Skip to main content

เด็กสาวทำงานแต่งกายในชุดส่าหรีสีสดเทินกิ่งไม้ไว้บนศีรษะกำลังเดินกลับบ้าน ลูกลิงแสนซนที่ปีนป่ายลูกกรง หญิงชราผู้ค่อยๆ ต่อยก้อนหินให้แตกออกจนเป็นกรวดด้วยมือเปล่า รถสามล้อเก่าผุพังในสีขาวดำ สวามีผู้เร้นกายขึ้นไปปลีกวิเวกอยู่ในถ้ำเล็กๆ เหนือบันไดเจ็ดร้อยขั้น หนุ่มช้ำรักผู้ทำท่าเบื่อโลกนั่งอยู่หน้าโรงหนัง...

20080513 1

20080513 2

เรื่องราวทั้งหมดนี้หากไม่ได้เกิดขึ้นที่อินเดียแล้ว จะมีที่ใดที่เรื่องราวอันแตกต่างกันสุดขั้ว ระหว่างรวยถึงจน ระหว่างความงามไปจนถึงความหดหู่อาดูร ระหว่างความศักดิ์สิทธิ์ไปถึงความแตกร้าวแห่งศรัทธา สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเกิดขึ้น มีอยู่ ให้พบเห็นได้ในทุกแห่งหนของอินเดีย...ถ้าหากว่าใครมีโอกาสได้ไปดูด้วยตาตนเอง

แต่ถ้ารู้สึกว่าแดดที่บ้านเราในยามนี้มันร้อนเกินไปแล้วอยากเร้นกายหลบแดดแต่ก็ยังสามารถเพ่งมองเห็นความเป็นไปในชีวิต หรืออาจจะเรียกได้ว่า “สีสันแห่งความเป็นไป” ของชีวิต โดยเฉพาะชีวิตที่เหมือนมีสีสันและความมหัศจรรย์อยู่ทุกอณูอย่างอินเดีย ก็อาจจะแวะไปชมงานแสดงนิทรรศการภาพถ่าย สีสันของอินเดีย - Colors of India

20080513 3

เชอร์รี่ ผุงประเสริฐและ ลุคแคสซาดี้-ดอเรียน เป็นผู้นำเรื่องราวและโอกาสนี้มาจัดแสดงหลังจากที่มีโอกาสเดินทางไปอินเดียเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมและทักษะการสอนโยคะ ซึ่งทั้งคู่เป็นครูโยคะในประเทศไทยอยู่แล้ว ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนทั้งสองได้เก็บเกี่ยวความทรงจําในอารมณ์ต่างๆของดินแดนแห่งนี้ผ่านเลนส์ของกล้องโลโม่ Holga และ Horizon ซึ่งมีคุณสมบัติในการถ่ายภาพที่ ‘ไม่คมชัด’ แต่ทว่าเก็บอารมณ์และสีสันภาพได้ดี ที่สำคัญซึ่งทั้งสองชอบที่จะถ่ายภาพด้วยกล้องโลโม่ก็คือมันเป็นกล้องฟิล์ม เมื่อเห็นสิ่งใดสะดุดใจก็ถ่ายภาพเก็บเอาไว้ แม้จะไม่สามารถดูหรือเห็นภาพที่ถ่ายได้โดยทันทีเหมือนกล้องระบบดิจิทัล แต่ก็รองรับอารมณ์ ณ ตอนนั้นหรือที่เรียกว่าโมเมนต์ (moment) ในการถ่ายภาพได้ดี

20080513 4

เชอร์รี่บอกว่า “มันเหมือนกับชีวิตของคนเรา ที่โมเมนต์ใดโมเมนต์หนึ่งผ่านเข้ามาตลอดเวลา แต่เราก็ไม่สามารถจับมันหรือหยุดมันเอาไว้ได้ มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วผ่านเลยไป”

ทั้งเชอร์รี่และลุคเดินทางไปที่เมืองมัยซอร์ (Mysore) เพื่อฝึกโยคะแบบ Ashtanga กับอาศรมโยคะเก่าแก่มีชื่อเสียงที่นั่น แม้ลุคจะเรียนภาษาสันสกฤตไปด้วยก็ตาม แต่เมื่อฝึกโยคะเสร็จในแต่ละวันจะมีเวลาว่างเหลือเฟือ กิจกรรมการออกไปเดินเล่นเพื่อถ่ายภาพชีวิตผู้คนและสิ่งที่พบเห็นรอบๆ เมืองมัยซอร์จึงเป็นกิจกรรมในยามว่างและสร้างแรงบันดาลใจในระหว่างอยู่ในอินเดียได้ดี

วันหนึ่งขณะนั่งอยู่ในร้านเบเกอรี่ ลุคและเชอร์รี่กำลังถูกรุมล้อมด้วยเด็กๆ เกือบจะทุกวัยตั้งแต่เล็กสุดไปจนถึงเด็กโตเพื่อขอเงินและขอให้ซื้อขนมให้ เหตุการณ์นั้นทำให้ทั้งคู่นั่งลงคุยกันอย่างจริงจังว่าน่าจะนำภาพที่ถ่ายเอาไว้กลับมาสร้างคุณค่าเพื่อหยิบยื่นน้ำใจคืนให้กับผู้คนที่อินเดียอีกครั้ง
หลังจากกลับมาประเทศไทยแล้ว ทั้งคุณเชอร์รี่และคุณลุคเห็นพ้องกันว่าน่าจะนําความทรงจําดีๆ ในภาพถ่ายจำนวนมากมาทําประโยชน์ให้แก่สังคมตามที่เคยคิดกันไว้ โดยได้ร่วมกับความช่วยเหลือจากห้างเพนินซูล่า พลาซ่า (ซึ่งไม่ได้คิดค่าเช่าสถานที่) จัดงานแสดงนิทรรศการภาพถ่ายขึ้น โดยใช้เวลารวบรวม คัดเลือก อัดขยายชิ้นงานการถ่ายภาพของแต่ละคน จากการเตรียมงานอยู่นับปีก่อนจะนำออกแสดงเพื่อจัดจําหน่ายโดยรายได้ทั้งหมดจากการจัดจําหน่ายหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ทางเชอร์รี่และลุคเซ็นเตอร์จะนําไปมอบให้กับองค์กรการกุศลสองแห่งคือ Camillian Social Center ซึ่งทำงานช่วยเหลือเด็กที่ติดเชื้อเอดส์ในประเทศไทยและ Seva Foundation ซึ่งช่วยผู้พิการตาบอดในประเทศอินเดีย

งานนิทรรศการดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 20 พฤษภาคม 2551 ณ บริเวณ ลานโถงกลางเพนินซูล่า พลาซ่า การแสดงและจําหน่ายชิ้นงานภาพถ่ายจะเริ่มตั้งแต่วันเปิดงานจนถึงวันที่ 20 ทั้งนี้จะมีภาพถ่ายหลายขนาดและหลายรูปแบบออกแสดงและจําหน่ายในราคาตั้งแต่ชิ้นละ 6,000 บาท - 20,000 บาท ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีที่ผู้สนใจจะสามารถเป็นเจ้าของภาพถ่ายสีสันของอินเดียจากมุมมองของตากล้องทั้งสองและยังเป็นการได้ช่วยทำกุศลอีกด้วย

เมื่อไปดูจะได้รู้ว่า อินเดียแม้จะเป็นเพียงสถานที่แห่งหนึ่ง เป็นอนุทวีปแต่ก็มีเรื่องราว มีพลังของตนเอง จนอาจกล่าวได้ว่าเปรียบเหมือนโลกหรือจักรวาลอันมีเอกลักษณ์อีกแห่งหนึ่งที่ไม่เหมือนที่อื่นใด เรื่องราวของอินเดียถูกส่งผ่านสีสันอันสดและร้อนแรง นัยว่าเพื่อขับเน้นให้ชีวิตไม่ว่าจะทุกข์ยากลำเค็ญหรือหมองหม่นเช่นไรให้เปล่งประกายของมันออกมาจนสุดชีวิต...ที่ควรจะเป็นหรือที่เป็นไป

20080513 5

20080513 6

20080513 7

20080513 8
ภาพนี้ชื่อว่า Not Sure Where Things Are Going

20080513 9
เชอร์รี่กับผลงานถ่ายภาพโลโม่ของเธอเอง ซึ่งบอกว่าเป็นภาพที่ชื่นชอบ

20080513 10
บริษัทซักผ้า – ลุคผู้เก็บภาพนี้บอกกับเรา

ติดตามข่าวสารนิทรรศการภาพถ่ายของทั้งคู่ได้ทางwww.luke.org/colors

บล็อกของ อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง

อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
ผมอนุญาตให้ตัวเองมีความฝันที่ค้างคามานานอยู่เรื่องหนึ่ง นั่นคือการเป็นเจ้าของร้านกาแฟเล็กๆ สักร้านและระหว่างรอให้ความฝันตกผลึกหรืออิ่มตัวจนตกตะกอนนอนก้น (เหมือนเวลาที่กินกาแฟชงแบบเวียดนามที่ไหลผ่านถ้วยกรองช้าๆ ขมหวานได้ที่)  ผมก็ใช้เวลาระหว่างรอ พักในร้านกาแฟที่ผ่านทางอยู่เสมอๆ สั่งกาแฟต่างรูปแบบมาจิบ บางเวลาเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับกาแฟดำธรรมดาๆ แต่หอมกรุ่นอย่างกาแฟสด บางเวลาเราอาจจะอยากเปลี่ยนไปสั่งกาแฟดำในแบบที่เรียกว่า “อเมริกาโน่” ดูบ้าง บางช่วงก็เป็นชั่วโมงที่ต้องย้อมความฝันด้วยกาแฟกรุ่นกลิ่นนมของลาเต้ร้อน…
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
ในงานนิทรรศการออกร้านเพื่อจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกและของแต่งบ้านปีหนึ่งนานมาแล้วที่บังเอิญได้ไปเดินดูและเลือกซื้อข้าวของ ในมุมหนึ่งของงานซึ่งเป็นการออกร้านสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน และต่างประเทศอื่นๆ ตะกร้าสานจากกาน่าเหมือนจะได้รับความนิยมจากผู้คนที่เดินในงานมากเป็นพิเศษ สินค้าจำพวกเฟอร์นิเจอร์ไม้และไม้แกะสลักในร้านจากอินโดนีเซียก็ได้รับความสนใจไม่น้อย ร้านของเวียดนามและกัมพูชาที่อยู่ถัดๆ มาก็มีผู้คนเข้าไปชมสินค้ากันคึกคัก แต่เหตุไฉนร้านค้าซึ่งเป็นสินค้าตัวแทนจากประเทศลาวหรือ สปป. ลาว…
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
ผมเพิ่งกลับจากการเดินทางอีกครั้งหนึ่งหลังจากต้นปีผ่านมา...เป็นการเดินทางที่ไม่ยาวนานนักในสามจุดหมายคือเซินเจิ้น หนึ่งเมืองของจีนแผ่นดินใหญ่ แวะฮ่องกงและกลับจากมาเก๊า แต่ก็มีความเหนื่อย เหน็บหนาวจากสภาพอากาศอันไม่คุ้นเคยของจุดหมายที่ว่าแต่ก็ไม่น่าเชื่อว่าการเดินทางอันไม่คาดหมายว่าจะผ่านเข้ามาสู่ชีวิตรวดเร็วอย่างไม่ทันจะตั้งตัว จะเป็นการเดินทางอีกครั้งที่ ‘ช่วยชีวิต’ ผมเอาไว้................................................ที่ว่าการเดินทางช่วยชีวิตเอาไว้นั้น ไม่ได้หมายความว่าผมไปผ่านพ้นหรือผจญภัยกับสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวานแล้วเอาชีวิตรอดกลับมาได้…
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
คนเราล้วนประสบชะตากรรมที่หลากหลายขณะ ‘เดินทาง’…และก็เช่นกัน – ที่ยุคปัจจุบันคนเรา ‘เดินทาง’ ด้วยวัตถุประสงค์และรูปแบบที่หลากหลายมากมายกว่าแต่ก่อนเราพ้นจากยุคสมัยของการเดินทางด้วยเรือกลไฟที่ต้องอาศัยเวลาเป็นแรมเดือนกว่าจะพ้นโค้งน้ำเข้าสู่น่านน้ำบ้านอื่นเมืองอื่น เราเลิกพึ่งพารถไฟที่ต้องถาโถมเชื้อเพลิงจากท่อนฟืนและก็เช่นเดียวกันรถม้า จักรยานหรือแม้แต่เกวียนเทียมวัวควายกลายเป็นพาหนะพ้นยุคตกสมัย ไปไหนมาไหนอืดอาดไม่เท่าทันความรวดเร็วของจิตใจและยุคสมัยแต่ไม่ว่ารถจะเคลื่อนไหวได้ว่องไวขึ้นหลายร้อยเท่าจากพาหนะที่ใช้พลังงานจากธรรมชาติ ไม่ว่าคนเราจะเคลื่อนที่หรือย้ายถิ่นข้ามเมือง…
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
“เราคิดว่ามันอาจจะเร็วเกินไปไม่ว่าจะสำหรับนักท่องเที่ยว การลงทุนหรือความช่วยเหลือ... ตราบใดที่มีเงินก้อนใหม่เข้ามาในประเทศ ก็ยิ่งจะทำให้รัฐบาลทหารเพิกเฉยต่อแรงจูงใจที่จะทำให้ความเปลี่ยนแปลง”ออง ซาน ซูจี 2538“เราหวังว่าคุณจะไม่เข้ามาเที่ยวพม่ากับการมีกล้องในมือและแค่เพื่อการเก็บรูปถ่ายเท่านั้น เราไม่ต้องการนักท่องเที่ยวแบบนั้น จงพูดคุยกับคนที่คุณอยากจะคุยด้วย ปล่อยให้เขาได้เรียนรู้เงื่อนไขข้อจำกัดในชีวิตของคุณบ้าง”ชาวย่างกุ้งผู้สนับสนุนพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย 2547 สายตาที่สื่อส่งมาดูเหมือนรู้จัก รอยยิ้มที่ค่อยๆ คลี่คลายบนใบหน้าแลดูคุ้นเคย…
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
ผมหยิบยืมคำว่า “ไปทำไม” ขึ้นมาเป็นชื่อเรื่องของข้อเขียนนี้จากชื่อสำนักพิมพ์ของรุ่นพี่ท่านหนึ่ง ซึ่งพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับภาพถ่ายการเดินทางและโปสการ์ดราคาประหยัดเพียงสามใบสิบบาท และเขาเรียกขานสำนักพิมพ์ตัวเองในเชิงสัพยอกว่า ‘สำนักพิมพ์ไปทำไม’...แม้จะฟังดูคล้ายกับว่าเจตนาจะกวนๆ แต่ก็เข้าท่าดีเหมือนกันคำว่า “ไปทำไม” แม้จะดูคล้ายกับการตั้งคำถามโดยตรง แต่ขณะเดียวกันก็เป็นเหมือนการปุชฉาโดยมีโทนของน้ำเสียงฟังเหมือนกับการบ่นพึมพำกับตัวเองหรือการพ่นความไม่ได้ดังใจหรือความไม่เข้าใจของคนที่บังเอิญไปประสบพบเห็นพฤติกรรมของ “การไป” (ที่ไหนสักที่ ของคนสักคนหรือสักกลุ่มหนึ่ง)…
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
เพชรบุรีวางตัวอยู่อย่างน่าสนใจจากกรุงเทพฯ…ที่ว่าน่าสนใจนั่นคือ ระยะทางที่ไม่ใกล้ แต่ก็ไม่ไกลจนเกินไป แค่ชั่วเวลานั่งรถเพลินๆ ไม่เกินสองชั่วโมงก็น่าจะเข้าเขตเมืองเพชร โดยมีภาพของทุ่งนายามข้าวออกรวงสีเขียวละมุนตาและต้นตาลยืนต้นเรียงรายอยู่ปลายนา หรืออาจจะเห็นปลายจั่วแหลมๆ ของบ้านหลังคาทรงไทยหลายหลังโผล่พ้นทุ่งนาหรือรั้วบ้าน เป็นฉากทั้งหลายที่บ่งบอกว่า บัดนี้เข้าสู่ดินแดนแห่งน้ำตาลเมืองเพชรแล้วหลายวันก่อนเป็นอีกครั้งของความตั้งใจที่จะไปเยือนเพชรบุรีโดยที่ไม่ต้องมีจุดหมายปลายทางที่แน่นอน…
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
คืนและวันที่ดูแปลกหน้า แม้สบายๆ แต่ก็เปี่ยมด้วยความมุ่งหวังบางอย่าง หลายสิ่งที่ได้พบเห็นเติมเต็มความรู้สึกที่ได้รับจากการเดินทาง จากดินแดนเหนือสุดของเวียดนามประเทศเพื่อนบ้าน ตอนนี้เรากำลังไต่ตามแผ่นดินแคบๆ ที่เลียบท้องทะเลมาถึงเมืองมรดกโลกลือชื่ออย่าง  ‘ฮอยอัน’  และในระหว่างเส้นทางอันยา
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
สายวันหนึ่งขณะที่เดินทางออกไปนอกบ้าน ท่ามกลางการจราจรที่คับคั่งจอแจเช่นเคย สายตาเหลือบไปเห็นข้อความด้านหลังของรถแท็กซี่มิเตอร์สีเขียวเหลืองคันที่อยู่ข้างหน้า “กล้าที่จะไปให้ถึงฝัน”...แม้จะเป็นข้อความเรียบง่ายธรรมดาๆ แต่ก็เป็นข้อความที่มีความหมาย และให้ความรู้สึกแปลกตาโดยเฉพาะเมื่อมาปรากฏอยู่บนกระจกหลังของแท็กซี่เช่นนี้ ทำให้พาลอยากรู้ว่าเจ้าของข้อความซึ่งไม่แน่ว่าอาจจะไม่ใช่ผู้ที่กำลังทำหน้าที่หลังพวงมาลัยของแท็กซี่คันนี้ก็เป็นได้…