Skip to main content
 
โลกาภิวัตน์ทำให้คนในโลกเทียบเคียงใกล้ชิดกันขึ้นในมิติเวลาผ่านการสื่อสารรับรู้แทบจะทันควันพร้อมกันทั่วโลก (real time) แต่ในมิติสถานที่ ความแตกต่างหลากหลายของปัญหาขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมืองยังเป็นเรื่องปกติธรรมดา แม้ในสังคมประเทศเดียวกัน มิพักต้องพูดถึงนานาสังคมประเทศในโลก ดังที่ Doreen Massey นักภูมิศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อดังเรียกความหลากหลายของปัญหาและการต่อสู้แก้ไขที่เกาะเกี่ยวกับสถานที่เฉพาะทั้งหลายแหล่ว่า the politics of place https://itunes.apple.com/us/itunes-u/doreen-massey-space-place/id380231483
 
ประเด็นจึงอยู่ตรงตระหนักลักษณะและปัญหาเฉพาะของสถานที่ พร้อมกันนั้นก็ค้นคว้าวิเคราะห์เล็งเห็นความเชื่อมโยงของการเมืองอันหลากหลายของนานาสถานที่บนโลกในโครงสร้างเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ เพื่อผลักดันประเด็นการเมืองของแต่ละสถานที่ให้ไปพ้นสถานที่เฉพาะของตน ดังที่ Massey เรียกว่า the politics of place beyond place
 
ขณะที่นักศึกษาธรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งเห็นแตกต่างขัดแย้งกับอาจารย์และผู้บริหารเรื่องการบังคับแต่งชุดนักศึกษา
 
นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาสารคามกลุ่มหนึ่งก็เห็นแตกต่างขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่รัฐเรื่องการจัดประชาพิจารณ์เหมืองทองซึ่งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อชาวบ้านในจังหวัดเลย
 
ชาวอเมริกันส่วนใหญ่เห็นแตกต่างขัดแย้งกับรัฐบาลโอบามาเรื่องการดำเนินสงครามโจมตีซีเรียเพื่อลงโทษรัฐบาลอัสซาดฐานใช้อาวุธเคมีต่อประชาชนตนเอง ทั้งที่การสอบสวนโดยสหประชาชาติยังไม่สรุปผลชัดเจน
 
และชาวโลกจำนวนมากก็เห็นแตกต่างขัดแย้งกับรัฐบาลนานาประเทศเรื่องมาตรการเศรษฐกิจที่ต้องเร่งทำเพื่อยุติความรุนแรงของปัญหาโลกร้อนที่กำลังสายเกินการณ์เข้าไปทุกที
 
ในระดับมหาวิทยลัย, ชุมชน, ระหว่างประเทศ, และลูกโลก ประเด็นแตกต่างขัดแย้งย่อมต่างกันไป ส่งผลสะเทือนกว้างไกลลึกซึ้งไม่เท่ากัน สำคัญในขอบเขตต่างกัน อันเป็นธรรมดาของ “การเมืองเรื่องสถานที่” 
 
ถ้าจะบอกว่านักศึกษาธรรมศาสตร์ไม่ควรรณรงค์เรื่อง “เล็กแคบจำกัดเฉพาะ” อย่างการบังคับใส่เครื่องแบบ, ก็อาจบอกได้เช่นกันว่านักศึกษาขอนแก่นไม่ควรรณรงค์แค่เรื่อง “เล็กแคบจำกัดเฉพาะ” อย่างผลกระทบเหมืองทองและกระบวนการประชาพิจารณ์ที่รวบรัดคัดออก, บอกได้อีกเช่นกันว่าชาวอเมริกันไม่ควรรณรงค์เรื่อง “เล็กแคบจำกัดเฉพาะ” อย่างการคัดค้านสงครามโจมตีซีเรีย, และทุกผู้ทุกคนทุกที่ของโลกควรหยุดทุกอย่างที่ “เล็กแคบจำกัดเฉพาะ” หันมารณรงค์แต่เรื่องหยุดโลกร้อน ซึ่งกระทบคนทั้งโลกและก่อหายนะภัยต่อดาวเคราะห์โลกทั้งใบ
 
อย่างนั้นหรือ?
 
ในโลกซังกะบ๊วยแบบที่เราอยู่ปัจจุบัน มีการรณรงค์ที่สำคัญกว่าที่เราทำในเงื่อนไขสถานที่ที่เราอยู่เสมอ ประเด็นจึงไม่ใช่หยุดหรือสละการต่อสู้เฉพาะที่เพื่อเห็นแก่เรื่องสำคัญ/ใหญ่กว่า แต่คือฟังกัน เห็นอกเห็นใจกัน เคารพกัน ขยายสร้างความเข้าใจเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ให้แก่กัน หาทางหนุนช่วยเชื่อมโยงกันบนฐานความเข้าใจจุดร่วมและความเชื่อมโยงที่มีอยู่จริงของปัญหาซึ่งกันและกัน
 
แทนที่จะไม่ฟังกัน ปรักปรำกัน ดูหมิ่นดูแคลนกัน อิจฉาริษยากัน รังเกียจเดียดฉันท์กัน เพิ่มความไม่เข้าใจให้แก่กัน โดดเดี่ยวออกจากกัน ให้โลกที่ซังกะบ๊วยอยู่แล้ว ยิ่งซังกะบ๊วยหนักเข้าไปอีก
 
ที่เราเรียนหนังสือกันมา ก็เพื่อมองโลกเชื่อมโยงสัมพันธ์กันกว้างขึ้น ไม่ใช่แคบลง, คิดถึงคนอื่นมากขึ้น ไม่ใช่น้อยลงไม่ใช่หรือ?

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ