Skip to main content

Kasian Tejapira(13/2/56)

ข่าวผู้ก่อความไม่สงบยกกำลังบุกตีค่ายนาวิกโยธินที่นราธิวาสกลางดึกคืนที่ผ่านมาซึ่งมีการสู้รบหนักและฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบแตกพ่ายเสียชีวิตเกือบยี่สิบราย ดูจะสอดรับกับข่าวคราวช่วงหลังที่ปฏิบัติการทางทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบรุกเร้ารุนแรงครึกโครมขึ้นเป็นลำดับ คำถามคือมันสะท้อนสถานการณ์อย่างไร?

ผมไม่ได้ติดตามสถานการณ์ภาคใต้อย่างเกาะติดใกล้ชิดมาหลายปีแล้ว ด้วยความสนเท่ห์ใจ ได้สอบถามไปยังอดีตนักข่าว นักวิจัยชายแดนภาคใต้ท่านหนึ่งซึ่งรู้จักกันและตอนนี้กำลังไปเรียนต่อต่างประเทศ เพื่อให้ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลบอกเล่าแนวโน้มตามที่เธอสังเกตเห็นว่าการยกระดับการโจมตีรุนแรงขึ้นและมีลักษณะสู้รบเป็นแบบแผนทางทหารมากขึ้นนี้สะท้อนอะไร? ขั้นตอนใหม่ของการต่อสู้ทางทหารหรือ? รึว่าเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ?

เธอวิเคราะห์ให้ฟังว่า:

มันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ใหญ่ที่ไม่เปลี่ยนของผู้ก่อความไม่สงบ อันเป็นยุทธศาสตร์ที่เน้นการทหารมากกว่างานการเมือง เท่าที่เธอสืบทราบปีกการเมืองของขบวนการอ่อนแอ ทำให้ปีกการทหารครอบงำขบวนการ เอาเข้าจริงผู้ก่อความไม่สงบกำลังสูญเสียแรงสนับสนุนของมวลชนลงไปเรื่อย ๆ เนื่องจากปฏิบัติการรุนแรงแบบไม่จำแนกแยกแยะเป้า รวมทั้งการโจมตีเป้าหมายอ่อนเปราะ เช่น ครู เป็นต้น แม้แต่เอ็นจีโอซึ่งเห็นด้วยกับการกระจายอำนาจให้คนในพื้นที่มากขึ้นก็ยังถึงกับเริ่มใช้ถ้อยคำว่านี่มันเข้าข่าย "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ" ขณะที่ประชาคมสากลส่วนใหญ่ก็ไม่ได้อยู่ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบเช่นกัน ในทางการเมือง ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบจึงเพลี่ยงพล้ำเสียท่า แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าความรุนแรงจะยุติในเวลาอันใกล้

จากข้อวิเคราะห์ข้างต้น ผมอดคิดไม่ได้ว่าใช่หรือไม่ว่าปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบตั้งใจจะล่อหลอกยั่วยุดึงให้กองทัพไทยไปทุ่มการทหาร และวางงานการเมืองที่กำลังได้เปรียบลง ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด

ที่น่าเสียดายคือผมเกรงว่าการริเริ่มการรุกทางการเมืองที่อาจจะช่วยพลิกสถานการณ์ชายแดนภาคใต้นี้อาจคาดหวังได้ยากจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งกำลังหมกมุ่นเรื่องยุทธศาสตร์ประเทศที่จะก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจผ่านการสร้างเส้นทางคมนาคมโดยเฉพาะรางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านในภูมิภาคเพื่อเลื่อนชั้นเป็นประเทศรายได้สูงเป็นหลักเหนืออื่นใด ในภาวะที่รัฐบาลยึดแนวทาง "เศรษฐกิจนำ การเมืองตามหลัง" และจะไม่ขยับเดินขาหลังทางการเมืองแบบ "สุ่มเสี่ยง" ใด ๆ ยกเว้นมีฉันทมติมหาชนทั่วประเทศอย่างล้มหลามรองรับคุ้มครองแล้ว ก็ยากที่การปฏิรูปเชิงรุกทางการเมืองใด ๆ จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ไม่ว่าในเรื่องชายแดนภาคใต้หรืออื่น ๆ

คุณยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯที่น่ารักมากในรอบหลายสิบปีที่เรามีนายกฯน่าหยิกน่าชังกันมา แต่ถ้าคาดหวังการนำทางการเมืองเชิงรุกจากเธอแล้ว ก็อาจจะยาก ยกเว้นประชาชนไทยยกขาเดินล้ำหน้าเธอไปอย่างชัดเจนก้าวโต ๆ ใหญ่ ๆ ยาว ๆ จนเธอเห็นว่าอ้าว... ชาวบ้านเค้าไปกันไกลแล้วนี่นา เธอจึงอาจจะขยับรัฐบาลตามมานิดหนึ่ง สักครึ่งก้าว โดยอาศัยขาใหญ่ของประชาชนกางออกคุ้มภัยให้

อันนี้แหละครับที่ผมเรียกว่า the politics of mediocrity

จากข้อวิเคราะห์ข้างต้น ผมอดคิดไม่ได้ว่าใช่หรือไม่ว่าปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบตั้งใจจะล่อหลอกยั่วยุดึงให้กองทัพไทยไปทุ่มการทหาร และวางงานการเมืองที่กำลังได้เปรียบลง ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด

ที่น่าเสียดายคือผมเกรงว่าการริเริ่มการรุกทางการเมืองที่อาจจะช่วยพลิกสถานการณ์ชายแดนภาคใต้นี้อาจคาดหวังได้ยากจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งกำลังหมกมุ่นเรื่องยุทธศาสตร์ประเทศที่จะก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจผ่านการสร้างเส้นทางคมนาคมโดยเฉพาะรางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านในภูมิภาคเพื่อเลื่อนชั้นเป็นประเทศรายได้สูงเป็นหลักเหนืออื่นใด ในภาวะที่รัฐบาลยึดแนวทาง "เศรษฐกิจนำ การเมืองตามหลัง" และจะไม่ขยับเดินขาหลังทางการเมืองแบบ "สุ่มเสี่ยง" ใด ๆ ยกเว้นมีฉันทมติมหาชนทั่วประเทศอย่างล้มหลามรองรับคุ้มครองแล้ว ก็ยากที่การปฏิรูปเชิงรุกทางการเมืองใด ๆ จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ไม่ว่าในเรื่องชายแดนภาคใต้หรืออื่น ๆ

คุณยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯที่น่ารักมากในรอบหลายสิบปีที่เรามีนายกฯน่าหยิกน่าชังกันมา แต่ถ้าคาดหวังการนำทางการเมืองเชิงรุกจากเธอแล้ว ก็อาจจะยาก ยกเว้นประชาชนไทยยกขาเดินล้ำหน้าเธอไปอย่างชัดเจนก้าวโต ๆ ใหญ่ ๆ ยาว ๆ จนเธอเห็นว่าอ้าว... ชาวบ้านเค้าไปกันไกลแล้วนี่นา เธอจึงอาจจะขยับรัฐบาลตามมานิดหนึ่ง สักครึ่งก้าว โดยอาศัยขาใหญ่ของประชาชนกางออกคุ้มภัยให้

อันนี้แหละครับที่ผมเรียกว่า the politics of mediocrity

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง