Skip to main content
 
โลกาภิวัตน์ทำให้คนในโลกเทียบเคียงใกล้ชิดกันขึ้นในมิติเวลาผ่านการสื่อสารรับรู้แทบจะทันควันพร้อมกันทั่วโลก (real time) แต่ในมิติสถานที่ ความแตกต่างหลากหลายของปัญหาขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมืองยังเป็นเรื่องปกติธรรมดา แม้ในสังคมประเทศเดียวกัน มิพักต้องพูดถึงนานาสังคมประเทศในโลก ดังที่ Doreen Massey นักภูมิศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อดังเรียกความหลากหลายของปัญหาและการต่อสู้แก้ไขที่เกาะเกี่ยวกับสถานที่เฉพาะทั้งหลายแหล่ว่า the politics of place https://itunes.apple.com/us/itunes-u/doreen-massey-space-place/id380231483
 
ประเด็นจึงอยู่ตรงตระหนักลักษณะและปัญหาเฉพาะของสถานที่ พร้อมกันนั้นก็ค้นคว้าวิเคราะห์เล็งเห็นความเชื่อมโยงของการเมืองอันหลากหลายของนานาสถานที่บนโลกในโครงสร้างเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ เพื่อผลักดันประเด็นการเมืองของแต่ละสถานที่ให้ไปพ้นสถานที่เฉพาะของตน ดังที่ Massey เรียกว่า the politics of place beyond place
 
ขณะที่นักศึกษาธรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งเห็นแตกต่างขัดแย้งกับอาจารย์และผู้บริหารเรื่องการบังคับแต่งชุดนักศึกษา
 
นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาสารคามกลุ่มหนึ่งก็เห็นแตกต่างขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่รัฐเรื่องการจัดประชาพิจารณ์เหมืองทองซึ่งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อชาวบ้านในจังหวัดเลย
 
ชาวอเมริกันส่วนใหญ่เห็นแตกต่างขัดแย้งกับรัฐบาลโอบามาเรื่องการดำเนินสงครามโจมตีซีเรียเพื่อลงโทษรัฐบาลอัสซาดฐานใช้อาวุธเคมีต่อประชาชนตนเอง ทั้งที่การสอบสวนโดยสหประชาชาติยังไม่สรุปผลชัดเจน
 
และชาวโลกจำนวนมากก็เห็นแตกต่างขัดแย้งกับรัฐบาลนานาประเทศเรื่องมาตรการเศรษฐกิจที่ต้องเร่งทำเพื่อยุติความรุนแรงของปัญหาโลกร้อนที่กำลังสายเกินการณ์เข้าไปทุกที
 
ในระดับมหาวิทยลัย, ชุมชน, ระหว่างประเทศ, และลูกโลก ประเด็นแตกต่างขัดแย้งย่อมต่างกันไป ส่งผลสะเทือนกว้างไกลลึกซึ้งไม่เท่ากัน สำคัญในขอบเขตต่างกัน อันเป็นธรรมดาของ “การเมืองเรื่องสถานที่” 
 
ถ้าจะบอกว่านักศึกษาธรรมศาสตร์ไม่ควรรณรงค์เรื่อง “เล็กแคบจำกัดเฉพาะ” อย่างการบังคับใส่เครื่องแบบ, ก็อาจบอกได้เช่นกันว่านักศึกษาขอนแก่นไม่ควรรณรงค์แค่เรื่อง “เล็กแคบจำกัดเฉพาะ” อย่างผลกระทบเหมืองทองและกระบวนการประชาพิจารณ์ที่รวบรัดคัดออก, บอกได้อีกเช่นกันว่าชาวอเมริกันไม่ควรรณรงค์เรื่อง “เล็กแคบจำกัดเฉพาะ” อย่างการคัดค้านสงครามโจมตีซีเรีย, และทุกผู้ทุกคนทุกที่ของโลกควรหยุดทุกอย่างที่ “เล็กแคบจำกัดเฉพาะ” หันมารณรงค์แต่เรื่องหยุดโลกร้อน ซึ่งกระทบคนทั้งโลกและก่อหายนะภัยต่อดาวเคราะห์โลกทั้งใบ
 
อย่างนั้นหรือ?
 
ในโลกซังกะบ๊วยแบบที่เราอยู่ปัจจุบัน มีการรณรงค์ที่สำคัญกว่าที่เราทำในเงื่อนไขสถานที่ที่เราอยู่เสมอ ประเด็นจึงไม่ใช่หยุดหรือสละการต่อสู้เฉพาะที่เพื่อเห็นแก่เรื่องสำคัญ/ใหญ่กว่า แต่คือฟังกัน เห็นอกเห็นใจกัน เคารพกัน ขยายสร้างความเข้าใจเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ให้แก่กัน หาทางหนุนช่วยเชื่อมโยงกันบนฐานความเข้าใจจุดร่วมและความเชื่อมโยงที่มีอยู่จริงของปัญหาซึ่งกันและกัน
 
แทนที่จะไม่ฟังกัน ปรักปรำกัน ดูหมิ่นดูแคลนกัน อิจฉาริษยากัน รังเกียจเดียดฉันท์กัน เพิ่มความไม่เข้าใจให้แก่กัน โดดเดี่ยวออกจากกัน ให้โลกที่ซังกะบ๊วยอยู่แล้ว ยิ่งซังกะบ๊วยหนักเข้าไปอีก
 
ที่เราเรียนหนังสือกันมา ก็เพื่อมองโลกเชื่อมโยงสัมพันธ์กันกว้างขึ้น ไม่ใช่แคบลง, คิดถึงคนอื่นมากขึ้น ไม่ใช่น้อยลงไม่ใช่หรือ?

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง