Kasian Tejapira(8/6/56)
มีประเด็นหนึ่งซึ่งคาใจผมอยู่จากงานเสวนา “คิดใหม่ประชานิยม” ที่ TDRI เมื่อ ๓๐ พ.ค. ที่ผ่านมา http://thaipublica.org/2013/06/tdri-seminar-populist-policies/ ในความเห็นผม มันยังกำกวมและไม่ค่อยมีใครหยิบมาพูดถึงให้ชัดเจน คือเรื่องการ “ล้วงกระเป๋า”
ความเปรียบเรื่องการ “ล้วงกระเป๋า” นี้นักเศรษฐศาสตร์ใช้บ่อย เพื่อบ่นรำพึงถึงการที่รัฐบาลเอ่ยอ้างหลักนโยบายที่ฟังดูดีอย่างใดอย่างหนึ่ง คำเตือนจากนักเศรษฐศาสตร์ก็คือ เพื่อนพลเมืองผู้เสียภาษีทั้งหลาย พอได้ยินรัฐบาลพูดแบบนี้ละก็ ระวังกระเป๋าตังค์ตัวเองไว้ให้ดีเถิด รัฐบาลกำลังจะยื่นมือเข้ามาล้วง.....(จากเงินภาษีอากรของท่าน) เพื่อเอาไปใช้จ่ายงบประมาณอย่างสุรุ่ยสุร่ายไม่รับผิดชอบ
ผมฟังอุปมาอุปไมยนี้หนแรกก็จากอาจารย์อัมมาร สยามวาลานี่แหละครับ สักราวสิบกว่าปีก่อนตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง
ในงานเสวนาหนนี้ อาจารย์อัมมารก็เป็นผู้เอ่ยอ้างอุปมา “ล้วงกระเป๋า” มาใช้อีกนั่นแหละ ในบริบทนโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณ --> ยิ่งลักษณ์ โดยเป้าโจมตีหลักคือนโยบายจำนำข้าว (“ทุกเม็ด”)
ทว่าไม่ใช่อาจารย์อัมมารคนเดียวที่เอ่ยอ้างใช้ในงานนี้ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็ทำเหมือนกัน แต่นัยต่างออกไปบ้าง และความต่างอย่างเนียนละเมียดตรงนี้ ผมเกรงว่าคนทั่วไปไม่ทันใส่ใจสังเกต
อาจารย์นิธิเน้นว่าลักษณะอย่างหนึ่งของประชานิยมคือแนวนโยบายแบบกระจายรายได้ทรัพย์สิน (redistributive policy) ความข้อนี้ชัดเจนมากเมื่ออาจารย์นิธิอภิปรายถึงนโยบายค่าแรงขั้นต่ำวันละ ๓๐๐ บาท ว่าเป็นการที่รัฐบาล “ล้วงกระเป๋า” นายจ้างนายทุน เอาไปใส่เพิ่มให้กับ ลูกจ้างคนงาน
นัยไม่เหมือนกันนะครับ “ล้วงกระเป๋า” ๒ อันนี้
- อัมมารเน้นการที่รัฐบาล “ล้วงกระเป๋า” ผู้เสียภาษีให้รัฐ เอาไปใช้จ่ายช่วยเหลือคนบางกลุ่มเช่นชาวนาผ่านเงินงบประมาณ
- นิธิเน้นการที่รัฐบาล “ล้วงกระเป๋า” นายจ้างนายทุนหรือคนที่มั่งมีกว่า เอาไปเฉลี่ยกระจายให้คนกลุ่มอื่นเช่นลูกจ้างคนงาน เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางรายได้ทรัพย์สินมากขึ้น
ผมคิดว่ามีอย่างน้อยจังหวะหนึ่งที่นัยสองอันนี้พันกันจนสับสน และอาจารย์อัมมารเข้าใจคำว่า “ล้วงกระเป๋า” ไขว้เขวไป (ผมกับอาจารย์นิธิกำลังพูดเรื่องนโยบายกระจายรายได้ทรัพย์สินจากกระเป๋าคนรวยนายจ้างนายทุนไปให้คนจนกว่า ขณะที่อาจารย์อัมมารเข้าใจว่าผมกำลังพูดเรื่องล้วงกระเป๋าจากผู้เสียภาษีโดยรวม)
“ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ล้วงจากส่วนกลางของชาติ ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงคือผู้จ่ายภาษีทั้งปวง และไม่แน่ว่าจะมีนัยของการกระจายรายได้
ส่วน “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ เน้นการล้วงจากคนรวย เอาไปกระจายให้คนจนกว่า และมีนัยของการกระจายรายได้
นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ;
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ผมได้รับเชิญไปร่วมสนทนาในงานเปิดตัวหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตของอาจารย์ พัชราภา ตันตราจิน แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อต้นเดือนนี้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมอยากนำเอาเนื้อหาที่เตรียมไปส่วนหนึ่งมาเล่าต่อ ณ ที่นี้เพราะไม่มีโอกาสพูดถึงในวันงาน
เกษียร เตชะพีระ
ปรากฏการณ์หมกมุ่นกับรูปโฉมภายนอกเหล่านี้บันดาลใจให้ศิลปินอุนจงเปิดนิทรรศการงานศิลปะของเธอชื่อ “โรงงานร่างกาย” สะท้อนการที่ผู้คนสูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเอง ทำกับร่างกายตัวเองเหมือนมันเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง และสูญเสียความหมายว่าตัวเองเป็นใครไป
เกษียร เตชะพีระ
อีกด้านของจอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาเสรีนิยม-ประโยชน์นิยม "เผด็จการยังจำเป็นสำหรับสังคมด้อยพัฒนาที่ประชาชนยังไม่พร้อม” และ ความแย้งย้อนของเสรีนิยมบนฐานประโยชน์นิยม: ทำไมเสรีภาพจึงไปได้กับเผด็จการในความคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์?
เกษียร เตชะพีระ
การไต่ระดับของเศรษฐศาสตร์รัดเข็มขัด (austerity economics) สู่ขั้นยึดเงินฝากชาวบ้านมาใช้หนี้เน่าธนาคาร
เกษียร เตชะพีระ
...ข้อเรียกร้องที่ชอบด้วยเหตุผลให้มี “การเมืองที่กำกับด้วยศีลธรรม” บ่อยครั้งเมื่อเอาไปวางในโลกปฏิบัติที่เป็นจริงของสังคมการเมืองไทย รังแต่จะนำไปสู่ “ผู้อวดอ้างสวมสิทธิอำนาจวินิจฉัยตัดสินศีลธรรมทางการเมืองเอาเองโดยพลการและปราศจากการตรวจสอบควบคุม”
เกษียร เตชะพีระ
Kasian Tejapira(1/4/56)สืบเนื่องจากสเตตัสของ บก.ลายจุด เรื่องล้างสมองที่ว่า:
เกษียร เตชะพีระ
จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
เกษียร เตชะพีระ
ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน
เกษียร เตชะพีระ
...ภาพรวมของ the growth effects + the expansion effects + the transport effects เหล่านี้ จะไม่ถูกบันทึกนับรวมไว้ใน EIA ฉบับของโครงการย่อยใด ๆ เพราะเอาเข้าจริงมันเป็นผลที่คาดหวังให้เกิดขึ้นของโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ทั้งหมด ด้วยซ้ำ ทว่ามันจะทำให้ไทยและเพื่อนบ้านและ ASEAN ใช้พลังงานและทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล น่าเชื่อว่า Carbon Footprint หรือรอยเท้าคาร์บอนของคนไทยและคน ASEAN จะขยายใหญ่ออกไปอีกบานเบอะ ...
เกษียร เตชะพีระ
โรซ่าชี้ว่ามีระบอบเวลาที่เร่งเร็วขึ้น ๓ ชนิดทำงานผสมผสานกันอยู่ในระยะอันใกล้นี้ ได้แก่: -การเร่งเร็วทางเทคนิค (อินเทอร์เน็ต, รถไฟความเร็วสูง, เตาไมโครเวฟ) -การเร่งเร็วทางสังคม (ผู้คนเปลี่ยนการงานอาชีพและคู่ครองบ่อยขึ้น, ใช้ข้าวของแล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ถี่ขึ้น) -จังหวะดำเนินชีวิตกระชั้นขึ้น (เรานอนน้อยลง, พูดเร็วขึ้น, สื่อสารกับคนรอบข้างน้อยลง, ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันไป)
เกษียร เตชะพีระ
I am an ud-ad man.Living in ud-ad Thailand.I wonder why it is so.Maybe because the general tells me to go....
เกษียร เตชะพีระ
๑๓ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิส ประมุของค์ใหม่แห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก