Skip to main content

Kasian Tejapira(27/3/56)

ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในน้อยประเทศของโลกที่ดูเหมือนไม่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจหนักหน่วงนักในช่วงวิกฤตซับไพรม์และเศรษฐกิจโลกถดถอยใหญ่หลายปีที่ผ่านมา (ค.ศ. 2008 - ปัจจุบัน) ค่าที่รัฐบาลออสเตรเลียดำเนินชุดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทันท่วงที ประจวบกับแนวโน้มมูลค่าสินค้าบูมทั่วโลก (commodities boom นับแต่ ค.ศ. 2000 - 2009 แล้วสะดุดวิกฤตซับไพรม์) พลิกฟื้นกลับขึ้นมาหนุนส่ง โดยเฉพาะอุปสงค์ด้านแร่ธาตุวัตถุดิบที่อุตสาหกรรมมหึมาของจีนต้องการจากออสเตรเลีย ไม่ว่าแร่เหล็ก, ถ่านหิน, บ็อกไซต์ ฯลฯ ทำให้ออสเตรเลียหลุดรอดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาได้

 

ทว่าเอาเข้าจริงในโครงสร้างเชื่อมโยงแบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ จะมีประเทศไหนไม่โดนผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกบ้าง? ออสเตรเลียก็เถอะ เพียงแค่ขูดผิวไปสักพัก เฝ้าสังเกตดูสักหน่อย ก็จะพบปัญหาเกี่ยวพันกับวิกฤตเศรษฐกิจกลัดหนองอยู่

 

ปัญหาพื้นฐานคือออสเตรเลียกำลังประสบสภาวะ two-speed economy หรือเศรษฐกิจสองอัตราเร่งต่างกัน กล่าวคือ

 

อัตราเร่งที่ 1) ภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ อันนี้กำลังส่งออกไปจีนอย่างเร่งเร็วมาก ที่ท่าเรืออ่าวซิดนีย์ มีขบวนเรือขนส่งสินค้าต่อคิวรอบรรทุกแร่ธาตุวัตถุดิบจากเหมืองแร่ในออสเตรเลียเพื่อส่งออกไปจีนยาวเหยียดร่วม 50 ไมล์ทะเล อานิสงส์จากการลงทุนขนานใหญ่ของบริษัทเหมืองแร่เพื่อต้อนรับกระแสมูลค่าสินค้าบูมและอุปสงค์แร่ธาตุวัตถุดิบจากจีน (เฉพาะปี 2010 ปีเดียว มีการลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ออสเตรเลียถึง 1700,000 ล้านดอลล่าร์ออสเตรเลีย) ทำให้ชาวออสเตรเลียที่ประกอบอาชีพเกี่ยวข้องเชื่อมโยงโดยตรงกับภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่กำลังบูม พากันยกระดับรายได้สูงลิ่ว จู่ ๆ ก็รวยไม่รู้เรื่อง พากันถอยเบนซ์มาขับเล่นกันใหญ่

 

อัตราเร่งที่ 2 ) ไม่ว่าอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรือค้าปลีกหรือบริการ หากไม่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงโดยตรงกับเหมืองแร่แล้ว ก็ไม่ได้ประโยชน์โภคผลนัก (ปัญหาหนึ่งของอุตสาหกรรมเหมืองแร่คือใช้แรงงานน้อยกว่า ใช้เครื่องจักรหนักมากกว่า โดยเปรียบเทียบ ดังนั้นถึงบูมก็จ้างแรงงานเพิ่มไม่มาก อีกทั้งงานเหมืองแร่ คนออสเตรเลียพื้นถิ่นไม่ค่อยชอบทำ ส่วนมากจะเป็นคนอพยพ) ซ้ำร้ายยังถูกกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ที่ข้าวของแพงขึ้นจากผลกระทบของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และส่งออกแร่ธาตุบูม คนจำนวนมากในภาคเศรษฐกิจที่เหลือเหล่านี้จึงถูกเบียดจากภาวะราคาเฟ้อจนหลุดออกจากตลาดบ้าน, ตลาดภัตตาคารหรือแม้แต่ตลาดซูเปอร์มาร์เก็ตไป (คือของแพงจนเงินรายได้ไม่พอซื้อ สู้ราคาไม่ไหว)

 

ภาวะเศรษฐกิจสองอัตราเร่งต่างกันทำให้สังคมเศรษฐกิจออสเตรเลียเกิดความเครียดและแตกหักแยกส่วนกันมากขึ้น คนรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมเพิ่มสูงขึ้น อึดอัดไม่สบายใจกับภาวะที่เป็นอยู่ แม้แต่พวกที่โชคดีรวยจากเหมืองแร่บูมก็เล็งการณ์ร้าย หวาดวิตกในใจลึก ๆ ไม่แน่ใจว่าบูมจะยาวนานเท่าไหร่ ฟองสบู่จะแตกวันแตกพรุ่งไม่รู้ที หากกระแสมูลค่าสินค้าบูมของโลกเริ่มตกหรือเศรษฐกิจจีนพลิกกลับ ต่างมีอาการไม่มั่นคงในใจราวกับกำลังรวยอยู่ในช่วงเวลาที่ยืมมาก็มิปาน

กล่าวสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของออสเตรเลียนั้น ที่ผ่านมารัฐบาลก็พยายามเข้าไปอุ้มชูช่วยเหลือ เพื่อหยุดยั้งภาวะตกต่ำเสื่อมถอย และพัฒนาด้านอุตสาหกรรมไฮเทคขึ้นมา ไม่ว่าวิศวกรรม หรือวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จพอควร เช่น สาขาชีวประดิษฐศาสตร์ (bionics) หรือ wi-fi ก็จดทะเบียนสิทธิบัตรในออสเตรเลียเป็นต้น ทว่าอุตสาหกรรมทั้งหลายเหล่านี้กลับรับผลกระทบด้านลบจากการที่อุตสาหกรรมเหมืองแร่และส่งออกแร่ธาตุไปจีนบูม เพราะมันทำให้ดอลล่าร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้น จนมูลค่าสูงกว่าดอลล่าร์อเมริกันต่อเนื่องกันมาในช่วงระยะหลัง อุตสาหกรรมด้านอื่นก็เลยเคราะห์ร้าย ส่งออกยากขึ้น เพราะคิดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลอื่นแล้วแพงขึ้น (สูญเสียสมรรถนะในการแข่งขันเพราะค่าเงินสกุลชาติตนแข็งขึ้น) ในตลาดสากล จนกระทั่งรัฐบาลออสเตรเลียต้องออกนโยบายให้เงินอุดหนุนอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้มาเปิดการผลิตในออสเตรเลียสืบต่อไป เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ไม่ว่า โตโยต้า, ฟอร์ด, จีเอ็ม ฯลฯ ต่างก็ได้รับอานิสงส์ส่วนนี้ ประมาณว่ารัฐบาลออสเตรเลียเอาเงินภาษีชาวบ้านมาติดสินบนบริษัทเหล่านี้ให้อยู่ต่อนั่นเอง ซึ่งนโยบายแบบนี้ไม่น่าจะคงทนยั่งยืนได้ในระยะยาว

ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
มิจฉาทิฐิว่าด้วย“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน” "ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ" และ "วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"
เกษียร เตชะพีระ
นายกฯ เทย์ยิบ เออร์โดกาน จากครอบครัวกรรมาชีพยากไร้ในอีสตันบูล สู่นักการเมืองประชาธิปไตยผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากการเมืองท้องถิ่นในนครอีสตันบูล ต่อต้านอำนาจทหาร จนถึงผู้นำอำนาจนิยมที่รมประชาชนด้วยแก๊สน้ำตา เพื่อจะได้สร้างชอปปิ้ง มอลล์ขึ้นมาบนสวนสาธารณะ Gezi และ วิกฤตนี้จะจบอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
...ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คำถามสำคัญคือ ใครบ้างที่คุณนับเป็นมนุษย์? เราควรจะแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติว่าจะปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคน ๆ หนึ่งบนฐานศาสนา ชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมืองของเขา หรือไม่อย่างไร? ถ้าหากไม่เกิดคดีเอกยุทธ ยังจะมีใครคิดรื้อฟื้นดำเนินคดีทนายสมชายให้จบจริงหรือไม่?
เกษียร เตชะพีระ
..จะเอานายกฯคนโน้นแทน ก็จะไปเรียกเอาร้องเอาจากในหลวงโดด ๆ โดยไม่ฟังเสียงและไม่เคารพอำนาจอธิปไตยของคนไทย ๗๐ ล้านคนเลยได้ มิฉะนั้น ก็จะมีคนเปลี่ยนหน้า ม็อบเปลี่ยนหน้ากาก ไชยวัฒน์บ้าง สนธิบ้าง ชูวัดบ้าง สุทธิบ้าง หน้ากากขาวเขียวเหลืองชมพูน้ำตาลโกโก้กรมท่าน้ำเงินฟ้าสารพัดสี เข้าแถวเรียงรายผลัดกันขอนายกฯพระราชทานคนใหม่คนแล้วคนเล่าเอากับองค์พระประมุขไม่เว้นแต่ละวัน แล้วจะให้พระองค์ทรงทำอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
เกษียร เตชะพีระ
..นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
ประเด็นหัวใจของการสนทนาคือความสัมพันธ์อันซับซ้อนยอกย้อนระหว่าง คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural values) กับ มูลค่า/ราคาทางเศรษฐกิจ (economic value/price) ขณะผู้ถามซักไซ้ไล่เลียงจากมุมมองและคำถามเชิงแนวคิดปรัชญาและสังคม ผู้ตอบอธิบายจากจุดยืนของความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ(ทรัพยากรมีจำกัด สังคมต้องตัดสินใจเลือกใช้ให้คุ้มค่าที่สุด), ความรู้เท่าทันต่อกรอบ/ขีดจำกัด/และพลังของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การดำรงอยู่ของเงื่อนไขทางสังคม/การเมืองที่ล้อมกำกับเศรษฐกิจและ เศรษฐศาสตร์, และชะตาจำต้องเลือกของการตัดสินใจใช้ทรัพยากรจากจุดยืนเศรษฐศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ
นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
หากเอาความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ระยะหลัง (ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) ตามที่คุณพัชราภา ตันตราจินศึกษาค้นคว้าไว้ในหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (๒๕๕๖) มาวางไว้ในบริบทกระแสความคิดการเมืองปัจจุบันแล้วเปรียบเทียบกับแนวคิดของคู่ขัดแย้งหลักในสังคมการเมือง  ได้แก่ “แดง” (คือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและแนวร่วม) กับ “เหลือง” (คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วม) แล้ว ก็จะพบว่า...
เกษียร เตชะพีระ
ประสบการณ์ทำนองนี้ของไทยเราเคยมีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ๒๕๔๐ เมื่อหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์ทเมนต์ก่อสร้างขึ้นมาล้นเหลือเกินดีมานด์ของตลาดนับแสนหน่วย ต้องรออีกหลายปีกว่าจะขายหมด แต่นั่นมันหมู่บ้าน, คอนโด, อพาร์ทเมนต์ร้าง, ของจีนทุกวันนี้ไปไกลกว่านั้นมากคือเมืองทั้งเมืองที่สร้างขึ้นมาใหม่สำหรับ รองรับคนเป็นล้าน กลับร้าง รอคนมาอยู่ที่ไม่เคยมา อย่างที่เรียกว่า ghost cities หรือ เมืองผีหลอก...
เกษียร เตชะพีระ
“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ” - มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์
เกษียร เตชะพีระ
คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....