Skip to main content

เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา

 

Kasian Tejapira

พร้อมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์รอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา รถยนต์ได้กลายเป็นสินค้าคงทนที่กระจายกว้างจากประเทศอุตสาหกรรมร่ำรวย ไปสู่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก เช่น จีน, อินเดีย, รัสเซีย, บราซิล ก่อเกิดเป็นแนวโน้มใหม่ ๔ ประการของตลาดรถยนต์โลกปัจจุบัน กล่าวคือ

๑) ยอดขายรถยนต์ในโลกปัจจุบันส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศตลาดเกิดใหม่ จาก ๑๐ ปีก่อนที่ยอดขายรถยนต์ในประเทศตลาดเกิดใหม่เป็นแค่ ๑/๓ ของประเทศทุนนิยมก้าวหน้าตะวันตก มาบัดนี้กลับสูงกว่าฝ่ายหลังถึง ๒๐% สะท้อนการค่อย ๆ ขยับเปลี่ยนย้ายศูนย์การผลิตและความมั่งคั่งของโลก ที่ GDP ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่เพิ่มเร็วกว่าของกลุ่มประเทศทุนนิยมก้าวหน้าตะวันตกเฉลี่ยปีละ ๔% ทำให้ยอดขายรถเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าฝ่ายหลังปีละ ๑๕% ในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมา

๒) อย่างไรก็ตาม ยอดขายรถยนต์ในประเทศตลาดเกิดใหม่มีแนวโน้มจะชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ เพราะบรรดาผู้มีปัญญาซื้อส่วนใหญ่ (คนชั้นกลาง) ในประเทศเหล่านั้นมักซื้อรถกันไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้อัตรายอดขายรถยนต์ในประเทศตลาดเกิดใหม่ยังคงเพิ่มอยู่ แต่เหลือราว ๕ - ๖%/ปี ไม่เพิ่มด้วยอัตรา ๒ หลักเหมือนหลายปีที่ผ่านมา

๓) แต่กล่าวเฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้ารถยนต์ที่ขายในประเทศตลาดเกิดใหม่ เนื่องจากเงื่อนไขเฉพาะที่ญี่ปุ่นดำเนินมาตรการส่งเสริมการซื้อรถยนต์ขนานใหญ่ และครัวเรือนอเมริกาค่อยฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยสองสามปีที่ผ่านมา จึงเริ่มซื้อรถกันอีกระลอก

๔) จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา แต่กระนั้นหากคิดเป็นจำนวนคัน จีนยังเป็นอันดับหนึ่งที่ ๑๘ ล้านคัน เหนือกว่าอเมริกาอันดับสองที่ ๑๓ ล้านคัน

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ