สมมุติฐาน
๑) ถนนเป็นสมบัติสาธารณะ โดยหลักการทุกคนเป็นเจ้าของและมีสิทธิในการเข้าถึงและใช้มัน
๒) ในทางปฏิบัติ สิทธิในการเข้าถึงและใช้ถนนอันเป็นสมบัติสาธารณะนี้ถูกจำกัดโดยการมี/ไม่มีพาหนะ, ชนิดของพาหนะ, กำลังซื้อ, ความมั่นคงของอาชีพการงานและรายได้ประจำ (ผ่อนรถและค่าน้ำมัน/แก๊ส)
๓) เอาเข้าจริงการใช้รถส่วนตัวเป็นแบบวิธีการเดินทางในเขตตัวเมืองที่สิ้นเปลืองพลังงานต่อหัวมากที่สุด (แต่ละคนในครอบครัว หากทำงานต่างที่กัน ก็มักอยากมีรถส่วนตัวคนละคันเพื่อความสะดวกทางปฏิบัติ แทนที่แต่ละครอบครัวจะใช้รถคันเดียวร่วมกัน) เมื่อเทียบกับแบบอื่นเช่นรถไฟฟ้า รถเมล์ ฯลฯ
๔) ในระดับโลก การมีรถยนต์ส่วนบุคคลใช้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตอารยะที่มาพร้อมกับการขุดค้นเชื้อเพลิงฟอสซิลมาใช้เมื่อสองร้อยปีก่อน ขณะที่มันยกระดับมาตรฐานการครองชีพของผู้คนให้สูงขึ้นมากในโลกส่วนที่พัฒนาแล้ว/พัฒนาไปก่อน และดังนั้นจึงเป็นที่คาดหวังปรารถนาของคนในโลกส่วนที่พัฒนาที่หลัง/กำลังพัฒนา เราไม่มีทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและพลังงานพอจะรองรับการใช้รถส่วนตัวแบบที่คนอเมริกันใช้สำหรับประชากรจีน/อินเดียได้ แน่น่อนว่าทุเรศ ไม่เป็นธรรม ไม่เสมอภาค แต่มันไม่มีอ่ะครับ
๕) ดังนั้น ตรรกะของส่วนรวมระดับโลกที่พึงทำคือ ด้านหนึ่งลดการบริโภคในโลกตะวันตก อีกด้านหนึ่งยกระดับการบริโภคในโลกตลาดเกิดใหม่ที่มาทีหลัง แล้วไปบรรจบกันที่จุดหนึ่งซึ่ง "พอทน" สำหรับสิ่งแวดล้อมของทั้งโลกจะรองรับไหว
มุมมอง
๑) มุมของคนที่มีรถแล้ว: อยากจำกัดการใช้รถลง เพื่อไม่เพิ่มภาระและความลำบากแก่ตนเองในการใช้ถนน คงส่วนแบ่งพื้นที่ถนนที่มีสำหรับตนเองเอาไว้ให้มากที่สุด
๒) มุมของคนที่เพิ่งมีรถคันแรก: ขอกูมีส่วนแบ่งมั่ง เพื่อความเป็นธรรมและเสมอภาค รถส่วนตัวทำให้ได้มีส่วนใช้ถนนซึ่งเป็นสมบัติส่วนรวมแต่ตนไม่เคยได้ใช้เต็มที่มาก่อนมากขึ้น รับไม่ได้กับการกีดกันแบ่งแยกกันท่าของคนที่มีรถมาก่อนแล้ว นโยบายรถคันแรกทำให้คนกลุ่มนี้ซึ่งอาจจัดว่าอยู่ในระดับคนชั้นกลางระดับกลางหรือระดับล่างเอื้อมถึงการได้รถคันแรกง่ายเข้าหรือเร็วขึ้น
๓) มุมของคนที่ไม่อยู่ในฐานะจะซื้อรถได้: ด้วยฐานะชนชั้นการงานรายได้ที่ต่ำกว่าสองกลุ่มแรก พวกเขาไม่คาดฝันในระยะใกล้ถึงการมีรถส่วนตัว จึงเห็นรถส่วนตัวเยอะเต็มถนนของคนกลุ่ม ๑) และ ๒) ว่าไม่ใช่ทางแก้ปัญหาขนส่งเดินทางในเมืองและไม่ใช่ทางออกที่ตนมีส่วนร่วมได้ สิ่งที่เขาต้องการคือพัฒนาปรับปรุงเพิ่มเติมระบบขนส่งสาธารณะทางอื่นที่เอื้อเฟื้อต่อพวกเขามากขึ้น นั่นหมายความว่านโยบายรถคันแรกไม่ใช่คำตอบสำหรับพวกเขา และทำให้เกิดค่าเสียโอกาสในแง่งบประมาณรายได้ภาษีของรัฐที่อาจนำมาลงทุนระบบขนส่งสาธารณะแทน
๔) มุมมองระหว่างคนกทม.กับคนต่างจังหวัดต่อเรื่องนี้ย่อมแตกต่างกันด้วยสาเหตุสำคัญคือพื้นที่ถนนในกทม.จำกัดกว่าต่างจังหวัดเมื่อเทียบกับปริมาณรถยนต์ และการมีรถยนต์เป็นเครื่องมือจำเป็นสำหรับคนต่างจังหวัดประกอบอาชีพได้อย่างมีนัยสำคัญ
๕) มุมของโลก การเดินทางในเมืองด้วยรถส่วนตัวเป็นแบบวิธีเดินทางขนส่งในเขตเมืองที่เปลืองพลังงานที่สุด, มีขีดจำกัด (the fallacy of composition), และอำนวยประสิทธิภาพความสะดวกให้ได้จริงแต่เฉพาะคนส่วนน้อย/ไม่ใช่คนส่วนทั้งหมดเลือกใช้วิธีนี้เท่านั้น ในมุมกว้างออกไป ตราบที่ยังใช้รถเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่ มันก็ส่งผลกระทบต่อปัญหาโลกร้อนผ่านการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศเพิ่ม (ทั้งในขั้นตอนการผลิต การใช้งานและกระทั่งการขจัดขยะรถ) โดยที่แบบวิถีชีวิตรถอเมริกันทำซ้ำไม่ได้ในประเทศใหญ่อื่นอย่างจีน/อินเดีย เพราะโลกไม่มีทรัพยากรสิ่งแวดล้อมพอจะรองรับ
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย”
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง