Skip to main content
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
หนังสือ The Shock Doctrine: The Rise of Disaster Capitalism
 
 
Naomi Klein นักเขียน นักหนังสือพิมพ์และนักกิจกรรมหญิงชื่อดังผู้ต่อต้านโลกาภิวัตน์แบบเสรีนิยมใหม่ชาวแคนาดาได้วิเคราะห์ไว้ในหนังสือขายดีเรื่อง The Shock Doctrine: The Rise of Disaster Capitalism (ค.ศ. ๒๐๐๗) ว่าหลักการของมิลตัน ฟรีดแมนในการทำการตลาดแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ในแวดวงการเมืองได้แก่ the Shock Doctrine หรือลัทธิช็อก หมายถึงการฉวยใช้วิกฤตผลักดันนโยบายที่เอื้อประโยชน์แก่บรรษัทเอกชนแต่ประชาชนไม่นิยมให้ผ่านออกมาเพื่อรัฐบาลนำไปใช้ในทางปฏิบัติ วิกฤตนั้นอาจเป็นทางเศรษฐกิจ, การเมือง, สงคราม, ภัยธรรมชาติ ฯลฯ
Naomi Klein 
 
การที่เธอเรียกมันว่า “ลัทธิช็อก” เพราะปกติมันจะประกอบไปด้วยอาการที่ประชาชนถูกช็อก ๓ ขั้นตอน ได้แก่ 
๑) ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต 
๒) ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา 
๓) ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
 
ดังที่มิลตัน ฟรีดแมนเองสาธยายแนวทรรศนะ “ลัทธิช็อก” ดังกล่าวไว้ในงานเขียนชิ้นต่าง ๆ ของเขาว่า: ‐
 
“มีแต่วิกฤตเท่านั้น – ไม่ว่าวิกฤตจริงหรือถูกเห็นเป็นวิกฤตก็ตามที – ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงได้
“เมื่อวิกฤตที่ว่านั้นเกิดขึ้น ปฏิบัติการที่คนเรากระทำจะขึ้นกับความคิดที่เรียงรายล้อมรอบอยู่
“ผมเชื่อว่านั่นแหละคือหน้าที่พื้นฐานของเรากล่าวคือ: พัฒนาทางเลือกต่างหากไปจากนโยบายที่ดำรงอยู่ ประคับประคองมันให้ยืนยงเผื่อไว้จนกว่าสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ทางการเมืองกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ทางการเมือง”
(คำนำ, Capitalism and Freedom, ค.ศ. ๑๙๘๒)
 
“รัฐบาลใหม่มีเวลาราว ๖ – ๙ เดือนเพื่อบรรลุการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่
“ถ้ารัฐบาลไม่ช่วงชิงโอกาสกระทำการอย่างเด็ดขาดในช่วงที่ว่านั้น ก็จะไม่มีโอกาสอย่างนั้นอีกเลย”
(Tyranny of the Status Quo, ค.ศ. ๑๙๘๔)
 
กล่าวโดยสรุป มิลตัน ฟรีดแมนเสนอว่าพลันที่เกิดวิกฤต ผู้นำที่สมาทานแนวนโยบายเสรีนิยมใหม่จำต้องกระทำการอย่างเด็ดขาดฉับไว ยัดเยียดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและมิอาจเปลี่ยนกลับคืนได้ลงไปก่อนที่สังคมซึ่งย่อยยับจากวิกฤตจะลื่นไถลกลับสู่ “ทรราชแห่งสถานะเดิม” อีก
 
นาโอมิ ไคลน์ ได้ประมวลกรณีการฉวยใช้วิกฤตที่ทำให้ประชาชนอยู่ในอาการช็อกมาผลักดันยัดเยียดแนวนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ในประเทศต่าง ๆ ไว้ พอจะเรียบเรียงเป็นตารางได้ข้างล่างนี้ (ดูภาพประกอบ)
 
ในทางกลับกัน หากสังคมไม่อยู่ในภาวะช็อก ถึงแม้ผู้นำรัฐบาลจะพยายามผลักดันยัดเยียดแนวนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่เอื้อประโยชน์แก่บรรษัทเอกชนแต่ประชาชนไม่นิยมมาให้ ก็มักไม่สำเร็จเต็มที่ตามเป้าหมาย อาทิ ในสหรัฐอเมริกา เมื่อโรนัลด์ เรแกนชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีปี ค.ศ. ๑๙๘๑ หรือในฝรั่งเศสเมื่อนิโกลาส ซาร์โคซี ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีปี ค.ศ. ๒๐๐๗ ปรากฏว่าแนวนโยบายเสรีนิยมใหม่ของทั้งสองเจอแรงต่อต้านจากประชาชนจนต้องผ่อนเพลาลง
 
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ คัดมาจาก เกษียร เตชะพีระ, เศรษฐกิจโลกถดถอยครั้งใหญ่: ความรุ่งเรืองและล่มจมของเสรีนิยมใหม่/โลกาภิวัตน์, openbooks, 2555

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
 ผมได้รับเชิญไปร่วมสนทนาในงานเปิดตัวหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตของอาจารย์ พัชราภา ตันตราจิน แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อต้นเดือนนี้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมอยากนำเอาเนื้อหาที่เตรียมไปส่วนหนึ่งมาเล่าต่อ ณ ที่นี้เพราะไม่มีโอกาสพูดถึงในวันงาน
เกษียร เตชะพีระ
ปรากฏการณ์หมกมุ่นกับรูปโฉมภายนอกเหล่านี้บันดาลใจให้ศิลปินอุนจงเปิดนิทรรศการงานศิลปะของเธอชื่อ “โรงงานร่างกาย” สะท้อนการที่ผู้คนสูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเอง ทำกับร่างกายตัวเองเหมือนมันเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง และสูญเสียความหมายว่าตัวเองเป็นใครไป
เกษียร เตชะพีระ
อีกด้านของจอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาเสรีนิยม-ประโยชน์นิยม "เผด็จการยังจำเป็นสำหรับสังคมด้อยพัฒนาที่ประชาชนยังไม่พร้อม” และ ความแย้งย้อนของเสรีนิยมบนฐานประโยชน์นิยม: ทำไมเสรีภาพจึงไปได้กับเผด็จการในความคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์?
เกษียร เตชะพีระ
การไต่ระดับของเศรษฐศาสตร์รัดเข็มขัด (austerity economics) สู่ขั้นยึดเงินฝากชาวบ้านมาใช้หนี้เน่าธนาคาร
เกษียร เตชะพีระ
...ข้อเรียกร้องที่ชอบด้วยเหตุผลให้มี “การเมืองที่กำกับด้วยศีลธรรม” บ่อยครั้งเมื่อเอาไปวางในโลกปฏิบัติที่เป็นจริงของสังคมการเมืองไทย รังแต่จะนำไปสู่ “ผู้อวดอ้างสวมสิทธิอำนาจวินิจฉัยตัดสินศีลธรรมทางการเมืองเอาเองโดยพลการและปราศจากการตรวจสอบควบคุม”
เกษียร เตชะพีระ
Kasian Tejapira(1/4/56)สืบเนื่องจากสเตตัสของ บก.ลายจุด เรื่องล้างสมองที่ว่า:
เกษียร เตชะพีระ
จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
เกษียร เตชะพีระ
ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน
เกษียร เตชะพีระ
...ภาพรวมของ the growth effects + the expansion effects + the transport effects เหล่านี้ จะไม่ถูกบันทึกนับรวมไว้ใน EIA ฉบับของโครงการย่อยใด ๆ เพราะเอาเข้าจริงมันเป็นผลที่คาดหวังให้เกิดขึ้นของโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ทั้งหมด ด้วยซ้ำ ทว่ามันจะทำให้ไทยและเพื่อนบ้านและ ASEAN ใช้พลังงานและทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล น่าเชื่อว่า Carbon Footprint หรือรอยเท้าคาร์บอนของคนไทยและคน ASEAN จะขยายใหญ่ออกไปอีกบานเบอะ ...
เกษียร เตชะพีระ
โรซ่าชี้ว่ามีระบอบเวลาที่เร่งเร็วขึ้น ๓ ชนิดทำงานผสมผสานกันอยู่ในระยะอันใกล้นี้ ได้แก่: -การเร่งเร็วทางเทคนิค (อินเทอร์เน็ต, รถไฟความเร็วสูง, เตาไมโครเวฟ) -การเร่งเร็วทางสังคม (ผู้คนเปลี่ยนการงานอาชีพและคู่ครองบ่อยขึ้น, ใช้ข้าวของแล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ถี่ขึ้น) -จังหวะดำเนินชีวิตกระชั้นขึ้น (เรานอนน้อยลง, พูดเร็วขึ้น, สื่อสารกับคนรอบข้างน้อยลง, ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันไป)
เกษียร เตชะพีระ
I am an ud-ad man.Living in ud-ad Thailand.I wonder why it is so.Maybe because the general tells me to go....
เกษียร เตชะพีระ
๑๓ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิส ประมุของค์ใหม่แห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก