อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มิ.ย. ศกนี้ ศาลสูงสหรัฐฯลงมติเอกฉันท์ ๙: ๐ ให้บริษัท Myriad Genetics Inc. แพ้คดีที่อ้างกรรมสิทธิ์จากการจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์ที่นักวิทยาศาสตร์ของบริษัทสกัดออกมาจากตัวมนุษย์ เพื่อเอาไปทดสอบว่ามีลักษณะผิดปกติอันอาจนำไปสู่มะเร็งในมดลูกและหน้าอกของผู้หญิงหรือไม่ (การทดสอบแบบเดียวกับที่แองเจลีนา โจลีทำและตัดสินใจผ่าตัดเต้านมออกทั้งสองข้างเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็ง)
ศาลสูงแยกแยะระหว่าง [ยีนส์ของคนที่เกิดตามธรรมชาต]ิ กับ [ตัวการทดสอบและ/หรือยีนส์ที่ถูกดัดแปลงเสริมแต่งในห้องทดลองจนผิดแผกแปลกต่างไปจากธรรมชาติ], อันแรกจดสิทธิบัตรเพื่ออ้างกรรมสิทธิ์เป็นของบริษัทเอกชนไม่ได้ มันเป็นของคนที่เกิดตามธรรมชาติ บริษัทแค่ไปดึงออกมาต่างหาก, ส่วนอันหลังบริษัทยังสามารถเอาไปจดสิทธิบัตรอ้างกรรมสิทธิ์ได้ตามปกติ
ผู้พิพากษาคลาเรนซ์ โธมัส ซึ่งรับผิดชอบเขียนคำพิพากษาตามมติเอกฉันท์ของศาลสูงดังกล่าวระบุไว้ในคำพิพากษาตอนหนึ่งว่า:
“กฎธรรมชาติ ปรากฏการณ์ธรรมชาติและความคิดนามธรรมนั้นไม่อาจนำไปจดสิทธิบัตรได้“เราถือว่าส่วนของ DNA ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นผลผลิตของธรรมชาติและจะเอาไปจดสิทธิบัตรเพียงเพราะมันได้ถูกดึงแยกต่างหากออกมา (จากร่างกายมนุษย์) นั้นมิได้“อย่างไรก็ตาม DNA ที่สังเคราะห์สร้างขึ้นยังนำไปจดสิทธิบัตรได้เพราะมันไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ”
ผู้พิพากษาคลาเรนซ์ โธมัส(Clarence Thomas)
คำพิพากษานี้พลิกโค่นแบบปฏิบัติที่บริษัทเอกชนต่าง ๆ พากันยื่นจดสิทธิบัตรยีนส์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติต่อเนื่องกันมากว่า ๓๐ ปี และส่งผลสะเทือนพอสมควรต่ออุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพมูลค่ามหาศาลกำไรสูง
มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
(ภาพประกอบศาลสูงสหรัฐฯและผู้พิพากษาคลาเรนซ์ โธมัส ดูรายละเอียดข่าวนี้ได้ที่ http://www.pri.org/stories/supreme-court-human-genes-cannot-be-patented-14094.html )
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
"เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ