Skip to main content

วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?

Kasian Tejapira(18/11/55)

คุณ Bus Tewarit ตั้งกระทู้ว่า:


"การกล่าวว่า "นายทุน" เป็นคนส่วนน้อย เอาเปรียบ ช่วงชิงเอาทรัพยากร ขูดรีดเอามูลค่าส่วนเกิดจากคนงาน จากคนส่วนใหญ่ของสังคมไป ถือเป็น Hate Speech ไหมครับ ?"



ผมคิดว่านี่ไม่ใช่เรื่องเล่น จึงทดลองเสนอตอบว่า:

ผมคิดว่าไม่นะครับ วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?


จะว่าไป การวิเคราะห์แบบเศรษฐศาสตร์การเมืองเช่นนั้น ผมก็ทำในชั้น เพื่ออธิบายวิธีคิดแบบลัทธิ มาร์กซเทียบกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองสำนักอื่น ๆ ให้นักศึกษาเข้าใจ ส่วนเขาจะเห็นด้วยหรือไม่ อีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้านอกจากอธิบายแล้ว ผมแถมว่า "ชนชั้นนายทุนก็เหมือนเชื้อโรคไวรัสในร่างกาย เราต้องฆ่าไวรัสเพื่อสุขภาพฉันใด เราก็ต้องฆ่านายทุนให้หมด ไม่เว้นแม้แต่ลูกเมียมัน เพราะมันไม่ใช่คน มันเป็นสัตว์นรก ฉันนั้น" แบบนี้ ผมคิดว่าใช่ hate speech นะครับ

หรือในทางกลับกัน ถ้าผมอธิบายลัทธิมาร์กซแล้ว ผมแถมว่า "ลัทธิอุบาทว์นี้เป็นอันตรายต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์อย่างยิ่ง ดังนั้น ถ้าเจอพบคนที่คิดแบบนี้ จัดการศึกษาแบบนี้ เอาหนังสือมาอ่านแล้วนั่งคุยกันแบบนี้เป็นกลุ่มก้อนที่ไหน ฆ่ามันเลยพี่น้อง เพราะฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาปนะพี่น้อง" แบบนี้ ผมก็คิดว่ามีเหตุผลที่น่าจะสันนิษฐานได้ว่าเป็น hate speech หรือพูดในความเข้าใจผมคือ speech that kills อ่ะครับ

ความเข้าใจและพยายามแยกแยะเรื่องนี้สำคัญ เพราะถ้าทำเป็นเล่น เหมารวมเข้าด้วยกันโดยไม่แยกแยะแล้ว ผมนึกเป็นห่วงเท่านั้นเองว่าสักวันอาจเห็นคุณ Bus สนับสนุนให้ "ยำ" ผู้ไม่ยอมให้แก้ม.๑๑๒ เพราะมันไม่ใช่คน ฯลฯลฯลฯ โดยถือว่านั่นเป็น free speech นะครับ เอื๊อกกกก.....

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ