Skip to main content

สาระหลักที่น่าสนใจของเรื่องแม่นั้นอยู่ที่จิตสำนึกของปัจเจกชนที่ต่างจากปัจเจกชนในวรรณกรรมรัสเซียเล่มดังๆที่ส่วนใหญ่มุ่งเสนอการดิ้นรนเอาชีวิตของตัวเองให้รอดไปวันๆ เป็นปัจเจกชนที่กำหนดชะตาชีวิตของตัวเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง

 “ท่านผู้เป็นที่รักใคร่นับถือทั้งหลาย ขอจงอย่าได้หวาดกลัวที่จะมองดูสิ่งที่เกิดขึ้นนี้... สิ่งที่พวกเขาต้องการนั้นคือชีวิตใหม่ ชีวิตแห่งสัจจะและความยุติธรรม สิ่งที่พวกเขาต้องการนั้นคือความดี ความดีงามสำหรับมวลประชาชน”

Tee Sarana Khajorndetkul

“แม่” เป็นวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของวรรณกรรมรัสเซีย ประพันธ์ขึ้นโดยแมกซิม กอร์กี้ เทียบกับงานเขียนของนักเขียนที่จัดว่าเป็นยักษ์ใหญ่แห่งวรรณกรรมรัสเซียอย่าง ตอลสตอย, ดอสโตเยฟสกี้ที่มักจะนำเสนอภาพของปัจเจกชนที่มีชีวิตอยู่ท่ามกลางความรันทดเศร้าหมองของสังคมรัสเซียแล้ว งานเขียนเล่มนี้ของกอร์กี้ได้นำเสนอภาพของเหล่าคนงานรัสเซีย ที่มีชีวิตอยู่ท่ามกลางความอยุติธรรมในสังคม การกดขี่ขูดรีดจากระบบของโรงงานอุตสาหกรรม เหล่าคนงานที่เรียกร้องสิทธิและเสรีภาพกับชนชั้นนายทุน นอกจากเหล่าชนชั้นนายทุนแล้ว ยังต้องต่อสู้กับเหล่าทหารของพระเจ้าซาร์ที่พยายามตามฆ่าเหล่าผู้นำกรรมกร กอร์กี้เขียนงานชิ้นนี้ขึ้นจากเหตุการณ์จริงจากการเดินขบวนของเหล่าคนงานรัสเซียในซอร์โมโวเนื่องในวันเมย์เดย์ ค.ศ.1902 การเคลื่อนไหวต่อสู้ขององค์กรจัดตั้งของพรรคสังคมประชาธิปไตย การต่อสู้ของเหล่าคนงานรัสเซียที่นำไปสู่การปฏิวัติรัสเซียที่ได้รับชัยชนะในปี ค.ศ.1917

สาระหลักที่น่าสนใจของเรื่องแม่นั้นอยู่ที่จิตสำนึกของปัจเจกชนที่ต่างจากปัจเจกชนในวรรณกรรมรัสเซียเล่มดังๆที่ส่วนใหญ่มุ่งเสนอการดิ้นรนเอาชีวิตของตัวเองให้รอดไปวันๆ เป็นปัจเจกชนที่กำหนดชะตาชีวิตของตัวเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง การต่อสู้และวีรกรรมอันอาจหาญของประชาชน เป็นเรื่องราวของ “แม่” ผู้มีชีวิตในสังคมเก่า โลกเก่า มีชีวิตอยู่ท่ามกลางภาวะแห่งความคิดที่เต็มไปด้วยความประหวั่นพรั่นพรึงต่ออำนาจที่ครอบงำสังคมอยู่ในห้วงเวลานั้น ด้วยแรงบีบคั้นจากสังคมที่อยู่รอบด้านได้กลายเป็นเสมือนแรงขับไปสู่ความต้องการมีชีวิตที่ดีกว่า เธอได้นำตนเข้าสู่การสนับสนุนขบวนการปฏิวัติ เหตุการณ์นี้ได้ทำให้ชีวิตและทัศนะการมองโลกของเธอเปลี่ยนไป และยังได้สนับสนุนส่งเสริมอุดมการณ์อันกล้าแกร่งให้ “ปาเวล” ลูกชายของเธอด้วย และเธอผู้เป็น “แม่” ผู้มีส่วนช่วยเหลือลูกๆชายหญิงที่เป็นเหล่ากรรมกรของเธออย่างเต็มที่

“แม่” เป็นนวนิยายแนวอัตถนิยมสังคมนิยมที่เลนินยกย่องว่าดีเยี่ยมที่สุด และตลอดทั้งเล่มจะได้พบกับประโยคที่แสดงให้เห็นภาพของการถูกกดขี่ที่ได้แปรเปลี่ยนเป็นพลังแห่งการต่อสู้ เช่น “เราคือประชาชนผู้สร้างโบสถ์และโรงงาน ผู้สร้างโซ่ตรวนและเงินตรา พวกเราคือพลังชีวิตที่มวลมนุษย์ได้ใช้หล่อเลี้ยงร่างกายและดำรงชีวิต” “วันนี้เราจะประกาศตัวอย่างเปิดเผยว่า เราเป็นใคร และชูธงชัยของเราขึ้น ธงแห่งเหตุผล ความยุติธรรมและเสรีภาพ” “วันหนึ่งจะต้องมาถึง วันที่พญาเหยี่ยวจะบินได้อย่างเสรี วันที่ประชาชนจะลุกขึ้นทลายโซ่ตรวนที่ร้อยรัดตน”

“แม่” ได้สะท้อนภาพของผู้ที่ต้องการมีชีวิตที่ดีกว่า ชีวิตที่ต้องก้าวไปข้างหน้าเพื่อประกาศสัจธรรมและความยุติธรรมของมวลประชาชน

อ่านเพิ่มเติมจากแม่ฉบับเต็ม : เฟสบุ๊ค เพจ คลังหนังสือ : คลังความรู้

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
 "...ถ้ารัฐไม่มีหน้าที่บริการประชาชน มหาวิทยาลัยก็จะทำให้เป็นของเอกชน โรงพยาบาลก็จะเป็นเอกชน รถเมล์ น้าประปา ไฟฟ้า ก็จะต้องเป็นของเอกชน แล้วเราจะมีรัฐไปทำไม” เก่งกิจ กิติเรียงลาภ กล่าว  
ประกายไฟ
จริงอยู่ที่ทางกลุ่มแอดมินไทย อาจจะมีความคิดเห็นทางการเมืองที่อยู่คนละข้าง คนละสี....(บอกมาเถอะว่าสีอะไรปิดไม่มิดหรอก) กับสมาชิกในเพจที่เป็นเพื่อนร่วมชาติชาวไทย แต่นี้มันเพจระหว่างประเทศ ที่ผู้เขียนในฐานะสมาชิกคนหนึ่งในเพจมีสิทธิที่จะบอกความเป็นจริง....(รับได้ไหมท่านแอดมิน???)...  
ประกายไฟ
..นักสหภาพหลายๆคนมักมาสอบถามกับผู้เขียนบ่อยๆว่า ทำไมฝ่ายบุคคลมักมีทัศนะคติที่เลวร้ายกับสหภาพหรือที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะมหาวิทยาลัยสั่งสอนให้มองสหภาพในแง่ไม่ดีรึเปล่า แล้วถ้าไม่ใช่พวกนักศึกษาที่จบไปเป็นฝ่ายบุคคลในโรงงานนั้น เขามองสหภาพแรงงานอย่างไร เราจึงจัดทำบทสัมภาษณ์สั้นๆชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อให้รู้ว่าเขา (ว่าที่ฝ่ายบุคคล) คิดยังไงกับเรา(สหภาพแรงงาน)..
ประกายไฟ
..ทำไมคนส่วนใหญ่มักชอบพูดว่าประเทศสหรัฐอเมริกาทีระบบสวัสดิการที่ดีเยี่ยม จนเป็นประเทศในฝันของทุกคน เมื่อได้อ่านความเป็นจริงจากบทความชิ้นนี้แล้วคงทำให้เรามองสหรัฐอเมริกาในแง่ความเป็นจริงมากขึ้น และเลิกพูดมั่วๆซะที ว่าอเมริกามีสวัสดิการดีกว่าไทย
ประกายไฟ
...การที่รัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมา รวมถึงรัฐบาลชุดนี้กำลังจะขึ้นภาษีทางอ้อมจาก 7 เป็น 10% นั้นถือว่าเป็นการเปิดศึกทางชนชั้นกับชนชั้นกรรมกรและคนระดับล่างของสังคมโดยตรง คือ โยนภาระก้อนโตให้คนระดับล่างเป็นผู้จ่าย โดยที่คนร่่ำรวยลอยตัว...
ประกายไฟ
...ดูๆไปแล้วดันไปสะดุดตรงเหตุการณ์ทางการเมืองในเวลานั้นที่ดันตรงกับช่วงของการเปลี่ยนแปลงการปกครองพอดี แหมมมมมมมมมมมม เล่นเล่าซะ คณะผู้ก่อการดูเป็นตัวร้ายไปถนัดตา แถม ร.7 ยังดูน่าสงสารจนเกินเหตุ “ตั้งแต่เกิดมาไอ้เคนยังไม่เห็นว่าในหลวงท่านจะทำอะไรไม่ดีเลย” “เหาจะกินกระบาล” 5555 เอาละวะ ...  
ประกายไฟ
อธิการ.มทส. ค้านนศ.แต่งกายข้ามเพศ เข้ารับปริญญาฯ อ้างเป็นบัณฑิตต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โต้ประเทศนี้อ้างอะไรไม่ได้ ก็อ้างคุณธรรมจริยธรรมปลอมๆ กลวงๆ ย้ำคุณธรรมของบัณฑิตต้องมีจิตใจที่วิพากษ์วิจารณ์ต่อสิ่งที่เป็นอยู่
ประกายไฟ
ผมท้าเลยครับ หลังจากเผาอากง อากงจะถูกลืม..เว้นแต่เรียก กม. "ม.112" ว่า "อากง" เราจะไม่มีทางลืมอากง เพราะมันก็จะอยู่อย่างนี้อีกนานเท่านาน - ด้านเกษียร ตอบ ความทรงจำของสังคมไม่ได้เป็นเรื่องอัตโนมัติ หากต้องสร้างและผลิตซ้ำขึ้น แม้แต่การเอาชื่อไปวางไว้เป็นสมญาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็ไม่ใช่หลักประกันว่าจะได้รับการจดจำจากสังคมหรือจำอย่างถูกต้องครบถ้วนแม่นยำ  
ประกายไฟ
 ..สิ่งที่เรียกว่า "ตลาดไม้โบราณ" ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่เกิดใหม่ในยุค ร.4 - ร.6 เป็นยุคที่ พ่อค้าจีน (โดยเฉพาะจีนแต้จิ๋ว) ที่ ได้เป็นเจ้าภาษีสินค้าต่างๆ เช่น มะพร้าว น้ำตาล อ้อย เป็นต้น จนเกิดชุมทางการค้ามากมายตามลุ่มแม่น้ำต่างๆ ทั้งนครชัยศรี ราชบุรี แม่กลอง มหาชัย สามชุก ฯลฯ (ดูดีๆ ทุกๆที่ๆเป็นตลาดไม้โบราณล้วนมีสถานที่ๆเรียกว่า “โรงเจ” และ “ศาลเจ้าทรงเก๋งจีน” แทบทุกๆแห่ง) ที่เรียกว่าสิ่งใหม่ๆสำหรับคววามเป็นไทยในยุคนั้น..
ประกายไฟ
สาระหลักที่น่าสนใจของเรื่องแม่นั้นอยู่ที่จิตสำนึกของปัจเจกชนที่ต่างจากปัจเจกชนในวรรณกรรมรัสเซียเล่มดังๆที่ส่วนใหญ่มุ่งเสนอการดิ้นรนเอาชีวิตของตัวเองให้รอดไปวันๆ เป็นปัจเจกชนที่กำหนดชะตาชีวิตของตัวเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง
ประกายไฟ
แนะสภาฯเดินหน้าวาระ3 มั่นใจผ่านฉลุย พร้อมด้วยสนทนากับนายซิม ไฮแอท เยาวชนผู้อดข้าวหน้าพรรคเพื่อขอให้นายอภิสิทธิ์ถอนคำพูดเหยียดคนเสื้อแดง
ประกายไฟ
"..คุณอาจจะคิดเอาง่ายๆว่าขอแค่เพียงคุณเป็นคนรักเจ้า คุณก็จะไม่ต้องเผชิญกับความบ้าคลั่งของพวกคลั่งเจ้า (ชี้แจงเพิ่มเติมไว้หน่อยว่าสำรับผม "รักเจ้า" กับ "คลั่งเจ้า" นี่ไม่เหมือนกัน) แต่จากกรณีคุณโกวิทก็เป็นอีกตัวอย่างรูปธรรมหนึ่งที่ทำให้เราเห็นได้ว่าไม่ว่าคุณจะเป็นใคร รักหรือไม่รักเจ้า คุณจะมีโอกาส/มีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญความบ้าคลั่งแบบนี้ได้ทั้งนั้น"