สมมุติฐาน
๑) ถนนเป็นสมบัติสาธารณะ โดยหลักการทุกคนเป็นเจ้าของและมีสิทธิในการเข้าถึงและใช้มัน
๒) ในทางปฏิบัติ สิทธิในการเข้าถึงและใช้ถนนอันเป็นสมบัติสาธารณะนี้ถูกจำกัดโดยการมี/ไม่มีพาหนะ, ชนิดของพาหนะ, กำลังซื้อ, ความมั่นคงของอาชีพการงานและรายได้ประจำ (ผ่อนรถและค่าน้ำมัน/แก๊ส)
๓) เอาเข้าจริงการใช้รถส่วนตัวเป็นแบบวิธีการเดินทางในเขตตัวเมืองที่สิ้นเปลืองพลังงานต่อหัวมากที่สุด (แต่ละคนในครอบครัว หากทำงานต่างที่กัน ก็มักอยากมีรถส่วนตัวคนละคันเพื่อความสะดวกทางปฏิบัติ แทนที่แต่ละครอบครัวจะใช้รถคันเดียวร่วมกัน) เมื่อเทียบกับแบบอื่นเช่นรถไฟฟ้า รถเมล์ ฯลฯ
๔) ในระดับโลก การมีรถยนต์ส่วนบุคคลใช้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตอารยะที่มาพร้อมกับการขุดค้นเชื้อเพลิงฟอสซิลมาใช้เมื่อสองร้อยปีก่อน ขณะที่มันยกระดับมาตรฐานการครองชีพของผู้คนให้สูงขึ้นมากในโลกส่วนที่พัฒนาแล้ว/พัฒนาไปก่อน และดังนั้นจึงเป็นที่คาดหวังปรารถนาของคนในโลกส่วนที่พัฒนาที่หลัง/กำลังพัฒนา เราไม่มีทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและพลังงานพอจะรองรับการใช้รถส่วนตัวแบบที่คนอเมริกันใช้สำหรับประชากรจีน/อินเดียได้ แน่น่อนว่าทุเรศ ไม่เป็นธรรม ไม่เสมอภาค แต่มันไม่มีอ่ะครับ
๕) ดังนั้น ตรรกะของส่วนรวมระดับโลกที่พึงทำคือ ด้านหนึ่งลดการบริโภคในโลกตะวันตก อีกด้านหนึ่งยกระดับการบริโภคในโลกตลาดเกิดใหม่ที่มาทีหลัง แล้วไปบรรจบกันที่จุดหนึ่งซึ่ง "พอทน" สำหรับสิ่งแวดล้อมของทั้งโลกจะรองรับไหว
มุมมอง
๑) มุมของคนที่มีรถแล้ว: อยากจำกัดการใช้รถลง เพื่อไม่เพิ่มภาระและความลำบากแก่ตนเองในการใช้ถนน คงส่วนแบ่งพื้นที่ถนนที่มีสำหรับตนเองเอาไว้ให้มากที่สุด
๒) มุมของคนที่เพิ่งมีรถคันแรก: ขอกูมีส่วนแบ่งมั่ง เพื่อความเป็นธรรมและเสมอภาค รถส่วนตัวทำให้ได้มีส่วนใช้ถนนซึ่งเป็นสมบัติส่วนรวมแต่ตนไม่เคยได้ใช้เต็มที่มาก่อนมากขึ้น รับไม่ได้กับการกีดกันแบ่งแยกกันท่าของคนที่มีรถมาก่อนแล้ว นโยบายรถคันแรกทำให้คนกลุ่มนี้ซึ่งอาจจัดว่าอยู่ในระดับคนชั้นกลางระดับกลางหรือระดับล่างเอื้อมถึงการได้รถคันแรกง่ายเข้าหรือเร็วขึ้น
๓) มุมของคนที่ไม่อยู่ในฐานะจะซื้อรถได้: ด้วยฐานะชนชั้นการงานรายได้ที่ต่ำกว่าสองกลุ่มแรก พวกเขาไม่คาดฝันในระยะใกล้ถึงการมีรถส่วนตัว จึงเห็นรถส่วนตัวเยอะเต็มถนนของคนกลุ่ม ๑) และ ๒) ว่าไม่ใช่ทางแก้ปัญหาขนส่งเดินทางในเมืองและไม่ใช่ทางออกที่ตนมีส่วนร่วมได้ สิ่งที่เขาต้องการคือพัฒนาปรับปรุงเพิ่มเติมระบบขนส่งสาธารณะทางอื่นที่เอื้อเฟื้อต่อพวกเขามากขึ้น นั่นหมายความว่านโยบายรถคันแรกไม่ใช่คำตอบสำหรับพวกเขา และทำให้เกิดค่าเสียโอกาสในแง่งบประมาณรายได้ภาษีของรัฐที่อาจนำมาลงทุนระบบขนส่งสาธารณะแทน
๔) มุมมองระหว่างคนกทม.กับคนต่างจังหวัดต่อเรื่องนี้ย่อมแตกต่างกันด้วยสาเหตุสำคัญคือพื้นที่ถนนในกทม.จำกัดกว่าต่างจังหวัดเมื่อเทียบกับปริมาณรถยนต์ และการมีรถยนต์เป็นเครื่องมือจำเป็นสำหรับคนต่างจังหวัดประกอบอาชีพได้อย่างมีนัยสำคัญ
๕) มุมของโลก การเดินทางในเมืองด้วยรถส่วนตัวเป็นแบบวิธีเดินทางขนส่งในเขตเมืองที่เปลืองพลังงานที่สุด, มีขีดจำกัด (the fallacy of composition), และอำนวยประสิทธิภาพความสะดวกให้ได้จริงแต่เฉพาะคนส่วนน้อย/ไม่ใช่คนส่วนทั้งหมดเลือกใช้วิธีนี้เท่านั้น ในมุมกว้างออกไป ตราบที่ยังใช้รถเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่ มันก็ส่งผลกระทบต่อปัญหาโลกร้อนผ่านการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศเพิ่ม (ทั้งในขั้นตอนการผลิต การใช้งานและกระทั่งการขจัดขยะรถ) โดยที่แบบวิถีชีวิตรถอเมริกันทำซ้ำไม่ได้ในประเทศใหญ่อื่นอย่างจีน/อินเดีย เพราะโลกไม่มีทรัพยากรสิ่งแวดล้อมพอจะรองรับ
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ผมได้รับเชิญไปร่วมสนทนาในงานเปิดตัวหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตของอาจารย์ พัชราภา ตันตราจิน แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อต้นเดือนนี้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมอยากนำเอาเนื้อหาที่เตรียมไปส่วนหนึ่งมาเล่าต่อ ณ ที่นี้เพราะไม่มีโอกาสพูดถึงในวันงาน
เกษียร เตชะพีระ
ปรากฏการณ์หมกมุ่นกับรูปโฉมภายนอกเหล่านี้บันดาลใจให้ศิลปินอุนจงเปิดนิทรรศการงานศิลปะของเธอชื่อ “โรงงานร่างกาย” สะท้อนการที่ผู้คนสูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเอง ทำกับร่างกายตัวเองเหมือนมันเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง และสูญเสียความหมายว่าตัวเองเป็นใครไป
เกษียร เตชะพีระ
อีกด้านของจอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาเสรีนิยม-ประโยชน์นิยม "เผด็จการยังจำเป็นสำหรับสังคมด้อยพัฒนาที่ประชาชนยังไม่พร้อม” และ ความแย้งย้อนของเสรีนิยมบนฐานประโยชน์นิยม: ทำไมเสรีภาพจึงไปได้กับเผด็จการในความคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์?
เกษียร เตชะพีระ
การไต่ระดับของเศรษฐศาสตร์รัดเข็มขัด (austerity economics) สู่ขั้นยึดเงินฝากชาวบ้านมาใช้หนี้เน่าธนาคาร
เกษียร เตชะพีระ
...ข้อเรียกร้องที่ชอบด้วยเหตุผลให้มี “การเมืองที่กำกับด้วยศีลธรรม” บ่อยครั้งเมื่อเอาไปวางในโลกปฏิบัติที่เป็นจริงของสังคมการเมืองไทย รังแต่จะนำไปสู่ “ผู้อวดอ้างสวมสิทธิอำนาจวินิจฉัยตัดสินศีลธรรมทางการเมืองเอาเองโดยพลการและปราศจากการตรวจสอบควบคุม”
เกษียร เตชะพีระ
Kasian Tejapira(1/4/56)สืบเนื่องจากสเตตัสของ บก.ลายจุด เรื่องล้างสมองที่ว่า:
เกษียร เตชะพีระ
จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
เกษียร เตชะพีระ
ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน
เกษียร เตชะพีระ
...ภาพรวมของ the growth effects + the expansion effects + the transport effects เหล่านี้ จะไม่ถูกบันทึกนับรวมไว้ใน EIA ฉบับของโครงการย่อยใด ๆ เพราะเอาเข้าจริงมันเป็นผลที่คาดหวังให้เกิดขึ้นของโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ทั้งหมด ด้วยซ้ำ ทว่ามันจะทำให้ไทยและเพื่อนบ้านและ ASEAN ใช้พลังงานและทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล น่าเชื่อว่า Carbon Footprint หรือรอยเท้าคาร์บอนของคนไทยและคน ASEAN จะขยายใหญ่ออกไปอีกบานเบอะ ...
เกษียร เตชะพีระ
โรซ่าชี้ว่ามีระบอบเวลาที่เร่งเร็วขึ้น ๓ ชนิดทำงานผสมผสานกันอยู่ในระยะอันใกล้นี้ ได้แก่: -การเร่งเร็วทางเทคนิค (อินเทอร์เน็ต, รถไฟความเร็วสูง, เตาไมโครเวฟ) -การเร่งเร็วทางสังคม (ผู้คนเปลี่ยนการงานอาชีพและคู่ครองบ่อยขึ้น, ใช้ข้าวของแล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ถี่ขึ้น) -จังหวะดำเนินชีวิตกระชั้นขึ้น (เรานอนน้อยลง, พูดเร็วขึ้น, สื่อสารกับคนรอบข้างน้อยลง, ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันไป)
เกษียร เตชะพีระ
I am an ud-ad man.Living in ud-ad Thailand.I wonder why it is so.Maybe because the general tells me to go....
เกษียร เตชะพีระ
๑๓ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิส ประมุของค์ใหม่แห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก