Skip to main content
มด วนิดา
ภาพจากประชาไท
Munir
ภาพจากวิกิพีเดีย

 

คนสองคนจากต่างดินแดน แต่ “หัวใจ” คล้ายคลึงกัน ยึดมั่นในอุดมการณ์ สร้างความยุติธรรมแก่สังคม ต่อสู้เพื่อคนจนและผู้ด้อยโอกาส ต่อสู้เพื่อสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ นึกถึงคนจนและความยุติธรรมอันดับแรก ห่วงใยและคำนึงถึงตนเองเป็นสิ่งสุดท้ายที่กระทำ 

มด/ วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์

เกิด     2498

บ้านเกิด  กรุงเทพฯ

การศึกษา รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ครอบครัว
เกิดในครอบครัวคนจีนชนชั้นกลางที่ค่อนข้างมีฐานะ แต่เป็นลูกที่แตกต่าง มีวิญญาณขบถตั้งแต่ศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย เข้าร่วมต่อสู้เพื่อประชาชนในยุค 14 ตุลา ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนมัธยม ซึบซับวิญญาณการต่อสู้ หลังจาก 6 ตุลา ต้องหลบหนีภัยการเมืองเข้าป่าเกือบ 4 ปี

กิจกรรม
ทำกิจกรรมด้านสังคมตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา
สภาหน้าโดม วงดนตรีกรรมาชน สนใจเรื่องปัญหาชนชั้นกรรมาชีพ ตั้งแต่ยังศึกษาที่ธรรมศาสตร์ เข้าไปคลุกคลีช่วยเหลือแรงงานที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ จากนายทุนเจ้าของโรงงาน และมีชื่อเสียงจากการเป็นผู้นำการต่อสู้ ของคนงานโรงงานฮาร่า ยืนหยัดต่อสู่อย่างมั่นคง กระทั่งคนงานสามารถยึดโรงงาน ผลิตสินค้าออกมาขายเองได้

งาน
ยืนอยู่เคียงข้างประชาชนคนยากไร้ทุกกลุ่ม ทุกเครือข่ายมาโดยตลอด  ขบวนการประชาชน ที่สร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนค่อนข้างมาก ในรอบสิบปีมานี้ คือ ขบวนการสมัชชาคนจน ซึ่งมีเครือข่ายคนจนทุกกลุ่มเข้าร่วมเป็นสมาชิก และการต่อสู้เรื่องเขื่อนปากมูนอย่างยาวนาน มีความมั่นคงในอุดมการณ์การต่อสู้ ระหว่างการต่อสู้ ขบวนการประชาชนเกิดการเรียนรู้ และก่อให้เกิดการยอมรับภูมิปัญญาชาวบ้าน เกิดงานวิจัยโดยชาวบ้าน กลายเป็นองค์ความรู้ที่ยอมรับในวงวิชาการ

ชีวิต
มด-วนิดาเป็นคนอยู่ง่าย กินง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย ชีวิตเรียบง่าย ติดดินทำงานกับชาวบ้านได้อย่างกลมกลืน ทำงานหนักตลอดชีวิตของการทำงานเพื่อปวงชน ดูแลตนเองน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ควรค่าแก่การคารวะยิ่ง อย่างไรก็ตามเธอมีความเข้มแข็งอย่างที่สุด เมื่อสามารถยืนหยัดอยู่กับมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง โดยไม่ยอมปริปากให้ใครเป็นห่วงนานนับปี กระทั่งยอมรับการรักษาทางการแพทย์ และโรคร้ายก็คร่าชีวิตนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ของคนจนเมื่อ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา  

Munir Said Thalib

เกิด 2508

บ้านเกิด สุราบายา อินโดนีเซีย

การศึกษา กฎหมาย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบาวิจายา เมืองมารัง จังหวัดชวาตะวันออก

ครอบครัว
เกิดในครอบครัวอาหรับ อินโดนีเซีย ซึ่งปกติชาวอาหรับมีความเชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจการค้า เป็นชนชาติที่ค่อนข้างร่ำรวยในอินโดนีเซีย ไม่เชี่ยวชาญและยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ครอบครัวมูเน่ก็เช่นเดียวกัน มุ่งในเรื่องของธุรกิจในครอบครัว คิดแต่เรื่องสร้างฐานะให้เป็นปึกแผ่น แต่มูเน่กบฏต่อครอบครัว ไม่ยอมทำตามกฎเหมือนครอบครัวอาหรับทั่วๆ ไป ตั้งแต่เข้าเป็นนักศึกษาก็เลือกเรียนกฎหมาย และสนใจการทำกิจกรรมเพื่อช่วยคนจนคนด้อยโอกาสมากกว่า ซึ่งแทบจะหานักกิจกรรมชาวอาหรับ-อินโดนีเซียได้น้อยมาก ในรั้วมหาวิทยาลัย และในสังคมอินโดนีเซีย

กิจกรรม
เป็นนักกิจกรรมตัวยง เป็นประธานสภานักศึกษาของมหาวิทยาลัย สนใจปัญหาแรงงาน การกดขี่ค่าแรงในเมืองสุราบายา เข้าร่วมกิจกรรมช่วยเหลือด้านแรงงานที่ถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบจากนายทุน กระทั่งได้แต่งงานกับผู้นำกรรมกรหญิงชื่อ ซูซีวาติ ซึ่งต่อสู้เคียงข้างกันเพื่อคนด้อยโอกาส และเพื่อสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอด


งาน
จากสุราบายา และหลังจากซูฮาร์โตลงจากอำนาจในปี 2541 เขาเดินทางสู่กรุงจาการ์ตา และก่อตั้งองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ชื่อว่า KONTRAS หรือ Committee Against Disappearances and Torture ในยุคซูฮาร์โต 32 ปีที่ครองอำนาจ มีผู้คนเสียชีวิต ถูกจับ และสูญหายในยุคนั้นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงปราบปรามคอมมิวนิสต์ มีผู้คนล้มตายมากกว่าสองล้านคน เหยื่อการเมือง และบ้าอำนาจของซูฮาร์โตส่วนใหญ่กระทำการต่อต้าน วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลซูฮาร์โต ซึ่งมูเน่และองค์กร ได้ยกประเด็นผู้สูญหายทั้งหมดในยุคนั้น ขึ้นมาเป็นประเด็นเชิงสังคมที่รัฐบาลในยุคนั้นต้องตอบคำถาม และค้นความจริงของการสูญหาย เสียชีวิต และถูกจับในยุคนั้น ทำให้ทหาร และผู้มีอำนาจในยุคนั้นแค้นเคืองมูเน่ ที่กัดไม่ปล่อยในปัญหาดังกล่าว

ชีวิต
วิถีชีวิตกับอุดมการณ์ของมูเน่ สอดคล้องกันอย่างควรค่าแก่การคารวะ เขาไม่สนใจสร้างฐานะในแบบครอบครัวอาหรับ เขาใช้ชีวิตเรียบง่าย มีเพียงมอเตอร์ไซต์หนึ่งคันสำหรับเดินทางไปไหนต่อไหน งานของเขาเสี่ยงต่อชีวิตอย่างมาก เพราะมีผู้อำนาจหลายคนเสียผลประโยชน์จากการต่อสู้ของเขา เขาเสียชีวิตจากการวางยาพิษเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 ขณะนั่งเครื่องบนไปเรียนต่อที่อัมสเตอร์ดัม จนกระทั่งปัจจุบันทางการยังไม่สามารถจับผู้ร้ายได้ อย่างไรก็ตาม เขาเป็นนักสู้แถวหน้าของเอ็นจีโอ อินโดนีเซีย การตายของเขาเป็นจุดร่วมและกระตุ้นให้ประเด็นสิทธิมนุษยชน ในอินโดเซียเป็นประเด็นที่ทั่วโลกติดตาม


ขอคารวะแก่ จิตวิญญาณของสองผู้ยิ่งใหญ่ของคนจน: ไทย-อินโดนีเซีย ในแง่อุดมการณ์ที่แน่วแน่มั่นคง 

Note*: ขอบคุณ Mr.Heru Suseto, Deputy Dean Department of Law Society and Development Faculty of Law University of Indonesia ที่ให้ข้อมูลมูเน่

บล็อกของ กอแก้ว วงศ์พันธุ์

กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ป๊ะซานอล ผู้สื่อข่าวอาวุโสในแวดวงสื่ออินโดนีเซีย ผู้เอื้ออารีต่อลูกหลานร่วมอาชีพ แม้ไม่ใช่คนในภาษาและสัญชาติเดียวกัน แต่ก็ให้ความช่วยเหลือแนะนำแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เขียน แถมยังเอ็นดูเลี้ยงดูปูเสื่อผู้เขียนและเอื้ออาทรไปถึงเพื่อนร่วมทุนของผู้เขียนด้วย แต่วันนี้แวดวงสื่ออินโดไม่มีท่านเสียแล้ว แต่ทุกคนก็ยังจำคุณูปการที่ท่านทำไว้ให้กับวงการสื่อ ในวันนั้น จากตัวเมืองมารัง ท่านนำเราไปยังหมู่บ้านแห่งหนึ่งเพื่อดูงานวิทยุชุมชนของหมู่บ้าน เพราะหลัง 1998 ภาคประชาชนเติบโตและเคลื่อนไหวสูงในอินโดนีเซีย มีการจัดตั้งกลุ่มสื่อภาคประชาชนขึ้นทั่วภูมิภาค วิทยุชุมชนก็เป็นหนึ่งในนั้น…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ครั้งก่อนพูดถึง Tempo ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า สังคมอินโดนีเซียเป็นสังคม แห่งการเรียนรู้ และลึกซึ้งทางด้านภูมิปัญญา ไม่ง่ายนักที่ในเมืองหลวงแห่งหนึ่งจะมีองค์กรสื่อที่สามารถสร้างสื่อกระแสหลัก และสื่อทางเลือก แสดงจุดยืนของตนเองมานานนับยี่สิบปี และคาดว่าจะเจริญก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ ทั้งตัวองค์กรและตัวความคิด ไม่ใช่สื่อประเภท ม้าตีนต้น ที่เปิดตัวแบบผู้มีอุดมการณ์ทางความคิด ก้าวล้ำนำสังคม แต่เมื่อหนังสือพิมพ์เริ่มดัง หรือรายการดังติดลมบน ความคิดก็เบี่ยงเบนไปทางรักษาพื้นที่ทางเศรษฐกิจมากกว่า การรักษาจุดยืนทางความคิด ผิดกับสังคมอินโดนีเซียที่สื่อของพวกเขาแสดงจุดยืนอย่างมั่นคง…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ครั้งก่อนกล่าวถึง Tempo ซึ่งเป็นนิตยสารประเทืองปัญญาของสังคมอิเหนา ที่ชาวอิเหนา (ภาคประชาชนและปัญญาชน) ภาคภูมิใจยิ่งที่ในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์มี Tempo หากจะเปรียบว่าสังคมมะกันมี Time อิเหนาก็มี Tempo และ Tempo ไม่ใช่นิตยสารรายสัปดาห์ที่เอาข่าวของรายวันมายำ แล้วใส่ความคิดเห็นลงไปอีกหน่อยเพิ่มเหมือนสื่อสิ่งพิมพ์รายสัปดาห์โดยทั่วไปทำกันเท่านั้น แต่นักข่าวของ Tempo มีเวลาในการทำข่าว เจาะข่าวมากพอสมคาร และมีประเด็นข่าวเป็นตัวของตัวเอง เพราะฉะนั้นข่าวเจาะลึกของ Tempo จึงมีลักษณะเฉพาะตัว นอกจากประเด็นเชิงเผ็ดร้อนในเชิงการเมืองแล้ว Tempo ยังมีสารคดีเชิงวัฒนธรรม และบันเทิงในแง่มุมวรรณกรรม ดนตรี ภาพยนตร์…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ช่วงที่ผู้เขียนอยู่อินโดนีเซีย ต้องพึ่งข่าวสารและสมัครเป็นสมาชิกหนังสือพิมพ์และนิตยสารภาษาอังกฤษสองฉบับคือ the Jakarta Post และ Tempo เพื่อเข้าใจ (ผ่านสื่อ) ต่อสังคมอินโดนีเซียน ซึ่งช่วยได้ในภาพรวม ไม่ได้ทำให้ผู้เขียนตกกระแสสังคมอินโดนีเซียเกินไป  ผู้เขียนได้เคยเอ่ยถึงและนำคำสัมภาษณ์ผู้จัดการในเครือจาการ์ตา โพสต์ลงในคอลัมไปบ้างแล้ว ครั้งนี้จะขอเอ่ยถึงองค์กรสื่อหนึ่งที่ทรงอิทธิพลมากแห่งหนึ่งของอินโดนีเซีย และได้ชื่อว่าเป็นสื่อกระแสหลักแต่เป็นทางเลือกหนึ่งของภาคประชาชนแดนตากาล็อค Tempo (หรือหมายถึง Time) มีสองภาคภาษาคือ ภาคภาษาอินโดนีเซียและภาคภาษาอังกฤษ…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ประชาชนของเขาผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างยาวนานตั้งแต่ ในยุคอาณานิคมก็ถูกกดขี่จากอาณานิคม สเปน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เสร็จจากยุคอาณานิคมก็มาเจอยุคเผด็จการเบ็ดเสร็จภายใต้รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินัน มาร์กอสผู้ล่วงลับ จากยุคเผด็จการดันมาเจอยุคประชาธิปไตยลวงและการคอรัปชั่นอย่างหนักหน่วงในรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดา และเพิ่งจะมีเหตุการณ์ประท้วงไปหมาดๆ เพื่อขับไล่ประธานาธิบดีอาร์โรโย ที่แปดเปื้อนด้วยการคอรัปชั่น ประชาชนชาวฟิลิปปินส์จึงมีประวัติศาสตร์การต่อสู้กับอำนาจที่ไม่เป็นธรรมมาโดยตลอด…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
    ยังคิดถึงแฟนคอลัมน์อยู่เสมอนะคะ และที่หายด้วยภารกิจบางอย่างและกำลังเตรียมหาข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับแดนอิเหนาและตากาล็อคมาฝากผู้อ่านอยู่นะคะ อย่าเพิ่งลืมกันไปก่อน ช่วยให้กำลังใจด้วยนะคะ แต่สัปดาห์นี้ก็ยังไม่มีเรื่องของอิเหนาและตากาล็อคมาให้อ่านนะคะ เพราะเห็นว่าสถานการณ์ข้าวยากหมากแพงกำลังวิกฤตในโลกเรา มีหลายประเทศที่ประสบปัญหาข้าวขึ้นราคาและขาดแคลนข้าว อย่างเร็วๆ นี้ฟิลิปปินส์แดนตากาล็อคก็มีข้าวว่า รัฐบาลต้องหาข้าวราคาถูกให้กับคนยากจนในประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่นักหากสื่อไม่เอามาพูดก็จะไม่มีใครทราบว่า ความจริงแล้วที่ฟิลิปปินส์ในพื้นที่ที่ห่างไกล…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ภาพจากประชาไทภาพจากวิกิพีเดีย คนสองคนจากต่างดินแดน แต่ “หัวใจ” คล้ายคลึงกัน ยึดมั่นในอุดมการณ์ สร้างความยุติธรรมแก่สังคม ต่อสู้เพื่อคนจนและผู้ด้อยโอกาส ต่อสู้เพื่อสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ นึกถึงคนจนและความยุติธรรมอันดับแรก ห่วงใยและคำนึงถึงตนเองเป็นสิ่งสุดท้ายที่กระทำ มด/ วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์เกิด     2498บ้านเกิด  กรุงเทพฯการศึกษา รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครอบครัวเกิดในครอบครัวคนจีนชนชั้นกลางที่ค่อนข้างมีฐานะ แต่เป็นลูกที่แตกต่าง มีวิญญาณขบถตั้งแต่ศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย เข้าร่วมต่อสู้เพื่อประชาชนในยุค 14 ตุลา ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนมัธยม…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
มีโอกาสต้อนรับเพื่อนชาวอินโดนีเซียที่มาเยือนเมืองไทยเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา  หลังจากที่เธอเสร็จสิ้นภารกิจการงานในกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับมอบหมายจากที่ทำงานแล้ว เธอก็บินตรงไปยังภูเก็ต และแวะเยี่ยมเยือนผู้เขียนที่พังงา ขอเรียกเธอสั้นๆ ว่า ทีน่า เธอเป็นลูกครึ่งจีน-อินโดนีเซีย ทำงานเป็นเลขานุการ  ที่สถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำอินโดนีเซีย แม้ร่างกายจะไม่สมบูรณ์แต่เธอก็ได้รับโอกาส ให้ทำงานในตำแหน่งหน้าที่สำคัญของสถานทูต เธอแสดงให้เห็นว่า ร่างกายไม่ใช่อุปสรรคของการทำงานและขาดความคล่องตัวแต่อย่างใด ตลอดเวลาสิบกว่าปีในการทำงาน เธอได้รับมอบหมายให้ไปดูงานต่างแดนหลายประเทศ เช่น อียิปต์…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
เพื่อนสาวชาวมาเลย์ชื่นชมและคลั่งไคล้ในตัวกวีผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศอินโดนีเซีย เป็นฮีโร่ของเธอเลยทีเดียว ถึงกับนำชื่อของเขาไปตั้งเป็นชื่อลูกชายคนโต ผู้เขียนคาดเดาว่า กวีผู้นี้คงมีอิทธิพลทางด้านวิถีชีวิตที่อิสระเสรี ผู้เชื่อในสัญชาตญาณดิบของมนุษย์ ที่ใฝ่หาเสรีภาพ และคงมีอิทธิพลครอบงำเพื่อนสาวไม่น้อย เพราะเธอแม้จะเป็นมุสลิม แต่แหกกฎหลายอย่างที่หญิงชาวมุสลิมถูกกำหนดให้กระทำ แม้กระทั่งเรื่องหัวใจ ที่เธอปล่อยให้มันอิสระเสรีอย่างที่มนุษย์คนหนึ่งอยากจะเป็นกวีผู้ยิ่งใหญ่คนนี้คือ Chairil Anwar เขาถูกจำกัดความว่าเป็นกวีที่ใช้คำได้สวยงาม แต่ทว่ามีอิทธิพลอย่างรุนแรงกับผู้อ่าน…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
หายไปหลายอาทิตย์เพราะอาการเจ็บไข้และติดพันภารกิจการงาน กลับมาไม่นาน ได้ทราบข่าวจากเพื่อนสื่อชาวอินโดนีเซียว่า ผู้อาวุโสนักต่อสู้เพื่อสื่อเสรีและวิทยุชุมชนคนสำคัญคนหนึ่งของอินโดนีเซีย เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งผู้เขียนไม่อยากจะเชื่อว่าท่านจะไปเร็วด้วยโรคร้าย แม้ว่าอายุอานามของท่านจะ 70 กว่าๆ แล้ว แต่สมองของท่านเฉียบยังคมดีอยู่ ร่างกายแข็งแรง ปราดเปรียวเคลื่อนไหวคล่องตัวไม่เหมือนคนอายุ 70 ทั่วไป ทั้งยังท่วงท่าสง่างาม หลังไม่ค้อม เดินเหินคล่องแคล่ว สำคัญคือ ท่านลดอายุด้วยเสื้อผ้าที่สวมใส่ ขนาดวัยรุ่นยังอาย เพราะอินเทรนด์ ตลอดเวลา ผมและหนวดขาว ไม่ทำให้รู้สึกว่าท่านอายุเกิน 70 แล้ว…