Skip to main content
 
"เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
การที่ศาลรัฐธรรมนูญฉวยรวบอำนาจที่ไม่ได้มีไว้ให้แม้ในรัฐธรรมนูญนั้นเองเอาไปใช้คอยปกป้องอำนาจอภิสิทธิ์ที่ต่อต้านเสียงข้างมากของ "เสียงข้างน้อย" ดังกล่าว ย่อมส่งผลโดยตรงเป็นการผลักไส "เสียงข้างมาก" ของประชาชนที่ถูกกีดกันกดทับจากอภิสิทธิ์ชนเหล่านั้นให้ไปอยู่ฝั่งตรงข้ามกับรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารและศาลรัฐธรรมนูญเอง
 
ที่ฝั่งตรงข้ามนั้นคือที่ตั้งของรัฐบาลและรัฐสภาจากการเลือกตั้งของเสียงข้างมากที่อิงอำนาจทุนใหญ่
 
รอยร้าวและความแตกแยกระหว่าง "เสียงข้างมาก" กับ "รัฐบาลและรัฐสภาฯที่อิงอำนาจทุนใหญ่" ในกรณีร่างพรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่งถูกเชื่อมสมานและผนึกกลับเข้าหากันอย่างรวดเร็วด้วยมติศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว แทนที่จะถูกขยายออกไปเพื่อช่วงชิงเสียงข้างมากให้ห่างออกมา
 
ด้วยการตัดสินใจทางการเมืองที่ผลัดกันผิดพลาดของทั้งสองฝ่าย ความขัดแย้งวนกลับไปสู่สภาวะ ["เสียงข้างมาก" + "อำนาจทุนใหญ่" ในนามประชาธิปไตย] vs. ["เสียงข้างน้อย" + "อำนาจรัฐประหาร" ในนามความดีและความเป็นไทย] อย่างที่เคยเป็นมาอีกครั้งหนึ่ง
จากนี้กระบวนการแหงนหน้ามองฟ้าคอตั้งบ่าเพื่อหาอำนาจพิเศษมาพลิกดุลอำนาจทางการเมืองให้เป็นคุณกับฝ่ายตนคงจะดำเนินกันไปอย่างชุลมุน
 
ท่ามกลางความปั่นป่วน เปื่อยยุ่ย เสื่อมถอย ไม่มั่นใจ ชะงักงันของชีวิตเศรษฐกิจสังคมที่ยังไม่เห็นฝั่ง

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ