Skip to main content

บทความที่แล้ว ผมเสนอว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่ม “พันธมิตรประชาชนเพื่ออะไรก็ตามแต่” ไม่สามารถเรียกว่าด้วยคำหรูๆ เกินจริงอย่าง “อารยะขัดขืน” ได้ หากแต่ควรเรียกว่า “อารยะข่มขืน” น่าจะเหมาะกว่า


และผมได้แปลคำว่า “อารยะข่มขืน” ว่าหมายถึงการ “ข่มขืนที่เนียนๆ” อันหมายถึงการละเมิดขืนใจทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคมที่ดูเหมือนจะถูกกฎหมายและดูเหมือนจะมีอารยะ แต่ที่แท้แล้ว เลวร้ายไม่น้อยกว่าการใช้กำลังบังคับตรงๆ เพราะเป็นการใช้กลอุบายเล่ห์เหลี่ยมหรือกลวิธีที่แนบเนียนแยบคายในการเข้าไปมีสิทธิเหนือร่างกายและจิตใจของผู้อื่น


ส่วนในระดับของสังคมการเมืองนั้น ก็หมายถึงการทำลายล้างระบอบประชาธิปไตยด้วยรูปแบบวิธีการที่ดูเหมือนว่าจะมีอำนาจบางประการที่ไม่ผิดกฎหมายรองรับ ไม่ใช่การนำรถถังออกมายึดอำนาจ ฉีกรัฐธรรมนูญอย่างตรงไปตรงมาแบบเก่า


ตัวอย่างเช่น การนำเสนอโมเดลการเมืองใหม่! 30 : 70 ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนฯ โดยให้สัดส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีจากการเลือกตั้ง 30 เปอร์เซ็นต์ มาจากการสรรหาหรือลากตั้งพวกเดียวกันเองถึง 70 เปอร์เซ็นต์ หลังจากที่เคยทำสำเร็จมาแล้วในส่วนของสมาชิกวุฒิสภาหรือสว. ที่พันธมิตรฯ สามารถนำพรรคพวกของตัวเองเข้าไปนั่งในสภาได้โดยไม่กระดาก


ข้อเสนอ 30 : 70 แสดงให้เห็นถึงความคิดรวบยอดและธาตุแท้ของคนกลุ่มนี้ว่ามีแนวคิด ความต้องการ และอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างไร


น่าเสียดายที่พันธมิตรประชาชนฯ ไม่สามารถใช้วิกฤติการเมืองที่เกิดขึ้นนำเสนอทางเลือกที่น่าสนใจที่ “ใหม่” และ “ก้าวหน้า” เพื่อเป็นทางเลือกแท้จริงให้แก่ประชาชนได้ดีกว่านี้ ทั้งที่ลงทุนปิดถนนประท้วงเป็นแรมเดือน ทุ่มเททุนหมดหน้าตัก แต่กลับเสนออะไรที่ไม่เข้าท่าน่าผิดหวัง ซึ่งเป็นการประจานตนเองมากกว่าอะไรอื่น หลายคนได้วิพากษ์วิจารณ์ไปแล้วว่าโมเดลการเมืองของพันธมิตรฯ “ล้าหลัง” และ “เก่า” และแย่เพียงใด


ผมเพียงแต่อยากจะย้ำให้เห็นว่านี่เป็นข้อเสนอของพวกฝ่ายขวาจัด ที่ชอบขายสินค้ายี่ห้อ ”คุณธรรม จริยธรรม” และเชื่อว่าการเมืองควรจะเป็นเรื่องของผู้ดีหรือของอภิสิทธิชนเท่านั้น และนี่เป็นการข่มขืนประชาธิปไตยแบบมีอารยะของกลุ่มพันธมิตร


พันธมิตรฯ สามารถยกข้อกฎหมายมารับรองการกระทำของตนเองได้ทั้งสิ้น แม้ว่าการชุมนุมของคนกลุ่มนี้จะสร้างความเดือดร้อนให้สังคมอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นภาพลักษณ์โดยรวมของประเทศหรือความเดือดร้อนที่เกิดแก่ชีวิตปกติของคนที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย อย่างเช่น เด็กนักเรียนหรือคนทำงานที่ต้องอาศัยถนนในการเดินทาง


กลุ่มพันธมิตรฯ มองเห็นความเดือดร้อนของผู้อื่นเป็นเรื่องเล็กในขณะที่ความต้องการของตนเองเป็นเรื่องใหญ่ และถูกต้องอยู่เสมอ อีกทั้งทำให้คนที่ “คิดต่าง” กลายเป็นคนผิดหรือปีศาจไป อย่างไรก็ตาม ต้องขอชมเชยนักเรียนและครูอาจารย์จากโรงเรียนราชวินิตที่ไม่ยอมให้พันธมิตรฯ ใช้วาทกรรมในนาม “อารยะ” ทำการ “ข่มขืน”


นักเรียนราชวินิตคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการปิดถนนหน้าทำเนียบของกลุ่มพันธมิตร ฯ ได้ระบายความรู้สึกนึกคิดได้อย่างกินใจดุเดือดได้อารมณ์ไว้ในเว็บไซต์แห่งหนึ่งว่า


ในฐานะรุ่นพี่คนหนึ่งและเป็นคณะกรรมการนักเรียน หนูขอพูดจากใจนักเรียนเลยนะคะ และเพื่อนๆ ในห้องเกือบ 50 คนว่าทำไมถึงไม่อยากให้มีการชุมนุม คุณจะชุมนุมหรือไม่ชุมนุมก็เป็นสิทธิ์ของคุณ หนูไม่มีสิทธิ์ห้าม แต่การที่ทำให้คนอื่นเดือนร้อน ส่งเสียง กลิ่นเหม็น และคำหยาบคายที่กรอกหูทุกๆ วัน ทั้งเวลาเรียนและเวลาพัก หรือเวลาหนูหรือเพื่อนหนูเดินมาผ่านตรงนั้น พวกคุณแซวพวกหนูเสียๆ หายๆ แล้วคุณไปอ้างกับศาลว่ากลัวความไม่ปลอดภัยของผู้ชุมนุม พวกผู้ใหญ่บ้าหรือเปล่าคะ แล้วความปลอดภัยของหนูและเพื่อนๆ หนูล่ะ ใครจะรับผิดชอบ


อันนี้ถนนหลวงมีไว้ใช้จราจร ไม่มีป้ายไหนเลยบอกว่าใช้เพื่อการชุมนุม แหกตาอ่านดูหรือเปล่าคะ ใครคนไหนบอกว่าโรงเรียนไม่เห็นด้วย กล้าออกมาดีเบตกับคุณสรยุทธ์ไหม ดิฉันจะนำเพื่อนนักเรียน ม.6 และ ม.5 และรุ่นน้องไป รับรองไม่ต่ำกว่า 500 คน ไม่เกี่ยวกับครูอาจารย์นะ ลองดูว่าเสียงของเด็ก 500 คนนี้จะพอให้พวกคุณเลิกชุมนุมไหม


วันนี้คุณไปยื่นอุทธรณ์ ถามจริงๆ เถอะ อายหมาไหม? ศาลก็ไม่รับแล้ว คุณยังหน้าด้านบอกว่าจะชุมนุมต่อไป มาดูถูกครูนักเรียนโรงเรียนอีกว่ารับเงิน แหกปากอะไรคะ คนแก่ทั้งหลาย วัน ๆ ไม่มีสาระอะไรเลย ด่าแต่คนอื่น ถ้าเราไม่สามัคคีกันน่ะ เทวดาที่ไหนก็แก้ไม่ได้หรอก อีกอย่างนะ วันที่ไปฟ้องตำรวจน่ะ ไม่ได้มีแต่พวกหนู มีคนไปแจ้งความว่าเดือดร้อนเกือบ 2 พันคน คุณยังจะหน้าด้านมาชุมนุมอีกเหรอคะ ทำไมไม่ไปชุมนุมที่ทุ่งนาที่ไม่มีรถ ห่างจากชุมชนโน้นไม่มีใครว่าคุณหรอก แค่นี้แหล่ะ ที่อยากจะระบาย อีกอย่างคนที่บอกว่าเป็นรุ่นพี่ที่ออกมาดูถูกรุ่นน้องของคุณน่ะ อยากจะบอกนะคะว่า เราราชวินิตไม่เคยมีรุ่นพี่นิสัยเหมือนพันธมิตรฯ แบบนี้”

ขอบคุณค่ะ

5/1
ราชวินิต


ดีนะครับ ที่นักเรียนรู้จักปกป้องสิทธิของตนเอง ไม่ยอมให้พันธมิตรฯ ล่วงล้ำลามปามไปมากกว่าที่เป็นอยู่ กระนั้นก็ตาม พันธมิตรฯ ได้ย้ายที่ปิดถนนจากหน้าทำเนียบ มาปิดถนนที่สะพานมัฆวานเหมือนเก่าและยังคงตั้งหน้าตั้งตาดำเนินการ “อารยะข่มขืน” ต่อไป.


บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…