๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า
หนังสือ The Shock Doctrine: The Rise of Disaster Capitalism
Naomi Klein นักเขียน นักหนังสือพิมพ์และนักกิจกรรมหญิงชื่อดังผู้ต่อต้านโลกาภิวัตน์แบบเสรีนิยมใหม่ชาวแคนาดาได้วิเคราะห์ไว้ในหนังสือขายดีเรื่อง The Shock Doctrine: The Rise of Disaster Capitalism (ค.ศ. ๒๐๐๗) ว่าหลักการของมิลตัน ฟรีดแมนในการทำการตลาดแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ในแวดวงการเมืองได้แก่ the Shock Doctrine หรือลัทธิช็อก หมายถึงการฉวยใช้วิกฤตผลักดันนโยบายที่เอื้อประโยชน์แก่บรรษัทเอกชนแต่ประชาชนไม่นิยมให้ผ่านออกมาเพื่อรัฐบาลนำไปใช้ในทางปฏิบัติ วิกฤตนั้นอาจเป็นทางเศรษฐกิจ, การเมือง, สงคราม, ภัยธรรมชาติ ฯลฯ
Naomi Klein
การที่เธอเรียกมันว่า “ลัทธิช็อก” เพราะปกติมันจะประกอบไปด้วยอาการที่ประชาชนถูกช็อก ๓ ขั้นตอน ได้แก่
๑) ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต
๒) ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา
๓) ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า
ดังที่มิลตัน ฟรีดแมนเองสาธยายแนวทรรศนะ “ลัทธิช็อก” ดังกล่าวไว้ในงานเขียนชิ้นต่าง ๆ ของเขาว่า: ‐
“มีแต่วิกฤตเท่านั้น – ไม่ว่าวิกฤตจริงหรือถูกเห็นเป็นวิกฤตก็ตามที – ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงได้
“เมื่อวิกฤตที่ว่านั้นเกิดขึ้น ปฏิบัติการที่คนเรากระทำจะขึ้นกับความคิดที่เรียงรายล้อมรอบอยู่
“ผมเชื่อว่านั่นแหละคือหน้าที่พื้นฐานของเรากล่าวคือ: พัฒนาทางเลือกต่างหากไปจากนโยบายที่ดำรงอยู่ ประคับประคองมันให้ยืนยงเผื่อไว้จนกว่าสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ทางการเมืองกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ทางการเมือง”
(คำนำ, Capitalism and Freedom, ค.ศ. ๑๙๘๒)
“รัฐบาลใหม่มีเวลาราว ๖ – ๙ เดือนเพื่อบรรลุการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่
“ถ้ารัฐบาลไม่ช่วงชิงโอกาสกระทำการอย่างเด็ดขาดในช่วงที่ว่านั้น ก็จะไม่มีโอกาสอย่างนั้นอีกเลย”
(Tyranny of the Status Quo, ค.ศ. ๑๙๘๔)
กล่าวโดยสรุป มิลตัน ฟรีดแมนเสนอว่าพลันที่เกิดวิกฤต ผู้นำที่สมาทานแนวนโยบายเสรีนิยมใหม่จำต้องกระทำการอย่างเด็ดขาดฉับไว ยัดเยียดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและมิอาจเปลี่ยนกลับคืนได้ลงไปก่อนที่สังคมซึ่งย่อยยับจากวิกฤตจะลื่นไถลกลับสู่ “ทรราชแห่งสถานะเดิม” อีก
นาโอมิ ไคลน์ ได้ประมวลกรณีการฉวยใช้วิกฤตที่ทำให้ประชาชนอยู่ในอาการช็อกมาผลักดันยัดเยียดแนวนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ในประเทศต่าง ๆ ไว้ พอจะเรียบเรียงเป็นตารางได้ข้างล่างนี้ (ดูภาพประกอบ)
ในทางกลับกัน หากสังคมไม่อยู่ในภาวะช็อก ถึงแม้ผู้นำรัฐบาลจะพยายามผลักดันยัดเยียดแนวนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่เอื้อประโยชน์แก่บรรษัทเอกชนแต่ประชาชนไม่นิยมมาให้ ก็มักไม่สำเร็จเต็มที่ตามเป้าหมาย อาทิ ในสหรัฐอเมริกา เมื่อโรนัลด์ เรแกนชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีปี ค.ศ. ๑๙๘๑ หรือในฝรั่งเศสเมื่อนิโกลาส ซาร์โคซี ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีปี ค.ศ. ๒๐๐๗ ปรากฏว่าแนวนโยบายเสรีนิยมใหม่ของทั้งสองเจอแรงต่อต้านจากประชาชนจนต้องผ่อนเพลาลง
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ คัดมาจาก เกษียร เตชะพีระ, เศรษฐกิจโลกถดถอยครั้งใหญ่: ความรุ่งเรืองและล่มจมของเสรีนิยมใหม่/โลกาภิวัตน์, openbooks, 2555
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด...
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล