถึง พื้นที่ของคนเดือดร้อน ถูกเบียดออกมาบนท้องถนนที่ออกมาประท้วงให้คนเมืองใหญ่รำคาญ"

 

TV

อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา

ไม่นานมานี้ ได้ไปฟังการอภิปรายเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของทีวีสาธารณะ ในช่วงท้ายๆ มีเรื่องหนึ่งที่ถกกัน คือ ทีวีสาธารณะควรจะเป็นเรื่องของ 'พื้นที่สาธารณะ' หรือ 'ประโยชน์สาธารณะ'

เอาเข้าจริง เรื่องบ้านเมืองควรจะมีทีวีที่เป็น 'พื้นที่สาธารณะ' หรือ 'ประโยชน์สาธารณะ' เป็นกรอบใหญ่ที่ต้องวางไว้ตั้งแต่ต้นทางของการออกกฎหมาย เพราะความหมายของคำสองคำนี้ต่างกันโดยสิ้นเชิง สื่อที่เป็นพื้นที่สาธารณะ น่าจะหมายถึง ช่องทางที่ใครๆ สามารถเข้าถึง ส่วนสื่อที่เป็นประโยชน์สาธารณะ น่าจะหมายถึงการเป็นสื่อที่มีเนื้อหาเป็นประโยชน์ต่อคนดู

อย่างไรก็ดี กฎหมายทีวีสาธารณะก็ผ่านสภามาแล้ว เหลือเพียงประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งคาดว่าน่าจะได้ประกาศใช้ราวๆ กลางเดือนธันวาคมนี้ แล้วพอเปิดปีใหม่มาสังคมไทยเราก็จะมีทีวีสาธารณะให้ได้เชยชม

ที่ต้องใช้คำว่า ได้ 'เชยชม' เพราะยังไม่แน่ใจว่า คนตัวเล็กตัวน้อยจะเข้าถึงทีวีสาธารณะในฐานะอะไร เป็นคนทำ คนคิด หรือเป็นคนดูฝ่ายเดียว

ที่ผ่านมาเวลาพูดกันถึงต้นตอของปัญหาใหญ่ๆ ในสังคม พบว่าเรื่องหนึ่งคือ คนที่เป็นเจ้าของปัญหาไม่มีช่องทางส่งเสียงของตัวเองในช่องทางสื่อสารมวลชน ยิ่งวิทยุและทีวีนั้นยิ่งไม่ต้องพูดถึง พื้นที่ของคนเดือดร้อน ถูกเบียดออกมาบนท้องถนนที่ออกมาประท้วงให้คนเมืองใหญ่รำคาญ

ปัญหานี้ก็เกิดขึ้นคู่ขนานไปกับปัญหาความเหลื่อมล้ำของคน ที่ไม่ได้แตกต่างกันเพียงเรื่องฐานะทางเศรษฐกิจ แต่ยังแตกต่างกันในเรื่องของโอกาสด้วย คนด้อยโอกาสไม่เคยได้เข้าถึงสื่อ เพราะนอกจากเราจะไม่เคยมีพื้นที่สาธารณะในสื่อที่ใช้ทรัพยากรของประชาชนอย่างคลื่นความถี่แล้ว ไม่ต้องพูดถึงสื่อกระแสหลักอื่นๆ ที่จะอยู่รอดได้ก็ต้องมีต้นทุนสูงลิบ

เดิมเราอาจรู้สึกว่า ปัญหาสื่อเมืองไทยที่รอการปฏิรูปคือ เราไม่มีช่องทีวีดีๆ มีคุณภาพให้ดู แต่ปัญหานี้คงไม่ได้แก้ด้วยการหาอะไรที่เป็นคุณภาพใส่เข้าไปเสีย เรื่องแบบนี้เป็นของลางเนื้อชอบลางยา

ผลลัพธ์สุดท้ายไม่อาจให้ความหมายอะไร หากแต่กระบวนการและโครงสร้างต่างหากที่จะบ่งบอกคุณภาพ.. และถึงที่สุดแล้ว เรากำลังจะต้องเสพทีวีที่ใครผลิตเนื้อหามาให้ดู?

เราน่าจะก้าวไปให้พ้นจากการถูกบอกให้เชื่อว่า อะไรดี อะไรไม่ดี รวมถึงเลิกอยู่กับความเคยชินเดิมๆ ที่ติดกับความเป็นมืออาชีพของคนทำสื่อ แต่ทีวีสาธารณะมีหน้าที่ที่ต้องเชื่อว่า พลเมืองเจ้าของเรื่องเป็นผู้ถ่ายทอดได้ และพลเมืองผู้บริโภคก็มีศักยภาพที่จะกลั่นกรองเนื้อหา และมีส่วนวิพากษ์วิจารณ์ช่วยกันปรุงรสไม่ให้ทีวีสาธารณะน่าเบื่อเกินไป

พลเมืองเจ้าของเรื่องต้องได้เป็นผู้ถ่ายทอด เพราะนานมาแล้วที่เราเชื่อในระบบตัวแทน เราเชื่อในองค์กรที่ทำงานเพื่อประชาชน เราหลงเชื่อในระบบคุณธรรมลมปาก ซึ่งก็นานมาแล้วอีกเช่นกันที่คนด้อยโอกาสก็ยังด้อยโอกาสดักดานต่อไป

กับทีวีสาธารณะ แม้กฎหมายจะไม่ได้ออกมาขี้เหร่มากนัก แม้จะเกิดขึ้นจากเจตนาที่ดี แต่ก็อดห่วงไม่ได้ว่า ทุกครั้งที่พูดกันถึงอนาคตทีวีสาธารณะ มักไปลงเอยว่าคณะกรรมการนโยบายฯ อันมาจากคณะกรรมการสรรหาฯ พอจะน่าเชื่อน่าหวัง ที่จะวางแนวนโยบายในการสร้างสื่อสาธารณะอันทรงคุณค่า

กฎหมายไม่ได้ทำให้ประชาชนเชื่อมั่นว่ามีกลไกที่มีธรรมาภิบาลรองรับ แต่ให้ความเชื่อมั่นว่าจะมีคนมาเป็นตัวแทนที่คอยดูแลให้มันเดินไปในแนวทางที่ดี ดูแล้วประชาชนไม่ต่างจากเด็กที่ไม่ยอมโต ไปไม่พ้นจากอ้อมอกของพ่อแม่ที่ห่วงใย

ไม่ต่างกับกฎหมายฉบับอื่นๆ ที่รัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติเร่งปั๊มออกมาก่อนหมดสมัยรัฐบาล เพราะกลัวว่าจะไม่สามารถทำสำเร็จได้ในสถานการณ์ประชาธิปไตย ยังมีกฎหมายในนามของความปรารถนาดีอีกร้อยกว่าฉบับที่ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองช่วยกันผลักดัน สร้างฉากหลังให้ดูมีกระบวนการน่าเชื่อถือ เพราะผ่านกระบวนการสภา

แต่หารู้ไม่ว่า กฎหมายมากมายผ่านออกมาได้เพราะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติยกมือผ่านแบบแลกหมูแลกหมา มีการพูดกันทีเล่นทีจริงว่า หากคำนวณเวลาบวกลบคูณหารเวลาที่ สนช.ใช้พิจารณากฎหมายแล้ว เฉลี่ยตกราวฉบับละ 2 นาทีเท่านั้น ยังไม่นับว่ามีอีกเท่าไรที่ผ่านสภาแบบไม่ครบองค์ประชุม

ขณะที่เรากังขากับประชาธิปไตยแบบตัวแทน เราก็ต้องพัวพันกับการเมืองที่พยายามจะทำทีให้เหมือนประชาธิปไตย มีระบอบสภา เป็นสภาที่มีความหวังดีแบบพ่อแม่รังแกฉัน

อาจเพราะว่า สภานิติบัญญัติคิดว่ากำลังทำ 'ประโยชน์สาธารณะ' เพื่อสร้างแนวทางให้ลูกแหง่ที่คงยังไม่พร้อมเดินในโลกกว้าง มีชีวิตที่ดีมากขึ้น

ในภาวะแบบนี้ เราจะอยู่กับการเมืองแบบที่มี 'พื้นที่สาธารณะ' หรือมีความหวังดีแบบ 'ประโยชน์สาธารณะ' ก็คงเป็นได้แค่เพียงความคาดหวังในใจ ทำอะไรไม่ได้มากกว่านั้น เพราะมีคนคิดให้หมดแล้ว

 

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
 หอกหักจูเนียร์  ขณะที่นั่งปั่นข้อเขียนชิ้นนี้ ยังมีสองเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น และผมต้องอาศัยการแทงหวยคาดเดาเอาคือ1. การเลือกนายกรัฐมนตรี (จะมีในวันที่ 15 ธ.ค. 2551)2. การโฟนอินเข้ามายังรายการความจริงวันนี้ของคุณทักษิณ (จะมีในวันที่ 13 ธ.ค. 2551)เรื่องที่ผมจะพูดก็เกี่ยวเนื่องกับสองวันนั้นและเหตุการณ์หลังสองวันนั้น ผมขอเน้นประเด็น การจัดการ - การบริหาร "ความแค้น" ของสองขั้ว I ขอแทงหวยข้อแรกคือ ในวันที่ 15 ธ.ค. 2551 หากว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะถูกโหวตให้เป็นนายก และพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล (ขออภัยถ้าแทงหวยผิด แต่ถ้าแทงผิด…
Hit & Run
ผู้สื่อข่าวเฉพาะกิจ  หลังการประกาศชัยชนะของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหลังการยุบพรรค แล้วล่าถอยในวันที่ 3 ธ.ค. พอตกค่ำวันที่ 3 ธ.ค. เราจึงกลับมาเห็นบรรยากาศที่ไม่ค่อยคุ้นเคย แทนที่สนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำพันธมิตรฯ จะปราศรัยบนเวที หรือหลังรถปราศรัย ก็กลายเป็นเสวนา และวิเคราะห์การเมืองกันในห้องส่งของสถานีโทรทัศน์ ASTV อย่างไรก็ตาม สนธิ ลิ้มทองกุล ก็พยายามรักษากระแสและแรงสนับสนุนพันธมิตรฯ หลังยุติการชุมนุมเอาไว้ โดยเขาเผยว่าจะจำลองบรรยากาศการชุมนุมพันธมิตรตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาไว้ในห้องส่ง เพื่อแฟนๆ ASTV โดยเขากล่าวเมื่อ 3 ธ.ค. [1] ว่า “พี่น้องครับ…
Hit & Run
พิชญ์ รัฐแฉล้ม            นานมากแล้วที่ “ประเทศของเรา” ประสบกับสภาพความมั่นคงและเสถียรภาพที่แหว่งวิ่นเต็มทน และตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าความหวังในความสำเร็จของการจัดการกับปัญหายิ่งเลือนรางไปทุกที ทุกเรื่อง ทุกราว กำลังถาโถมเข้ามาจากทุกสารทิศเพื่อมารวมศูนย์ ณ เมืองหลวงมิคสัญญีแห่งนี้ จนกระแสข่าวรายวันจากปักษ์ใต้ อีสาน...แผ่วและเบาเหมือนลมต้นฤดูหนาว   สื่อต่างๆ ทั้งไทย-ต่างประเทศ ประโคมข่าวจากเมืองหลวงกระจายสู่ทุกอณูเนื้อโลก ช่างน่าตกใจ! ภาพแห่ง “ความรุนแรง” ของฝูงชนขาดสติและไม่เหลือแม้สายใยในความเป็นมนุษย์ร่วมกัน ถูกกระจายออกไป…
Hit & Run
  ธวัชชัย ชำนาญ ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นห้วงเวลาที่คนไทยทั่วทุกสารทิศ เดินทางเข้ามาร่วมเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ "พิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ" ความยิ่งใหญ่อลังการที่ทุกคนคงรู้ดีที่ไม่จำเป็นต้องสาธยายเยอะ  แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ความสงบเงียบของบ้านเมืองที่ดูเหมือนมีพลังอำนาจอะไรบางอย่างมากดทับกลิ่นอายของสังคมไทยที่เคยเป็นอยู่กลิ่นอายที่ว่านั้น..เป็นกลิ่นอายของความขัดแย้ง ความเกลียดชังของคนในสังคมที่ถูกกดทับมาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา…
Hit & Run
 ภาพจากเว็บบอร์ด pantipจันทร์ ในบ่อ เชื่อว่าหลายคนคงได้ชมรายการตีสิบเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยเชิญ ‘คุณต้น' อดีตนักร้องวง ‘ทิค แทค โท' บอยแบนด์ไทยสไตล์ญี่ปุ่นรุ่นแรกๆ ที่โด่งดังราวสิบปีก่อนมาออกรายการ เพื่อเป็นอุทธาหรณ์แก่สังคมเรื่องผลเสียจากการใช้ยาเสพติดคุณต้นสูญเสียความทรงจำและมีอาการทางสมองชนิดที่เรียกว่า ‘จิตเภท' จากการใช้ยาเสพติดโดยเฉพาะยาบ้าและยานอนหลับชนิดรุนแรง จนหลายปีมานี้เขาได้หายหน้าหายตาไปจากวงการบันเทิงและจดจำใครไม่ได้เลย คุณแม่เคยสัญญากับคุณต้นไว้ว่า หากอาการดีขึ้นจะพามาออกรายการตีสิบอีกครั้งเพื่อทบทวนเรื่องราวในอดีต เพราะคุณต้นและเพื่อนๆ…
Hit & Run
  คนอเมริกันและลามถึงคนทั่วโลกด้วยกระมัง ที่เหมือนตื่นจากความหลับใหล พบแดดอ่อนยามรุ่งอรุณ เมื่อได้ประธานาธิบดีใหม่ที่ชนะถล่มทลาย คนหนุ่มไฟแรง ผิวสี เอียงซ้ายนิดๆ ผู้มาพร้อมสโลแกน "เปลี่ยน เปลี่ยน เปลี่ยน และเปลี่ยน" แม้ผู้คนยังไม่อาจแน่ใจได้ว่าจะเปลี่ยนได้ไหม เปลี่ยนไปสู่อะไร (เพราะอเมริกาไม่มีหมอลักษณ์ฟันธง หมอกฤษณ์คอนเฟิร์ม) แต่ขอแค่โลกนี้มีหวังใหม่ๆ ความเปลี่ยนแปลงสนุกๆ ก็ทำให้ชีวิตกระชุ่มกระชวย ท้องฟ้าสดใสกว่าที่เคยเป็นได้ง่ายๆ   มองไปที่อื่นฟ้าใส แต่ทำไมฝนมาตกที่ประเทศไทยไม่เลิก บ้านนี้เมืองนี้ ผู้คนพากันนอนไม่หลับ ฟ้าหม่น ฝนตก หดหู่มายาวนาน นานกว่าเมืองหนึ่งใน ‘100…
Hit & Run
    ช่วงนี้มีแต่เรื่องวุ่นวาย ส่วนตัวความจริงแล้วไม่อยากยุ่งเพราะเป็นคนรักสงบและถึงรบก็ขลาด แต่ไม่ยุ่งคงไม่ได้เพราะมันใกล้ตัวขึ้นทุกที ระเบิดมันตูมตามก็ถี่ขึ้นทุกวัน จนไม่รู้ใครเป็นตัวโกง ใครเป็นพระเอก เลยขอพาหันหน้าหาวัดพูดเรื่องธรรมะธรรมโมบ้างดีกว่า แต่ไม่รับประกันว่าพูดแล้วจะเย็นลงหรือตัวจะร้อนรุมๆ ขัดใจกันยิ่งกว่าเดิม ยังไงก็คิดเสียว่าอ่านขำๆ พอฆ่าเวลาปลายสัปดาห์ก็แล้วกัน.....
Hit & Run
< จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ >หลังจากอ่าน บทสัมภาษณ์ของซูโม่ตู้ หรือจรัสพงษ์ สุรัสวดี ในเว็บไซต์ผู้จัดการรายสัปดาห์ออนไลน์ แล้วพบว่าสิ่งหนึ่งที่ควรชื่นชมคือ ความตรงไปตรงมาของจรัสพงษ์ที่กล้ายอมรับว่าตนเองนั้นรังเกียจคนกุลีรากหญ้า ที่ไร้การศึกษา โง่กว่าลิงบาบูน รวมไปถึง “เจ๊ก” และ “เสี่ยว” ที่มาทำให้ราชอาณาจักรไทยของเขาเสียหาย เป็นความตรงไปตรงมาของอภิสิทธิ์ชนที่ปากตรงกับใจ ไม่ต้องอ้อมค้อมให้เสียเวลา ที่คงไม่ได้ยินจากปากนักวิชาการ หรือนักเคลื่อนไหวคนไหน (ที่คิดแบบนี้) (เดี๋ยวหาว่าเหมารวม)
Hit & Run
  ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านไป ความวุ่นวายในเมืองหลวงเริ่มคลีคลาย แต่ความสับสนและกลิ่นอายของแรงกดดันยังบางอย่างภายใต้สถานการณ์บ้านเมืองยังคงคลุกรุ่นอยู่ไม่หาย... ไม่รู้ว่าน่าเสียใจหรือดีใจที่ภารกิจบางอย่างทำให้ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ก่อนหน้าเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่เรียกกันว่า "7 ตุลาทมิฬ" เพียงข้ามคืน สิ่งที่เกิดขึ้นในความทรงจำจึงเป็นเพียงอีกเรื่องราวของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ถึงขณะนี้ยังไม่รู้ถึงข้อมูลที่แน่ชัดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความสูญเสียเกิดจากอะไร เพราะใครสั่งการ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น อย่างไร ฯลฯ คำถามมากมายที่ยังรอคำตอบ   …
Hit & Run
   (ที่มาภาพ: http://thaithai.exteen.com/images/photo/thaithai-2550-11-4-chess.jpg)หลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ความขัดแย้งทางชนชั้น การปะทะกันระหว่าง "ความเชื่อในคุณธรรม vs ความเชื่อในประชาธิปไตย" เริ่มปรากฏตัวชัดขึ้นเรื่อยๆ และได้ก่อให้เกิดความรุนแรงจากมวลชนทั้งสองกลุ่มฝั่งคุณธรรม อาจเชื่อว่า หากคนคิดดี ทำดี ปฏิบัติดีแล้ว เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และปัญหาใหญ่ที่สุดของสังคมในขณะนี้คือ จริยธรรมของคนที่ข้องเกี่ยวกับการเมือง ดั้งนั้น จึงพยายามกดดันให้นักการเมืองเข้ากรอบระเบียบแห่งจริยธรรมที่ตนเองคิด หรือไม่ก็ไม่ให้มีนักการเมืองไปเลยฝั่งประชาธิปไตย อาจเชื่อว่า…
Hit & Run
Ko We Kyawเมื่อวันเสาร์ สัปดาห์ก่อน มีการจัดงาน ‘Saffron Revolution, A Year Later' ที่จัดโดยคณะผลิตสื่อเบอร์ม่า (Burma Media Production) หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อรำลึกถึง 1 ปี แห่งการปฏิวัติชายจีวร นอกจากการเสวนาและการกิจกรรมเพื่อเป็นการรำลึกแล้ว ภาคบันเทิงในงานก็มีความน่าสนใจเพราะมีการแสดงจากคณะตีเลตี (Thee Lay Thee) ที่มีชื่อเสียงจากพม่าการแสดงในวันดังกล่าว เป็นการแสดงในเชียงใหม่เป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี 2551 หลังจากเคยจัดการแสดงมาแล้วในเดือนมกราคม และการแสดงการกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยนาร์กิส เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาในพม่า…
Hit & Run
  ขุนพลน้อย       "ผมรู้สึกภูมิใจยิ่งที่สามารถคว้าเหรียญทอง สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย แต่ก็แอบน้อยใจบ้างที่เงินอัดฉีดของพวกเราจากรัฐบาลน้อยกว่าคนปกติ นี่ถ้าได้สักครึ่งหนึ่งของพวกเขาก็คงดี"น้ำเสียงของ ‘ประวัติ วะโฮรัมย์' เหรียญทองหนึ่งเดียวของไทย ในกีฬา ‘พาราลิมปิกเกมส์ 2008' หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงดึกวันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2551 เป็นไปอย่างมุ่งมั่นระคนทดท้อการต้อนรับนักกีฬาในหมู่คนใกล้ชิดและในวงการมีขึ้นอย่างอบอุ่น แต่ความไม่เท่าเทียมกันเมื่อเปรียบเทียบกับนักกีฬาที่ได้รางวันใน ‘โอลิมปิก' คงเป็นภาพที่สะท้อนมองเห็นสังคมแบบบ้านเราได้ชัดเจนขึ้น…