Skip to main content

สาระหลักที่น่าสนใจของเรื่องแม่นั้นอยู่ที่จิตสำนึกของปัจเจกชนที่ต่างจากปัจเจกชนในวรรณกรรมรัสเซียเล่มดังๆที่ส่วนใหญ่มุ่งเสนอการดิ้นรนเอาชีวิตของตัวเองให้รอดไปวันๆ เป็นปัจเจกชนที่กำหนดชะตาชีวิตของตัวเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง

 “ท่านผู้เป็นที่รักใคร่นับถือทั้งหลาย ขอจงอย่าได้หวาดกลัวที่จะมองดูสิ่งที่เกิดขึ้นนี้... สิ่งที่พวกเขาต้องการนั้นคือชีวิตใหม่ ชีวิตแห่งสัจจะและความยุติธรรม สิ่งที่พวกเขาต้องการนั้นคือความดี ความดีงามสำหรับมวลประชาชน”

Tee Sarana Khajorndetkul

“แม่” เป็นวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของวรรณกรรมรัสเซีย ประพันธ์ขึ้นโดยแมกซิม กอร์กี้ เทียบกับงานเขียนของนักเขียนที่จัดว่าเป็นยักษ์ใหญ่แห่งวรรณกรรมรัสเซียอย่าง ตอลสตอย, ดอสโตเยฟสกี้ที่มักจะนำเสนอภาพของปัจเจกชนที่มีชีวิตอยู่ท่ามกลางความรันทดเศร้าหมองของสังคมรัสเซียแล้ว งานเขียนเล่มนี้ของกอร์กี้ได้นำเสนอภาพของเหล่าคนงานรัสเซีย ที่มีชีวิตอยู่ท่ามกลางความอยุติธรรมในสังคม การกดขี่ขูดรีดจากระบบของโรงงานอุตสาหกรรม เหล่าคนงานที่เรียกร้องสิทธิและเสรีภาพกับชนชั้นนายทุน นอกจากเหล่าชนชั้นนายทุนแล้ว ยังต้องต่อสู้กับเหล่าทหารของพระเจ้าซาร์ที่พยายามตามฆ่าเหล่าผู้นำกรรมกร กอร์กี้เขียนงานชิ้นนี้ขึ้นจากเหตุการณ์จริงจากการเดินขบวนของเหล่าคนงานรัสเซียในซอร์โมโวเนื่องในวันเมย์เดย์ ค.ศ.1902 การเคลื่อนไหวต่อสู้ขององค์กรจัดตั้งของพรรคสังคมประชาธิปไตย การต่อสู้ของเหล่าคนงานรัสเซียที่นำไปสู่การปฏิวัติรัสเซียที่ได้รับชัยชนะในปี ค.ศ.1917

สาระหลักที่น่าสนใจของเรื่องแม่นั้นอยู่ที่จิตสำนึกของปัจเจกชนที่ต่างจากปัจเจกชนในวรรณกรรมรัสเซียเล่มดังๆที่ส่วนใหญ่มุ่งเสนอการดิ้นรนเอาชีวิตของตัวเองให้รอดไปวันๆ เป็นปัจเจกชนที่กำหนดชะตาชีวิตของตัวเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง การต่อสู้และวีรกรรมอันอาจหาญของประชาชน เป็นเรื่องราวของ “แม่” ผู้มีชีวิตในสังคมเก่า โลกเก่า มีชีวิตอยู่ท่ามกลางภาวะแห่งความคิดที่เต็มไปด้วยความประหวั่นพรั่นพรึงต่ออำนาจที่ครอบงำสังคมอยู่ในห้วงเวลานั้น ด้วยแรงบีบคั้นจากสังคมที่อยู่รอบด้านได้กลายเป็นเสมือนแรงขับไปสู่ความต้องการมีชีวิตที่ดีกว่า เธอได้นำตนเข้าสู่การสนับสนุนขบวนการปฏิวัติ เหตุการณ์นี้ได้ทำให้ชีวิตและทัศนะการมองโลกของเธอเปลี่ยนไป และยังได้สนับสนุนส่งเสริมอุดมการณ์อันกล้าแกร่งให้ “ปาเวล” ลูกชายของเธอด้วย และเธอผู้เป็น “แม่” ผู้มีส่วนช่วยเหลือลูกๆชายหญิงที่เป็นเหล่ากรรมกรของเธออย่างเต็มที่

“แม่” เป็นนวนิยายแนวอัตถนิยมสังคมนิยมที่เลนินยกย่องว่าดีเยี่ยมที่สุด และตลอดทั้งเล่มจะได้พบกับประโยคที่แสดงให้เห็นภาพของการถูกกดขี่ที่ได้แปรเปลี่ยนเป็นพลังแห่งการต่อสู้ เช่น “เราคือประชาชนผู้สร้างโบสถ์และโรงงาน ผู้สร้างโซ่ตรวนและเงินตรา พวกเราคือพลังชีวิตที่มวลมนุษย์ได้ใช้หล่อเลี้ยงร่างกายและดำรงชีวิต” “วันนี้เราจะประกาศตัวอย่างเปิดเผยว่า เราเป็นใคร และชูธงชัยของเราขึ้น ธงแห่งเหตุผล ความยุติธรรมและเสรีภาพ” “วันหนึ่งจะต้องมาถึง วันที่พญาเหยี่ยวจะบินได้อย่างเสรี วันที่ประชาชนจะลุกขึ้นทลายโซ่ตรวนที่ร้อยรัดตน”

“แม่” ได้สะท้อนภาพของผู้ที่ต้องการมีชีวิตที่ดีกว่า ชีวิตที่ต้องก้าวไปข้างหน้าเพื่อประกาศสัจธรรมและความยุติธรรมของมวลประชาชน

อ่านเพิ่มเติมจากแม่ฉบับเต็ม : เฟสบุ๊ค เพจ คลังหนังสือ : คลังความรู้

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
แถลงการณ์ กลุ่มประกายไฟ 
ประกายไฟ
...ข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดการสังคมหลังทุนนิยมข้างต้นนี้ถือเป็นเป้าหมายหลัก และเป็นผลผลิตโดยตรงของการเติบโตของขบวนการโลกาภิวัตน์จากรากฐาน ที่พยายามเสนอทางเลือกใหม่ในการพัฒนาท่ามกลางซากปรักหักพังของโลกสังคมนิยม ในทศวรรษ 1990 ที่นักคิดฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายเสรีนิยมต่างประกาศว่า “เราไม่มีทางเลือกอื่นใดเหลือแล้วนอกจากระบบทุนนิยมกลไกตลาดและระบอบ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม” แม้ว่าเป้าหมายดังกล่าวจะยังไม่บรรลุ แต่คุณูปการที่สำคัญที่สุดที่ขบวนการโลกาภิวัตน์จากรากฐานได้สร้างไว้ก็คือ ความหวังที่ว่า “โลกใบใหม่เป็นไปได้” ซึ่งเป็นคำขวัญของขบวนการสมัชชาสังคมโลกนับตั้งแต่ ค.ศ.2001 เป็นต้นมา
ประกายไฟ
“..รู้สึกว่าธรายอาร์มไม่ใช่แค่กางเกงใน แต่มันแสดงถึงสัญญะบางอย่างของการต่อสู้ ซึ่งเห็นไหมคะ แค่สงสัยว่าทำไมต้องเป็นกางเกงในของธรายอาร์ม คนที่สงสัยเขาก็ต้องหาเรื่องราวของมันบ้างล่ะค่ะ อย่างน้อยเราก็ได้สื่อเรื่องความไม่เป็นธรรมนอกจากแคมเปญหลักของงานนี้..” - ลูกปัด 1 สวาผู้ร่วมรณรงค์ 
ประกายไฟ
 “...พวกนายทุนจึงต้องหาทางให้ปัญหาเหล่านี้ทุเลาเบาบางลง ไม่อย่างนั้นการผลิตในระบบทุนนิยมอาจต้องล่มสลาย จึงต้องสร้างกติกากลางขึ้นมาเพื่อให้การขูดรีดยังดำรงตนต่อไปได้...”
ประกายไฟ
...ผมไม่คิดว่าการมีวันพ่อวันแม่มันจะสร้างประโยชน์อะไรให้กับคนที่ "มีพ่อมีแม่" (หรือแม้แต่ตัวคนเป็นพ่อเป็นแม่) แต่ขณะเดียวกันมันกลับเป็นวันที่ "ซ้ำเติม" คนที่ "ขาดพ่อขาดแม่" ซึ่งโดยปกติก็อาจจะมีชีวิตที่รันทดเจ็บปวดกับเรื่องนี้อยู่แล้ว..
ประกายไฟ
...แต่เชื่อไหม (เหมือนถาพในหนัง) ใบหน้าคนเหล่านั้นลอยออกมาปะทะสายตาเรา เรามองไม่เห็นความกลัวในใบหน้าของคนเหล่านั้น บางคนด่าไปอมยิ่มไป บางคนด่าไปก็แสดงอาการท้าทายไป มันต่างกันมาก ต่างกันจริงๆ เราเคยเห็นคนในม็อบเสื้อแดงช่วงที่มีการสลาย ทั้งวันที่ 10 เมษา และ 19 พฤษภา เราเห็นแววตาคนที่กลัวตาย เห็นแววตาคนที่มีห่วงเห็นแววตาคนที่พร้อมจะยอมตาย แต่คนเหล่านั้นไม่กร่างเท่านี้นะ
ประกายไฟ
...ที่มาที่ไปของ "เสื้อแดง" มันไม่เกี่ยวกับเรื่อง "รักเจ้า" หรือ "รักทักษิณ" ..