Skip to main content

 

๑) การดิสเครดิต (ชกเด็กใต้เข็มขัด ท่ามวยถนัดของผู้ใหญ่ไทยกระมัง?) ทางการเมืองทำนองนี้หากเกิดขึ้นในสังคมอื่น (ในทำนองว่า...คนที่เรียกร้องสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย คัดค้านการรัฐประหาร ชี้ว่ารัฐบาลเผด็จการไม่ชอบธรรมพวกนี้ มันเรียนไม่เก่ง ได้เกรด D หรือ F ฯลฯ) ก็ย่อมถูกปัดทิ้งไปฟังไม่ขึ้นเลย เพราะมันไม่เกี่ยว

เขาจะเรียนเก่งหรือไม่ ข้อเรียกร้องของเขาก็ยังเป็นไปตามหลักเสรีประชาธิปไตยอยู่ดี

ทำนองเดียวกับการปลาบปลื้มว่าผู้เรียกร้องให้ฉีกรัฐธรรมนูญ โค่นระบอบประชาธิปไตย สนับสนุนเผด็จการ บลา ๆ ๆ เนี่ย เรียนเก่งมาก ได้ A ด้วย ฯลฯ ก็ไม่เกี่ยวเช่นกัน

เพราะจะเรียนเก่งแค่ไหน ท่าทีการเมืองของเขาก็ยังรับใช้เผด็จการอยู่ดี

แต่เผอิญสังคมคนชั้นกลางไทยมีจริตค่านิยมนับถือเกรดและปริญญามหาวิทยาลัยอยู่ (กรณีขัดแย้งระหว่างธนาคารแห่งหนึ่งกับมหาวิทยาลัยราชภัฎทั้งหลายเป็นตัวอย่างล่าสุด) การหยิบเรื่องนี้มาดิสเครดิตนักศึกษาผู้เห็นต่างทางการเมืองจึงเกิดขึ้นได้

 

๒) แต่ถ้าจะพูดเรื่องนี้ ก็ไม่ควรลืมว่า Steve Jobs ผู้ก่อตั้งและพัฒนาบริษัท Apple ก็เรียนไม่จบปริญญาตรี

ในเมืองไทย คอลัมนิสต์และนักวิจารณ์การเมือง-กฎหมายมือชั้นครูอย่าง "ใบตองแห้ง" ก็ไม่จบปริญญาตรีเช่นกัน

ฝีไม้ลายมือและความสำเร็จของเขาเหล่านี้ พวกดอกเตอร์ปริญญาเอกอย่างผมได้อายเป็นแถว ๆ

 

๓) สำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา

สมัยผมทำกิจกรรมนักศึกษาอยู่ธรรมศาสตร์ปี ๒๕๑๘ นั้น เกรดปีแรก ผมได้เฉลี่ย ๔ คือ A หมดทุกตัว เป็นที่ฮือฮาในหมู่คนทำกิจกรรมและได้รับแต่งตั้งให้เป็นติวเตอร์เพื่อน ๆ ที่ขาดเรียนทั้งหลาย

แต่ปี ๒๕๑๙ การเรียนผมก็ขาด ๆ หาย ๆ เพราะสถานการณ์การเมืองรุนแรงขึ้น ถ้าไม่เกิดเหตุการณ์ฆ่าหมู่และรัฐประหาร ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เสียก่อน คงยากที่ผมจะรักษาเกรดเฉลี่ย ๔ ไว้ดังเดิมได้

หลังออกจากป่าสี่ปีกว่าให้หลัง ผมกลับมาคืนสภาพเรียนปริญญาตรีต่อ ไม่ได้ทำกิจกรรมนักศึกษาเข้มข้นดังก่อน เกรดก็ดีสม่ำเสมอ จบเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ๓.๘ และเมื่อไปเรียนปริญญาโท-เอกที่คอร์แนวนั้น เกรดวิชาต่าง ๆ ของผมไม่เคยต่ำกว่า A หรือ A- เลย

ประเด็นคือนักศึกษาที่ทำกิจกรรม เกรดแย่ลง ก็เป็นเรื่องธรรมดา หากเขาเรียนเต็มที่ เกรดก็กลับดีได้ เพราะมีประสบการณ์ความเข้าใจสังคมการเมืองจากการทำกิจกรรมช่วยเสริม

แล้วอยากให้พวกเขาเรียนรู้แต่ในตำราห้องเรียนห้องสมุด หรือได้ประสบสัมผัสประสานกับชีวิตจริงที่ลำบากยากแค้นของเพื่อนร่วมชาติข้างนอกเล่า?

 

๔) ในบรรดาผู้ที่เห็นว่าการศึกษาในมหาวิทยาลัยมีปัญหาข้อจำกัด แยกนักศึกษาจากความเป็นจริงของชาวบ้านในสังคม ก็คือหมอประเวศ วะสี ท่านจึงเสนอตลอดมาว่าให้ประสานการเรียนเข้ากับการวิจัยและทำกิจกรรมสัมผัสโลกเป็นจริง

ถ้าท่านนายพลว่างมาก ลองไปเถียงกับหมอประเวศดูก่อนก็ได้

 

หมายเหตุ : บทความดังกล่าวเผยแพร่ครั้งแรกที่เฟซบุ๊ก 'Kasian Tejapira' เมื่อวันที่ 6 ก.ค.2558 สำหรับความเห็นของ ‘พล.ท.นันทเดช’ เผยแพร่ในเว็บไซต์ 'แนวหน้า' วันที่ 5 ก.ค.2558

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ