Skip to main content

คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง

 

Kasian Tejapira(4 ธ.ค.55)

 

(คำแถลงของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค ภาษาอังกฤษ อ้างจากเว็บมติชนออนไลน์ )

คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) 

ดูจากคำอธิบายของสายการบิน (ข้อความภาษาอังกฤษ สื่อเนื้อหาชัดมาก เมื่อเทียบกับคำแปลไทยของทางสายการบินเอง) ไม่ได้เอ่ยเลยว่าที่ดำเนินการกับพนักงานท่านนั้นเป็นเพราะทรรศนะทางการเมืองใด ๆ ของเธอ หรือการระบายความรู้สึกเชิงลบต่อผู้โดยสารแต่ไม่ได้กระทำจริงตามนั้นของเธอ

หากอธิบายว่าสาเหตุเกิดจากการที่เธอเปิดเผยข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับผู้โดยสารท่านหนึ่งบนโซเชียลมีเดียโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเน้นความสำคัญของระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้โดยสารของสายการบินเอง

นั่นแปลว่าด้วยหลักการและนโยบายเดียวกันนี้ หากมีพนักงานของสายการบินคนใดเปิดเผยข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับผู้โดยสารที่เป็นสมาชิกครอบครัวของผู้ที่มีทรรศนะทางการเมืองตรงข้ามกับคุณทักษิณ (เช่น สมาชิกครอบครัวของเสธ.อ้ายหรือคุณอภิสิทธิ์ เป็นต้น) ก็จะถูกดำเนินการเช่นกัน

นั่นแปลว่าสายการบินกำหนดให้พนักงานต้องรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้โดยสารทุกสีทุกฝ่าย/คุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้โดยสารทุกคนในทางนโยบาย ถ้าคุณขึ้นสายการบินนี้ ข้อมูลส่วนตัวของคุณจะได้รับการคุ้มครองด้วยหลักการและมาตรฐานแบบนี้ ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร สีใด

ข้อความเฟสบุ๊คของคุณ Honey พนักงานสายการบิน แสดงความยอมรับผิดชอบตามหลักเกณฑ์การรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้โดยสารของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค (จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ ) ระบุว่า 

 

   “วันนี้ผึ้งได้ลาออกจากการเป็นพนักงานของสายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิคแล้วค่ะ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเรื่องที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาพพจน์ของบริษัท
    ผึ้งขอขอบคุณและเข้าใจความรู้สึกของเพื่อนๆทุกคนที่ให้กำลังใจ แต่กฎระเบียบต่างๆ ที่มีไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยขององค์กร เราในฐานะสมาชิกขององค์กรก็ต้องให้ความเคารพและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เหมือนกับ กฏหมายที่มีไว้เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม ทุกคนก็ควรที่จะเคารพและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกัน
    ผึ้งจึงอยากขอให้ทุกคนสนับสนุนการตัดสินใจ ของผึ้งด้วยนะคะ และโปรดอย่าตั้งข้อรังเกียจสายการบินคาเธ่แปซิฟิคในการรักษามาตรฐานของบริษัทเลยค่ะ
    ผึ้งมั่นใจว่าสายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิคที่ผึ้งทำงานมานานถึง 24 ปี เป็นสายการบินที่มีมาตรฐานความปลอดภัยและการบริการในระดับโลก พนักงานทุกคนได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มงวดและมีความเป็นมืออาชีพสูง เมื่อผึ้งทำผิดกฎข้อบังคับของบริษัท ผึ้งก็ต้องรับผิดชอบ เหมือนกับทุกคน ถ้าทำผิดกฎหมายก็ต้องยอมรับโทษ
    ถ้าเราทุกคน ยอมรับและปฏิบัติตามกฏหมายและกฏระเบียบของสังคม ทุกคนก็จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
    ผึ้งอยากเห็นสังคมไทยเป็นสังคมที่มีกฏระเบียบและเคารพกฏหมาย ประเทศชาติของเราจะได้พัฒนาและมีความสงบสุข
    เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่เคารพรักอย่างสูงของพวกเราชาวไทย ในวันที่ 5 ธันวาคม นี้ เราทุกคนมาร่วมกันตั้งต้นทำความดีถวายพระองค์ท่าน ด้วยการประพฤติตนเป็นผู้ที่เคารพกฏระเบียบและกฏหมายของบ้านเมืองกันดีมั้ยคะ เพื่อพระองค์ท่านจะได้สบายพระทัยที่พสกนิกรของพระองค์เป็นผู้ที่เคารพหลักนิติรัฐนิติธรรมและทำร่วมมือกันให้บ้านเมืองของเราสงบสุข ขอบคุณค่ะ”
ข้อคิดกรณีแอร์โฮสเตส vs. แพทองธาร: ตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
 
ตรรกะที่อยู่เบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำที่เป็นปัญหาในกรณี "แอร์โฮสเตส vs. แพทองธาร" ก็คือเป้าหมาย "ชอบธรรม" ซะอย่าง ก็จะไม่เลือกวิธีการ แม้มันจะละเมิดกฎเกณฑ์หลักการอื่นใดก็ตามรวมทั้งความเป็นส่วนตัว ไม่คิดบ้างว่าถ้าคุณทำกับคนอื่น/ข้างอื่น คนอื่น/ข้างอื่นก็ทำกับฝ่ายคุณได้เช่นกัน (ครอบครัวของผู้นำฝ่ายค้าน, ครอบครัวแกนนำพันธมิตรฯก็อาจเจอได้เช่นกัน ถ้าไม่วางหลักห้ามปรามร่วมกันไว้บนฐานฉันทมติที่เหนือการเมืองเรื่องแบ่งข้าง)
 
เอาเข้าจริงนี่เป็นวิธีคิดก่อนสมัยใหม่มาก คือมองโลกชีวิตทั้งหมดแบบองค์รวมที่กำกับอยู่ใต้ตรรกะเดียว หลักการเดียว ระเบียบเดียว สมัยก่อนคือศาสนา แต่วิธีคิดเหล่านี้มาผลัดเปลี่ยนในโลกสมัยใหม่ ที่มีปริมณฑลต่าง ๆ หลากหลาย เช่น เศรษฐกิจ ธุรกิจ การศึกษา กฎหมาย ฯลฯ โดยแต่ละปริมณฑลก็มีจรรยาบรรณ, หลักการมาตรฐานวิชาชีพเฉพาะ คอยกำกับควบคุมหลากหลายกันออกไป คนสมัยใหม่จึงต้องแยก personal/ impersonal ในเวลาคุณอยู่ในปริมณฑลเฉพาะทางวิชาชีพ คุณก็ถูกกำหนดกำกับโดยกฎเกณฑ์ตรรกะอีกชุดที่ออกแบบมาเพื่อการดำเนินงานได้อย่างมีระเบียบราบรื่นของปริมณฑลนั้น และคุณถูกคาดหมายให้วาง "ความเป็นส่วนตัว" (อุดมการณ์, ศาสนา, เพศ, เชื้อชาติ ฯลฯ) เอาไว้ข้างนอก และทำตัวเสมือนฟันเฟืองหรือกลไกหรือหุ่นพยนต์ขององค์การหน่วยงานหรือสถาบันที่มีภาระหน้าที่เฉพาะนั้น ๆ ไม่เอาอคติส่วนตัวมาข้องแวะยุ่งเกี่ยว
 
ชีวิตในโลกสมัยใหม่ดำเนินงานราบรื่นได้ตราบที่ผู้คนแยกชีวิต personal/ impersonal เหล่านี้ออกจากกัน ทำตัวตามตรรกะกฎเกณฑ์ต่างปริมณฑล ทว่าการสูญเสียองค์รวมและความหมายโดยรวมของชีวิตโลกสังคมก็ทำให้ "ขาด" บางอย่างไป จะเรียกว่า authenticity ก็ได้ 
 
อุดมการณ์การเมืองแบบสุดโต่งสนองตอบอันนี้ให้ คือมันทำหน้าที่เสมือนหนึ่งศาสนาแต่ก่อน เข้าครอบงำครอบครองเหนือชีวิตโลกสังคมทั้งหมดให้อยู่ใต้ตรรกะกฎเกณฑ์เดียวกัน ดังนั้นถ้าต่างอุดมการณ์ เป็นหมอก็จะไม่รักษาคนไข้ต่างอุดมการณ์, เป็นแอร์โฮสเตสอาจไม่ต้อนรับผู้โดยสารต่างอุดมการณ์ ฯลฯ และรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ทำตัวจริงแท้ตามความเชื่ออุดมการณ์สุดโต่งของตนโดยไม่เสแสร้งแสดงบท โดยไม่พักต้องเคารพกฎเกณฑ์ตรรกะเฉพาะปริมณฑลต่าง ๆ ที่ชีวิตตนเข้าไป

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
มิจฉาทิฐิว่าด้วย“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน” "ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ" และ "วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"
เกษียร เตชะพีระ
นายกฯ เทย์ยิบ เออร์โดกาน จากครอบครัวกรรมาชีพยากไร้ในอีสตันบูล สู่นักการเมืองประชาธิปไตยผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากการเมืองท้องถิ่นในนครอีสตันบูล ต่อต้านอำนาจทหาร จนถึงผู้นำอำนาจนิยมที่รมประชาชนด้วยแก๊สน้ำตา เพื่อจะได้สร้างชอปปิ้ง มอลล์ขึ้นมาบนสวนสาธารณะ Gezi และ วิกฤตนี้จะจบอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
...ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คำถามสำคัญคือ ใครบ้างที่คุณนับเป็นมนุษย์? เราควรจะแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติว่าจะปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคน ๆ หนึ่งบนฐานศาสนา ชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมืองของเขา หรือไม่อย่างไร? ถ้าหากไม่เกิดคดีเอกยุทธ ยังจะมีใครคิดรื้อฟื้นดำเนินคดีทนายสมชายให้จบจริงหรือไม่?
เกษียร เตชะพีระ
..จะเอานายกฯคนโน้นแทน ก็จะไปเรียกเอาร้องเอาจากในหลวงโดด ๆ โดยไม่ฟังเสียงและไม่เคารพอำนาจอธิปไตยของคนไทย ๗๐ ล้านคนเลยได้ มิฉะนั้น ก็จะมีคนเปลี่ยนหน้า ม็อบเปลี่ยนหน้ากาก ไชยวัฒน์บ้าง สนธิบ้าง ชูวัดบ้าง สุทธิบ้าง หน้ากากขาวเขียวเหลืองชมพูน้ำตาลโกโก้กรมท่าน้ำเงินฟ้าสารพัดสี เข้าแถวเรียงรายผลัดกันขอนายกฯพระราชทานคนใหม่คนแล้วคนเล่าเอากับองค์พระประมุขไม่เว้นแต่ละวัน แล้วจะให้พระองค์ทรงทำอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
เกษียร เตชะพีระ
..นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
ประเด็นหัวใจของการสนทนาคือความสัมพันธ์อันซับซ้อนยอกย้อนระหว่าง คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural values) กับ มูลค่า/ราคาทางเศรษฐกิจ (economic value/price) ขณะผู้ถามซักไซ้ไล่เลียงจากมุมมองและคำถามเชิงแนวคิดปรัชญาและสังคม ผู้ตอบอธิบายจากจุดยืนของความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ(ทรัพยากรมีจำกัด สังคมต้องตัดสินใจเลือกใช้ให้คุ้มค่าที่สุด), ความรู้เท่าทันต่อกรอบ/ขีดจำกัด/และพลังของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การดำรงอยู่ของเงื่อนไขทางสังคม/การเมืองที่ล้อมกำกับเศรษฐกิจและ เศรษฐศาสตร์, และชะตาจำต้องเลือกของการตัดสินใจใช้ทรัพยากรจากจุดยืนเศรษฐศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ
นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
หากเอาความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ระยะหลัง (ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) ตามที่คุณพัชราภา ตันตราจินศึกษาค้นคว้าไว้ในหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (๒๕๕๖) มาวางไว้ในบริบทกระแสความคิดการเมืองปัจจุบันแล้วเปรียบเทียบกับแนวคิดของคู่ขัดแย้งหลักในสังคมการเมือง  ได้แก่ “แดง” (คือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและแนวร่วม) กับ “เหลือง” (คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วม) แล้ว ก็จะพบว่า...
เกษียร เตชะพีระ
ประสบการณ์ทำนองนี้ของไทยเราเคยมีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ๒๕๔๐ เมื่อหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์ทเมนต์ก่อสร้างขึ้นมาล้นเหลือเกินดีมานด์ของตลาดนับแสนหน่วย ต้องรออีกหลายปีกว่าจะขายหมด แต่นั่นมันหมู่บ้าน, คอนโด, อพาร์ทเมนต์ร้าง, ของจีนทุกวันนี้ไปไกลกว่านั้นมากคือเมืองทั้งเมืองที่สร้างขึ้นมาใหม่สำหรับ รองรับคนเป็นล้าน กลับร้าง รอคนมาอยู่ที่ไม่เคยมา อย่างที่เรียกว่า ghost cities หรือ เมืองผีหลอก...
เกษียร เตชะพีระ
“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ” - มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์
เกษียร เตชะพีระ
คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....