Skip to main content
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 

ผมได้ยินกิตติศัพท์บาบู Chatterjee มานานในฐานะผู้บุกเบิกก่อตั้ง Subaltern Studies (ศึกษาความทันสมัยของประเทศหลังอาณานิคมทั้งหลายจากจุดยืน/มุมมองของชนชั้นผู้ถูกกดทับ) โดยเฉพาะเมื่อแกตีพิมพ์หนังสือ Nationalist Thought and the Colonial World (1986) เพื่อวิจารณ์งานเรื่อง Imagined Communities ของครูเบ็น แอนเดอร์สัน แต่เพิ่งเจอะเจอและได้เสวนากับตัวจริงในคราวไปประชุมวิชาการที่เมืองเฟซ ประเทศโมร็อกโก เมื่อปี ๒๐๐๔ ก็เป็นผู้ใหญ่ใจดีที่รอบรู้มาก แกอภิปรายในที่เสวนาแต่ละทียังกับขนหอจดหมายเหตุยุคอาณานิคมอังกฤษในอินเดียมาแบกางให้ดูแล้ววิเคราะห์ตีความ และบ่นอุบว่ามหาวิทยาลัยโคลัมเบียในเมกาใช้งานแกหนักมาก ให้แกดูแลวิทยานิพนธ์เด็กนับสิบ ซึ่งแกก็ใจอ่อน ไม่อยากปฏิเสธ.....

หลังเจอกันหนนั้น ผมก็ตามเก็บงานวิชาการประเภทบทความและหนังสือของแกเท่าที่หาได้มาเรื่อย ๆ รวมทั้ง "Peasant cultures of the twenty-first century" (2008 http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/wp-content/uploads/2009/08/Chatterjee-peasant-cultures.pdf ) ด้วย แต่มาถูกระตุกกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของบทความนี้อีกทีเมื่ออ่านงานของ Andrew Walker เรื่อง Thailand's Political Peasants (2012 http://www.eastasiaforum.org/2012/08/29/thailands-political-peasants/ ) เมื่อต้นปีนี้แล้วพบว่า Walker ชี้แจงว่าเขาดึงแนวคิดพื้นฐานในการตีความเข้าใจสถานการณ์ชาวนาไทยมาจากบทความนี้ของบาบู Chatterjee

บทความนี้เป็นบทวิจารณ์ตัวเองของ Chatterjee ในฐานะตัวแทนสำนัก subaltern studies โดยรวมก็ว่าได้ กล่าวคือแกเสนอว่าแนวทางศึกษาชาวนาแบบเดิมของ subaltern studies ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปภายใต้เศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์และใช้ไม่ได้แล้ว จนต้องรื้อโละเครื่องมือคิดวิเคราะห์สังคมชาวนาเอเชีย (โดยเฉพาะจีน อินเดีย เอเชียอาคเนย์ รวมทั้งไทย) ใหม่หมด ในบรรดาความเปลี่ยนแปลงใหญ่ ๆ ที่แกอ้างอิงถึง ได้แก่:

 

๑) รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ไม่ใช่ปัจจัยภายนอกอีกต่อไป

 

๒) เนื่องจากเกิดการปฏิรูปโครงสร้างทรัพย์สินภาคเกษตรใหม่ บัดนี้ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้าชนชั้นขูดรีด (เช่นเจ้าที่ดินศักดินา/กึ่งศักดินา) โดยตรงในหมู่บ้านอีกต่อไป

 

๓) ในสภาพที่ภาษีที่นาลดความสำคัญลงสำหรับรัฐ รัฐจึงไม่ได้มารีดไถชาวนาโดยตรงอีกต่อไป

 

๔) การที่ชาวชนบทจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เข้าเมือง เปลี่ยนอาชีพไปทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่เกษตรกรรม ไม่ใช่เพราะยากจน สิ้นหนทาง แต่เพราะมองเห็นโอกาสยกระดับตัวเองทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น จึงอยากเสี่ยงไปเองแม้รู้ว่าจะลำบากก็ตาม

 

๕) หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ต้องการเข้าเมืองเพื่อเลื่อนชั้นฐานะทางเศรษฐกิจสังคมและปลดปล่อยตัวเองจากเอกลักษณ์เดิม

 

ผมจะทยอยเล่าข้อวิเคราะห์ของ Chatterjee เรื่องนี้ให้ฟังต่อภายหลังนะครับ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
มิจฉาทิฐิว่าด้วย“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน” "ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ" และ "วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"
เกษียร เตชะพีระ
นายกฯ เทย์ยิบ เออร์โดกาน จากครอบครัวกรรมาชีพยากไร้ในอีสตันบูล สู่นักการเมืองประชาธิปไตยผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากการเมืองท้องถิ่นในนครอีสตันบูล ต่อต้านอำนาจทหาร จนถึงผู้นำอำนาจนิยมที่รมประชาชนด้วยแก๊สน้ำตา เพื่อจะได้สร้างชอปปิ้ง มอลล์ขึ้นมาบนสวนสาธารณะ Gezi และ วิกฤตนี้จะจบอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
...ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คำถามสำคัญคือ ใครบ้างที่คุณนับเป็นมนุษย์? เราควรจะแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติว่าจะปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคน ๆ หนึ่งบนฐานศาสนา ชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมืองของเขา หรือไม่อย่างไร? ถ้าหากไม่เกิดคดีเอกยุทธ ยังจะมีใครคิดรื้อฟื้นดำเนินคดีทนายสมชายให้จบจริงหรือไม่?
เกษียร เตชะพีระ
..จะเอานายกฯคนโน้นแทน ก็จะไปเรียกเอาร้องเอาจากในหลวงโดด ๆ โดยไม่ฟังเสียงและไม่เคารพอำนาจอธิปไตยของคนไทย ๗๐ ล้านคนเลยได้ มิฉะนั้น ก็จะมีคนเปลี่ยนหน้า ม็อบเปลี่ยนหน้ากาก ไชยวัฒน์บ้าง สนธิบ้าง ชูวัดบ้าง สุทธิบ้าง หน้ากากขาวเขียวเหลืองชมพูน้ำตาลโกโก้กรมท่าน้ำเงินฟ้าสารพัดสี เข้าแถวเรียงรายผลัดกันขอนายกฯพระราชทานคนใหม่คนแล้วคนเล่าเอากับองค์พระประมุขไม่เว้นแต่ละวัน แล้วจะให้พระองค์ทรงทำอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
เกษียร เตชะพีระ
..นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
ประเด็นหัวใจของการสนทนาคือความสัมพันธ์อันซับซ้อนยอกย้อนระหว่าง คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural values) กับ มูลค่า/ราคาทางเศรษฐกิจ (economic value/price) ขณะผู้ถามซักไซ้ไล่เลียงจากมุมมองและคำถามเชิงแนวคิดปรัชญาและสังคม ผู้ตอบอธิบายจากจุดยืนของความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ(ทรัพยากรมีจำกัด สังคมต้องตัดสินใจเลือกใช้ให้คุ้มค่าที่สุด), ความรู้เท่าทันต่อกรอบ/ขีดจำกัด/และพลังของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การดำรงอยู่ของเงื่อนไขทางสังคม/การเมืองที่ล้อมกำกับเศรษฐกิจและ เศรษฐศาสตร์, และชะตาจำต้องเลือกของการตัดสินใจใช้ทรัพยากรจากจุดยืนเศรษฐศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ
นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
หากเอาความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ระยะหลัง (ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) ตามที่คุณพัชราภา ตันตราจินศึกษาค้นคว้าไว้ในหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (๒๕๕๖) มาวางไว้ในบริบทกระแสความคิดการเมืองปัจจุบันแล้วเปรียบเทียบกับแนวคิดของคู่ขัดแย้งหลักในสังคมการเมือง  ได้แก่ “แดง” (คือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและแนวร่วม) กับ “เหลือง” (คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วม) แล้ว ก็จะพบว่า...
เกษียร เตชะพีระ
ประสบการณ์ทำนองนี้ของไทยเราเคยมีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ๒๕๔๐ เมื่อหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์ทเมนต์ก่อสร้างขึ้นมาล้นเหลือเกินดีมานด์ของตลาดนับแสนหน่วย ต้องรออีกหลายปีกว่าจะขายหมด แต่นั่นมันหมู่บ้าน, คอนโด, อพาร์ทเมนต์ร้าง, ของจีนทุกวันนี้ไปไกลกว่านั้นมากคือเมืองทั้งเมืองที่สร้างขึ้นมาใหม่สำหรับ รองรับคนเป็นล้าน กลับร้าง รอคนมาอยู่ที่ไม่เคยมา อย่างที่เรียกว่า ghost cities หรือ เมืองผีหลอก...
เกษียร เตชะพีระ
“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ” - มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์
เกษียร เตชะพีระ
คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....