Skip to main content

Kasian Tejapira(13/2/56)

ข่าวผู้ก่อความไม่สงบยกกำลังบุกตีค่ายนาวิกโยธินที่นราธิวาสกลางดึกคืนที่ผ่านมาซึ่งมีการสู้รบหนักและฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบแตกพ่ายเสียชีวิตเกือบยี่สิบราย ดูจะสอดรับกับข่าวคราวช่วงหลังที่ปฏิบัติการทางทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบรุกเร้ารุนแรงครึกโครมขึ้นเป็นลำดับ คำถามคือมันสะท้อนสถานการณ์อย่างไร?

ผมไม่ได้ติดตามสถานการณ์ภาคใต้อย่างเกาะติดใกล้ชิดมาหลายปีแล้ว ด้วยความสนเท่ห์ใจ ได้สอบถามไปยังอดีตนักข่าว นักวิจัยชายแดนภาคใต้ท่านหนึ่งซึ่งรู้จักกันและตอนนี้กำลังไปเรียนต่อต่างประเทศ เพื่อให้ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลบอกเล่าแนวโน้มตามที่เธอสังเกตเห็นว่าการยกระดับการโจมตีรุนแรงขึ้นและมีลักษณะสู้รบเป็นแบบแผนทางทหารมากขึ้นนี้สะท้อนอะไร? ขั้นตอนใหม่ของการต่อสู้ทางทหารหรือ? รึว่าเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ?

เธอวิเคราะห์ให้ฟังว่า:

มันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ใหญ่ที่ไม่เปลี่ยนของผู้ก่อความไม่สงบ อันเป็นยุทธศาสตร์ที่เน้นการทหารมากกว่างานการเมือง เท่าที่เธอสืบทราบปีกการเมืองของขบวนการอ่อนแอ ทำให้ปีกการทหารครอบงำขบวนการ เอาเข้าจริงผู้ก่อความไม่สงบกำลังสูญเสียแรงสนับสนุนของมวลชนลงไปเรื่อย ๆ เนื่องจากปฏิบัติการรุนแรงแบบไม่จำแนกแยกแยะเป้า รวมทั้งการโจมตีเป้าหมายอ่อนเปราะ เช่น ครู เป็นต้น แม้แต่เอ็นจีโอซึ่งเห็นด้วยกับการกระจายอำนาจให้คนในพื้นที่มากขึ้นก็ยังถึงกับเริ่มใช้ถ้อยคำว่านี่มันเข้าข่าย "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ" ขณะที่ประชาคมสากลส่วนใหญ่ก็ไม่ได้อยู่ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบเช่นกัน ในทางการเมือง ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบจึงเพลี่ยงพล้ำเสียท่า แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าความรุนแรงจะยุติในเวลาอันใกล้

จากข้อวิเคราะห์ข้างต้น ผมอดคิดไม่ได้ว่าใช่หรือไม่ว่าปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบตั้งใจจะล่อหลอกยั่วยุดึงให้กองทัพไทยไปทุ่มการทหาร และวางงานการเมืองที่กำลังได้เปรียบลง ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด

ที่น่าเสียดายคือผมเกรงว่าการริเริ่มการรุกทางการเมืองที่อาจจะช่วยพลิกสถานการณ์ชายแดนภาคใต้นี้อาจคาดหวังได้ยากจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งกำลังหมกมุ่นเรื่องยุทธศาสตร์ประเทศที่จะก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจผ่านการสร้างเส้นทางคมนาคมโดยเฉพาะรางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านในภูมิภาคเพื่อเลื่อนชั้นเป็นประเทศรายได้สูงเป็นหลักเหนืออื่นใด ในภาวะที่รัฐบาลยึดแนวทาง "เศรษฐกิจนำ การเมืองตามหลัง" และจะไม่ขยับเดินขาหลังทางการเมืองแบบ "สุ่มเสี่ยง" ใด ๆ ยกเว้นมีฉันทมติมหาชนทั่วประเทศอย่างล้มหลามรองรับคุ้มครองแล้ว ก็ยากที่การปฏิรูปเชิงรุกทางการเมืองใด ๆ จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ไม่ว่าในเรื่องชายแดนภาคใต้หรืออื่น ๆ

คุณยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯที่น่ารักมากในรอบหลายสิบปีที่เรามีนายกฯน่าหยิกน่าชังกันมา แต่ถ้าคาดหวังการนำทางการเมืองเชิงรุกจากเธอแล้ว ก็อาจจะยาก ยกเว้นประชาชนไทยยกขาเดินล้ำหน้าเธอไปอย่างชัดเจนก้าวโต ๆ ใหญ่ ๆ ยาว ๆ จนเธอเห็นว่าอ้าว... ชาวบ้านเค้าไปกันไกลแล้วนี่นา เธอจึงอาจจะขยับรัฐบาลตามมานิดหนึ่ง สักครึ่งก้าว โดยอาศัยขาใหญ่ของประชาชนกางออกคุ้มภัยให้

อันนี้แหละครับที่ผมเรียกว่า the politics of mediocrity

จากข้อวิเคราะห์ข้างต้น ผมอดคิดไม่ได้ว่าใช่หรือไม่ว่าปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบตั้งใจจะล่อหลอกยั่วยุดึงให้กองทัพไทยไปทุ่มการทหาร และวางงานการเมืองที่กำลังได้เปรียบลง ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด

ที่น่าเสียดายคือผมเกรงว่าการริเริ่มการรุกทางการเมืองที่อาจจะช่วยพลิกสถานการณ์ชายแดนภาคใต้นี้อาจคาดหวังได้ยากจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งกำลังหมกมุ่นเรื่องยุทธศาสตร์ประเทศที่จะก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจผ่านการสร้างเส้นทางคมนาคมโดยเฉพาะรางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านในภูมิภาคเพื่อเลื่อนชั้นเป็นประเทศรายได้สูงเป็นหลักเหนืออื่นใด ในภาวะที่รัฐบาลยึดแนวทาง "เศรษฐกิจนำ การเมืองตามหลัง" และจะไม่ขยับเดินขาหลังทางการเมืองแบบ "สุ่มเสี่ยง" ใด ๆ ยกเว้นมีฉันทมติมหาชนทั่วประเทศอย่างล้มหลามรองรับคุ้มครองแล้ว ก็ยากที่การปฏิรูปเชิงรุกทางการเมืองใด ๆ จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ไม่ว่าในเรื่องชายแดนภาคใต้หรืออื่น ๆ

คุณยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯที่น่ารักมากในรอบหลายสิบปีที่เรามีนายกฯน่าหยิกน่าชังกันมา แต่ถ้าคาดหวังการนำทางการเมืองเชิงรุกจากเธอแล้ว ก็อาจจะยาก ยกเว้นประชาชนไทยยกขาเดินล้ำหน้าเธอไปอย่างชัดเจนก้าวโต ๆ ใหญ่ ๆ ยาว ๆ จนเธอเห็นว่าอ้าว... ชาวบ้านเค้าไปกันไกลแล้วนี่นา เธอจึงอาจจะขยับรัฐบาลตามมานิดหนึ่ง สักครึ่งก้าว โดยอาศัยขาใหญ่ของประชาชนกางออกคุ้มภัยให้

อันนี้แหละครับที่ผมเรียกว่า the politics of mediocrity

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
มิจฉาทิฐิว่าด้วย“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน” "ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ" และ "วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"
เกษียร เตชะพีระ
นายกฯ เทย์ยิบ เออร์โดกาน จากครอบครัวกรรมาชีพยากไร้ในอีสตันบูล สู่นักการเมืองประชาธิปไตยผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากการเมืองท้องถิ่นในนครอีสตันบูล ต่อต้านอำนาจทหาร จนถึงผู้นำอำนาจนิยมที่รมประชาชนด้วยแก๊สน้ำตา เพื่อจะได้สร้างชอปปิ้ง มอลล์ขึ้นมาบนสวนสาธารณะ Gezi และ วิกฤตนี้จะจบอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
...ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คำถามสำคัญคือ ใครบ้างที่คุณนับเป็นมนุษย์? เราควรจะแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติว่าจะปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคน ๆ หนึ่งบนฐานศาสนา ชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมืองของเขา หรือไม่อย่างไร? ถ้าหากไม่เกิดคดีเอกยุทธ ยังจะมีใครคิดรื้อฟื้นดำเนินคดีทนายสมชายให้จบจริงหรือไม่?
เกษียร เตชะพีระ
..จะเอานายกฯคนโน้นแทน ก็จะไปเรียกเอาร้องเอาจากในหลวงโดด ๆ โดยไม่ฟังเสียงและไม่เคารพอำนาจอธิปไตยของคนไทย ๗๐ ล้านคนเลยได้ มิฉะนั้น ก็จะมีคนเปลี่ยนหน้า ม็อบเปลี่ยนหน้ากาก ไชยวัฒน์บ้าง สนธิบ้าง ชูวัดบ้าง สุทธิบ้าง หน้ากากขาวเขียวเหลืองชมพูน้ำตาลโกโก้กรมท่าน้ำเงินฟ้าสารพัดสี เข้าแถวเรียงรายผลัดกันขอนายกฯพระราชทานคนใหม่คนแล้วคนเล่าเอากับองค์พระประมุขไม่เว้นแต่ละวัน แล้วจะให้พระองค์ทรงทำอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
เกษียร เตชะพีระ
..นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
ประเด็นหัวใจของการสนทนาคือความสัมพันธ์อันซับซ้อนยอกย้อนระหว่าง คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural values) กับ มูลค่า/ราคาทางเศรษฐกิจ (economic value/price) ขณะผู้ถามซักไซ้ไล่เลียงจากมุมมองและคำถามเชิงแนวคิดปรัชญาและสังคม ผู้ตอบอธิบายจากจุดยืนของความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ(ทรัพยากรมีจำกัด สังคมต้องตัดสินใจเลือกใช้ให้คุ้มค่าที่สุด), ความรู้เท่าทันต่อกรอบ/ขีดจำกัด/และพลังของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การดำรงอยู่ของเงื่อนไขทางสังคม/การเมืองที่ล้อมกำกับเศรษฐกิจและ เศรษฐศาสตร์, และชะตาจำต้องเลือกของการตัดสินใจใช้ทรัพยากรจากจุดยืนเศรษฐศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ
นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
หากเอาความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ระยะหลัง (ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) ตามที่คุณพัชราภา ตันตราจินศึกษาค้นคว้าไว้ในหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (๒๕๕๖) มาวางไว้ในบริบทกระแสความคิดการเมืองปัจจุบันแล้วเปรียบเทียบกับแนวคิดของคู่ขัดแย้งหลักในสังคมการเมือง  ได้แก่ “แดง” (คือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและแนวร่วม) กับ “เหลือง” (คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วม) แล้ว ก็จะพบว่า...
เกษียร เตชะพีระ
ประสบการณ์ทำนองนี้ของไทยเราเคยมีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ๒๕๔๐ เมื่อหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์ทเมนต์ก่อสร้างขึ้นมาล้นเหลือเกินดีมานด์ของตลาดนับแสนหน่วย ต้องรออีกหลายปีกว่าจะขายหมด แต่นั่นมันหมู่บ้าน, คอนโด, อพาร์ทเมนต์ร้าง, ของจีนทุกวันนี้ไปไกลกว่านั้นมากคือเมืองทั้งเมืองที่สร้างขึ้นมาใหม่สำหรับ รองรับคนเป็นล้าน กลับร้าง รอคนมาอยู่ที่ไม่เคยมา อย่างที่เรียกว่า ghost cities หรือ เมืองผีหลอก...
เกษียร เตชะพีระ
“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ” - มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์
เกษียร เตชะพีระ
คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....