Skip to main content

‘ตั้ม’ อาจจะเป็นชื่อเล่นของใครก็ได้ แต่คงมีคนเดียวเท่านั้นที่ชื่อจริงว่า ‘วิศุทธิ์ พรนิมิตร’

20080403 วิศุทธิ์ พรนิมิตร

ตั้มเป็นนักเขียน เจ้าของผลงานหนังสือหลายเล่ม เช่น hesheit, ควันใต้หมวก หรือประสบการณ์ส่วนตัวตอนที่ไปอยู่ญี่ปุ่นในชื่อ “ตั้มกับญี่ปุ่น” ฯลฯ แต่คุณอาจจะแปลกใจเมื่อรู้ว่าเขาเป็นนักเขียนเพราะพลิกดูผลงานของเขาแล้วล้วนแต่เป็นการ์ตูน

ตั้มเป็นนักเขียน...เขียนการ์ตูน ใครบางคนอาจจะสรุปอย่างนั้น

..........................................

ตั้มครอบครองกระดาษเอาไว้มากมาย โดยเฉพาะกระดาษที่เป็นต้นฉบับทั้งลายเส้น ลงสี เล่าเรื่องผ่านภาพตัวการ์ตูนหลายเรื่องราวหลากอากัปกิริยาทั้งน่ารัก ยียวน ซาบซึ้งหรือชวนให้สงสัย

ในวัยที่ผ่านการใช้ชีวิตมาระยะหนึ่งหลังจบการศึกษาศิลปะจากศิลปากร ตั้มหาเลี้ยงชีพด้วยการเล่นดนตรีเป็นมือกลองให้กับวงดนตรีของเพื่อนๆ หลายวง เขียนการ์ตูน hesheit ลงนิตยสาร a day จนเลี้ยงตัวเองได้ กระทั่งวันหนึ่งคิดได้ว่าหนทางเดินของชีวิตควรจะทอดยาวไกลไปว่านั้น เขาเลยไปญี่ปุ่น

เวลาสามปีครึ่งที่ญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการเติบโตงอกงามของชีวิตและการทำงานของตั้ม ทั้งๆ ที่ตั้งใจแค่ว่าจะไปเรียนภาษาญี่ปุ่นที่เมืองโกเบ แต่แล้วความรักความชอบที่จะเล่าเรื่องก็ทำให้เขาดิ้นรนไปหาเช่าบาร์เล็กๆ ที่ใกล้จะเจ๊งเพื่อเปิดการแสดงแอนิเมชั่นผลงานตัวเองควบคู่ไปกับการดีดเปียโน ทั้งๆ ที่ไม่รู้ตัวโน้ต เปิดขายบัตร ชวนคนมาดูอย่างง่ายๆ มีการสกรีนเสื้อยืดและทำของที่ระลึกขาย คุ้มทุนบ้าง ขาดทุนบ้าง แต่สุดท้ายมันก็คือการได้ลงมือทำสิ่งที่ตัวเองชอบและฝัน

ตั้มเล่าว่าเลือกไม่ผิดที่ไปเรียนภาษาญี่ปุ่นที่โกเบ เพราะเมืองนี้ยังเป็นเมืองเล็กๆ มีที่ว่างให้นั่งเล่นได้สบายอารมณ์ ผิดกับที่โตเกียวซึ่งไม่มีบรรยากาศเช่นนี้เลย จะนั่งอยู่เฉยๆ ก็รู้สึกผิด ในโกเบตั้มยังสามารถขี่จักรยานไปไหนมาไหนได้ และรู้สึกดีที่ได้อยู่กับผู้คนในแวดวงอื่นๆ ที่ไม่สนใจศิลปะหรือไม่รู้จักตัวการ์ตูนของเขาบ้าง เพราะที่เมืองไทยเขาล้วนแต่ต้องข้องแวะกับผู้คนในแวดวงศิลปะที่สวมแว่นตาสีเดียวกันตลอดเวลา

“ผมเป็นนักมองชีวิต” ตั้มว่าไว้อย่างนั้น เขาชอบใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ ดูสิ่งนั้นสิ่งนี้โดยไม่ต้องคิดอะไร อยากทำอะไรก็ทำ ไม่อยากก็ไม่ทำ ปล่อยให้เรื่องราวเกิดขึ้นภายในหัวแล้วจึงเขียนออกมาเป็นงาน

อาจเรียกได้ว่าแนวทางที่ตั้มเดินทางออกไปค้นหาที่ทางของตัวเองท่ามกลางสมรภูมิแห่งแอนิเมชั่นและตัวการ์ตูนของโลกในแดนซากุระนั้นประสบผลสำเร็จด้วยการที่เขาไม่เดินตามใครและพยายามเสนอผลงานออกไปในแบบที่เป็นตัวของตัวเองมากที่สุด คนญี่ปุ่นหลายๆ คนชื่นชอบงานของตั้ม หลายๆ ครั้งต่อมาเวลาที่เขาเปิดการแสดงก็มีแฟนๆ จากเมืองฮอกไกโดทางเหนือนั่งรถมาซื้อตั๋วเข้าชมถึงในโตเกียว มีนิตยสารหลายเล่มมากที่สัมภาษณ์ตั้มตีพิมพ์ในญี่ปุ่น และตั้มยังมีผลงานตีพิมพ์เป็นภาษาญี่ปุ่นหลายชิ้น

“ภาษาญี่ปุ่นผมยังไม่เก่ง แต่เราก็ใช้แค่เราจะสื่อสารได้ ใช้คำง่ายๆ เขียนแบบง่ายๆ ให้พอรู้เรื่อง เช่น ไปไหน กินข้าว...คนญี่ปุ่นเขาชอบงานผม เพราะว่ามันทำให้เขาคิดถึงอดีตที่เปลี่ยนไปหมดแล้ว ทุกวันนี้การ์ตูนของญี่ปุ่นจะสวยงาม เนี้ยบมาก มีการดีไซน์จัด แต่งานของผมเป็นอารมณ์ง่ายๆ เล่าเรื่องซื่อๆ ตรงๆ แบบการ์ตูนยุค ’80” ตั้มบอกอย่างนี้

เมื่อกลับเมืองไทยมาได้สองปี ได้ทำอะไรสบายๆ และปลอดโปร่งกว่าตอนที่อยู่ญี่ปุ่นซึ่งงานเริ่มจะถาโถมจนคิดแทบไม่ทัน ตั้มเล่าว่าพอกลับมาเมืองไทยสิ่งที่ทำบ่อยที่สุดคือเข้าโรงหนัง ดูหนังเยอะมาก ชดเชยกับตอนที่ไปอยู่ญี่ปุ่นไม่มีโรงหนังดีๆ ราคาถูกอย่างในเมืองไทยให้ดู พอถึงเวลาทำงานก็เขียนงานที่ผ่านการกลั่นกรองคัดเลือกมากขึ้นส่งกลับไปที่ญี่ปุ่น

ทุกวันนี้ตั้มก็ยังเขียน เขียนถึงสิ่งที่เขาคิดอยู่ในหัว ซึ่งเขาบอกว่าจะไปกำหนดกะเกณฑ์ให้มันออกมาก็ไม่ได้ “เวลาที่คิดออก ถ้าคิดได้มันจะได้ของมันเอง จะออกมาเป็นฉากๆ เป็นซีนๆ จนจบเลย แต่ส่วนมากผมจะคิดได้เป็นประโยคมากกว่า แล้วผมก็ค่อยเล่าประโยคนั้นด้วยภาพ ผมเองเป็นคนที่อ่านอะไรยาวๆ ไม่เป็น ชอบอ่านงานพวกเซนที่เป็นประโยคสั้นๆ มากกว่า”

..........................................

วันหนึ่ง เมื่อตั้มและเพื่อนๆ ในสำนักพิมพ์ไต้ฝุ่นเปิดดูกรุกระดาษที่ตั้มครอบครองเอาไว้แล้วเห็นว่ามีผลงานต้นฉบับของตั้มอยู่มากมาย ก็เลยช่วยกันคัดเลือกและนำมาจัดแสดงเป็นนิทรรศการต้นฉบับของตั้ม – วิศุทธิ์ พรนิมิตร ในชื่อง่ายๆ ตรงไปตรงมาเหมือนลีลาในการ์ตูนของเขาว่า “กระดาษ”

20080403 2

วันนี้ที่ People Space ในย่านเก่าแก่กลางเกาะรัตนโกสินทร์ที่ยังมีความงามและความว่างอย่างแพร่งภูธรก็ถูกจับจองให้เป็นพื้นที่ของตั้มในการแสดงนิทรรศการและกิจกรรมอื่นๆ เช่น การฉายแอนิเมชั่นประกอบการแสดงเปียโนให้กับคนที่สนใจและแฟนๆ หนังสือตั้มได้ชมอย่างเป็นกันเองแบบใกล้ชิด ไม่ต้องตีตั๋วไปดูถึงญี่ปุ่น

เมื่อได้ไปดูการแสดงแอนิเมชั่นและเห็นผลงานของเขาที่ใส่กรอบแขวนหรือติดปะไว้บนผนังของห้องแสดงงานเล็กๆ แห่งนี้ เรารับรู้ได้ว่าตั้มเป็นนักเขียน ...แต่การ์ตูนคือถ้อยคำและไวยากรณ์ของเขา

20080403 3

20080403 4

20080403 5

20080403 6

20080403 7

20080403 8

..........................................

“กระดาษ”
นิทรรศการต้นฉบับงานของวิศุทธิ์ พรนิมิตร
29 มีนาคมถึง 3 พฤษภาคม 2551
People Space 116 แพร่งภูธร แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
โทร. 081- 549- 002 http://people-space.blogspot.com

บล็อกของ อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง

อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
ผมอนุญาตให้ตัวเองมีความฝันที่ค้างคามานานอยู่เรื่องหนึ่ง นั่นคือการเป็นเจ้าของร้านกาแฟเล็กๆ สักร้านและระหว่างรอให้ความฝันตกผลึกหรืออิ่มตัวจนตกตะกอนนอนก้น (เหมือนเวลาที่กินกาแฟชงแบบเวียดนามที่ไหลผ่านถ้วยกรองช้าๆ ขมหวานได้ที่)  ผมก็ใช้เวลาระหว่างรอ พักในร้านกาแฟที่ผ่านทางอยู่เสมอๆ สั่งกาแฟต่างรูปแบบมาจิบ บางเวลาเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับกาแฟดำธรรมดาๆ แต่หอมกรุ่นอย่างกาแฟสด บางเวลาเราอาจจะอยากเปลี่ยนไปสั่งกาแฟดำในแบบที่เรียกว่า “อเมริกาโน่” ดูบ้าง บางช่วงก็เป็นชั่วโมงที่ต้องย้อมความฝันด้วยกาแฟกรุ่นกลิ่นนมของลาเต้ร้อน…
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
ในงานนิทรรศการออกร้านเพื่อจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกและของแต่งบ้านปีหนึ่งนานมาแล้วที่บังเอิญได้ไปเดินดูและเลือกซื้อข้าวของ ในมุมหนึ่งของงานซึ่งเป็นการออกร้านสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน และต่างประเทศอื่นๆ ตะกร้าสานจากกาน่าเหมือนจะได้รับความนิยมจากผู้คนที่เดินในงานมากเป็นพิเศษ สินค้าจำพวกเฟอร์นิเจอร์ไม้และไม้แกะสลักในร้านจากอินโดนีเซียก็ได้รับความสนใจไม่น้อย ร้านของเวียดนามและกัมพูชาที่อยู่ถัดๆ มาก็มีผู้คนเข้าไปชมสินค้ากันคึกคัก แต่เหตุไฉนร้านค้าซึ่งเป็นสินค้าตัวแทนจากประเทศลาวหรือ สปป. ลาว…
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
ผมเพิ่งกลับจากการเดินทางอีกครั้งหนึ่งหลังจากต้นปีผ่านมา...เป็นการเดินทางที่ไม่ยาวนานนักในสามจุดหมายคือเซินเจิ้น หนึ่งเมืองของจีนแผ่นดินใหญ่ แวะฮ่องกงและกลับจากมาเก๊า แต่ก็มีความเหนื่อย เหน็บหนาวจากสภาพอากาศอันไม่คุ้นเคยของจุดหมายที่ว่าแต่ก็ไม่น่าเชื่อว่าการเดินทางอันไม่คาดหมายว่าจะผ่านเข้ามาสู่ชีวิตรวดเร็วอย่างไม่ทันจะตั้งตัว จะเป็นการเดินทางอีกครั้งที่ ‘ช่วยชีวิต’ ผมเอาไว้................................................ที่ว่าการเดินทางช่วยชีวิตเอาไว้นั้น ไม่ได้หมายความว่าผมไปผ่านพ้นหรือผจญภัยกับสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวานแล้วเอาชีวิตรอดกลับมาได้…
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
คนเราล้วนประสบชะตากรรมที่หลากหลายขณะ ‘เดินทาง’…และก็เช่นกัน – ที่ยุคปัจจุบันคนเรา ‘เดินทาง’ ด้วยวัตถุประสงค์และรูปแบบที่หลากหลายมากมายกว่าแต่ก่อนเราพ้นจากยุคสมัยของการเดินทางด้วยเรือกลไฟที่ต้องอาศัยเวลาเป็นแรมเดือนกว่าจะพ้นโค้งน้ำเข้าสู่น่านน้ำบ้านอื่นเมืองอื่น เราเลิกพึ่งพารถไฟที่ต้องถาโถมเชื้อเพลิงจากท่อนฟืนและก็เช่นเดียวกันรถม้า จักรยานหรือแม้แต่เกวียนเทียมวัวควายกลายเป็นพาหนะพ้นยุคตกสมัย ไปไหนมาไหนอืดอาดไม่เท่าทันความรวดเร็วของจิตใจและยุคสมัยแต่ไม่ว่ารถจะเคลื่อนไหวได้ว่องไวขึ้นหลายร้อยเท่าจากพาหนะที่ใช้พลังงานจากธรรมชาติ ไม่ว่าคนเราจะเคลื่อนที่หรือย้ายถิ่นข้ามเมือง…
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
“เราคิดว่ามันอาจจะเร็วเกินไปไม่ว่าจะสำหรับนักท่องเที่ยว การลงทุนหรือความช่วยเหลือ... ตราบใดที่มีเงินก้อนใหม่เข้ามาในประเทศ ก็ยิ่งจะทำให้รัฐบาลทหารเพิกเฉยต่อแรงจูงใจที่จะทำให้ความเปลี่ยนแปลง”ออง ซาน ซูจี 2538“เราหวังว่าคุณจะไม่เข้ามาเที่ยวพม่ากับการมีกล้องในมือและแค่เพื่อการเก็บรูปถ่ายเท่านั้น เราไม่ต้องการนักท่องเที่ยวแบบนั้น จงพูดคุยกับคนที่คุณอยากจะคุยด้วย ปล่อยให้เขาได้เรียนรู้เงื่อนไขข้อจำกัดในชีวิตของคุณบ้าง”ชาวย่างกุ้งผู้สนับสนุนพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย 2547 สายตาที่สื่อส่งมาดูเหมือนรู้จัก รอยยิ้มที่ค่อยๆ คลี่คลายบนใบหน้าแลดูคุ้นเคย…
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
ผมหยิบยืมคำว่า “ไปทำไม” ขึ้นมาเป็นชื่อเรื่องของข้อเขียนนี้จากชื่อสำนักพิมพ์ของรุ่นพี่ท่านหนึ่ง ซึ่งพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับภาพถ่ายการเดินทางและโปสการ์ดราคาประหยัดเพียงสามใบสิบบาท และเขาเรียกขานสำนักพิมพ์ตัวเองในเชิงสัพยอกว่า ‘สำนักพิมพ์ไปทำไม’...แม้จะฟังดูคล้ายกับว่าเจตนาจะกวนๆ แต่ก็เข้าท่าดีเหมือนกันคำว่า “ไปทำไม” แม้จะดูคล้ายกับการตั้งคำถามโดยตรง แต่ขณะเดียวกันก็เป็นเหมือนการปุชฉาโดยมีโทนของน้ำเสียงฟังเหมือนกับการบ่นพึมพำกับตัวเองหรือการพ่นความไม่ได้ดังใจหรือความไม่เข้าใจของคนที่บังเอิญไปประสบพบเห็นพฤติกรรมของ “การไป” (ที่ไหนสักที่ ของคนสักคนหรือสักกลุ่มหนึ่ง)…
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
เพชรบุรีวางตัวอยู่อย่างน่าสนใจจากกรุงเทพฯ…ที่ว่าน่าสนใจนั่นคือ ระยะทางที่ไม่ใกล้ แต่ก็ไม่ไกลจนเกินไป แค่ชั่วเวลานั่งรถเพลินๆ ไม่เกินสองชั่วโมงก็น่าจะเข้าเขตเมืองเพชร โดยมีภาพของทุ่งนายามข้าวออกรวงสีเขียวละมุนตาและต้นตาลยืนต้นเรียงรายอยู่ปลายนา หรืออาจจะเห็นปลายจั่วแหลมๆ ของบ้านหลังคาทรงไทยหลายหลังโผล่พ้นทุ่งนาหรือรั้วบ้าน เป็นฉากทั้งหลายที่บ่งบอกว่า บัดนี้เข้าสู่ดินแดนแห่งน้ำตาลเมืองเพชรแล้วหลายวันก่อนเป็นอีกครั้งของความตั้งใจที่จะไปเยือนเพชรบุรีโดยที่ไม่ต้องมีจุดหมายปลายทางที่แน่นอน…
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
คืนและวันที่ดูแปลกหน้า แม้สบายๆ แต่ก็เปี่ยมด้วยความมุ่งหวังบางอย่าง หลายสิ่งที่ได้พบเห็นเติมเต็มความรู้สึกที่ได้รับจากการเดินทาง จากดินแดนเหนือสุดของเวียดนามประเทศเพื่อนบ้าน ตอนนี้เรากำลังไต่ตามแผ่นดินแคบๆ ที่เลียบท้องทะเลมาถึงเมืองมรดกโลกลือชื่ออย่าง  ‘ฮอยอัน’  และในระหว่างเส้นทางอันยา
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
สายวันหนึ่งขณะที่เดินทางออกไปนอกบ้าน ท่ามกลางการจราจรที่คับคั่งจอแจเช่นเคย สายตาเหลือบไปเห็นข้อความด้านหลังของรถแท็กซี่มิเตอร์สีเขียวเหลืองคันที่อยู่ข้างหน้า “กล้าที่จะไปให้ถึงฝัน”...แม้จะเป็นข้อความเรียบง่ายธรรมดาๆ แต่ก็เป็นข้อความที่มีความหมาย และให้ความรู้สึกแปลกตาโดยเฉพาะเมื่อมาปรากฏอยู่บนกระจกหลังของแท็กซี่เช่นนี้ ทำให้พาลอยากรู้ว่าเจ้าของข้อความซึ่งไม่แน่ว่าอาจจะไม่ใช่ผู้ที่กำลังทำหน้าที่หลังพวงมาลัยของแท็กซี่คันนี้ก็เป็นได้…