Skip to main content

"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."

"เสธ.อ้าย" พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์การพิทักษ์สยาม

Kasian Tejapira(18/11/55)

อนุสนธิจากกระทู้และความเห็นของคุณ Pipob Udomittipong ผมนำคำตอบมาปรับแต่งเพื่อเสนอความเห็นบางอย่างเกี่ยวกับพลังการเมืองฝ่ายขวาไทยในปัจจุบัน.....

๑) เสธ.อ้าย(พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์)และพรรคพวกที่ล้อมรอบเขาไม่คิดตั้งพรรค ลงเลือกตั้งครับ ตัวเสธ.อ้ายมีบทบาทแค่หัวโขน ความคิดการเมืองก็ระดับของความเป็นไทยแบบราชาชาตินิยมและประชาธิปไตยแบบ ไทย ๆ สิ่งที่เรียกว่าองค์การพิทักษ์สยาม เป็น "ร่ม" ของเครือข่ายกลุ่มการเมืองอนุรักษ์นิยม กษัตริย์นิยม หลากหลายกลุ่มที่หาที่ตั้งอำนาจในระบบเลือกตั้งไม่พบ

๒) จุดแข็งของพวกเขาไม่ใช่แนวนโยบายการเมืองที่เป็นระบบ ฝ่ายอนุรักษ์นิยมไม่คิดไปไหน คิดจะอยู่กับที่ ดังนั้นการสร้างวิชั่นโมเดลที่เป็นระบบ ไม่ใช่ภาระหน้าที่หลัก จุดแข็งของพวกเขาคือฐานวัฒนธรรมการเมืองเดิมต่างหาก ซึ่งเขาตักตวงมาใช้จนชักฝืดและร่อยหรอลงเรื่อย ๆ

๓) ปัญหาหลักของพวกเขา ที่ควรจะสู้ด้วย จึงไม่ใช่แนวนโยบาย เท่ากับวิถีทางต่อสู้เพื่อไปสู่เป้าหมายการเมือง นี่คือจุดบอดที่ทำให้พวกเขาเสื่อมถอย ถ้าไม่หันมาปรับตัวเดินในแนวทางเลือกตั้งและระบอบรัฐสภา

ส่วนเรื่อง "ล้อเลียน" ก็เป็นเครื่องจิ้มของเกมการเมืองวัฒนธรรมแบบไทยเสมอมา ผมเห็นด้วยและเคยเสนอว่าวิธีสู้กับฝ่ายขวาจัดต่อต้านประชาธิปไตย ไม่ใช่ปราบปรามกดขี่ให้พวกเขาเป็นวีรชน แต่ล้อเลียนให้พวกเขาเป็นตัวตลกในประเด็นวิธีการขวางโลกของเขามากกว่า ซึ่งท่าทีของพวกเขาก็ออกมาเป๊ะ ๆ อย่างไม่นัดหมาย คือเสนอ "แช่แข็ง" ประเทศ ยังกับหาวัตถุดิบมาป้อนให้ล้อเลยทีเดียว

การสู้เชิงแนวนโยบายที่ serious ผมคิดว่าต้องสู้กับพวก TDRI และ กยน./กยอ. ต่างหาก พวกนั้นแหละครับที่เราน่าจะชวนทะเลาะด้วยเรื่องรัฐสวัสดิการ และความเท่าเทียมในสังคม มากกว่าฝ่ายขวาจัดซึ่งมักจะออกอาการ The Poverty of Policy อยู่เสมอ ขอให้นึกถึงสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์เป็นตัวอย่าง เรื่องเด่นไม่ใช่นโยบายเศรษฐกิจสังคมซึ่งเป็นในเชิงประคับประคองรับ แต่เป็นนโยบายขยายอำนาจและงบประมาณกองทัพและกระชับอำนาจโครงสร้างราชการ

จะเห็นได้ว่าข้อเสนอทางการเมืองของเสธ.อ้าย & Co. สูตรเดียวกับพันธมิตรฯและกลุ่มหมอตุลย์สืบเนื่องกันมา คือเรื่องจุดอ่อนของระบบเลือกตั้ง นักการเมืองและคอร์รัปชั่น ถ้าเราไปชวนเขาดีเบตเรื่องรัฐสวัสดิการอะไร คงยากอยู่ ผมกลับคิดว่าชวนเขาดีเบตเรื่องทำไมพวกท่านไม่สู้ในหนทางระบอบรัฐสภาประชาธิปไตยแบบไม่ต้องใช้อำนาจพิเศษของทหารและอ้างสถาบันกษัตริย์ล่ะ? ผมคิดว่าเรื่องเดียวที่พอฟังขึ้นคือข้อวิจารณ์หวั่นเกรงทุนนิยม(สามานย์)ของ พวกเขา แต่ก็แค่วิจารณ์นะครับ ไม่ได้เสนออะไรว่าจะต่อต้านอย่างไร ดูเหมือนจะเชื่อว่ายึดอำนาจรัฐด้วยการรัฐประหารแล้วใช้อำนาจรัฐไปสู้ทุนอีกที ซึ่งเอาเข้าจริงก็ไม่ได้เรื่องอย่างสมัยสุรยุทธ์อย่างที่บอกแล้ว (ข้อเสนอของผมคือ จะสู้ทุน ต้องขยายสิทธิประชาธิปไตย ให้ประชาธิปไตยใหญ่กว่าทุน อาศัยประชาธิปไตยไปสู้ทุน)

ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร เช่น ไม่เห็นด้วยกับจำนำข้าว ก็ไปอิงใช้ช่องทางเวทีพวกเขา, ไม่เห็นด้วยกับนโยบายหวยออนไลน์หรือร่างกฎหมายให้กำนันผู้ใหญ่บ้านต้องมีวาระลงเลือกตั้ง ก็ไปร่วมกับพวกเขา คือจะรัฐประหารเพื่อเป็นเครื่องมือทางนโยบายแบบนี้ก็คงยุ่งตายห่าแหละครับ สำหรับเสถียรภาพของชีวิตผู้คนในสังคม

ผมคิดว่ากระบวนการนโยบายสาธารณะของเรามีปัญหา คือ somehow มันหลุดจากระบบราชการ/เทคโนแครตแต่ก่อน แล้วมาหล่นตุ้บในหน้าตักนักการเมืองจากการเลือกตั้ง แล้วพวกเขา(รัฐบาล/รัฐสภาเสียงข้างมาก) ก็ใช้อำนาจเลือกตั้งผูกขาดมันพอควร ทำให้กระบวนการนโยบายเป็นแบบอำนาจนิยม ไม่เปิดกว้างออกให้แก่สังคมที่ประกอบไปด้วยกลุ่มฝ่ายต่าง ๆ อันหลากหลายแล้ว อันนี้ยุ่งมาก ทำให้กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ กลายเป็นแนวร่วม/ยืมมือฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตยขวาจัด by default และไปวิ่งใช้ช่องทางอื่นซึ่งสับสนอลหม่านไปหมด คือดึงสถาบันการเมืองและรัฐธรรมนูญที่ไม่เกี่ยวกับนโยบายโดยตรง มาเป็นเครื่องมือเวทีต่อสู้เชิงนโยบาย เช่น ยื่นฟ้องเรื่องจำนำข้าวกับศาลปกครอง, ยื่นฟ้องเรื่อง 3G กับศาลรัฐธรรมนูญ ฯลฯ อันนี้ไม่เหมาะ เพราะมันทำให้ระบบป่วน แทนที่ศาลจะทำงานตุลาการ ศาลต่าง ๆ ดันกลายเป็นสถาบันวีโต้นโยบายฝ่ายบริหารไปเสียฉิบ

ผมคิดว่าในระยะยาวแล้วต้องปรับใหม่หาทางเปิดกว้างกระบวนการนโยบายให้หลากหลายกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น จะใช้อำนาจเลือกตั้งเสียงข้างมากเขี่ยกลุ่มอื่นออกหมด มันไม่ดี ยุ่ง, ศาลจะได้ไปทำเรื่อง "สิทธิ" ซึ่งร้อนแรงและสำคัญ แทนที่ดันมากลายเป็นศาลสถิตนโยบายของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ครับ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
มิจฉาทิฐิว่าด้วย“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน” "ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ" และ "วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"
เกษียร เตชะพีระ
นายกฯ เทย์ยิบ เออร์โดกาน จากครอบครัวกรรมาชีพยากไร้ในอีสตันบูล สู่นักการเมืองประชาธิปไตยผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากการเมืองท้องถิ่นในนครอีสตันบูล ต่อต้านอำนาจทหาร จนถึงผู้นำอำนาจนิยมที่รมประชาชนด้วยแก๊สน้ำตา เพื่อจะได้สร้างชอปปิ้ง มอลล์ขึ้นมาบนสวนสาธารณะ Gezi และ วิกฤตนี้จะจบอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
...ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คำถามสำคัญคือ ใครบ้างที่คุณนับเป็นมนุษย์? เราควรจะแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติว่าจะปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคน ๆ หนึ่งบนฐานศาสนา ชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมืองของเขา หรือไม่อย่างไร? ถ้าหากไม่เกิดคดีเอกยุทธ ยังจะมีใครคิดรื้อฟื้นดำเนินคดีทนายสมชายให้จบจริงหรือไม่?
เกษียร เตชะพีระ
..จะเอานายกฯคนโน้นแทน ก็จะไปเรียกเอาร้องเอาจากในหลวงโดด ๆ โดยไม่ฟังเสียงและไม่เคารพอำนาจอธิปไตยของคนไทย ๗๐ ล้านคนเลยได้ มิฉะนั้น ก็จะมีคนเปลี่ยนหน้า ม็อบเปลี่ยนหน้ากาก ไชยวัฒน์บ้าง สนธิบ้าง ชูวัดบ้าง สุทธิบ้าง หน้ากากขาวเขียวเหลืองชมพูน้ำตาลโกโก้กรมท่าน้ำเงินฟ้าสารพัดสี เข้าแถวเรียงรายผลัดกันขอนายกฯพระราชทานคนใหม่คนแล้วคนเล่าเอากับองค์พระประมุขไม่เว้นแต่ละวัน แล้วจะให้พระองค์ทรงทำอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
เกษียร เตชะพีระ
..นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
ประเด็นหัวใจของการสนทนาคือความสัมพันธ์อันซับซ้อนยอกย้อนระหว่าง คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural values) กับ มูลค่า/ราคาทางเศรษฐกิจ (economic value/price) ขณะผู้ถามซักไซ้ไล่เลียงจากมุมมองและคำถามเชิงแนวคิดปรัชญาและสังคม ผู้ตอบอธิบายจากจุดยืนของความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ(ทรัพยากรมีจำกัด สังคมต้องตัดสินใจเลือกใช้ให้คุ้มค่าที่สุด), ความรู้เท่าทันต่อกรอบ/ขีดจำกัด/และพลังของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การดำรงอยู่ของเงื่อนไขทางสังคม/การเมืองที่ล้อมกำกับเศรษฐกิจและ เศรษฐศาสตร์, และชะตาจำต้องเลือกของการตัดสินใจใช้ทรัพยากรจากจุดยืนเศรษฐศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ
นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
หากเอาความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ระยะหลัง (ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) ตามที่คุณพัชราภา ตันตราจินศึกษาค้นคว้าไว้ในหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (๒๕๕๖) มาวางไว้ในบริบทกระแสความคิดการเมืองปัจจุบันแล้วเปรียบเทียบกับแนวคิดของคู่ขัดแย้งหลักในสังคมการเมือง  ได้แก่ “แดง” (คือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและแนวร่วม) กับ “เหลือง” (คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วม) แล้ว ก็จะพบว่า...
เกษียร เตชะพีระ
ประสบการณ์ทำนองนี้ของไทยเราเคยมีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ๒๕๔๐ เมื่อหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์ทเมนต์ก่อสร้างขึ้นมาล้นเหลือเกินดีมานด์ของตลาดนับแสนหน่วย ต้องรออีกหลายปีกว่าจะขายหมด แต่นั่นมันหมู่บ้าน, คอนโด, อพาร์ทเมนต์ร้าง, ของจีนทุกวันนี้ไปไกลกว่านั้นมากคือเมืองทั้งเมืองที่สร้างขึ้นมาใหม่สำหรับ รองรับคนเป็นล้าน กลับร้าง รอคนมาอยู่ที่ไม่เคยมา อย่างที่เรียกว่า ghost cities หรือ เมืองผีหลอก...
เกษียร เตชะพีระ
“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ” - มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์
เกษียร เตชะพีระ
คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....