Kasian Tejapira(8/6/56)
มีประเด็นหนึ่งซึ่งคาใจผมอยู่จากงานเสวนา “คิดใหม่ประชานิยม” ที่ TDRI เมื่อ ๓๐ พ.ค. ที่ผ่านมา http://thaipublica.org/2013/06/tdri-seminar-populist-policies/ ในความเห็นผม มันยังกำกวมและไม่ค่อยมีใครหยิบมาพูดถึงให้ชัดเจน คือเรื่องการ “ล้วงกระเป๋า”
ความเปรียบเรื่องการ “ล้วงกระเป๋า” นี้นักเศรษฐศาสตร์ใช้บ่อย เพื่อบ่นรำพึงถึงการที่รัฐบาลเอ่ยอ้างหลักนโยบายที่ฟังดูดีอย่างใดอย่างหนึ่ง คำเตือนจากนักเศรษฐศาสตร์ก็คือ เพื่อนพลเมืองผู้เสียภาษีทั้งหลาย พอได้ยินรัฐบาลพูดแบบนี้ละก็ ระวังกระเป๋าตังค์ตัวเองไว้ให้ดีเถิด รัฐบาลกำลังจะยื่นมือเข้ามาล้วง.....(จากเงินภาษีอากรของท่าน) เพื่อเอาไปใช้จ่ายงบประมาณอย่างสุรุ่ยสุร่ายไม่รับผิดชอบ
ผมฟังอุปมาอุปไมยนี้หนแรกก็จากอาจารย์อัมมาร สยามวาลานี่แหละครับ สักราวสิบกว่าปีก่อนตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง
ในงานเสวนาหนนี้ อาจารย์อัมมารก็เป็นผู้เอ่ยอ้างอุปมา “ล้วงกระเป๋า” มาใช้อีกนั่นแหละ ในบริบทนโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณ --> ยิ่งลักษณ์ โดยเป้าโจมตีหลักคือนโยบายจำนำข้าว (“ทุกเม็ด”)
ทว่าไม่ใช่อาจารย์อัมมารคนเดียวที่เอ่ยอ้างใช้ในงานนี้ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็ทำเหมือนกัน แต่นัยต่างออกไปบ้าง และความต่างอย่างเนียนละเมียดตรงนี้ ผมเกรงว่าคนทั่วไปไม่ทันใส่ใจสังเกต
อาจารย์นิธิเน้นว่าลักษณะอย่างหนึ่งของประชานิยมคือแนวนโยบายแบบกระจายรายได้ทรัพย์สิน (redistributive policy) ความข้อนี้ชัดเจนมากเมื่ออาจารย์นิธิอภิปรายถึงนโยบายค่าแรงขั้นต่ำวันละ ๓๐๐ บาท ว่าเป็นการที่รัฐบาล “ล้วงกระเป๋า” นายจ้างนายทุน เอาไปใส่เพิ่มให้กับ ลูกจ้างคนงาน
นัยไม่เหมือนกันนะครับ “ล้วงกระเป๋า” ๒ อันนี้
- อัมมารเน้นการที่รัฐบาล “ล้วงกระเป๋า” ผู้เสียภาษีให้รัฐ เอาไปใช้จ่ายช่วยเหลือคนบางกลุ่มเช่นชาวนาผ่านเงินงบประมาณ
- นิธิเน้นการที่รัฐบาล “ล้วงกระเป๋า” นายจ้างนายทุนหรือคนที่มั่งมีกว่า เอาไปเฉลี่ยกระจายให้คนกลุ่มอื่นเช่นลูกจ้างคนงาน เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางรายได้ทรัพย์สินมากขึ้น
ผมคิดว่ามีอย่างน้อยจังหวะหนึ่งที่นัยสองอันนี้พันกันจนสับสน และอาจารย์อัมมารเข้าใจคำว่า “ล้วงกระเป๋า” ไขว้เขวไป (ผมกับอาจารย์นิธิกำลังพูดเรื่องนโยบายกระจายรายได้ทรัพย์สินจากกระเป๋าคนรวยนายจ้างนายทุนไปให้คนจนกว่า ขณะที่อาจารย์อัมมารเข้าใจว่าผมกำลังพูดเรื่องล้วงกระเป๋าจากผู้เสียภาษีโดยรวม)
“ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ล้วงจากส่วนกลางของชาติ ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงคือผู้จ่ายภาษีทั้งปวง และไม่แน่ว่าจะมีนัยของการกระจายรายได้
ส่วน “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ เน้นการล้วงจากคนรวย เอาไปกระจายให้คนจนกว่า และมีนัยของการกระจายรายได้
นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ;
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
มิจฉาทิฐิว่าด้วย“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน” "ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ" และ "วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"
เกษียร เตชะพีระ
นายกฯ เทย์ยิบ เออร์โดกาน จากครอบครัวกรรมาชีพยากไร้ในอีสตันบูล สู่นักการเมืองประชาธิปไตยผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากการเมืองท้องถิ่นในนครอีสตันบูล ต่อต้านอำนาจทหาร จนถึงผู้นำอำนาจนิยมที่รมประชาชนด้วยแก๊สน้ำตา เพื่อจะได้สร้างชอปปิ้ง มอลล์ขึ้นมาบนสวนสาธารณะ Gezi และ วิกฤตนี้จะจบอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
...ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คำถามสำคัญคือ ใครบ้างที่คุณนับเป็นมนุษย์? เราควรจะแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติว่าจะปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคน ๆ หนึ่งบนฐานศาสนา ชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมืองของเขา หรือไม่อย่างไร? ถ้าหากไม่เกิดคดีเอกยุทธ ยังจะมีใครคิดรื้อฟื้นดำเนินคดีทนายสมชายให้จบจริงหรือไม่?
เกษียร เตชะพีระ
..จะเอานายกฯคนโน้นแทน ก็จะไปเรียกเอาร้องเอาจากในหลวงโดด ๆ โดยไม่ฟังเสียงและไม่เคารพอำนาจอธิปไตยของคนไทย ๗๐ ล้านคนเลยได้ มิฉะนั้น ก็จะมีคนเปลี่ยนหน้า ม็อบเปลี่ยนหน้ากาก ไชยวัฒน์บ้าง สนธิบ้าง ชูวัดบ้าง สุทธิบ้าง หน้ากากขาวเขียวเหลืองชมพูน้ำตาลโกโก้กรมท่าน้ำเงินฟ้าสารพัดสี เข้าแถวเรียงรายผลัดกันขอนายกฯพระราชทานคนใหม่คนแล้วคนเล่าเอากับองค์พระประมุขไม่เว้นแต่ละวัน แล้วจะให้พระองค์ทรงทำอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
เกษียร เตชะพีระ
..นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
ประเด็นหัวใจของการสนทนาคือความสัมพันธ์อันซับซ้อนยอกย้อนระหว่าง คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural values) กับ มูลค่า/ราคาทางเศรษฐกิจ (economic value/price) ขณะผู้ถามซักไซ้ไล่เลียงจากมุมมองและคำถามเชิงแนวคิดปรัชญาและสังคม ผู้ตอบอธิบายจากจุดยืนของความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ(ทรัพยากรมีจำกัด สังคมต้องตัดสินใจเลือกใช้ให้คุ้มค่าที่สุด), ความรู้เท่าทันต่อกรอบ/ขีดจำกัด/และพลังของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การดำรงอยู่ของเงื่อนไขทางสังคม/การเมืองที่ล้อมกำกับเศรษฐกิจและ เศรษฐศาสตร์, และชะตาจำต้องเลือกของการตัดสินใจใช้ทรัพยากรจากจุดยืนเศรษฐศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ
นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
หากเอาความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ระยะหลัง (ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) ตามที่คุณพัชราภา ตันตราจินศึกษาค้นคว้าไว้ในหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (๒๕๕๖) มาวางไว้ในบริบทกระแสความคิดการเมืองปัจจุบันแล้วเปรียบเทียบกับแนวคิดของคู่ขัดแย้งหลักในสังคมการเมือง ได้แก่ “แดง” (คือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและแนวร่วม) กับ “เหลือง” (คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วม) แล้ว ก็จะพบว่า...
เกษียร เตชะพีระ
ประสบการณ์ทำนองนี้ของไทยเราเคยมีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ๒๕๔๐ เมื่อหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์ทเมนต์ก่อสร้างขึ้นมาล้นเหลือเกินดีมานด์ของตลาดนับแสนหน่วย ต้องรออีกหลายปีกว่าจะขายหมด แต่นั่นมันหมู่บ้าน, คอนโด, อพาร์ทเมนต์ร้าง, ของจีนทุกวันนี้ไปไกลกว่านั้นมากคือเมืองทั้งเมืองที่สร้างขึ้นมาใหม่สำหรับ รองรับคนเป็นล้าน กลับร้าง รอคนมาอยู่ที่ไม่เคยมา อย่างที่เรียกว่า ghost cities หรือ เมืองผีหลอก...
เกษียร เตชะพีระ
“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ” - มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์
เกษียร เตชะพีระ
คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....