Skip to main content
 
โลกาภิวัตน์ทำให้คนในโลกเทียบเคียงใกล้ชิดกันขึ้นในมิติเวลาผ่านการสื่อสารรับรู้แทบจะทันควันพร้อมกันทั่วโลก (real time) แต่ในมิติสถานที่ ความแตกต่างหลากหลายของปัญหาขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมืองยังเป็นเรื่องปกติธรรมดา แม้ในสังคมประเทศเดียวกัน มิพักต้องพูดถึงนานาสังคมประเทศในโลก ดังที่ Doreen Massey นักภูมิศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อดังเรียกความหลากหลายของปัญหาและการต่อสู้แก้ไขที่เกาะเกี่ยวกับสถานที่เฉพาะทั้งหลายแหล่ว่า the politics of place https://itunes.apple.com/us/itunes-u/doreen-massey-space-place/id380231483
 
ประเด็นจึงอยู่ตรงตระหนักลักษณะและปัญหาเฉพาะของสถานที่ พร้อมกันนั้นก็ค้นคว้าวิเคราะห์เล็งเห็นความเชื่อมโยงของการเมืองอันหลากหลายของนานาสถานที่บนโลกในโครงสร้างเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ เพื่อผลักดันประเด็นการเมืองของแต่ละสถานที่ให้ไปพ้นสถานที่เฉพาะของตน ดังที่ Massey เรียกว่า the politics of place beyond place
 
ขณะที่นักศึกษาธรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งเห็นแตกต่างขัดแย้งกับอาจารย์และผู้บริหารเรื่องการบังคับแต่งชุดนักศึกษา
 
นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาสารคามกลุ่มหนึ่งก็เห็นแตกต่างขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่รัฐเรื่องการจัดประชาพิจารณ์เหมืองทองซึ่งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อชาวบ้านในจังหวัดเลย
 
ชาวอเมริกันส่วนใหญ่เห็นแตกต่างขัดแย้งกับรัฐบาลโอบามาเรื่องการดำเนินสงครามโจมตีซีเรียเพื่อลงโทษรัฐบาลอัสซาดฐานใช้อาวุธเคมีต่อประชาชนตนเอง ทั้งที่การสอบสวนโดยสหประชาชาติยังไม่สรุปผลชัดเจน
 
และชาวโลกจำนวนมากก็เห็นแตกต่างขัดแย้งกับรัฐบาลนานาประเทศเรื่องมาตรการเศรษฐกิจที่ต้องเร่งทำเพื่อยุติความรุนแรงของปัญหาโลกร้อนที่กำลังสายเกินการณ์เข้าไปทุกที
 
ในระดับมหาวิทยลัย, ชุมชน, ระหว่างประเทศ, และลูกโลก ประเด็นแตกต่างขัดแย้งย่อมต่างกันไป ส่งผลสะเทือนกว้างไกลลึกซึ้งไม่เท่ากัน สำคัญในขอบเขตต่างกัน อันเป็นธรรมดาของ “การเมืองเรื่องสถานที่” 
 
ถ้าจะบอกว่านักศึกษาธรรมศาสตร์ไม่ควรรณรงค์เรื่อง “เล็กแคบจำกัดเฉพาะ” อย่างการบังคับใส่เครื่องแบบ, ก็อาจบอกได้เช่นกันว่านักศึกษาขอนแก่นไม่ควรรณรงค์แค่เรื่อง “เล็กแคบจำกัดเฉพาะ” อย่างผลกระทบเหมืองทองและกระบวนการประชาพิจารณ์ที่รวบรัดคัดออก, บอกได้อีกเช่นกันว่าชาวอเมริกันไม่ควรรณรงค์เรื่อง “เล็กแคบจำกัดเฉพาะ” อย่างการคัดค้านสงครามโจมตีซีเรีย, และทุกผู้ทุกคนทุกที่ของโลกควรหยุดทุกอย่างที่ “เล็กแคบจำกัดเฉพาะ” หันมารณรงค์แต่เรื่องหยุดโลกร้อน ซึ่งกระทบคนทั้งโลกและก่อหายนะภัยต่อดาวเคราะห์โลกทั้งใบ
 
อย่างนั้นหรือ?
 
ในโลกซังกะบ๊วยแบบที่เราอยู่ปัจจุบัน มีการรณรงค์ที่สำคัญกว่าที่เราทำในเงื่อนไขสถานที่ที่เราอยู่เสมอ ประเด็นจึงไม่ใช่หยุดหรือสละการต่อสู้เฉพาะที่เพื่อเห็นแก่เรื่องสำคัญ/ใหญ่กว่า แต่คือฟังกัน เห็นอกเห็นใจกัน เคารพกัน ขยายสร้างความเข้าใจเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ให้แก่กัน หาทางหนุนช่วยเชื่อมโยงกันบนฐานความเข้าใจจุดร่วมและความเชื่อมโยงที่มีอยู่จริงของปัญหาซึ่งกันและกัน
 
แทนที่จะไม่ฟังกัน ปรักปรำกัน ดูหมิ่นดูแคลนกัน อิจฉาริษยากัน รังเกียจเดียดฉันท์กัน เพิ่มความไม่เข้าใจให้แก่กัน โดดเดี่ยวออกจากกัน ให้โลกที่ซังกะบ๊วยอยู่แล้ว ยิ่งซังกะบ๊วยหนักเข้าไปอีก
 
ที่เราเรียนหนังสือกันมา ก็เพื่อมองโลกเชื่อมโยงสัมพันธ์กันกว้างขึ้น ไม่ใช่แคบลง, คิดถึงคนอื่นมากขึ้น ไม่ใช่น้อยลงไม่ใช่หรือ?

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เราอยู่ในสังคมการเมืองที่มากไปด้วยมรดกของการใช้อำนาจรัฐปิดปากฝ่ายค้านและผู้มีความเห็นต่างไม่ให้ออกสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นปกติธรรมดามานานปี ดังนั้นเมื่อมีการระงับออกรายการ ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใด (เหนือเมฆ, คนค้นคนตอนศศิน, ฯลฯ) เราจึงคิดแบบแทบจะอัตโนมัติ/เป็นสัญชาตญาณเลยว่า "รัฐบาล", "หน่วยราชการ", "นักการเมือง" แทรกแซงให้แบนอีกแล้ว...
เกษียร เตชะพีระ
แย้งคุณสมเกียรติ อ่อนวิมล: เส้นแบ่งพรรคการเมืองทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญคือเป็นพรรคมวลชน (mass party) หรือพรรคชนชั้นนำ (elite party) ไม่ใช่เกณฑ์หละหลวมว่าเป็นพรรคที่ "เกิดและเติบโตจากประชาชน" หรือไม่
เกษียร เตชะพีระ
รวม 15 เรื่องราวการเหยียดเชื้อชาติของคนต่างชาติในเยอรมนี
เกษียร เตชะพีระ
ท่ามกลางข่าวกลุ่มผู้เคร่งศาสนาอิสลามชาวอินโดนีเซียประท้วงการจัดประกวดมิสเวิลด์ประจำปีนี้ที่ประเทศของตน จนทางผู้จัดต้องปรับลดรายการ งดให้ผู้เข้าประกวดนานาชาติใส่ชุดบิกินีแต่ให้ใส่โสร่งบาหลีแทนและยังถูกรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งย้ายสถานที่จัดงานจากกรุงจาการ์ตาไปเกาะบาหลีซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู  ก็มีการประกวดนางงามเวอร์ชั่นอิสลามอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาที่จาการ์ตาด้วยเหมือนกัน!
เกษียร เตชะพีระ
โลกาภิวัตน์สะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (Protectionism): รัฐบาลนานาชาติทั่วโลกวางมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ถึง ๑๕๔ มาตรการในชั่วปีเดียว!
เกษียร เตชะพีระ
ทำความรู้จัก 'เทเรซ่า ฟอร์คาดส์' แม่ชีคาทอลิกชาวสเปน  ปัญญาชนสาธารณะฝ่ายซ้ายที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของยุโรป คนหลายพันพากันเข้าร่วมขบวนการต่อต้านทุนนิยมของเธอซึ่งรณรงค์ให้แคว้นคาตาโลเนียเป็นอิสระ กับนโยบาย ๑๐ ข้อซึ่งเธอกับนักเศรษฐศาสตร์ อาร์คาดี โอลีเวเรส ช่วยกันร่างขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
"ในโลกซังกะบ๊วยแบบที่เราอยู่ปัจจุบัน มีการรณรงค์ที่สำคัญกว่าที่เราทำในเงื่อนไขสถานที่ที่เราอยู่เสมอ ประเด็นจึงไม่ใช่หยุดหรือสละการต่อสู้เฉพาะที่เพื่อเห็นแก่เรื่องสำคัญ/ใหญ่กว่า แต่คือฟังกัน เห็นอกเห็นใจกัน เคารพกัน ขยายสร้างความเข้าใจเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ให้แก่กัน หาทางหนุนช่วยเชื่อมโยงกันบนฐานความเข้าใจจุดร่วมและความเชื่อมโยงที่มีอยู่จริงของปัญหาซึ่งกันและกัน" 
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย และระหว่างพื้นที่สิทธิกับอำนาจบริหาร กับกรณี "อั้ม เนโกะ" กับ "4 ภาพ sex" ต้าน "บังคับแต่งชุด นศ.มธ."
เกษียร เตชะพีระ
สมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติได้ขออภัยที่ไม่ได้ปกป้องคุ้มครองพลเมืองชิลีในโอกาสระลึก ๔๐ ปีนับแต่รัฐประหารที่นำปิโนเช่ต์ขึ้นสู่อำนาจ
เกษียร เตชะพีระ
วิวัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับชาตินิยม ตั้งแต่ ขั้นการปฏิวัติชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๘, ขั้นการปรับตัวทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์เป็นอยู่ใต้รัฐธรรมนูญและราชาชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐, ขั้นการปรับตัวทางวัฒนธรรมของสถาบันกษัตริย์เป็นแบบกระฎุมพีในคริสตศตวรรษที่ ๒๐ และขั้นสถาบันกษัตริย์ในยุควัฒนธรรมสื่อทีวีมหาชนปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
.. Honi Soit ลงพิมพ์ปกรูปอวัยวะเพศของหญิง ๑๘ คนเพื่อแสดงให้เห็นว่ามันมีความหลากหลายแตกต่างเป็นปกติธรรมดา ไม่ได้เป็นและไม่จำต้องเป็น "วงขา" อุดมคติอย่างในหนังโป๊เปลือยทั้งหลาย จึงเป็นย่างก้าวสำคัญในการเตะสกัดกระบวนการทำอวัยวะผู้หญิงให้เป็นสินค้าในตลาดทุนนิยม ก่อนมันจะรุกคืบหน้าจากวงแขนลงไปข้างล่าง..