Skip to main content

โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 

Kasian Tejapira(9 ส.ค.56)

 ภาพโดรนบนเรือบรรทุกเครื่องบิน 

 
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหารอันกลายเป็นอาวุธหลักอย่างหนึ่งที่อเมริกาใช้รบกับผู้(ต้องสงสัย)ก่อการร้ายทั่วโลกขณะนี้ คุมโดยมือสังหารหรือนักฆ่าหน้าจอมอนิเตอร์คอมพิวเตอร์ที่นั่งดูภาพถ่ายทอดสดจากกล้องที่ติดตั้งอยู่บนโดรนแบบ real time ห่างออกไปนับร้อยนับพันไมล์ แล้วตัดสินใจบัดเดี๋ยวนั้นว่าจุดเล็ก ๆ ที่เห็นอยู่บนจอ (ซึ่งอาจเป็นคุณก็ได้) ใช่ “ผู้(ต้องสงสัย)ก่อการร้าย” ที่สมควรตายหรือไม่? ถ้าใช่, ก็กดปุ่ม.....
 
แล้วพวกเขาตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใด?
 
เกณฑ์ดังกล่าวเรียกว่า “signatures” หรือลักษณะเฉพาะตัว (การโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัวแบบนี้จึงเรียกว่า signature strikes) อันได้แก่บรรทัดฐานจำนวนหนึ่งที่ถือว่าเกี่ยวพันกับปฏิบัติการก่อการร้าย จะเรียกว่า “ชิ้นส่วนพยานหลักฐานแวดล้อมกรณี” ก็ได้ นสพ. Washington Post บรรยายหลวม ๆ ว่า “ลักษณะเฉพาะตัวคือแบบแผนพฤติกรรมที่สืบจับได้โดยการดักฟังสัญญาณ, แหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล, และการสอดแนมทางอากาศ...ซึ่งบ่งชี้ว่ามีผู้ปฏิบัติงานสำคัญหรือแผนการร้ายที่มุ่งโจมตีผลประโยชน์ของสหรัฐฯอยู่ที่นั่น” 
 
ว่ากันว่าตัวประธานาธิบดีโอบามาเองรู้เรื่อง “การโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัว” เป็นครั้งแรกหลังสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๙ เพียง ๓ วัน และเจ้าหน้าที่อเมริกันก็เริ่มพูดถึงมันกันอย่างเปิดเผยเมื่อต้นปี ๒๐๑๒ เป็นต้นมา
ศ. เควิน เฮลเลอร์
 
ศาสตราจารย์กฎหมาย เควิน เฮลเลอร์ แห่งมหาวิทยาลัยเมลเบอร์น ในออสเตรเลีย เคยลองสังเกตศึกษารายงานของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการโจมตีด้วยโดรน แล้วประมวล “ลักษณะเฉพาะตัว” ที่เป็นเกณฑ์ให้อเมริกันใช้ตัดสินใจโจมตีเป้าหมายด้วยโดรนออกมาได้ ๑๔ ประการ เขาพบว่า.....
 
- ลักษณะเฉพาะตัวดังกล่าว ๕ ประการ ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ
- แต่อีก ๕ ประการ คลุมเครือน่าสงสัย
- ส่วนอีก ๔ ประการนั้น ผิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างแน่ชัด ได้แก่
 
๑) ชายวัยฉกรรจ์ (military-age male หรือ MAM) ที่อยู่ในพื้นที่ที่รู้กันว่ามีปฏิบัติการก่อการร้าย
๒) คบค้าสมาคมกับผู้ที่รู้กันว่าเป็นนักรบ
๓) กลุ่มชายติดอาวุธโดยสารรถบรรทุกในพื้นที่ใต้การควบคุมของอัลเคด้าในคาบสมุทรอาหรับ
๔) ค่ายพักน่าสงสัยในพื้นที่ใต้การควบคุมของอัลเคด้า
 
อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์เฮลเลอร์ออกตัวว่าในสภาพที่เราไม่รู้แน่ว่าเอาเข้าจริงทางการอเมริกันใช้ “ลักษณะเฉพาะตัว” อันใดบ้าง และ “ลักษณะเฉพาะตัว” อันไหนถูกประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยเป้าไหน ก็ยากยิ่งจะประเมินความชอบด้วยกฎหมายของโปรแกรมการโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัวด้วยโดรนได้
 
ข้อที่น่าเคลือบแคลงยังมีอีกว่าตกลงแนวทางชี้นำกำกับ “การโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัว”นี้ มันเป็นกรอบขอบเขตของปฏิบัติการที่อนุญาตให้ทำได้ หรือ สูตรสำเร็จสำหรับใช้แถลงให้เหตุผลความชอบธรรมหลังฆ่าไปเรียบร้อยแล้วกันแน่?
พลเอกโคลิน เพาเวลล์
 
จะว่าไป อะไรบางอย่างที่คล้าย “การโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัว” ก็เป็นสิ่งที่กองทัพอเมริกันเคยทำมาตั้งแต่ยุคสงครามเวียดนาม ดังที่พลเอกโคลิน เพาเวลล์ อดีตประธานคณะเสนาธิการกองทัพและรมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ เคยเล่าว่า:
 
“ผมจำวลีที่เราใช้ในสนามรบได้ มันคือ MAM หรือ ชายวัยฉกรรจ์ ถ้าเกิดฮ.ลำหนึ่งสังเกตเห็นชาวนาใส่ม่อฮ่อมดำที่ท่าทางพิรุธแม้แต่น้อยว่าอาจเป็น MAM แล้ว นักบินก็จะบินวนไปดักยิงสกัดข้างหน้าเขา ถ้าเขาขยับเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ของเขาจะถือเป็นหลักฐานว่าส่อเจตนาเป็นศัตรู แล้วการรัวยิงครั้งถัดไปจะไม่ใช่ยิงสกัดหน้าแต่ตรงตัวเขาเลย โหดไหม? อาจจะใช่”
 
รายงานข่าวบ่งชี้ว่าประธานาธิบดีโอบามาดึงเรื่องการตัดสินใจใช้โดรนสังหารไปรวมศูนย์ไว้วงในคณะบริหารรอบตัว แต่ละครั้งที่ตัดสินใจออกคำสั่งให้ “จัดการได้” มีเส้นตายเรื่องเวลากำกับ และในเวลาจำกัดนั้น กระบวนการตัดสินใจก็ทำกันอย่างระมัดระวัง ละเอียดลออรอบคอบรัดกุมและพยายามให้แม่นยำที่สุด เรื่องนี้รบกวนมโนธรรมสำนึกของโอบามามาก 
 
แต่ขณะเดียวกัน ทั้งที่มีเด็กและผู้หญิงบริสุทธิ์ตกเป็นเหยื่อโดรนถูก ๆ ผิด ๆ มากมาย โอบามาก็ทำใจไม่ได้ที่จะเลิกใช้อาวุธโดรนนี้เสียที....
 
จนมีผู้สงสัยว่าเอาเข้าจริง Obama ต่างจาก Bush จริงหรือ? หรือเป็น Obushma กันแน่?
โอบุชมา
 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม