Skip to main content

Kasian Tejapira(23 มิ.ย.56)

นายกฯ เทย์ยิบ เออร์โดกาน นักการเมืองประชาธิปไตยผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากการเมืองท้องถิ่นในนครอีสตันบูล ต่อต้านอำนาจทหาร ถูกแบนทางการเมืองและจับติดคุก ๑๐ เดือนเพราะท่องบทกวีในที่ชุมนุม ตั้งพรรค AK (พรรคยุติธรรมและการพัฒนา) ในคุก และชนะเลือกตั้งต่อกัน ๓ ครั้งในปี ค.ศ. ๒๐๐๒, ๒๐๐๗, ๒๐๑๑ ได้เป็นนายกฯต่อกันถึง ๑๐ ปี กลายมาเป็น

--> ผู้นำอำนาจนิยมที่รมประชาชนของตัวเองด้วยแก๊สน้ำตา เพื่อจะได้สร้างชอปปิ้ง มอลล์ขึ้นมาบนสวนสาธารณะ Gezi สีเขียวผืนสุดท้าย ณ จตุรัส Taksim กลางเมืองอีสตันบูล

การชุมนุมของมวลชนคนหนุ่มสาว (ม็อบสารพัดสีไร้ผู้นำชัดเจน มีทั้งนักอนุรักษ์ธรรมชาติ, มุสลิมเอียงซ้าย, แฟนฟุตบอล, ศิลปินนักสร้างสรรค์ ฯลฯ) ซึ่งยิ่งถูกตำรวจปราบ ยิ่งแผ่ขยายลุกลามไปหลายเมืองของตุรกี มุ่งปกป้อง “ต้นไม้กับประชาธิปไตย” และยกระดับการเรียกร้องจากให้ยกเลิกแผนรื้อสวนสาธารณะ Gezi ทิ้งเพื่อทำชอบปิ้ง มอลล์และศูนย์ที่พักอาศัย ไปเป็นให้นายกฯเออร์โดกานลาออกเพราะท่าทีอำนาจนิยมและเอาหลักศาสนามาบังคับใช้ทางโลกของเขา

ความจริงเออร์โอกานก็เป็นนักสู้คนหนึ่ง มาจากครอบครัวกรรมาชีพยากไร้ในอีสตันบูล ถูกกดขี่ข่มขู่ดูแคลนจากพวกชนชั้นนำเคมาลิสต์เก่ารวมทั้งทหาร เขาจึงกัดฟันสู้แบบก้าวร้าวกัดไม่ปล่อย ไม่มีถอย ไม่เลิกรา ท่วงทำนองการเมืองเป็นแบบประชานิยมอิงสามัญชนและหลักอิสลาม เสนอภาพตัวเองเป็นนักประชาธิปไตยหัวอนุรักษนิยม ต้องการสร้างระบอบประชาธิปไตยใต้การควบคุม แต่เปิดประเทศทางเศรษฐกิจเข้าหายุโรป แนวนโยบายที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จช่วงชิงชัยชนะทางการเมืองในการเลือกตั้งมาได้ตลอดทศวรรษ คือ ๑) โละล้างอำนาจแทรกแซงการเมืองของทหาร และ ๒) พาประเทศปฏิรูปเศรษฐกิจ (เช่น privatization ขนานใหญ่ในแนวเสรีนิยมใหม่) เปิดเชื่อมเข้ากับสหภาพยุโรปทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง (สิทธิมนุษยชน เสรีภาพ ประชาธิปไตย) ผลคือเศรษฐกิจเติบโตและเผด็จการทหารเสื่อมถอยหมดพลังลง

ในที่สุดเขาทำลายการผูกขาดอำนาจการเมืองของชนชั้นนำเคมาลิสต์เก่าลงได้ และผลักดันทหารออกจากวงการเมืองกลับเข้าสู่กรมกอง (ล่าสุดบรรดานายพันและนายทหารที่วางแผนแทรกแซงการเมือง/ก่อรัฐประหารทั้งหลายถูกรัฐบาลจับกุมดำเนินคดีติดคุกกันส่วนใหญ่) สองปีหลังนี้ ไม่มีภัยคุกคามทางการเมืองจากกองทัพอีกต่อไป เหลือแต่รัฐบาลประชาธิปไตยกุมอำนาจเสียงข้างมากเด็ดขาดของนายกฯเออร์โดกานแห่งพรรค AK กับสังคมการเมืองและประชาสังคมตุรกีโล้น ๆ

แต่แล้วเออร์โดกานก็เริ่มแสดงท่าทีท่วงทำนองโอหังเหลิงเริงอำนาจ ในหลายแง่ไม่ต่างจากชนชั้นนำเก่าที่เขาเขี่ยทิ้งไป เช่น เรียกผู้ประท้วงเป็น “นักปล้น” บ้าง “ผู้ก่อการร้าย” บ้าง ถอยไม่ได้ ขอโทษไม่เป็น บ้าก่อสร้าง วางแผนจะสร้างสุเหร่าใหญ่ที่สุดในประเทศตุรกีขึ้นบนเนินเขาเหนือกรุงอีสตันบูลแล้วตั้งชื่อสุเหร่าตามชื่อตน อาจใช้กลเม็ดแบบปูตินสลับตัวเองไปเป็นประธานาธิบดีชั่วคราวก่อนวกกลับมาเป็นนายกฯบริหารประเทศอีกหนเพื่อให้พ้นขีดจำกัดเรื่องการดำรงตำแหน่งนายกฯต่อกันเกิน ๓ สมัย ทุกครั้งที่เขาดำเนินนโยบายหรือมาตรการผิดพลาด เช่น สั่งทหารโจมตีทิ้งระเบิดผิดเป้า จนทำให้ชาวบ้านในละแวกบ้านแถบชายแดนซีเรียตายหมู่ ๕๑ คน, และอีกครั้งก็ทำให้ขบวนนักค้าของเถื่อนชาวเคอร์ดตายหมู่ไป ๓๔ คน แต่ทุกครั้งไม่มีคำขอโทษจากนายกฯ ไม่มีเจ้าหน้าที่ถูกลงโทษ มีแต่ลูกไม้เบี่ยงเบนความสนใจ เช่น นายกฯเออร์โดกานรีบชูเรื่องห้ามผู้หญิงทำแท้งขึ้นมา, หรือชูเรื่องห้ามผู้ใหญ่ซื้อขายเหล้าหลัง ๔ ทุ่มขึ้นมาโดยอิงหลักศาสนาอิสลาม เป็นต้น ล่าสุด ถึงแก่เล่นแรง โดยเออร์โดกานเปรยว่า “ทำไมขี้เมา ๒ คนเขียนกฎหมายได้ แต่ผมจะทำบ้างกลับไม่ได้ ทั้งที่ดูจากหลักศาสนาของเรา?” ทั้งนี้ “ขี้เมา ๒ คน” ที่ว่ามีนัยแฝงถึง เคมาล ปาชา อตาเตอร์ก ผู้ก่อตั้งรัฐชาติตุรกีสมัยใหม่ขึ้นกับนายกฯ ของเขาซึ่งร่วมกันออกกฎหมายยกเลิกการห้ามขายเหล้าที่อิงหลักศาสนาอิสลามในสมัยก่อน

แล้วลัทธิ Kemalism (ยึดหลักความเชื่อของ เคมาล ปาชา อตาเตอร์ก ผู้สร้างรัฐชาตินิยมตุรกีที่ถือโลกวิสัยและเป็นประชาธิปไตย ไม่บังคับใช้หลักศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด ฯลฯ) ยังมีพลังอยู่หรือไม่?

- คำตอบคือเสื่อมถอยและเปลี่ยนไปมากแล้ว ไม่มีใครเชื่อจริง คนเลิกเชื่อหลายด้านหลายประการของลัทธิการเมืองนี้ไปแล้วในปัจจุบัน แต่กระนั้นในแง่วัฒนธรรม Kemalism ยังมีพลังอยู่ ทำให้การท้าทายลองของตีวัวกระทบคราดของเออร์โดกาน สร้างความไม่พอใจพอสมควร

วิกฤตนี้จะจบอย่างไร?

๑) เออร์โดกานกล่าวคำขอโทษต่อประชาชนที่ใช้กำลังปราบปรามเกินกว่าเหตุ ยอมยกเลิกแผนการที่จะรื้อถอนสวนสาธารณะ Gezi ทิ้งเพื่อทำเป็นชอปปิ้ง มอลล์และศูนย์ที่พักอาศัย

๒) ดื้อรั้นเดินหน้าต่อ ระดมม็อบฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลโดยเฉพาะในหัวเมืองชนบทมาชุมนุมแสดงพลังบ้าง (จัดแล้ว ๒ ครั้งที่เมืองอีสตันบูลและอังการา) รัฐบาลข่มขู่ว่าจะส่งทหารออกมาปราบม็อบเป็นต้น ทว่าความเสี่ยงคือความแตกแยกในพรรค AK เองที่เริ่มปริออกให้เห็น เช่น ประธานาธิบดีแสดงท่าทีประนีประนอมต่อม็อบต่างจากนายกฯเออร์โดกาน อดีต รมว.วัฒนธรรมเรียกร้องให้นายกฯยกเลิกแผนรื้อสวนสาธารณะ Gezi เสีย

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง