Skip to main content
 
โลกาภิวัตน์ทำให้คนในโลกเทียบเคียงใกล้ชิดกันขึ้นในมิติเวลาผ่านการสื่อสารรับรู้แทบจะทันควันพร้อมกันทั่วโลก (real time) แต่ในมิติสถานที่ ความแตกต่างหลากหลายของปัญหาขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมืองยังเป็นเรื่องปกติธรรมดา แม้ในสังคมประเทศเดียวกัน มิพักต้องพูดถึงนานาสังคมประเทศในโลก ดังที่ Doreen Massey นักภูมิศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อดังเรียกความหลากหลายของปัญหาและการต่อสู้แก้ไขที่เกาะเกี่ยวกับสถานที่เฉพาะทั้งหลายแหล่ว่า the politics of place https://itunes.apple.com/us/itunes-u/doreen-massey-space-place/id380231483
 
ประเด็นจึงอยู่ตรงตระหนักลักษณะและปัญหาเฉพาะของสถานที่ พร้อมกันนั้นก็ค้นคว้าวิเคราะห์เล็งเห็นความเชื่อมโยงของการเมืองอันหลากหลายของนานาสถานที่บนโลกในโครงสร้างเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ เพื่อผลักดันประเด็นการเมืองของแต่ละสถานที่ให้ไปพ้นสถานที่เฉพาะของตน ดังที่ Massey เรียกว่า the politics of place beyond place
 
ขณะที่นักศึกษาธรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งเห็นแตกต่างขัดแย้งกับอาจารย์และผู้บริหารเรื่องการบังคับแต่งชุดนักศึกษา
 
นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาสารคามกลุ่มหนึ่งก็เห็นแตกต่างขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่รัฐเรื่องการจัดประชาพิจารณ์เหมืองทองซึ่งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อชาวบ้านในจังหวัดเลย
 
ชาวอเมริกันส่วนใหญ่เห็นแตกต่างขัดแย้งกับรัฐบาลโอบามาเรื่องการดำเนินสงครามโจมตีซีเรียเพื่อลงโทษรัฐบาลอัสซาดฐานใช้อาวุธเคมีต่อประชาชนตนเอง ทั้งที่การสอบสวนโดยสหประชาชาติยังไม่สรุปผลชัดเจน
 
และชาวโลกจำนวนมากก็เห็นแตกต่างขัดแย้งกับรัฐบาลนานาประเทศเรื่องมาตรการเศรษฐกิจที่ต้องเร่งทำเพื่อยุติความรุนแรงของปัญหาโลกร้อนที่กำลังสายเกินการณ์เข้าไปทุกที
 
ในระดับมหาวิทยลัย, ชุมชน, ระหว่างประเทศ, และลูกโลก ประเด็นแตกต่างขัดแย้งย่อมต่างกันไป ส่งผลสะเทือนกว้างไกลลึกซึ้งไม่เท่ากัน สำคัญในขอบเขตต่างกัน อันเป็นธรรมดาของ “การเมืองเรื่องสถานที่” 
 
ถ้าจะบอกว่านักศึกษาธรรมศาสตร์ไม่ควรรณรงค์เรื่อง “เล็กแคบจำกัดเฉพาะ” อย่างการบังคับใส่เครื่องแบบ, ก็อาจบอกได้เช่นกันว่านักศึกษาขอนแก่นไม่ควรรณรงค์แค่เรื่อง “เล็กแคบจำกัดเฉพาะ” อย่างผลกระทบเหมืองทองและกระบวนการประชาพิจารณ์ที่รวบรัดคัดออก, บอกได้อีกเช่นกันว่าชาวอเมริกันไม่ควรรณรงค์เรื่อง “เล็กแคบจำกัดเฉพาะ” อย่างการคัดค้านสงครามโจมตีซีเรีย, และทุกผู้ทุกคนทุกที่ของโลกควรหยุดทุกอย่างที่ “เล็กแคบจำกัดเฉพาะ” หันมารณรงค์แต่เรื่องหยุดโลกร้อน ซึ่งกระทบคนทั้งโลกและก่อหายนะภัยต่อดาวเคราะห์โลกทั้งใบ
 
อย่างนั้นหรือ?
 
ในโลกซังกะบ๊วยแบบที่เราอยู่ปัจจุบัน มีการรณรงค์ที่สำคัญกว่าที่เราทำในเงื่อนไขสถานที่ที่เราอยู่เสมอ ประเด็นจึงไม่ใช่หยุดหรือสละการต่อสู้เฉพาะที่เพื่อเห็นแก่เรื่องสำคัญ/ใหญ่กว่า แต่คือฟังกัน เห็นอกเห็นใจกัน เคารพกัน ขยายสร้างความเข้าใจเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ให้แก่กัน หาทางหนุนช่วยเชื่อมโยงกันบนฐานความเข้าใจจุดร่วมและความเชื่อมโยงที่มีอยู่จริงของปัญหาซึ่งกันและกัน
 
แทนที่จะไม่ฟังกัน ปรักปรำกัน ดูหมิ่นดูแคลนกัน อิจฉาริษยากัน รังเกียจเดียดฉันท์กัน เพิ่มความไม่เข้าใจให้แก่กัน โดดเดี่ยวออกจากกัน ให้โลกที่ซังกะบ๊วยอยู่แล้ว ยิ่งซังกะบ๊วยหนักเข้าไปอีก
 
ที่เราเรียนหนังสือกันมา ก็เพื่อมองโลกเชื่อมโยงสัมพันธ์กันกว้างขึ้น ไม่ใช่แคบลง, คิดถึงคนอื่นมากขึ้น ไม่ใช่น้อยลงไม่ใช่หรือ?

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
มิจฉาทิฐิว่าด้วย“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน” "ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ" และ "วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"
เกษียร เตชะพีระ
นายกฯ เทย์ยิบ เออร์โดกาน จากครอบครัวกรรมาชีพยากไร้ในอีสตันบูล สู่นักการเมืองประชาธิปไตยผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากการเมืองท้องถิ่นในนครอีสตันบูล ต่อต้านอำนาจทหาร จนถึงผู้นำอำนาจนิยมที่รมประชาชนด้วยแก๊สน้ำตา เพื่อจะได้สร้างชอปปิ้ง มอลล์ขึ้นมาบนสวนสาธารณะ Gezi และ วิกฤตนี้จะจบอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
...ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คำถามสำคัญคือ ใครบ้างที่คุณนับเป็นมนุษย์? เราควรจะแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติว่าจะปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคน ๆ หนึ่งบนฐานศาสนา ชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมืองของเขา หรือไม่อย่างไร? ถ้าหากไม่เกิดคดีเอกยุทธ ยังจะมีใครคิดรื้อฟื้นดำเนินคดีทนายสมชายให้จบจริงหรือไม่?
เกษียร เตชะพีระ
..จะเอานายกฯคนโน้นแทน ก็จะไปเรียกเอาร้องเอาจากในหลวงโดด ๆ โดยไม่ฟังเสียงและไม่เคารพอำนาจอธิปไตยของคนไทย ๗๐ ล้านคนเลยได้ มิฉะนั้น ก็จะมีคนเปลี่ยนหน้า ม็อบเปลี่ยนหน้ากาก ไชยวัฒน์บ้าง สนธิบ้าง ชูวัดบ้าง สุทธิบ้าง หน้ากากขาวเขียวเหลืองชมพูน้ำตาลโกโก้กรมท่าน้ำเงินฟ้าสารพัดสี เข้าแถวเรียงรายผลัดกันขอนายกฯพระราชทานคนใหม่คนแล้วคนเล่าเอากับองค์พระประมุขไม่เว้นแต่ละวัน แล้วจะให้พระองค์ทรงทำอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
เกษียร เตชะพีระ
..นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
ประเด็นหัวใจของการสนทนาคือความสัมพันธ์อันซับซ้อนยอกย้อนระหว่าง คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural values) กับ มูลค่า/ราคาทางเศรษฐกิจ (economic value/price) ขณะผู้ถามซักไซ้ไล่เลียงจากมุมมองและคำถามเชิงแนวคิดปรัชญาและสังคม ผู้ตอบอธิบายจากจุดยืนของความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ(ทรัพยากรมีจำกัด สังคมต้องตัดสินใจเลือกใช้ให้คุ้มค่าที่สุด), ความรู้เท่าทันต่อกรอบ/ขีดจำกัด/และพลังของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การดำรงอยู่ของเงื่อนไขทางสังคม/การเมืองที่ล้อมกำกับเศรษฐกิจและ เศรษฐศาสตร์, และชะตาจำต้องเลือกของการตัดสินใจใช้ทรัพยากรจากจุดยืนเศรษฐศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ
นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
หากเอาความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ระยะหลัง (ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) ตามที่คุณพัชราภา ตันตราจินศึกษาค้นคว้าไว้ในหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (๒๕๕๖) มาวางไว้ในบริบทกระแสความคิดการเมืองปัจจุบันแล้วเปรียบเทียบกับแนวคิดของคู่ขัดแย้งหลักในสังคมการเมือง  ได้แก่ “แดง” (คือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและแนวร่วม) กับ “เหลือง” (คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วม) แล้ว ก็จะพบว่า...
เกษียร เตชะพีระ
ประสบการณ์ทำนองนี้ของไทยเราเคยมีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ๒๕๔๐ เมื่อหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์ทเมนต์ก่อสร้างขึ้นมาล้นเหลือเกินดีมานด์ของตลาดนับแสนหน่วย ต้องรออีกหลายปีกว่าจะขายหมด แต่นั่นมันหมู่บ้าน, คอนโด, อพาร์ทเมนต์ร้าง, ของจีนทุกวันนี้ไปไกลกว่านั้นมากคือเมืองทั้งเมืองที่สร้างขึ้นมาใหม่สำหรับ รองรับคนเป็นล้าน กลับร้าง รอคนมาอยู่ที่ไม่เคยมา อย่างที่เรียกว่า ghost cities หรือ เมืองผีหลอก...
เกษียร เตชะพีระ
“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ” - มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์
เกษียร เตชะพีระ
คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....