Skip to main content

คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง

 

Kasian Tejapira(4 ธ.ค.55)

 

(คำแถลงของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค ภาษาอังกฤษ อ้างจากเว็บมติชนออนไลน์ )

คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) 

ดูจากคำอธิบายของสายการบิน (ข้อความภาษาอังกฤษ สื่อเนื้อหาชัดมาก เมื่อเทียบกับคำแปลไทยของทางสายการบินเอง) ไม่ได้เอ่ยเลยว่าที่ดำเนินการกับพนักงานท่านนั้นเป็นเพราะทรรศนะทางการเมืองใด ๆ ของเธอ หรือการระบายความรู้สึกเชิงลบต่อผู้โดยสารแต่ไม่ได้กระทำจริงตามนั้นของเธอ

หากอธิบายว่าสาเหตุเกิดจากการที่เธอเปิดเผยข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับผู้โดยสารท่านหนึ่งบนโซเชียลมีเดียโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเน้นความสำคัญของระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้โดยสารของสายการบินเอง

นั่นแปลว่าด้วยหลักการและนโยบายเดียวกันนี้ หากมีพนักงานของสายการบินคนใดเปิดเผยข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับผู้โดยสารที่เป็นสมาชิกครอบครัวของผู้ที่มีทรรศนะทางการเมืองตรงข้ามกับคุณทักษิณ (เช่น สมาชิกครอบครัวของเสธ.อ้ายหรือคุณอภิสิทธิ์ เป็นต้น) ก็จะถูกดำเนินการเช่นกัน

นั่นแปลว่าสายการบินกำหนดให้พนักงานต้องรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้โดยสารทุกสีทุกฝ่าย/คุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้โดยสารทุกคนในทางนโยบาย ถ้าคุณขึ้นสายการบินนี้ ข้อมูลส่วนตัวของคุณจะได้รับการคุ้มครองด้วยหลักการและมาตรฐานแบบนี้ ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร สีใด

ข้อความเฟสบุ๊คของคุณ Honey พนักงานสายการบิน แสดงความยอมรับผิดชอบตามหลักเกณฑ์การรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้โดยสารของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค (จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ ) ระบุว่า 

 

   “วันนี้ผึ้งได้ลาออกจากการเป็นพนักงานของสายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิคแล้วค่ะ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเรื่องที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาพพจน์ของบริษัท
    ผึ้งขอขอบคุณและเข้าใจความรู้สึกของเพื่อนๆทุกคนที่ให้กำลังใจ แต่กฎระเบียบต่างๆ ที่มีไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยขององค์กร เราในฐานะสมาชิกขององค์กรก็ต้องให้ความเคารพและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เหมือนกับ กฏหมายที่มีไว้เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม ทุกคนก็ควรที่จะเคารพและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกัน
    ผึ้งจึงอยากขอให้ทุกคนสนับสนุนการตัดสินใจ ของผึ้งด้วยนะคะ และโปรดอย่าตั้งข้อรังเกียจสายการบินคาเธ่แปซิฟิคในการรักษามาตรฐานของบริษัทเลยค่ะ
    ผึ้งมั่นใจว่าสายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิคที่ผึ้งทำงานมานานถึง 24 ปี เป็นสายการบินที่มีมาตรฐานความปลอดภัยและการบริการในระดับโลก พนักงานทุกคนได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มงวดและมีความเป็นมืออาชีพสูง เมื่อผึ้งทำผิดกฎข้อบังคับของบริษัท ผึ้งก็ต้องรับผิดชอบ เหมือนกับทุกคน ถ้าทำผิดกฎหมายก็ต้องยอมรับโทษ
    ถ้าเราทุกคน ยอมรับและปฏิบัติตามกฏหมายและกฏระเบียบของสังคม ทุกคนก็จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
    ผึ้งอยากเห็นสังคมไทยเป็นสังคมที่มีกฏระเบียบและเคารพกฏหมาย ประเทศชาติของเราจะได้พัฒนาและมีความสงบสุข
    เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่เคารพรักอย่างสูงของพวกเราชาวไทย ในวันที่ 5 ธันวาคม นี้ เราทุกคนมาร่วมกันตั้งต้นทำความดีถวายพระองค์ท่าน ด้วยการประพฤติตนเป็นผู้ที่เคารพกฏระเบียบและกฏหมายของบ้านเมืองกันดีมั้ยคะ เพื่อพระองค์ท่านจะได้สบายพระทัยที่พสกนิกรของพระองค์เป็นผู้ที่เคารพหลักนิติรัฐนิติธรรมและทำร่วมมือกันให้บ้านเมืองของเราสงบสุข ขอบคุณค่ะ”
ข้อคิดกรณีแอร์โฮสเตส vs. แพทองธาร: ตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
 
ตรรกะที่อยู่เบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำที่เป็นปัญหาในกรณี "แอร์โฮสเตส vs. แพทองธาร" ก็คือเป้าหมาย "ชอบธรรม" ซะอย่าง ก็จะไม่เลือกวิธีการ แม้มันจะละเมิดกฎเกณฑ์หลักการอื่นใดก็ตามรวมทั้งความเป็นส่วนตัว ไม่คิดบ้างว่าถ้าคุณทำกับคนอื่น/ข้างอื่น คนอื่น/ข้างอื่นก็ทำกับฝ่ายคุณได้เช่นกัน (ครอบครัวของผู้นำฝ่ายค้าน, ครอบครัวแกนนำพันธมิตรฯก็อาจเจอได้เช่นกัน ถ้าไม่วางหลักห้ามปรามร่วมกันไว้บนฐานฉันทมติที่เหนือการเมืองเรื่องแบ่งข้าง)
 
เอาเข้าจริงนี่เป็นวิธีคิดก่อนสมัยใหม่มาก คือมองโลกชีวิตทั้งหมดแบบองค์รวมที่กำกับอยู่ใต้ตรรกะเดียว หลักการเดียว ระเบียบเดียว สมัยก่อนคือศาสนา แต่วิธีคิดเหล่านี้มาผลัดเปลี่ยนในโลกสมัยใหม่ ที่มีปริมณฑลต่าง ๆ หลากหลาย เช่น เศรษฐกิจ ธุรกิจ การศึกษา กฎหมาย ฯลฯ โดยแต่ละปริมณฑลก็มีจรรยาบรรณ, หลักการมาตรฐานวิชาชีพเฉพาะ คอยกำกับควบคุมหลากหลายกันออกไป คนสมัยใหม่จึงต้องแยก personal/ impersonal ในเวลาคุณอยู่ในปริมณฑลเฉพาะทางวิชาชีพ คุณก็ถูกกำหนดกำกับโดยกฎเกณฑ์ตรรกะอีกชุดที่ออกแบบมาเพื่อการดำเนินงานได้อย่างมีระเบียบราบรื่นของปริมณฑลนั้น และคุณถูกคาดหมายให้วาง "ความเป็นส่วนตัว" (อุดมการณ์, ศาสนา, เพศ, เชื้อชาติ ฯลฯ) เอาไว้ข้างนอก และทำตัวเสมือนฟันเฟืองหรือกลไกหรือหุ่นพยนต์ขององค์การหน่วยงานหรือสถาบันที่มีภาระหน้าที่เฉพาะนั้น ๆ ไม่เอาอคติส่วนตัวมาข้องแวะยุ่งเกี่ยว
 
ชีวิตในโลกสมัยใหม่ดำเนินงานราบรื่นได้ตราบที่ผู้คนแยกชีวิต personal/ impersonal เหล่านี้ออกจากกัน ทำตัวตามตรรกะกฎเกณฑ์ต่างปริมณฑล ทว่าการสูญเสียองค์รวมและความหมายโดยรวมของชีวิตโลกสังคมก็ทำให้ "ขาด" บางอย่างไป จะเรียกว่า authenticity ก็ได้ 
 
อุดมการณ์การเมืองแบบสุดโต่งสนองตอบอันนี้ให้ คือมันทำหน้าที่เสมือนหนึ่งศาสนาแต่ก่อน เข้าครอบงำครอบครองเหนือชีวิตโลกสังคมทั้งหมดให้อยู่ใต้ตรรกะกฎเกณฑ์เดียวกัน ดังนั้นถ้าต่างอุดมการณ์ เป็นหมอก็จะไม่รักษาคนไข้ต่างอุดมการณ์, เป็นแอร์โฮสเตสอาจไม่ต้อนรับผู้โดยสารต่างอุดมการณ์ ฯลฯ และรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ทำตัวจริงแท้ตามความเชื่ออุดมการณ์สุดโต่งของตนโดยไม่เสแสร้งแสดงบท โดยไม่พักต้องเคารพกฎเกณฑ์ตรรกะเฉพาะปริมณฑลต่าง ๆ ที่ชีวิตตนเข้าไป

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
 ผมได้รับเชิญไปร่วมสนทนาในงานเปิดตัวหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตของอาจารย์ พัชราภา ตันตราจิน แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อต้นเดือนนี้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมอยากนำเอาเนื้อหาที่เตรียมไปส่วนหนึ่งมาเล่าต่อ ณ ที่นี้เพราะไม่มีโอกาสพูดถึงในวันงาน
เกษียร เตชะพีระ
ปรากฏการณ์หมกมุ่นกับรูปโฉมภายนอกเหล่านี้บันดาลใจให้ศิลปินอุนจงเปิดนิทรรศการงานศิลปะของเธอชื่อ “โรงงานร่างกาย” สะท้อนการที่ผู้คนสูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเอง ทำกับร่างกายตัวเองเหมือนมันเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง และสูญเสียความหมายว่าตัวเองเป็นใครไป
เกษียร เตชะพีระ
อีกด้านของจอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาเสรีนิยม-ประโยชน์นิยม "เผด็จการยังจำเป็นสำหรับสังคมด้อยพัฒนาที่ประชาชนยังไม่พร้อม” และ ความแย้งย้อนของเสรีนิยมบนฐานประโยชน์นิยม: ทำไมเสรีภาพจึงไปได้กับเผด็จการในความคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์?
เกษียร เตชะพีระ
การไต่ระดับของเศรษฐศาสตร์รัดเข็มขัด (austerity economics) สู่ขั้นยึดเงินฝากชาวบ้านมาใช้หนี้เน่าธนาคาร
เกษียร เตชะพีระ
...ข้อเรียกร้องที่ชอบด้วยเหตุผลให้มี “การเมืองที่กำกับด้วยศีลธรรม” บ่อยครั้งเมื่อเอาไปวางในโลกปฏิบัติที่เป็นจริงของสังคมการเมืองไทย รังแต่จะนำไปสู่ “ผู้อวดอ้างสวมสิทธิอำนาจวินิจฉัยตัดสินศีลธรรมทางการเมืองเอาเองโดยพลการและปราศจากการตรวจสอบควบคุม”
เกษียร เตชะพีระ
Kasian Tejapira(1/4/56)สืบเนื่องจากสเตตัสของ บก.ลายจุด เรื่องล้างสมองที่ว่า:
เกษียร เตชะพีระ
จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
เกษียร เตชะพีระ
ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน
เกษียร เตชะพีระ
...ภาพรวมของ the growth effects + the expansion effects + the transport effects เหล่านี้ จะไม่ถูกบันทึกนับรวมไว้ใน EIA ฉบับของโครงการย่อยใด ๆ เพราะเอาเข้าจริงมันเป็นผลที่คาดหวังให้เกิดขึ้นของโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ทั้งหมด ด้วยซ้ำ ทว่ามันจะทำให้ไทยและเพื่อนบ้านและ ASEAN ใช้พลังงานและทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล น่าเชื่อว่า Carbon Footprint หรือรอยเท้าคาร์บอนของคนไทยและคน ASEAN จะขยายใหญ่ออกไปอีกบานเบอะ ...
เกษียร เตชะพีระ
โรซ่าชี้ว่ามีระบอบเวลาที่เร่งเร็วขึ้น ๓ ชนิดทำงานผสมผสานกันอยู่ในระยะอันใกล้นี้ ได้แก่: -การเร่งเร็วทางเทคนิค (อินเทอร์เน็ต, รถไฟความเร็วสูง, เตาไมโครเวฟ) -การเร่งเร็วทางสังคม (ผู้คนเปลี่ยนการงานอาชีพและคู่ครองบ่อยขึ้น, ใช้ข้าวของแล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ถี่ขึ้น) -จังหวะดำเนินชีวิตกระชั้นขึ้น (เรานอนน้อยลง, พูดเร็วขึ้น, สื่อสารกับคนรอบข้างน้อยลง, ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันไป)
เกษียร เตชะพีระ
I am an ud-ad man.Living in ud-ad Thailand.I wonder why it is so.Maybe because the general tells me to go....
เกษียร เตชะพีระ
๑๓ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิส ประมุของค์ใหม่แห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก