Skip to main content

Kasian Tejapira(18/4/56)

มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์ พระราชมารดา ซึ่งทรงประกาศจะสละราชสมบัติไปเมื่อปีก่อน หลังครองราชย์มากว่า ๓๐ ปี มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ตรัสว่าคนอยากเรียกหาพระองค์อย่างไรก็ได้ตามใจ และตัวพระองค์เองก็จะไม่เฉลิมพระนามว่า “พระเจ้าวิลเลมที่สี่”

 

“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ”

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจะจัดขึ้น ๓๐ เม.ย. ศกนี้ี ท่ามกลางเสียงเรียกร้องให้กษัตริย์ปฏิบัติเฉพาะหน้าที่เชิงพิธีการเท่านั้น และมกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ก็ทรงบ่งชี้ว่าพระองค์ทรงอนุโลมตามข้อเรียกร้องนั้น

 

“ถ้าหากกระบวนการนิติบัญญัติเป็นประชาธิปไตยและเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแล้ว ฉันก็จะยอมรับทุกสิ่งทุกอย่าง ฉันไม่มีปัญหาอะไรกับสิ่งนั้น นั่นคือเหตุผลที่ทำไมฉันเป็นกษัตริย์ และหากจำเป็นต้องใช้ลายเซ็นชื่อของฉัน ฉันก็จะเซ็นชื่อให้”

ว่าที่พระราชินีแม็กซีมา พระชายาชาวอาร์เจนตินา ทรงสิริโฉมเพริศพริ้งและตรัสภาษาดัตช์ได้คล่อง เป็นเชื้อพระวงศ์ที่มหาชนชาวเนเธอร์แลนด์นิยมที่สุด ปัญหาอยู่ตรงบิดาของพระนางมีสัมพันธ์โยงใยกับเผด็จการทหารอาร์เจนตินาสมัยปลายคริสตทศวรรษที่ ๑๙๗๐ ต่อต้นคริสตทศวรรษ ๑๙๘๐ ในฐานะรมว.เกษตรของรัฐบาลทหาร ทำให้ในงานพระราชพิธีอภิเษกสมรสปี ค.ศ.๒๐๐๒ บิดาของพระนางไม่ได้รับเชิญมาร่วมงานในเนเธอร์แลนด์ และก็คงไม่ได้รับเชิญมาร่วมงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนี้อีกเช่นกัน ทรงให้สัมภาษณ์ในโอกาสเดียวกันนั้นว่า:

 

“การกลายเป็นราชินีจะไม่เปลี่ยนฉันหรอก ฉันจะไม่ทำตัวต่างออกไป และแน่นอน ภูมิหลังของฉันเป็นชาวอาร์เจนตินา ฉันชอบเต้นรำ ฉันชอบดนตรี แล้วฉันก็จะทำอย่างนั้นต่อไป แต่ฉันจะเหมือนเดิม”

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ