Skip to main content

ครั้งก่อนพูดถึง Tempo ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า สังคมอินโดนีเซียเป็นสังคม แห่งการเรียนรู้ และลึกซึ้งทางด้านภูมิปัญญา

ไม่ง่ายนักที่ในเมืองหลวงแห่งหนึ่งจะมีองค์กรสื่อที่สามารถสร้างสื่อกระแสหลัก และสื่อทางเลือก แสดงจุดยืนของตนเองมานานนับยี่สิบปี และคาดว่าจะเจริญก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ ทั้งตัวองค์กรและตัวความคิด ไม่ใช่สื่อประเภท ม้าตีนต้น ที่เปิดตัวแบบผู้มีอุดมการณ์ทางความคิด ก้าวล้ำนำสังคม แต่เมื่อหนังสือพิมพ์เริ่มดัง หรือรายการดังติดลมบน ความคิดก็เบี่ยงเบนไปทางรักษาพื้นที่ทางเศรษฐกิจมากกว่า การรักษาจุดยืนทางความคิด ผิดกับสังคมอินโดนีเซียที่สื่อของพวกเขาแสดงจุดยืนอย่างมั่นคง สื่อตลาดก็ว่าไปตามเนื้อผ้า แต่ถ้าฉันเป็นสื่อที่เน้นความคิดแนวหนึ่งที่ควรมีที่อยู่ที่ยืนในสังคม ก็จะดำรงจุดยืนของตน ไม่แกว่งไกว

สังคมอินโดนีเซียจึงเป็นสังคมอุดมปัญญา มีปัญญาชนให้น่านับถืออยู่หลายกลุ่ม และแม้ว่าจะถูกอำนาจรัฐพยายามดึงเครื่องไม้เครื่องมือมาตัดกำลังความมีเสรีภาพของสื่อ แม้จะสิ้นยุคเผด็จการไปแล้ว แต่บรรดาสื่อปัญญาชนก็รวมตัวกันอย่างรวดเร็วและเหนียวแน่นเพื่อต่อสู้กับกระบวนการทำลายเสรีภาพของสื่อ


เมื่อพูดถึงสื่อท้องถิ่น หรือสื่อต่างจังหวัด ที่ไม่ใช่ผลิตขึ้นในกรุงเทพฯ และไม่ใช่สื่อส่งขายไปทั่วประเทศ แต่เป็นหนังสือพิมพ์ที่ผลิตและพิมพ์ขายในจังหวัดนั้นๆ จินตภาพต่อสื่อท้องถิ่นหรือหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นคือ หนังสือพิมพ์ไร้คุณภาพ เน้นวางตลาดในวันหวยออก และชเลียร์กับนักการเมืองท้องถิ่น

หากพูดถึงในบริบทนั้น สื่อท้องถิ่นในอินโดนีเซียแทบจะเรียกว่า สื่อท้องถิ่นไปไม่ได้เลยทีเดียว อินโดนีเซียได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีดินแดนกว้างใหญ่ มีหมู่เกาะน้อยใหญ่ถึง 17,000 เกาะ และมีเกาะใหญ่ถึง 5 เกาะ สุมาตรา ชวา กาลิมันตัน สุลาเวสี และอิเรียน จายา และมีภาษาถิ่น (direct language) มากถึง 701 ภาษา แบ่งเป็น ที่สุมาตรา 52, กาลิมันตัน 81, สุลาเวสี 116, ชวาและบาหลี 17, ภาษาจีนต่างๆ เช่นฮกเกียน แมนดาริน ฯลฯ, นูซา ตังกาลา 60, มาลูกุ 128, และอิเรียน จายา 2471 มีประชากร 230 ล้านคน ตัวเลขหนังสือพิมพ์รายวันที่ขายทั่วประเทศ (วันละ) 5 ล้านฉบับ ซึ่งคนอินโดนีเซียมองว่า ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร

แต่ในมุมมองของผู้เขียนมองว่า เพราะความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมของอินโดนีเซีย และดินแดนที่กว้างใหญ่ ไม่ได้ทำให้ประชาชนของอินโดนีเซีย ตกอยู่ภายใต้การครอบงำทางการตลาดหรือทางความคิดของสื่อกระแสหลัก (ที่ผลิตและกระจายไปทั่วประเทศจากเมืองหลวงจาการ์ตา) เพียงอย่างเดียว เป็นการสร้างสมดุลย์ของบรรยากาศความคิดระหว่างสื่อกระแสหลักและสื่อท้องถิ่น เพราะในแต่ละพื้นที่แต่ละจังหวัดในอินโดนีเซียมีหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น (ขนาดใหญ่) และมีอายุยืนยาวนาน ตั้งแต่ 50-100 ปีเลยทีเดียว ฉะนั้นจึงบอกได้ว่า อายุยืนยาวขนาดนี้สื่อได้สร้างวัฒนธรรมบางอย่างและสร้างสำนึกแบบท้องถิ่นนั้นๆ ให้กับชุมชน อย่างปฏิเสธไม่ได้เลยทีเดียว


ยกตัวอย่างเช่น ในชวากลางมี Kadaulatan Rakyat สำนักพิมพ์อยู่ในเมือง ยอกยาการ์ตา มีหนังสือพิมพ์ในเครือถึง 2 ฉบับ และนิตยสารวัยรุ่น 1 ฉบับ มีนักข่าวและบรรณาธิการรวมทั้งหมด 100 คน ในสุมาตราเหนือ ที่จังหวัดเมดานมี Waspada มีหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับ มีนักข่าวและบรรณาธิการ 50 คน มีสำนักพิมพ์สาขาในจังหวัดอาเจะห์อีกหนึ่งสาขา และมีเกาะสุมาตรามีหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นติดอันดับหนังสือพิมพ์ขายดีจากการสำรวจของเอเยนซีในเมืองหลวงถึง 3 ฉบับ

18_06_1
สำนักพิมพ์และหนังสือพิมพ์ waspada ในเกาะสุมาตราเหนือ จังหวัดเมดาน เป็นตัวอย่างหนึ่งของสำนักงานหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น มีระบบการบริหารจัดการในระดับมืออาชีพ


แม้แต่ชวาตะวันออก ที่สุราบายา ก็มี Jawa Post ซึ่งแทบจะไม่เรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นแล้ว เพราะเป็นเครือข่ายหนังสือพิมพ์ที่ใหญ่อันดับสองรองจากหนังสือพิมพ์กระแสหลักอย่าง Kompas เพราะมีหนังสือพิมพ์ลูกในแต่ละจังหวัดมากกว่า 100 หัว

ในบาหลี มี Bali Post มีอายุยืนยาวเกือบ 100 ปี นอกจากบาหลี โพสต์แล้วยังมีหนังสือพิมพ์ในเครือ รวมทั้งนิตยสารอีกร่วม 3 ฉบับ และสถานีโทรทัศน์อีกหนึ่งสถานี นอกจากบาหลี โพสต์แล้ว ในเกาะบาหลียังมีหนังสือพิมพ์อีกหลายฉบับแต่อาณาจักรไม่ยิ่งใหญ่เท่า บาหลี โพสต์ เพราะบาหลี โพสต์มีนักข่าวทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์รวมกันเกือบ 200 คน และที่ชาวตะวันตก ที่เมืองบันดุงก็มี Pikiran Rakyat ซึ่งเก่าแก่ถึง 60 ปีมีหนังสือพิมพ์ในเครือ 3 ฉบับ มีนักข่าวร่วม 100 ชีวิต


ในบริบทของอินโดนีเซีย สื่อท้องถิ่นของอินโดนีเซียจึงไม่ไร้พลังอย่างที่คิด ทั้งยังเป็นกลุ่มพลังที่สร้างสมดุลย์กับสังคมหลากหลายของอินโดนีเซีย (หากใช้ในทางที่สร้างสรรค์) และยอดขายในแต่ละวันของหนังสือพิมพ์เหล่านี้ในจังหวัดนั้นๆ วันละ 1 แสนเล่มเป็นอย่างต่ำ



1 Jame J. Fox, Notes on Cultural Diversity in Southeast Asia, Kamanto Sunarto, Russell Hiang-Khng Hen, Achmad Fedyani Saifuddin , Multicultural Education in Indonesia and Southeast Asia: Stepping into the Unfamiliar, Jumal Antropologi Indonesia, 2004, P 15

บล็อกของ กอแก้ว วงศ์พันธุ์

กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ป๊ะซานอล ผู้สื่อข่าวอาวุโสในแวดวงสื่ออินโดนีเซีย ผู้เอื้ออารีต่อลูกหลานร่วมอาชีพ แม้ไม่ใช่คนในภาษาและสัญชาติเดียวกัน แต่ก็ให้ความช่วยเหลือแนะนำแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เขียน แถมยังเอ็นดูเลี้ยงดูปูเสื่อผู้เขียนและเอื้ออาทรไปถึงเพื่อนร่วมทุนของผู้เขียนด้วย แต่วันนี้แวดวงสื่ออินโดไม่มีท่านเสียแล้ว แต่ทุกคนก็ยังจำคุณูปการที่ท่านทำไว้ให้กับวงการสื่อ ในวันนั้น จากตัวเมืองมารัง ท่านนำเราไปยังหมู่บ้านแห่งหนึ่งเพื่อดูงานวิทยุชุมชนของหมู่บ้าน เพราะหลัง 1998 ภาคประชาชนเติบโตและเคลื่อนไหวสูงในอินโดนีเซีย มีการจัดตั้งกลุ่มสื่อภาคประชาชนขึ้นทั่วภูมิภาค วิทยุชุมชนก็เป็นหนึ่งในนั้น…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ครั้งก่อนพูดถึง Tempo ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า สังคมอินโดนีเซียเป็นสังคม แห่งการเรียนรู้ และลึกซึ้งทางด้านภูมิปัญญา ไม่ง่ายนักที่ในเมืองหลวงแห่งหนึ่งจะมีองค์กรสื่อที่สามารถสร้างสื่อกระแสหลัก และสื่อทางเลือก แสดงจุดยืนของตนเองมานานนับยี่สิบปี และคาดว่าจะเจริญก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ ทั้งตัวองค์กรและตัวความคิด ไม่ใช่สื่อประเภท ม้าตีนต้น ที่เปิดตัวแบบผู้มีอุดมการณ์ทางความคิด ก้าวล้ำนำสังคม แต่เมื่อหนังสือพิมพ์เริ่มดัง หรือรายการดังติดลมบน ความคิดก็เบี่ยงเบนไปทางรักษาพื้นที่ทางเศรษฐกิจมากกว่า การรักษาจุดยืนทางความคิด ผิดกับสังคมอินโดนีเซียที่สื่อของพวกเขาแสดงจุดยืนอย่างมั่นคง…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ครั้งก่อนกล่าวถึง Tempo ซึ่งเป็นนิตยสารประเทืองปัญญาของสังคมอิเหนา ที่ชาวอิเหนา (ภาคประชาชนและปัญญาชน) ภาคภูมิใจยิ่งที่ในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์มี Tempo หากจะเปรียบว่าสังคมมะกันมี Time อิเหนาก็มี Tempo และ Tempo ไม่ใช่นิตยสารรายสัปดาห์ที่เอาข่าวของรายวันมายำ แล้วใส่ความคิดเห็นลงไปอีกหน่อยเพิ่มเหมือนสื่อสิ่งพิมพ์รายสัปดาห์โดยทั่วไปทำกันเท่านั้น แต่นักข่าวของ Tempo มีเวลาในการทำข่าว เจาะข่าวมากพอสมคาร และมีประเด็นข่าวเป็นตัวของตัวเอง เพราะฉะนั้นข่าวเจาะลึกของ Tempo จึงมีลักษณะเฉพาะตัว นอกจากประเด็นเชิงเผ็ดร้อนในเชิงการเมืองแล้ว Tempo ยังมีสารคดีเชิงวัฒนธรรม และบันเทิงในแง่มุมวรรณกรรม ดนตรี ภาพยนตร์…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ช่วงที่ผู้เขียนอยู่อินโดนีเซีย ต้องพึ่งข่าวสารและสมัครเป็นสมาชิกหนังสือพิมพ์และนิตยสารภาษาอังกฤษสองฉบับคือ the Jakarta Post และ Tempo เพื่อเข้าใจ (ผ่านสื่อ) ต่อสังคมอินโดนีเซียน ซึ่งช่วยได้ในภาพรวม ไม่ได้ทำให้ผู้เขียนตกกระแสสังคมอินโดนีเซียเกินไป  ผู้เขียนได้เคยเอ่ยถึงและนำคำสัมภาษณ์ผู้จัดการในเครือจาการ์ตา โพสต์ลงในคอลัมไปบ้างแล้ว ครั้งนี้จะขอเอ่ยถึงองค์กรสื่อหนึ่งที่ทรงอิทธิพลมากแห่งหนึ่งของอินโดนีเซีย และได้ชื่อว่าเป็นสื่อกระแสหลักแต่เป็นทางเลือกหนึ่งของภาคประชาชนแดนตากาล็อค Tempo (หรือหมายถึง Time) มีสองภาคภาษาคือ ภาคภาษาอินโดนีเซียและภาคภาษาอังกฤษ…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ประชาชนของเขาผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างยาวนานตั้งแต่ ในยุคอาณานิคมก็ถูกกดขี่จากอาณานิคม สเปน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เสร็จจากยุคอาณานิคมก็มาเจอยุคเผด็จการเบ็ดเสร็จภายใต้รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินัน มาร์กอสผู้ล่วงลับ จากยุคเผด็จการดันมาเจอยุคประชาธิปไตยลวงและการคอรัปชั่นอย่างหนักหน่วงในรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดา และเพิ่งจะมีเหตุการณ์ประท้วงไปหมาดๆ เพื่อขับไล่ประธานาธิบดีอาร์โรโย ที่แปดเปื้อนด้วยการคอรัปชั่น ประชาชนชาวฟิลิปปินส์จึงมีประวัติศาสตร์การต่อสู้กับอำนาจที่ไม่เป็นธรรมมาโดยตลอด…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
    ยังคิดถึงแฟนคอลัมน์อยู่เสมอนะคะ และที่หายด้วยภารกิจบางอย่างและกำลังเตรียมหาข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับแดนอิเหนาและตากาล็อคมาฝากผู้อ่านอยู่นะคะ อย่าเพิ่งลืมกันไปก่อน ช่วยให้กำลังใจด้วยนะคะ แต่สัปดาห์นี้ก็ยังไม่มีเรื่องของอิเหนาและตากาล็อคมาให้อ่านนะคะ เพราะเห็นว่าสถานการณ์ข้าวยากหมากแพงกำลังวิกฤตในโลกเรา มีหลายประเทศที่ประสบปัญหาข้าวขึ้นราคาและขาดแคลนข้าว อย่างเร็วๆ นี้ฟิลิปปินส์แดนตากาล็อคก็มีข้าวว่า รัฐบาลต้องหาข้าวราคาถูกให้กับคนยากจนในประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่นักหากสื่อไม่เอามาพูดก็จะไม่มีใครทราบว่า ความจริงแล้วที่ฟิลิปปินส์ในพื้นที่ที่ห่างไกล…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ภาพจากประชาไทภาพจากวิกิพีเดีย คนสองคนจากต่างดินแดน แต่ “หัวใจ” คล้ายคลึงกัน ยึดมั่นในอุดมการณ์ สร้างความยุติธรรมแก่สังคม ต่อสู้เพื่อคนจนและผู้ด้อยโอกาส ต่อสู้เพื่อสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ นึกถึงคนจนและความยุติธรรมอันดับแรก ห่วงใยและคำนึงถึงตนเองเป็นสิ่งสุดท้ายที่กระทำ มด/ วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์เกิด     2498บ้านเกิด  กรุงเทพฯการศึกษา รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครอบครัวเกิดในครอบครัวคนจีนชนชั้นกลางที่ค่อนข้างมีฐานะ แต่เป็นลูกที่แตกต่าง มีวิญญาณขบถตั้งแต่ศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย เข้าร่วมต่อสู้เพื่อประชาชนในยุค 14 ตุลา ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนมัธยม…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
มีโอกาสต้อนรับเพื่อนชาวอินโดนีเซียที่มาเยือนเมืองไทยเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา  หลังจากที่เธอเสร็จสิ้นภารกิจการงานในกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับมอบหมายจากที่ทำงานแล้ว เธอก็บินตรงไปยังภูเก็ต และแวะเยี่ยมเยือนผู้เขียนที่พังงา ขอเรียกเธอสั้นๆ ว่า ทีน่า เธอเป็นลูกครึ่งจีน-อินโดนีเซีย ทำงานเป็นเลขานุการ  ที่สถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำอินโดนีเซีย แม้ร่างกายจะไม่สมบูรณ์แต่เธอก็ได้รับโอกาส ให้ทำงานในตำแหน่งหน้าที่สำคัญของสถานทูต เธอแสดงให้เห็นว่า ร่างกายไม่ใช่อุปสรรคของการทำงานและขาดความคล่องตัวแต่อย่างใด ตลอดเวลาสิบกว่าปีในการทำงาน เธอได้รับมอบหมายให้ไปดูงานต่างแดนหลายประเทศ เช่น อียิปต์…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
เพื่อนสาวชาวมาเลย์ชื่นชมและคลั่งไคล้ในตัวกวีผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศอินโดนีเซีย เป็นฮีโร่ของเธอเลยทีเดียว ถึงกับนำชื่อของเขาไปตั้งเป็นชื่อลูกชายคนโต ผู้เขียนคาดเดาว่า กวีผู้นี้คงมีอิทธิพลทางด้านวิถีชีวิตที่อิสระเสรี ผู้เชื่อในสัญชาตญาณดิบของมนุษย์ ที่ใฝ่หาเสรีภาพ และคงมีอิทธิพลครอบงำเพื่อนสาวไม่น้อย เพราะเธอแม้จะเป็นมุสลิม แต่แหกกฎหลายอย่างที่หญิงชาวมุสลิมถูกกำหนดให้กระทำ แม้กระทั่งเรื่องหัวใจ ที่เธอปล่อยให้มันอิสระเสรีอย่างที่มนุษย์คนหนึ่งอยากจะเป็นกวีผู้ยิ่งใหญ่คนนี้คือ Chairil Anwar เขาถูกจำกัดความว่าเป็นกวีที่ใช้คำได้สวยงาม แต่ทว่ามีอิทธิพลอย่างรุนแรงกับผู้อ่าน…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
หายไปหลายอาทิตย์เพราะอาการเจ็บไข้และติดพันภารกิจการงาน กลับมาไม่นาน ได้ทราบข่าวจากเพื่อนสื่อชาวอินโดนีเซียว่า ผู้อาวุโสนักต่อสู้เพื่อสื่อเสรีและวิทยุชุมชนคนสำคัญคนหนึ่งของอินโดนีเซีย เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งผู้เขียนไม่อยากจะเชื่อว่าท่านจะไปเร็วด้วยโรคร้าย แม้ว่าอายุอานามของท่านจะ 70 กว่าๆ แล้ว แต่สมองของท่านเฉียบยังคมดีอยู่ ร่างกายแข็งแรง ปราดเปรียวเคลื่อนไหวคล่องตัวไม่เหมือนคนอายุ 70 ทั่วไป ทั้งยังท่วงท่าสง่างาม หลังไม่ค้อม เดินเหินคล่องแคล่ว สำคัญคือ ท่านลดอายุด้วยเสื้อผ้าที่สวมใส่ ขนาดวัยรุ่นยังอาย เพราะอินเทรนด์ ตลอดเวลา ผมและหนวดขาว ไม่ทำให้รู้สึกว่าท่านอายุเกิน 70 แล้ว…