Skip to main content

Kasian Tejapira(8/9/56)

สมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติได้ขออภัยที่ไม่ได้ปกป้องคุ้มครองพลเมืองชิลีในโอกาสระลึก ๔๐ ปีนับแต่รัฐประหารที่นำปิโนเช่ต์ขึ้นสู่อำนาจ
 
ในวาระใกล้ครบรอบ ๔๐ ปีของรัฐประหารโดยทหารซึ่งตามมาด้วยการปกครองระบอบเผด็จการนาน ๑๗ ปีภายใต้การนำของพลเอกออกุสโต ปิโนเช่ต์ คณะผู้พิพากษาของประเทศชิลีได้เผยแพร่แถลงการณ์ต่อสาธารณะยอมรับว่าฝ่ายตุลาการสามารถจะทำได้และควรจะได้ทำมากกว่านั้นเพื่อประชาชนชาวชิลี
พลเอกออกุสโต ปิโนเช่ต์
 
แถลงการณ์ออกวันพุธที่ ๔ ก.ย. ศกนี้และลงนามโดย โรดริโก เซอร์ดา ประธานสมาคมฯ, รองประธานและคณะกรรมการสมาคม ระบุว่า: 
 
“จำต้องกล่าวและตระหนักรับโดยชัดเจนอย่างสิ้นเชิงว่าฝ่ายตุลาการและโดยเฉพาะศาลฎีกาสมัยนั้นลังเลที่จะปฏิบัติภาระหน้าที่แกนกลางของตนในการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานและคุ้มครองบรรดาผู้ตกเป็นเหยื่อของการฉวยใช้อำนาจไปในทางมิชอบของรัฐ
 
“บัดนี้ถึงโมงยามที่เราต้องขออภัยอย่างไม่มีที่จะคลุมเครือผิดพลาดไปได้ต่อบรรดาเหยื่อทั้งหลาย ญาติของพวกเขาและสังคมชิลีที่ไม่สามารถจะชี้นำ ท้าทายและกระตุ้นสถาบันของเราและมวลสมาชิกของสถาบันนั้นให้ไม่ละเว้นจากการดำเนินการตามสิทธิที่พื้นฐานที่สุดและมิอาจล่วงละเมิดได้ ณ จังหวะอันคับขันใน ประวัติศาสตร์ดังกล่าวมานี้....”
 
แถลงการณ์ชี้ว่าศาลและผู้พิพากษาได้ปล่อยให้การข่มขู่และความหวาดกลัวการถูกคุมขังทรมานมาหักห้ามพวกตนไว้จากการเอาตัวสมาชิกของระบอบเผด็จการให้มาพร้อมรับผิดต่ออาชญากรรมของพวกเขารวมทั้งการคงการละเมิดสิทธิมนุษยชนไว้สืบไป
 
“ฝ่ายตุลาการสามารถจะทำได้และควรจะได้ทำมากกว่านั้นมากโดยเฉพาะเมื่อตนเป็นสถาบันเดียวของสาธารณรัฐที่มิได้ถูกดำเนินการโดยรัฐบาลที่ครองอำนาจอยู่จริงขณะนั้น”
 
ศาลฎีกากล่าวว่าจะอภิปรายถึงการทบทวนตัวศาลฎีกาเอง สิ่งที่ศาลได้ทำหรือไม่ได้ทำในช่วงทหารปกครองในวาระประชุมประจำวันศุกร์ที่จะถึงนี้ นายฮิวโก ดอลเมตสช์ โฆษกศาลฎีกาให้สัมภาษณ์สำนักข่าว CNN ประจำชิลีว่า:
 
“มีการทำอะไรกันไปมากพอควรเพื่อสถาปนาความจริงให้ประจักษ์ชัด กำหนดความรับผิดชอบบางประการ แต่คงมิอาจจรรโลงความยุติธรรมสมบูรณ์ให้เกิดขึ้นได้ ผมคิดว่ามันไม่มีสัจธรรมสัมบูรณ์ คงจะมีช่องโหว่ผิดพลาดอยู่บ้าง เรื่องที่ผ่านมาแล้ว ๔๐ ปีก็คงมีช่องโหว่ผิดพลาดแบบนั้นอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น ในรอบหลายปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าพวกที่มีส่วนร่วมในสิ่งนี้ก็ได้รับโทษกรรมอีกแบบไปแล้ว ผมไม่เชื่อว่ามันง่ายสำหรับบางคนที่จะมองหน้าลูกหลานของตัวเมื่อเรื่องนี้เป็นที่รู้กันทั่วไปในสาธารณชน”
 
การประท้วงเผด็จการอย่างสันติของชาวชิลีเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๘๕
ชาวชิลีกว่า ๓,๐๐๐ คนถูกสังหารระหว่างทหารปกครองประเทศ (ค.ศ. ๑๙๗๓ – ๑๙๙๐) และคดีคนถูกบังคับอุ้มหายกว่า ๑,๐๐๐ คดียังคาราคาซังอยู่ ประมาณว่าคนอีกกว่า ๒๘,๐๐๐ ถูกจับกุม หลายคนในจำนวนนี้ถูกทรมานในช่วงเวลาเดียวกันนั้น
 
(รายงานข่าวจาก นสพ. The Santiago Times ของชิลี http://www.santiagotimes.cl/chile/human-rights-a-law/26686-chiles-judges-apologize-to-dictatorship-victims-
ตัวแถลงการณ์ของสมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติชิลีฉบับภาษาสเปน ดูได้ที่ http://www.magistradosdechile.cl/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=55&Itemid=168 )
 
ภาพประกอบ พลเอกออกุสโต ปิโนเช่ต์, การประท้วงเผด็จการอย่างสันติของชาวชิลีเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๘๕)

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง