Skip to main content
 
 
ความเห็นของนักธุรกิจ hi-profile มักมีคนสนใจฟัง โดยเฉพาะนักธุรกิจที่ควักกระเป๋าเช่าเวลาสถานีโทรทัศน์จัดรายการให้ตนเองได้บรรยายความรอบรู้จากประสบการณ์ส่วนตัวออกอากาศเป็นวิทยาทานแก่ชาวบ้านแบบ one-way communication คุณวิกรม กรมดิษฐ์ ก็เช่นเดียวกัน
 
อย่างไรก็ตาม ข้อความเห็นข้างล่างนี้ มีที่เข้าใจผิดอยู่บางประเด็น:
 
1) เกาหลี(ใต้) ไต้หวัน สิงคโปร์แม้จนทุกวันนี้ก็ยังมีกรณีคอร์รัปชั่นและใช้อำนาจไปในทางมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองอยู่ 
 
ล่าสุดในเกาหลีใต้ มีกรณีหน่วยงานข่าวกรองของรัฐ (NIS) แทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยใช้คนโพสต์ข้อความเชียร์ผู้สมัครประธานาธิบดีปาร์คกึนเฮ และโจมตีผู้สมัครประธานาธิบดีฝ่ายค้าน จนถูกเปิดโปงสอบสวนและประท้วงเป็นการใหญ่ในขณะนี้ http://www.dw.de/south-koreans-protest-alleged-election-interference/a-17041363
 
ไต้หวันเกิดกรณีคอร์รัปชั่นอื้อฉาวต่อเนื่องหลายเรื่องซึ่งผู้ต้องหาคือบรรดาผู้ช่วยคนสนิทที่สุดของประธานาธิบดีหม่าหยิงโจวแห่งพรรคก๊กมินตั๋ง จนกระทั่งไต้หวันถูกตั้งสมญาอย่างน่าอายว่า "สาธารณรัฐแห่งการคอร์รัปชั่น" http://www.taipeitimes.com/News/editorials/archives/2013/06/04/2003563910
 
ส่วนสิงคโปร์ กรณีคอร์รัปชั่นอื้อฉาวล่าสุดถูกเปิดโปงออกมาเมื่อสองปีก่อนและการดำเนินคดียังต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน เกี่ยวกับหัวหน้า 2 หน่วยงานราชการสำคัญด้านความมั่นคงคือหัวหน้ากองกำลังป้องกันพลเรือนสิงคโปร์และหัวหน้าหน่วยงานปราบปรามยาเสพติดกลาง (the Singapore Civil Defence Force (SCDF) and the Central Narcotics Bureau (CNB) ) ต่างถูกสอบสวนว่ามีสัมพันธ์สวาทกับนักธุรกิจสาวด้าน IT และปล่อยปละละเลยให้ผลิตภัณฑ์ IT ที่สั่งซื้อเข้าหน่วยงานไม่ได้มาตรฐานเพราะเหตุนั้น http://globalvoicesonline.org/2012/01/27/singapore-corruption-scandal-in-least-corrupt-nation/ และ http://news.asiaone.com/News/Latest+News/Singapore/Story/A1Story20120125-323860.html
ดังนั้น 3 ประเทศแบบอย่างที่คุณวิกรมยกมา ไม่ได้ปลอดคอร์รัปชั่นอย่างที่ชวนให้เข้าใจนะครับ
 
2) ความสำเร็จทางเศรษฐกิจของ 3 ประเทศดังกล่าวเกี่ยวข้องโดยตรงกับแนวนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล, กลุ่มธุรกิจหลักของแต่ละประเทศ, และโอกาสด้านการลงทุนและส่งออกที่อเมริกากับญี่ปุ่นเอื้ออำนวยให้ในยุคสงครามเย็นและสงครามเวียดนาม ไม่ใช่เพราะปราบคอร์รัปชั่นเกลี้ยงเกลาแต่อย่างใด เรื่องนี้คุณวิกรมคงต้องออกแรงอ่านค้นคว้าเอกสารตำราเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจของสามประเทศนี้เพิ่มเติมหน่อยละครับ เช่น Michael Spence นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2001 โดยเฉพาะเล่ม The Next Convergence: The Future of Economic Growth in a Multispeed World, หรือ Ha-Joon Chang นักเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ของอังกฤษ เชื้อสายเกาหลี โดยเฉพาะเรื่อง Globalisation, Economic Development and the Role of the State 
 
3) ดังนั้นผมจึงไม่แน่ใจว่าการประหารชีวิตนักการเมืองและข้าราชการทุจริตคอร์รัปชั่นสักหมื่นคน เอาเข้าจริงจะแก้ปัญหานี้ได้นะครับ ความจริงข้อเสนอทำนองนี้ ไม่มีอะไรใหม่ ผมเคยได้ยินได้ฟังมาแล้วจากนักธุรกิจอิสระอินโดนีเซียซึ่งติดสินบนเจ้าหน้าที่อย่างโชกโชน (ดู สารคดีเรื่อง Faces of Everyday Corruption in Indonesia) เพียงแต่ผู้เสนอชาวอินโดนีเซียท่านนั้นไม่ดุเดือดเลือดพล่านถึงขนาดระบุจำนวนศพที่ต้องการว่าเป็นเท่าไหร่เพื่อแก้ปัญหานี้ 
 
กล่าวในแง่นี้ก็ต้องนับว่าจำนวนตัวเลข "ประหารสัก 10,000 คน" ของคุณวิกรมไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทยจริง ๆ อาทิเช่น 
 
-จอมพลประภาส จารุเสถียรก็เพียงคาดคะเนว่าการปราบปรามนักศึกษาที่ประท้วงเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 อาจทำให้ "นักศึกษาจะเสียไปราว 2% จากจำนวนเป็นแสนคน" (คือแค่ 2,000 คน)
 
-การดำเนินสงครามต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณ ก็ปรากฏตัวเลขผู้ต้องสงสัยค้ายาบ้าที่เสียชีวิตจากวิสามัญฆาตกรรมแค่ราว 2,275 ราย
 
-แม้แต่สงครามประชาชนระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2528 ก็มีผู้เสียชีวิตทั้งสองฝ่าย (ยังไม่นับชาวบ้านที่โดนลูกหลง) รวม 10}504 คน ซึ่งก็มากกว่าตัวเลขเสนอแนะของคุณวิกรมอยู่ แต่นั้นเป็นสงครามกลางเมืองนาน 20 ปี ขณะที่สิ่งที่คุณวิกรมเสนอนั้น คือให้ประหารในภาวะปกติของบ้านเมืองและคงไม่นานถึง 20 ปีแน่นอน
 
ก็ขอแนะนำให้คุณวิกรมลองเสนอคุณสุเทพ ณ กปปส. เพื่อให้ทางสภาประชาชนที่อาจจะก่อตั้งขึ้นในอนาคตได้พิจารณา เพราะถ้าเป็นสภาผู้แทนราษฎรปกติภายใต้รัฐธรรมนูญ คงจะยากอยู่ โดนประท้วงแหลกจากนานาอารยประเทศที่เขาซื้อสินค้าออกจากเราแน่ว่ามัน "ไม่อารยะ" เกินไป
 
 
 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม