Skip to main content

ครั้งก่อนพูดถึง Tempo ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า สังคมอินโดนีเซียเป็นสังคม แห่งการเรียนรู้ และลึกซึ้งทางด้านภูมิปัญญา

ไม่ง่ายนักที่ในเมืองหลวงแห่งหนึ่งจะมีองค์กรสื่อที่สามารถสร้างสื่อกระแสหลัก และสื่อทางเลือก แสดงจุดยืนของตนเองมานานนับยี่สิบปี และคาดว่าจะเจริญก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ ทั้งตัวองค์กรและตัวความคิด ไม่ใช่สื่อประเภท ม้าตีนต้น ที่เปิดตัวแบบผู้มีอุดมการณ์ทางความคิด ก้าวล้ำนำสังคม แต่เมื่อหนังสือพิมพ์เริ่มดัง หรือรายการดังติดลมบน ความคิดก็เบี่ยงเบนไปทางรักษาพื้นที่ทางเศรษฐกิจมากกว่า การรักษาจุดยืนทางความคิด ผิดกับสังคมอินโดนีเซียที่สื่อของพวกเขาแสดงจุดยืนอย่างมั่นคง สื่อตลาดก็ว่าไปตามเนื้อผ้า แต่ถ้าฉันเป็นสื่อที่เน้นความคิดแนวหนึ่งที่ควรมีที่อยู่ที่ยืนในสังคม ก็จะดำรงจุดยืนของตน ไม่แกว่งไกว

สังคมอินโดนีเซียจึงเป็นสังคมอุดมปัญญา มีปัญญาชนให้น่านับถืออยู่หลายกลุ่ม และแม้ว่าจะถูกอำนาจรัฐพยายามดึงเครื่องไม้เครื่องมือมาตัดกำลังความมีเสรีภาพของสื่อ แม้จะสิ้นยุคเผด็จการไปแล้ว แต่บรรดาสื่อปัญญาชนก็รวมตัวกันอย่างรวดเร็วและเหนียวแน่นเพื่อต่อสู้กับกระบวนการทำลายเสรีภาพของสื่อ


เมื่อพูดถึงสื่อท้องถิ่น หรือสื่อต่างจังหวัด ที่ไม่ใช่ผลิตขึ้นในกรุงเทพฯ และไม่ใช่สื่อส่งขายไปทั่วประเทศ แต่เป็นหนังสือพิมพ์ที่ผลิตและพิมพ์ขายในจังหวัดนั้นๆ จินตภาพต่อสื่อท้องถิ่นหรือหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นคือ หนังสือพิมพ์ไร้คุณภาพ เน้นวางตลาดในวันหวยออก และชเลียร์กับนักการเมืองท้องถิ่น

หากพูดถึงในบริบทนั้น สื่อท้องถิ่นในอินโดนีเซียแทบจะเรียกว่า สื่อท้องถิ่นไปไม่ได้เลยทีเดียว อินโดนีเซียได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีดินแดนกว้างใหญ่ มีหมู่เกาะน้อยใหญ่ถึง 17,000 เกาะ และมีเกาะใหญ่ถึง 5 เกาะ สุมาตรา ชวา กาลิมันตัน สุลาเวสี และอิเรียน จายา และมีภาษาถิ่น (direct language) มากถึง 701 ภาษา แบ่งเป็น ที่สุมาตรา 52, กาลิมันตัน 81, สุลาเวสี 116, ชวาและบาหลี 17, ภาษาจีนต่างๆ เช่นฮกเกียน แมนดาริน ฯลฯ, นูซา ตังกาลา 60, มาลูกุ 128, และอิเรียน จายา 2471 มีประชากร 230 ล้านคน ตัวเลขหนังสือพิมพ์รายวันที่ขายทั่วประเทศ (วันละ) 5 ล้านฉบับ ซึ่งคนอินโดนีเซียมองว่า ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร

แต่ในมุมมองของผู้เขียนมองว่า เพราะความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมของอินโดนีเซีย และดินแดนที่กว้างใหญ่ ไม่ได้ทำให้ประชาชนของอินโดนีเซีย ตกอยู่ภายใต้การครอบงำทางการตลาดหรือทางความคิดของสื่อกระแสหลัก (ที่ผลิตและกระจายไปทั่วประเทศจากเมืองหลวงจาการ์ตา) เพียงอย่างเดียว เป็นการสร้างสมดุลย์ของบรรยากาศความคิดระหว่างสื่อกระแสหลักและสื่อท้องถิ่น เพราะในแต่ละพื้นที่แต่ละจังหวัดในอินโดนีเซียมีหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น (ขนาดใหญ่) และมีอายุยืนยาวนาน ตั้งแต่ 50-100 ปีเลยทีเดียว ฉะนั้นจึงบอกได้ว่า อายุยืนยาวขนาดนี้สื่อได้สร้างวัฒนธรรมบางอย่างและสร้างสำนึกแบบท้องถิ่นนั้นๆ ให้กับชุมชน อย่างปฏิเสธไม่ได้เลยทีเดียว


ยกตัวอย่างเช่น ในชวากลางมี Kadaulatan Rakyat สำนักพิมพ์อยู่ในเมือง ยอกยาการ์ตา มีหนังสือพิมพ์ในเครือถึง 2 ฉบับ และนิตยสารวัยรุ่น 1 ฉบับ มีนักข่าวและบรรณาธิการรวมทั้งหมด 100 คน ในสุมาตราเหนือ ที่จังหวัดเมดานมี Waspada มีหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับ มีนักข่าวและบรรณาธิการ 50 คน มีสำนักพิมพ์สาขาในจังหวัดอาเจะห์อีกหนึ่งสาขา และมีเกาะสุมาตรามีหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นติดอันดับหนังสือพิมพ์ขายดีจากการสำรวจของเอเยนซีในเมืองหลวงถึง 3 ฉบับ

18_06_1
สำนักพิมพ์และหนังสือพิมพ์ waspada ในเกาะสุมาตราเหนือ จังหวัดเมดาน เป็นตัวอย่างหนึ่งของสำนักงานหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น มีระบบการบริหารจัดการในระดับมืออาชีพ


แม้แต่ชวาตะวันออก ที่สุราบายา ก็มี Jawa Post ซึ่งแทบจะไม่เรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นแล้ว เพราะเป็นเครือข่ายหนังสือพิมพ์ที่ใหญ่อันดับสองรองจากหนังสือพิมพ์กระแสหลักอย่าง Kompas เพราะมีหนังสือพิมพ์ลูกในแต่ละจังหวัดมากกว่า 100 หัว

ในบาหลี มี Bali Post มีอายุยืนยาวเกือบ 100 ปี นอกจากบาหลี โพสต์แล้วยังมีหนังสือพิมพ์ในเครือ รวมทั้งนิตยสารอีกร่วม 3 ฉบับ และสถานีโทรทัศน์อีกหนึ่งสถานี นอกจากบาหลี โพสต์แล้ว ในเกาะบาหลียังมีหนังสือพิมพ์อีกหลายฉบับแต่อาณาจักรไม่ยิ่งใหญ่เท่า บาหลี โพสต์ เพราะบาหลี โพสต์มีนักข่าวทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์รวมกันเกือบ 200 คน และที่ชาวตะวันตก ที่เมืองบันดุงก็มี Pikiran Rakyat ซึ่งเก่าแก่ถึง 60 ปีมีหนังสือพิมพ์ในเครือ 3 ฉบับ มีนักข่าวร่วม 100 ชีวิต


ในบริบทของอินโดนีเซีย สื่อท้องถิ่นของอินโดนีเซียจึงไม่ไร้พลังอย่างที่คิด ทั้งยังเป็นกลุ่มพลังที่สร้างสมดุลย์กับสังคมหลากหลายของอินโดนีเซีย (หากใช้ในทางที่สร้างสรรค์) และยอดขายในแต่ละวันของหนังสือพิมพ์เหล่านี้ในจังหวัดนั้นๆ วันละ 1 แสนเล่มเป็นอย่างต่ำ



1 Jame J. Fox, Notes on Cultural Diversity in Southeast Asia, Kamanto Sunarto, Russell Hiang-Khng Hen, Achmad Fedyani Saifuddin , Multicultural Education in Indonesia and Southeast Asia: Stepping into the Unfamiliar, Jumal Antropologi Indonesia, 2004, P 15

บล็อกของ กอแก้ว วงศ์พันธุ์

กอแก้ว วงศ์พันธุ์
 ได้หนังสือเล่มนี้มาเกือบสี่ปีจากร้านขายหนังสือ a different bookstore ในแหล่งช้อปปิ้งชื่ออิสต์วูด เมืองลิบิส ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าหากอยากได้หนังสือแปลของนักเขียนเอเชียก็มาที่นี่ได้ เพราะเป็นแหล่งรวมงานเขียนชาวเอเชีย ประเภทประวัติศาสตร์ การเมือง วัฒนธรรมหาได้ง่ายที่สุดแห่งหนึ่งในมนิลา (หวังว่าร้านหนังสือยังไม่เจ๊งไปเสียก่อน)
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ผู้เขียนเคยเข้าพบสัมภาษณ์ผู้บริหารของหนังสือพิมพ์เดอะจาการ์ตาโพสต์ เกี่ยวกับการบริหารงานหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษหนึ่งเดียวในประเทศอินโดนีเซีย ความยากลำบากต่อการอยู่รอด การบริหารงานข่าว ฯลฯ เมื่อห้าปีที่แล้ว จึงขอนำตอนหนึ่งที่น่าสนใจในการพูดคุยกันมาเล่า ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์จาการ์ตา โพสต์ต้องการให้โครงสร้างของบริษัทหรือธุรกิจหนังสือพิมพ์ไม่เป็นที่ผูกขาด หากเป็นของตระกูลใดตระกูลหนึ่ง แน่นอนว่า หนังสือพิมพ์อาจเอนเอียงไปทางใดทางหนึ่งได้ ด้วยวิธีการหลากหลายตั้งแต่การล้อบบี้ การซื้อตัว (เจ้าของสื่อ) การขู่เข็ญ คุกคาม จากบรรดาอำนาจมืดทั้งหลายทั้งปวง
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
หลบเรื่องร้อนทางการเมือง ที่ทำให้หัวใจรุ่มร้อน สับสนอลหม่าน วันนี้เลยเปลือยหัวใจ แบบไร้สี เขียนเรื่องความรักของเพื่อนนักข่าวดีกว่า เป็นความรักข้ามพรมแดนและข้ามศาสนาในดินแดนสวรรค์ "บาหลี" อินโดนีเซีย 
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
เด็กสาวแนะนำตนเองว่าเป็นนักศึกษาฝึกงานกำลังเรียนอยู่คณะนิเทศศาสตร์วิชาเอกหนังสือพิมพ์ จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เธอมักจะหาโอกาสฝึกงานทุกครั้งที่มหาวิทยาลัยปิดภาคเรียน เพื่อทดลองสนามจริงแทนที่จะเรียนแต่ในห้องเรียนเท่านั้น ผู้เขียนเห็นวิญญาณของความเป็นสื่อของเธอแล้ว เธอน่าจะเป็นสื่อมวลชนคุณภาพดาวเด่นดวงหนึ่งในแวดวงสื่อสารมวลชน หากเธอไม่ติดกรอบและถูกครอบงำจากความกลัวบางอย่างที่เธอเองก็มองไม่เห็นในโครงสร้างของสังคมไทย
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ในบ้านเราเรียกหนังสือพิมพ์ออกเป็น 2 ชนิด หนึ่ง คือหนังสือพิมพ์กระแสหลัก สอง หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น หนังสือพิมพ์กระแสหลักก็หมายถึงหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่เช่น เดลินิวส์ ไทยรัฐ มติชน ฯลฯ ซึ่งจัดพิมพ์อยู่ในกรุงเทพฯ และส่งออกไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย นำเสนอข่าวในประเทศและข่าวรอบโลก พิมพ์จำหน่ายเป็นรายวัน ส่วนหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นคือ หนังสือพิมพ์ทิ่ผลิตขึ้นในต่างจังหวัด ขายในจังหวัดนั้นๆ ส่วนใหญ่เป็นหนังสือพิมพ์แทปลอยด์ ข่าวส่วนใหญ่นำเสนอข่าวในท้องถิ่น พิมพ์ไม่กี่ฉบับและไม่เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน อย่างมากก็รายสัปดาห์ หรือรายเดือน ฉะนั้นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ในไทย…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
   สิ่งที่ดีที่สุดของปีนี้สำหรับผู้เขียนคือ "การได้รักใครบางคน" ช่วงเวลามหัศจรรย์ที่เกิดเมื่อไม่นานนัก แต่สัมผัสได้ว่า การได้รัก (อีกครั้ง) มันเกิดพลังสร้างสรรค์ อยากทำในสิ่งที่เป็นบวกแก่คนรอบข้าง และเมื่อความอ่อนโยนอบอุ่นส่งตอบกลับมา ยิ่งก่อความอิ่มเอิบในใจและอิ่มเอมในอารมณ์ยิ่งนัก จากซึมๆ เศร้าๆ ก็กระฉับกระเฉงอย่างบอกไม่ถูก ความต้องการสรรหาแต่สิ่งดีให้แก่ความรัก ตื่นตัวตลอดเวลา...ถือว่าการได้รักใครบางคน เป็นของสิ่งที่ดีที่สุดและเป็นของขวัญวันปีใหม่ให้กับตัวเอง
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ข่าวการเสียชีวิตของสมาชิกผู้สนับสนุนของกลุ่มการเมืองสองกลุ่มที่ขัดแย้งกันอยู่ขณะนี้ พวกเขาพลีชีพเพราะความเชื่อ ความศรัทธาของพวกเขา ซึ่งเป็นความเชื่อที่บริสุทธิ์ที่เขาแสดงออกต่อสิ่งที่ศรัทธานั้น แต่ไม่มั่นใจว่า พวกเขาเผชิญความรุนแรงถึงขั้นเลวร้ายเช่นนี้ โดยปราศจากแรงขับของความรุนแรงที่สองฝ่ายก่อให้เกิดขึ้น ท่านผู้นำทั้งหลาย ท่านกำลังใช้ความเชื่อ ความศรัทธาของคนเหล่านี้ เพื่อบรรลุเป้าหมาย เกียรติภูมิของท่านผู้นำ ที่ปูด้วยคราบเลือด น้ำตา ของมวลชน ควรภาคภูมิใจล่ะหรือ??? ความเชื่อ ศรัทธาควรเป็นหนทางเพื่อสันติภาพ หากเมื่อใดถูกนำไปสู่ความรุนแรงแล้วไซร้…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ขอเปิดพื้นที่แทนเรื่อง "สื่อ" ชั่วคราว เพื่ออุทิศให้กับแรงงานที่ประสบเหตุเสียชีวิตจากการลักลอบขนย้ายแรงงานที่สังเวยต่อการเมืองในประเทศพม่าและกระบวนการค้ามนุษย์ในไทย อู วิน (นามสมมติ) เคยทำงานเป็นอาสาสมัครขององค์กรคณะกรรมการเพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) เพื่อช่วยเหลือแรงงานพม่าในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิที่จังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่และระนอง โทรมาหาผู้เขียนด้วยน้ำเสียงเศร้าสร้อยในเช้าวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา เขาพูดถึงการเสียชีวิตหมู่ของแรงงานพม่าที่ลักลอบเข้ามาทำงานในเมืองไทย จำนวน 54 ศพ เป็นข่าวเกรียวกราวเมื่อหลายเดือนก่อน…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
  เช้าตรู่วันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนตื่นขึ้นด้วยเสียงโทรศัพท์ของพี่สาวที่โทรหาด้วยน้ำเสียงห่วงใย กลัวว่าจะอยู่ในที่เกิดเหตุ เนื่องจากเธอยังไม่ได้ออกเวรจากการดูแลคนไข้กะกลางคืน จึงได้เห็นข่าวเช้าของการปราบปรามประชาชนที่หน้ารัฐสภาก่อนที่จะรีบโทรมา คาดว่าด้วยวิสัยของผู้เขียนมักจะร่วมในเหตุการณ์ประท้วงอยู่บ่อยครั้ง ครั้งนี้เธอคาดผิด แต่กลับเป็นความดีใจของเธอที่น้องสาวไม่ได้อยู่ที่นั่น แต่เป็นความกังวลสำหรับผู้เขียนแทนเพราะพี่สาวคนที่สองของบ้านกลับเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ประท้วงและติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรตั้งแต่การชุมนุมครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้น…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
นักผจญภัยคนหนึ่งซึ่งเลือกนั่งเรือล่องทะเลผ่านประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักข่าวเทมโปสัมภาษณ์เขาเมื่อเดินทางมาถึงอินโดนีเซียเพื่อนำเรื่องราวของเขาลงในนิตยสารเทมโป หนึ่งในคำถามนั้นให้เขาแสดงความคิดเห็นกับประเทศที่เขาล่องเรือผ่าน ซึ่งมีไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เขาตอบสิ่งที่ดีที่สุดในแต่ละประเทศ ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด แต่ประเทศที่เขาบอกว่าอยู่แล้วสบายใจที่สุดคือ ประเทศอินโดนีเซีย เพราะเป็นประเทศเสรี ผู้คนเป็นมิตร และให้พื้นที่กับคนต่างถิ่นมากกว่าประเทศอื่นๆ ที่เขาผ่านมา ออกจะเห็นด้วยกับนักผจญภัย ....…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ไทยและอินโดนีเซียในระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยอำนาจที่มีความหมายต่อประเทศ ที่มีมายาวนาน และเรารับทราบไม่กว้างขวางมาก เลยลงภาพให้ชมกัน ในแง่ความหลากหลายของศาสนาและชาติพันธุ์นั้น ประเทศอินโดนีเซียยึดเป็นหลักธรรมนูญของประเทศ อินโดนีเซียได้ชื่อว่ามีวัดไทย จำนวนมากตั้งอยู่ทั่วประเทศ ไม่ต่างจากอเมริกา ความเป็นชาตินิยมแบบอินโดนีเซียจึงแตกต่างอย่างมากจากความเป็นชาตินิยมของไทยค่อนข้างมาก  สัญลักษณ์รูปช้างสร้างเป็นที่ระลึกหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินโดนีเซีย
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
แค่ตั้งชื่อก็สะดุ้งเอง แต่แน่ใจว่าต้องใช้ชื่อนี้ เพราะเหตุเกิดที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี ค.ศ. 1946 ค่ะ เป็นกลุ่มทหารปฏิวัติหรือกลุ่มกบฎ นำโดย Gusti Ngurah Rai นายทหารผู้ก่อตั้ง กองทัพปลดปล่อยอิสรภาพจากการรุกรานของประเทศอาณานิคมดัทช์ และญี่ปุ่น เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นถอนทัพออกจากบาหลี ก็เป็นโอกาสให้ดัทช์ เจ้าอาณานิคมเก่าเข้ามาครอบครองบาหลีอีกครั้ง โดยครั้งนี้ต้องการรวมบาหลีเข้ากับอินโดนีเซีย ทหารและประชาชนชาวบาหลี ซึ่งมาจากทั่วทั้งเกาะบาหลี จึงพร้อมใจกันเข้าต่อสู้กับกองทัพดัทช์ ผู้ซึ่งมีกองกำลังพร้อมอาวุธทันสมัย แต่ทหารบาหลีมีเพียงอาวุธของชาวญี่ปุ่น…