สมมุติฐาน
๑) ถนนเป็นสมบัติสาธารณะ โดยหลักการทุกคนเป็นเจ้าของและมีสิทธิในการเข้าถึงและใช้มัน
๒) ในทางปฏิบัติ สิทธิในการเข้าถึงและใช้ถนนอันเป็นสมบัติสาธารณะนี้ถูกจำกัดโดยการมี/ไม่มีพาหนะ, ชนิดของพาหนะ, กำลังซื้อ, ความมั่นคงของอาชีพการงานและรายได้ประจำ (ผ่อนรถและค่าน้ำมัน/แก๊ส)
๓) เอาเข้าจริงการใช้รถส่วนตัวเป็นแบบวิธีการเดินทางในเขตตัวเมืองที่สิ้นเปลืองพลังงานต่อหัวมากที่สุด (แต่ละคนในครอบครัว หากทำงานต่างที่กัน ก็มักอยากมีรถส่วนตัวคนละคันเพื่อความสะดวกทางปฏิบัติ แทนที่แต่ละครอบครัวจะใช้รถคันเดียวร่วมกัน) เมื่อเทียบกับแบบอื่นเช่นรถไฟฟ้า รถเมล์ ฯลฯ
๔) ในระดับโลก การมีรถยนต์ส่วนบุคคลใช้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตอารยะที่มาพร้อมกับการขุดค้นเชื้อเพลิงฟอสซิลมาใช้เมื่อสองร้อยปีก่อน ขณะที่มันยกระดับมาตรฐานการครองชีพของผู้คนให้สูงขึ้นมากในโลกส่วนที่พัฒนาแล้ว/พัฒนาไปก่อน และดังนั้นจึงเป็นที่คาดหวังปรารถนาของคนในโลกส่วนที่พัฒนาที่หลัง/กำลังพัฒนา เราไม่มีทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและพลังงานพอจะรองรับการใช้รถส่วนตัวแบบที่คนอเมริกันใช้สำหรับประชากรจีน/อินเดียได้ แน่น่อนว่าทุเรศ ไม่เป็นธรรม ไม่เสมอภาค แต่มันไม่มีอ่ะครับ
๕) ดังนั้น ตรรกะของส่วนรวมระดับโลกที่พึงทำคือ ด้านหนึ่งลดการบริโภคในโลกตะวันตก อีกด้านหนึ่งยกระดับการบริโภคในโลกตลาดเกิดใหม่ที่มาทีหลัง แล้วไปบรรจบกันที่จุดหนึ่งซึ่ง "พอทน" สำหรับสิ่งแวดล้อมของทั้งโลกจะรองรับไหว
มุมมอง
๑) มุมของคนที่มีรถแล้ว: อยากจำกัดการใช้รถลง เพื่อไม่เพิ่มภาระและความลำบากแก่ตนเองในการใช้ถนน คงส่วนแบ่งพื้นที่ถนนที่มีสำหรับตนเองเอาไว้ให้มากที่สุด
๒) มุมของคนที่เพิ่งมีรถคันแรก: ขอกูมีส่วนแบ่งมั่ง เพื่อความเป็นธรรมและเสมอภาค รถส่วนตัวทำให้ได้มีส่วนใช้ถนนซึ่งเป็นสมบัติส่วนรวมแต่ตนไม่เคยได้ใช้เต็มที่มาก่อนมากขึ้น รับไม่ได้กับการกีดกันแบ่งแยกกันท่าของคนที่มีรถมาก่อนแล้ว นโยบายรถคันแรกทำให้คนกลุ่มนี้ซึ่งอาจจัดว่าอยู่ในระดับคนชั้นกลางระดับกลางหรือระดับล่างเอื้อมถึงการได้รถคันแรกง่ายเข้าหรือเร็วขึ้น
๓) มุมของคนที่ไม่อยู่ในฐานะจะซื้อรถได้: ด้วยฐานะชนชั้นการงานรายได้ที่ต่ำกว่าสองกลุ่มแรก พวกเขาไม่คาดฝันในระยะใกล้ถึงการมีรถส่วนตัว จึงเห็นรถส่วนตัวเยอะเต็มถนนของคนกลุ่ม ๑) และ ๒) ว่าไม่ใช่ทางแก้ปัญหาขนส่งเดินทางในเมืองและไม่ใช่ทางออกที่ตนมีส่วนร่วมได้ สิ่งที่เขาต้องการคือพัฒนาปรับปรุงเพิ่มเติมระบบขนส่งสาธารณะทางอื่นที่เอื้อเฟื้อต่อพวกเขามากขึ้น นั่นหมายความว่านโยบายรถคันแรกไม่ใช่คำตอบสำหรับพวกเขา และทำให้เกิดค่าเสียโอกาสในแง่งบประมาณรายได้ภาษีของรัฐที่อาจนำมาลงทุนระบบขนส่งสาธารณะแทน
๔) มุมมองระหว่างคนกทม.กับคนต่างจังหวัดต่อเรื่องนี้ย่อมแตกต่างกันด้วยสาเหตุสำคัญคือพื้นที่ถนนในกทม.จำกัดกว่าต่างจังหวัดเมื่อเทียบกับปริมาณรถยนต์ และการมีรถยนต์เป็นเครื่องมือจำเป็นสำหรับคนต่างจังหวัดประกอบอาชีพได้อย่างมีนัยสำคัญ
๕) มุมของโลก การเดินทางในเมืองด้วยรถส่วนตัวเป็นแบบวิธีเดินทางขนส่งในเขตเมืองที่เปลืองพลังงานที่สุด, มีขีดจำกัด (the fallacy of composition), และอำนวยประสิทธิภาพความสะดวกให้ได้จริงแต่เฉพาะคนส่วนน้อย/ไม่ใช่คนส่วนทั้งหมดเลือกใช้วิธีนี้เท่านั้น ในมุมกว้างออกไป ตราบที่ยังใช้รถเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่ มันก็ส่งผลกระทบต่อปัญหาโลกร้อนผ่านการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศเพิ่ม (ทั้งในขั้นตอนการผลิต การใช้งานและกระทั่งการขจัดขยะรถ) โดยที่แบบวิถีชีวิตรถอเมริกันทำซ้ำไม่ได้ในประเทศใหญ่อื่นอย่างจีน/อินเดีย เพราะโลกไม่มีทรัพยากรสิ่งแวดล้อมพอจะรองรับ
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เราอยู่ในสังคมการเมืองที่มากไปด้วยมรดกของการใช้อำนาจรัฐปิดปากฝ่ายค้านและผู้มีความเห็นต่างไม่ให้ออกสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นปกติธรรมดามานานปี ดังนั้นเมื่อมีการระงับออกรายการ ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใด (เหนือเมฆ, คนค้นคนตอนศศิน, ฯลฯ) เราจึงคิดแบบแทบจะอัตโนมัติ/เป็นสัญชาตญาณเลยว่า "รัฐบาล", "หน่วยราชการ", "นักการเมือง" แทรกแซงให้แบนอีกแล้ว...
เกษียร เตชะพีระ
แย้งคุณสมเกียรติ อ่อนวิมล: เส้นแบ่งพรรคการเมืองทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญคือเป็นพรรคมวลชน (mass party) หรือพรรคชนชั้นนำ (elite party) ไม่ใช่เกณฑ์หละหลวมว่าเป็นพรรคที่ "เกิดและเติบโตจากประชาชน" หรือไม่
เกษียร เตชะพีระ
รวม 15 เรื่องราวการเหยียดเชื้อชาติของคนต่างชาติในเยอรมนี
เกษียร เตชะพีระ
ท่ามกลางข่าวกลุ่มผู้เคร่งศาสนาอิสลามชาวอินโดนีเซียประท้วงการจัดประกวดมิสเวิลด์ประจำปีนี้ที่ประเทศของตน จนทางผู้จัดต้องปรับลดรายการ งดให้ผู้เข้าประกวดนานาชาติใส่ชุดบิกินีแต่ให้ใส่โสร่งบาหลีแทนและยังถูกรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งย้ายสถานที่จัดงานจากกรุงจาการ์ตาไปเกาะบาหลีซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู ก็มีการประกวดนางงามเวอร์ชั่นอิสลามอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาที่จาการ์ตาด้วยเหมือนกัน!
เกษียร เตชะพีระ
โลกาภิวัตน์สะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (Protectionism): รัฐบาลนานาชาติทั่วโลกวางมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ถึง ๑๕๔ มาตรการในชั่วปีเดียว!
เกษียร เตชะพีระ
ทำความรู้จัก 'เทเรซ่า ฟอร์คาดส์' แม่ชีคาทอลิกชาวสเปน ปัญญาชนสาธารณะฝ่ายซ้ายที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของยุโรป คนหลายพันพากันเข้าร่วมขบวนการต่อต้านทุนนิยมของเธอซึ่งรณรงค์ให้แคว้นคาตาโลเนียเป็นอิสระ กับนโยบาย ๑๐ ข้อซึ่งเธอกับนักเศรษฐศาสตร์ อาร์คาดี โอลีเวเรส ช่วยกันร่างขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
"ในโลกซังกะบ๊วยแบบที่เราอยู่ปัจจุบัน มีการรณรงค์ที่สำคัญกว่าที่เราทำในเงื่อนไขสถานที่ที่เราอยู่เสมอ ประเด็นจึงไม่ใช่หยุดหรือสละการต่อสู้เฉพาะที่เพื่อเห็นแก่เรื่องสำคัญ/ใหญ่กว่า แต่คือฟังกัน เห็นอกเห็นใจกัน เคารพกัน ขยายสร้างความเข้าใจเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ให้แก่กัน หาทางหนุนช่วยเชื่อมโยงกันบนฐานความเข้าใจจุดร่วมและความเชื่อมโยงที่มีอยู่จริงของปัญหาซึ่งกันและกัน"
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย และระหว่างพื้นที่สิทธิกับอำนาจบริหาร กับกรณี "อั้ม เนโกะ" กับ "4 ภาพ sex" ต้าน "บังคับแต่งชุด นศ.มธ."
เกษียร เตชะพีระ
สมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติได้ขออภัยที่ไม่ได้ปกป้องคุ้มครองพลเมืองชิลีในโอกาสระลึก ๔๐ ปีนับแต่รัฐประหารที่นำปิโนเช่ต์ขึ้นสู่อำนาจ
เกษียร เตชะพีระ
วิวัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับชาตินิยม ตั้งแต่ ขั้นการปฏิวัติชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๘, ขั้นการปรับตัวทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์เป็นอยู่ใต้รัฐธรรมนูญและราชาชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐, ขั้นการปรับตัวทางวัฒนธรรมของสถาบันกษัตริย์เป็นแบบกระฎุมพีในคริสตศตวรรษที่ ๒๐ และขั้นสถาบันกษัตริย์ในยุควัฒนธรรมสื่อทีวีมหาชนปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
.. Honi Soit ลงพิมพ์ปกรูปอวัยวะเพศของหญิง ๑๘ คนเพื่อแสดงให้เห็นว่ามันมีความหลากหลายแตกต่างเป็นปกติธรรมดา ไม่ได้เป็นและไม่จำต้องเป็น "วงขา" อุดมคติอย่างในหนังโป๊เปลือยทั้งหลาย จึงเป็นย่างก้าวสำคัญในการเตะสกัดกระบวนการทำอวัยวะผู้หญิงให้เป็นสินค้าในตลาดทุนนิยม ก่อนมันจะรุกคืบหน้าจากวงแขนลงไปข้างล่าง..