Skip to main content

"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."

"เสธ.อ้าย" พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์การพิทักษ์สยาม

Kasian Tejapira(18/11/55)

อนุสนธิจากกระทู้และความเห็นของคุณ Pipob Udomittipong ผมนำคำตอบมาปรับแต่งเพื่อเสนอความเห็นบางอย่างเกี่ยวกับพลังการเมืองฝ่ายขวาไทยในปัจจุบัน.....

๑) เสธ.อ้าย(พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์)และพรรคพวกที่ล้อมรอบเขาไม่คิดตั้งพรรค ลงเลือกตั้งครับ ตัวเสธ.อ้ายมีบทบาทแค่หัวโขน ความคิดการเมืองก็ระดับของความเป็นไทยแบบราชาชาตินิยมและประชาธิปไตยแบบ ไทย ๆ สิ่งที่เรียกว่าองค์การพิทักษ์สยาม เป็น "ร่ม" ของเครือข่ายกลุ่มการเมืองอนุรักษ์นิยม กษัตริย์นิยม หลากหลายกลุ่มที่หาที่ตั้งอำนาจในระบบเลือกตั้งไม่พบ

๒) จุดแข็งของพวกเขาไม่ใช่แนวนโยบายการเมืองที่เป็นระบบ ฝ่ายอนุรักษ์นิยมไม่คิดไปไหน คิดจะอยู่กับที่ ดังนั้นการสร้างวิชั่นโมเดลที่เป็นระบบ ไม่ใช่ภาระหน้าที่หลัก จุดแข็งของพวกเขาคือฐานวัฒนธรรมการเมืองเดิมต่างหาก ซึ่งเขาตักตวงมาใช้จนชักฝืดและร่อยหรอลงเรื่อย ๆ

๓) ปัญหาหลักของพวกเขา ที่ควรจะสู้ด้วย จึงไม่ใช่แนวนโยบาย เท่ากับวิถีทางต่อสู้เพื่อไปสู่เป้าหมายการเมือง นี่คือจุดบอดที่ทำให้พวกเขาเสื่อมถอย ถ้าไม่หันมาปรับตัวเดินในแนวทางเลือกตั้งและระบอบรัฐสภา

ส่วนเรื่อง "ล้อเลียน" ก็เป็นเครื่องจิ้มของเกมการเมืองวัฒนธรรมแบบไทยเสมอมา ผมเห็นด้วยและเคยเสนอว่าวิธีสู้กับฝ่ายขวาจัดต่อต้านประชาธิปไตย ไม่ใช่ปราบปรามกดขี่ให้พวกเขาเป็นวีรชน แต่ล้อเลียนให้พวกเขาเป็นตัวตลกในประเด็นวิธีการขวางโลกของเขามากกว่า ซึ่งท่าทีของพวกเขาก็ออกมาเป๊ะ ๆ อย่างไม่นัดหมาย คือเสนอ "แช่แข็ง" ประเทศ ยังกับหาวัตถุดิบมาป้อนให้ล้อเลยทีเดียว

การสู้เชิงแนวนโยบายที่ serious ผมคิดว่าต้องสู้กับพวก TDRI และ กยน./กยอ. ต่างหาก พวกนั้นแหละครับที่เราน่าจะชวนทะเลาะด้วยเรื่องรัฐสวัสดิการ และความเท่าเทียมในสังคม มากกว่าฝ่ายขวาจัดซึ่งมักจะออกอาการ The Poverty of Policy อยู่เสมอ ขอให้นึกถึงสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์เป็นตัวอย่าง เรื่องเด่นไม่ใช่นโยบายเศรษฐกิจสังคมซึ่งเป็นในเชิงประคับประคองรับ แต่เป็นนโยบายขยายอำนาจและงบประมาณกองทัพและกระชับอำนาจโครงสร้างราชการ

จะเห็นได้ว่าข้อเสนอทางการเมืองของเสธ.อ้าย & Co. สูตรเดียวกับพันธมิตรฯและกลุ่มหมอตุลย์สืบเนื่องกันมา คือเรื่องจุดอ่อนของระบบเลือกตั้ง นักการเมืองและคอร์รัปชั่น ถ้าเราไปชวนเขาดีเบตเรื่องรัฐสวัสดิการอะไร คงยากอยู่ ผมกลับคิดว่าชวนเขาดีเบตเรื่องทำไมพวกท่านไม่สู้ในหนทางระบอบรัฐสภาประชาธิปไตยแบบไม่ต้องใช้อำนาจพิเศษของทหารและอ้างสถาบันกษัตริย์ล่ะ? ผมคิดว่าเรื่องเดียวที่พอฟังขึ้นคือข้อวิจารณ์หวั่นเกรงทุนนิยม(สามานย์)ของ พวกเขา แต่ก็แค่วิจารณ์นะครับ ไม่ได้เสนออะไรว่าจะต่อต้านอย่างไร ดูเหมือนจะเชื่อว่ายึดอำนาจรัฐด้วยการรัฐประหารแล้วใช้อำนาจรัฐไปสู้ทุนอีกที ซึ่งเอาเข้าจริงก็ไม่ได้เรื่องอย่างสมัยสุรยุทธ์อย่างที่บอกแล้ว (ข้อเสนอของผมคือ จะสู้ทุน ต้องขยายสิทธิประชาธิปไตย ให้ประชาธิปไตยใหญ่กว่าทุน อาศัยประชาธิปไตยไปสู้ทุน)

ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร เช่น ไม่เห็นด้วยกับจำนำข้าว ก็ไปอิงใช้ช่องทางเวทีพวกเขา, ไม่เห็นด้วยกับนโยบายหวยออนไลน์หรือร่างกฎหมายให้กำนันผู้ใหญ่บ้านต้องมีวาระลงเลือกตั้ง ก็ไปร่วมกับพวกเขา คือจะรัฐประหารเพื่อเป็นเครื่องมือทางนโยบายแบบนี้ก็คงยุ่งตายห่าแหละครับ สำหรับเสถียรภาพของชีวิตผู้คนในสังคม

ผมคิดว่ากระบวนการนโยบายสาธารณะของเรามีปัญหา คือ somehow มันหลุดจากระบบราชการ/เทคโนแครตแต่ก่อน แล้วมาหล่นตุ้บในหน้าตักนักการเมืองจากการเลือกตั้ง แล้วพวกเขา(รัฐบาล/รัฐสภาเสียงข้างมาก) ก็ใช้อำนาจเลือกตั้งผูกขาดมันพอควร ทำให้กระบวนการนโยบายเป็นแบบอำนาจนิยม ไม่เปิดกว้างออกให้แก่สังคมที่ประกอบไปด้วยกลุ่มฝ่ายต่าง ๆ อันหลากหลายแล้ว อันนี้ยุ่งมาก ทำให้กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ กลายเป็นแนวร่วม/ยืมมือฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตยขวาจัด by default และไปวิ่งใช้ช่องทางอื่นซึ่งสับสนอลหม่านไปหมด คือดึงสถาบันการเมืองและรัฐธรรมนูญที่ไม่เกี่ยวกับนโยบายโดยตรง มาเป็นเครื่องมือเวทีต่อสู้เชิงนโยบาย เช่น ยื่นฟ้องเรื่องจำนำข้าวกับศาลปกครอง, ยื่นฟ้องเรื่อง 3G กับศาลรัฐธรรมนูญ ฯลฯ อันนี้ไม่เหมาะ เพราะมันทำให้ระบบป่วน แทนที่ศาลจะทำงานตุลาการ ศาลต่าง ๆ ดันกลายเป็นสถาบันวีโต้นโยบายฝ่ายบริหารไปเสียฉิบ

ผมคิดว่าในระยะยาวแล้วต้องปรับใหม่หาทางเปิดกว้างกระบวนการนโยบายให้หลากหลายกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น จะใช้อำนาจเลือกตั้งเสียงข้างมากเขี่ยกลุ่มอื่นออกหมด มันไม่ดี ยุ่ง, ศาลจะได้ไปทำเรื่อง "สิทธิ" ซึ่งร้อนแรงและสำคัญ แทนที่ดันมากลายเป็นศาลสถิตนโยบายของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ครับ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
 ผมได้รับเชิญไปร่วมสนทนาในงานเปิดตัวหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตของอาจารย์ พัชราภา ตันตราจิน แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อต้นเดือนนี้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมอยากนำเอาเนื้อหาที่เตรียมไปส่วนหนึ่งมาเล่าต่อ ณ ที่นี้เพราะไม่มีโอกาสพูดถึงในวันงาน
เกษียร เตชะพีระ
ปรากฏการณ์หมกมุ่นกับรูปโฉมภายนอกเหล่านี้บันดาลใจให้ศิลปินอุนจงเปิดนิทรรศการงานศิลปะของเธอชื่อ “โรงงานร่างกาย” สะท้อนการที่ผู้คนสูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเอง ทำกับร่างกายตัวเองเหมือนมันเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง และสูญเสียความหมายว่าตัวเองเป็นใครไป
เกษียร เตชะพีระ
อีกด้านของจอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาเสรีนิยม-ประโยชน์นิยม "เผด็จการยังจำเป็นสำหรับสังคมด้อยพัฒนาที่ประชาชนยังไม่พร้อม” และ ความแย้งย้อนของเสรีนิยมบนฐานประโยชน์นิยม: ทำไมเสรีภาพจึงไปได้กับเผด็จการในความคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์?
เกษียร เตชะพีระ
การไต่ระดับของเศรษฐศาสตร์รัดเข็มขัด (austerity economics) สู่ขั้นยึดเงินฝากชาวบ้านมาใช้หนี้เน่าธนาคาร
เกษียร เตชะพีระ
...ข้อเรียกร้องที่ชอบด้วยเหตุผลให้มี “การเมืองที่กำกับด้วยศีลธรรม” บ่อยครั้งเมื่อเอาไปวางในโลกปฏิบัติที่เป็นจริงของสังคมการเมืองไทย รังแต่จะนำไปสู่ “ผู้อวดอ้างสวมสิทธิอำนาจวินิจฉัยตัดสินศีลธรรมทางการเมืองเอาเองโดยพลการและปราศจากการตรวจสอบควบคุม”
เกษียร เตชะพีระ
Kasian Tejapira(1/4/56)สืบเนื่องจากสเตตัสของ บก.ลายจุด เรื่องล้างสมองที่ว่า:
เกษียร เตชะพีระ
จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
เกษียร เตชะพีระ
ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน
เกษียร เตชะพีระ
...ภาพรวมของ the growth effects + the expansion effects + the transport effects เหล่านี้ จะไม่ถูกบันทึกนับรวมไว้ใน EIA ฉบับของโครงการย่อยใด ๆ เพราะเอาเข้าจริงมันเป็นผลที่คาดหวังให้เกิดขึ้นของโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ทั้งหมด ด้วยซ้ำ ทว่ามันจะทำให้ไทยและเพื่อนบ้านและ ASEAN ใช้พลังงานและทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล น่าเชื่อว่า Carbon Footprint หรือรอยเท้าคาร์บอนของคนไทยและคน ASEAN จะขยายใหญ่ออกไปอีกบานเบอะ ...
เกษียร เตชะพีระ
โรซ่าชี้ว่ามีระบอบเวลาที่เร่งเร็วขึ้น ๓ ชนิดทำงานผสมผสานกันอยู่ในระยะอันใกล้นี้ ได้แก่: -การเร่งเร็วทางเทคนิค (อินเทอร์เน็ต, รถไฟความเร็วสูง, เตาไมโครเวฟ) -การเร่งเร็วทางสังคม (ผู้คนเปลี่ยนการงานอาชีพและคู่ครองบ่อยขึ้น, ใช้ข้าวของแล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ถี่ขึ้น) -จังหวะดำเนินชีวิตกระชั้นขึ้น (เรานอนน้อยลง, พูดเร็วขึ้น, สื่อสารกับคนรอบข้างน้อยลง, ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันไป)
เกษียร เตชะพีระ
I am an ud-ad man.Living in ud-ad Thailand.I wonder why it is so.Maybe because the general tells me to go....
เกษียร เตชะพีระ
๑๓ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิส ประมุของค์ใหม่แห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก