Skip to main content

เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน

Kasian Tejapira (14/03/56)


เหมืองทองแดงเล็ตปาดวง ณ เมืองโมนีวา ทางตะวันตกเฉียงเหนือของพม่าเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างเครือบริษัท Union of Myanmar Economic Holdings ของกองทัพพม่า กับ บริษัทหวันเป่าของจีน มูลค่า ๙๙๗ ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โครงการดังกล่าวก่อปัญหาสารพัดแก่ชาวบ้านตั้งแต่ลงนามสัญญากัน (พ.ค.๒๐๑๐) โดยไม่ผ่านการตรวจสอบของรัฐสภาเพราะอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร, มีการริบที่ดินชาวบ้านขนานใหญ่ไปใช้เตรียมขยายเหมืองดื้อ ๆ, จ่ายค่าชดเชยที่ดินให้ชาวบ้านอย่างไม่เป็นธรรม, ส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างมาก


ชาวบ้านและพระสงฆ์ในพื้นที่จึงรวมตัวประท้วงยึดบริเวณเหมืองยืดเยื้อเพื่อเรียกร้องให้ปิดเหมืองนาน ๑๑ วันเมื่อปลายปีก่อน สุดท้ายตำรวจพม่าลุยปราบกลางดึกเมื่อ ๒๙ พ.ย. ศกก่อน มีผู้บาดเจ็บทั้งชาวบ้านและพระสงฆ์เข้าโรงพยาบาลกว่าร้อยคนในนี้รวมทั้งพระ ๙๙ รูป หลายคนมีรอยแผลลวกไหม้ด้วย เจ้าหน้าที่ปฏิเสธว่าไม่ได้ใช้อาวุธเคมีเล่นงานผู้ชุมนุม แต่มาปรากฏภายหลังว่ามีการใช้ระเบิดควันฟอสฟอรัสขาวด้วย (ตำรวจอ้างว่าเคยใช้เล่นงานม็อบพระสงฆ์พม่าเมื่อปี ๒๐๐๗ มาแล้ว ไม่เห็นมีใครถูกไหม้อะไรนี่นา...)

ประธานาธิบดีเต็งเส่งจึงสั่งตั้งคณะกรรมาธิการรัฐสภาขึ้นสอบสวนเรื่องนี้โดยให้อองซานซูจีเป็นประธาน คณะกรรมาธิการดังกล่าวได้สรุปและเผยแพร่รายงานการสอบสวนเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๑ มี.ค. ที่ผ่านมา ระบุว่าโครงการเหมืองทองแดงไม่มีมาตรการปกป้องสิ่งแวดล้อมที่แข็งแรง อีกทั้งไม่สร้างงานให้ชาวบ้านท้องถิ่น แต่ก็เสนอแนะให้เปิดเหมืองดำเนินโครงการต่อเพื่อรักษาสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ดีและไว้วางใจกันได้กับจีนซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านและส่งเสริมการลงทุนต่างชาติซึ่งพม่าต้องการมาก

รายงานไม่ได้ระบุให้เอาผิดหรือดำเนินมาตรการใดกับเจ้าหน้าที่ที่สั่งให้ปราบปรามการชุมนุมด้วย เพียงแต่เสนอแนะให้ทางการฝึกอบรมการปราบจลาจลที่ถูกวิธีแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ, จ่ายค่าชดเชยที่ดินเพิ่มเติมแก่ชาวบ้านโดยยึดราคาตลาดปัจจุบัน, คืนที่ดินเพาะปลูกเกือบ ๒,๐๐๐ เอเคอร์ให้ชาวบ้าน, และตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้นชุดหนึ่งประกอบด้วยตัวแทนหลายฝ่ายเพื่อดำเนินการตามข้อเสนอแนะนี้

อองซานซูจีได้เดินสายชี้แจงรายงานของคณะกรรมาธิการให้ชาวบ้าน ๓ หมู่บ้านในพื้นที่เหมือง แต่บรรดานักเคลื่อนไหวและชาวบ้านจำนวนมากไม่พอใจข้อสรุปเสนอแนะในรายงานของคณะกรรมาธิการนี้และเรียกร้องให้ปิดเหมืองต่อไป
 


ผมมีส่วนที่เห็นใจเธออยู่ว่ามันไม่ง่าย ในโลกการเมืองแบบที่เป็นอยู่นี้ มันมีการแลกเปลี่ยนที่คุณต้องจ่ายไป ยังไม่ต้องพูดถึงโจทย์ทำนองเดียวกันอีกมากที่จะตามมา (AEC, ทุนไทยและนานาชาติที่เตรียมแห่เข้าไปเหยียบย่ำชาวบ้านและชนชาติส่วนน้อยแถวทวาย ฯลฯ) แต่ถ้าเธอถอยแต่ต้น ชาวบ้านก็คงหวังการนำจาก NLD ยาก คือการผิดหวัง (disillusionment) กับประชาธิปไตยภายใต้อำนาจทุนโลกาภิวัตน์มันต้องเกิดขึ้นแน่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อ่ะครับ อย่างที่เกิดขึ้นในแอฟริกาใต้หลังล้มระบอบ Aprtheid และที่อื่น ๆ แต่คุณจะเหลือ "พื้นที่" ให้เขายืนสู้อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรีแฟร์ ๆ ได้แค่ไหน? อันนี้สำคัญ คุณให้โลกไร้ทุน อำนาจชาวบ้านเป็นใหญ่ในแผ่นดินกับเขาไม่ได้หรอก ใคร ๆ ก็รู้ แต่อย่างน้อยที่สุดคุณควรให้โอกาสที่เขาจะสู้เองอย่างสันติและแฟร์และเสรีและมีสิทธิพอสมควร อันนี้ผมคิดว่าไม่ควรถอย การประนีประนอมของซูจีหนนี้มากไป โดยเฉพาะไม่เอาผิดกับเจ้าหน้าที่เลยเนี่ย มันไม่ไหว จะให้ชาวบ้านเขาสู้เวทีไหนได้บ้างล่ะครับ? ต้องมีเวทีให้เขาต่อรองบ้าง ไม่ใช่ไม่ปิดเหมือง แล้วไม่เหลือเวทีช่องทางต่อรองหลังจากนั้นแก่ชาวบ้านเลย แบบนี้ก็ผลักเขาลงถนนอีกเท่านั้นเอง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

Aung San Suu Kyi support for copper mine outrages Burmese activists
Aung San Suu Kyi faces protesters at copper mine

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
 ผมได้รับเชิญไปร่วมสนทนาในงานเปิดตัวหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตของอาจารย์ พัชราภา ตันตราจิน แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อต้นเดือนนี้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมอยากนำเอาเนื้อหาที่เตรียมไปส่วนหนึ่งมาเล่าต่อ ณ ที่นี้เพราะไม่มีโอกาสพูดถึงในวันงาน
เกษียร เตชะพีระ
ปรากฏการณ์หมกมุ่นกับรูปโฉมภายนอกเหล่านี้บันดาลใจให้ศิลปินอุนจงเปิดนิทรรศการงานศิลปะของเธอชื่อ “โรงงานร่างกาย” สะท้อนการที่ผู้คนสูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเอง ทำกับร่างกายตัวเองเหมือนมันเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง และสูญเสียความหมายว่าตัวเองเป็นใครไป
เกษียร เตชะพีระ
อีกด้านของจอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาเสรีนิยม-ประโยชน์นิยม "เผด็จการยังจำเป็นสำหรับสังคมด้อยพัฒนาที่ประชาชนยังไม่พร้อม” และ ความแย้งย้อนของเสรีนิยมบนฐานประโยชน์นิยม: ทำไมเสรีภาพจึงไปได้กับเผด็จการในความคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์?
เกษียร เตชะพีระ
การไต่ระดับของเศรษฐศาสตร์รัดเข็มขัด (austerity economics) สู่ขั้นยึดเงินฝากชาวบ้านมาใช้หนี้เน่าธนาคาร
เกษียร เตชะพีระ
...ข้อเรียกร้องที่ชอบด้วยเหตุผลให้มี “การเมืองที่กำกับด้วยศีลธรรม” บ่อยครั้งเมื่อเอาไปวางในโลกปฏิบัติที่เป็นจริงของสังคมการเมืองไทย รังแต่จะนำไปสู่ “ผู้อวดอ้างสวมสิทธิอำนาจวินิจฉัยตัดสินศีลธรรมทางการเมืองเอาเองโดยพลการและปราศจากการตรวจสอบควบคุม”
เกษียร เตชะพีระ
Kasian Tejapira(1/4/56)สืบเนื่องจากสเตตัสของ บก.ลายจุด เรื่องล้างสมองที่ว่า:
เกษียร เตชะพีระ
จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
เกษียร เตชะพีระ
ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน
เกษียร เตชะพีระ
...ภาพรวมของ the growth effects + the expansion effects + the transport effects เหล่านี้ จะไม่ถูกบันทึกนับรวมไว้ใน EIA ฉบับของโครงการย่อยใด ๆ เพราะเอาเข้าจริงมันเป็นผลที่คาดหวังให้เกิดขึ้นของโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ทั้งหมด ด้วยซ้ำ ทว่ามันจะทำให้ไทยและเพื่อนบ้านและ ASEAN ใช้พลังงานและทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล น่าเชื่อว่า Carbon Footprint หรือรอยเท้าคาร์บอนของคนไทยและคน ASEAN จะขยายใหญ่ออกไปอีกบานเบอะ ...
เกษียร เตชะพีระ
โรซ่าชี้ว่ามีระบอบเวลาที่เร่งเร็วขึ้น ๓ ชนิดทำงานผสมผสานกันอยู่ในระยะอันใกล้นี้ ได้แก่: -การเร่งเร็วทางเทคนิค (อินเทอร์เน็ต, รถไฟความเร็วสูง, เตาไมโครเวฟ) -การเร่งเร็วทางสังคม (ผู้คนเปลี่ยนการงานอาชีพและคู่ครองบ่อยขึ้น, ใช้ข้าวของแล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ถี่ขึ้น) -จังหวะดำเนินชีวิตกระชั้นขึ้น (เรานอนน้อยลง, พูดเร็วขึ้น, สื่อสารกับคนรอบข้างน้อยลง, ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันไป)
เกษียร เตชะพีระ
I am an ud-ad man.Living in ud-ad Thailand.I wonder why it is so.Maybe because the general tells me to go....
เกษียร เตชะพีระ
๑๓ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิส ประมุของค์ใหม่แห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก