Skip to main content

ผมใส่เครื่องหมายไปยาลน้อยหลังคำว่า “ม็อบพันธมิตร ฯ” ด้วยละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าผู้อ่านแต่ละคนสามารถที่จะเลือกใส่คำต่อท้ายคำว่า “พันธมิตร” ลงไปได้ตามที่เห็นสมควร เพราะรู้สึกกระดากละอายเกินกว่าที่จะเรียกกลุ่มนี้ด้วยชื่อเต็ม ๆ ที่ต่อท้ายด้วยคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”


ครั้งแล้ว ครั้งเล่าที่คนกลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” คือมีแต่ความใจแคบ เอาแต่ใจตนเอง ขาดความอดทนอดกลั้นทางการเมือง ความอดทนอดกลั้นทางการเมืองที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของการอยู่ร่วมกัน (เพราะจะได้ไม่ต้องฆ่ากัน)


นอกจากขาดความอดทนอดกลั้นแล้วกลุ่มพันธมิตร ฯ ยังทำร้ายคนที่คิดเห็นต่างออกไปจากพวกตน โดยไม่สนใจต่อสายตาของสาธารณชนผู้เป็นกลางที่เฝ้ามองอยู่ว่าจะรู้สึกนึกคิดอย่างไรหรือไม่กลัวเลยว่าจะสูญเสียมวลชนที่ยังไม่ตัดสินใจเลือกข้าง พฤติกรรมและบุคลิกแบบนี้มีแต่เผด็จการเท่านั้นที่ทำได้


ใครที่มีความคิดเห็นแตกต่างไปจากม็อบพันธมิตร ฯ จะถูกทำให้กลายเป็นศัตรู/ปิศาจ/คนไม่รู้จริง/รับใช้ทักษิณ/ขายชาติ ฯลฯ ด้วยการโฆษณาชวนเชื่ออันเหลวไหล ปลุกระดมอารมณ์รวมหมู่อย่างบ้าคลั่งมึนเมา


ผมอยากจะพูดถึงกรณีของคุณศรราม เทพพิทักษ์ พระเอกยอดนิยมที่พูดถึงทัศนะของตนเองในเชิงไม่เห็นด้วยเมื่อมีคนถามเกี่ยวกับการชุมนุมของพันธมิตร ฯ


ผมไม่ไปยุ่งกับใครหรอกครับพันธมิตรฯ เดินขบวนอะไรผมไม่ยุ่งหรอก ผมไหว้พระทุกวันขอให้ในหลวงแข็งแรงนะ ใครที่มันทำให้ในหลวงไม่สบายใจ ก็ขอให้คุณพระคุณเจ้าดลจิตดลใจให้มันคิดได้เถอะนะครับ ถ้ามันยังเป็นคนไทย ขอให้มันทำให้ในหลวงอย่าเครียดเลย เราพูดภาษาแบบชาวบ้านนะครับ ผมใช้คำพูดแบบชาวบ้านไปคิดเอาเอง”


คำพูดไม่กี่คำของเขาทำให้กลุ่มพันธมิตร ฯ ไม่พอใจอย่างแรงและรุมโจมตีเขาในรูปแบบต่าง ๆ กระทั่งคุณศรราม เทพพิทักษ์ ต้องแสดงความใจกว้างด้วยการยอมออกมาขอโทษทั้งที่ตนเองไม่ได้ผิดอะไร


หากยอมขอโทษทั้งที่ตนเองไม่ผิดแล้วทำให้ปัญหาจบไป ในบางสถานการณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เสียหาย มิพักต้องเอ่ยถึงว่าอาชีพของคุณศรราม เทพพิทักษ์ นั้นต้องอาศัยความนิยมชมชอบจากประชาชน จึงไม่ใช่เรื่องที่เหลือบ่ากว่าแรงหากจำเป็นต้องขอโทษเพื่อให้เรื่องเงียบหายไปและเพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย ส่วนสิทธิในการวิพากษ์วิจารณ์หรือด่าคนอื่นนั้นสงวนไว้สำหรับพวกพันธมิตร ฯ และเครือข่ายเพียงเท่านั้น


ท่ามกลางความขัดแย้งที่มองไม่เห็นจุดจบ คุณศรราม เทพพิทักษ์ เป็นเหยื่อชิ้นเล็ก ๆ ที่โดนคนพวกนี้เล่นงานได้โดยไม่ต้องลงแรงอะไรมาก แม้ว่าในฐานะของบุคคลสาธารณะ เสียงของคุณศรราม เทพพิทักษ์ อาจจะดัง แต่ที่สุดแล้วก็ถูกกลบให้เงียบหายไปโดยกระแสเสียงของกลุ่มพันธมิตร ฯ


เราสามารถยกตัวอย่างรูปแบบการกระทำของกลุ่มพันธมิตร ฯ ต่อกรณีนี้ได้อย่างเช่น ส่ง SMS ผ่านสื่อโทรทัศน์เพื่อชื่นชมพวกตัวเองและกล่าวหาว่าร้ายคุณศรรามต่าง ๆ นานา หรือการใช้ช่องทางของอินเตอร์เนตที่เครือผู้จัดการมีพร้อมอยู่แล้วรุมกระหน่ำด่าพ่อล่อแม่ หรือใช้วาจาป่าเถื่อนของซ้อเจ็ดแห่งเวบไซต์ผู้จัดการป้ายสีให้เสียหาย คอลัมน์ของซ้อเจ็ดนอกจากจะเขียนในเรื่องบนเตียงราวตาเห็นแล้ว พักหลังซ้อเจ็ดหันมาเขียนเรื่องการเมืองกะเขาด้วย (ช่างเป็นอะไรที่อเนกประสงค์เสียจริง ๆ ซ้อเจ็ดจึงอาจจะเป็นประเภทที่ “ได้หมด”) รวมไปถึงการโห่ร้องขับไล่เวลาที่คุณศรราม เทพพิทักษ์ ไปโชว์ตัว


เราอาจเรียกการกระทำเหล่านี้ได้ว่าเป็นการข่มขืนใจต่อผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่าง เป็นการข่มขืนตามระบอบประชาธิปไตย เป็นการข่มขืนที่ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญปี 50 ที่พวกพันธมิตร ฯ และเครือข่ายร่างมันออกมา


คุณศรราม เทพพิทักษ์ เงียบเสียงไป ในขณะที่ดาราอย่างคุณศรัณยู วงศ์กระจ่าง ที่อยู่ในกลุ่มพันธมิตร ฯ ตั้งหน้าตั้งตาด่าคนอื่นต่อไป เขาบอกว่า


ไม่รู้ ไม่เข้าใจอย่าพูด อย่าเสือกพูดในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้” (น่าสงสัยว่าคงจะมีแต่ดาราอย่างคุณศรัณยู วงศ์กระจ่าง เท่านั้นที่รู้และเข้าใจ การห้ามไม่ให้คนอื่นพูดเพราะหาว่าคนอื่นไม่รู้นั้นเป็นลักษณะของเผด็จการชนชั้นกลางอย่างไม่ต้องสงสัย)


คุณศรัณยู วงศ์กระจ่าง ก็เช่นเดียวกับดารานักร้องหลายคนที่ใช้โอกาสทองของความขัดแย้ง อ้างอวดจิตสำนึกสาธารณะของตนเองด้วยการกระโจนขึ้นเวทีของพันธมิตร ฯ ทำในสิ่งที่ตนเองถนัดนั่นคือ “แสดงละคร” แต่เป็น “ละครเวที” ที่เขียนบทและซักซ้อมมาแล้ว


คุณศรัณยู วงศ์กระจ่าง ขึ้นเวทีพันธมิตร ฯ บ่อย เขาขึ้นไปแสดงภูมิรู้ทางการเมืองเท่าทีเขามี พูดจากับกล้องและประชาชนอย่างเป็นกันเองด้วยมาดของนักการเมือง และร้อง “เพลงแปลง” กระทบกระเทียบ ประชดประชัน เสียดสีนักการเมืองและประชาชนที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม เขาเปลี่ยนบทบาทจากนักแสดงที่เก่งกาจเป็นคนชั้นกลางที่เต็มเปี่ยมไปด้วยจิตสำนึกสาธารณะ!


คุณศรัณยู วงศ์กระจ่าง ยอมทิ้งหล่อ แล้วปล่อยตัวเซอร์ๆ ดูเป็นคนง่าย ๆ เข้ากับประชาชน เขาออกแอ็คชั่นเต็มที่ ทั้งเต้น ร้อง และปราศรัย เรียกได้ว่าเป็นแบบฉบับของนักแสดงคนชั้นกลางที่นอกจากจะประสบความสำเร็จในอาชีพของตนเองแล้ว ยังดูเหมือนว่าจะคิดหรือทำอะไรเพื่อ “ส่วนรวม” อีกด้วย


ผมเชื่อว่าหากจังหวะเวลาเหมาะ คุณศรัณยู วงศ์กระจ่าง คงจะลงสมัครเป็นผู้แทนอย่างแน่นอน ไม่สนามระดับชาติก็สนามท้องถิ่น มันเป็นสูตรสำเร็จไปแล้วว่าหากใครต้องการหาเสียงและต้องการเรียกคะแนนจากชนชั้นกลางในกรุงเทพ ฯ ก็ต้องขึ้นเวทีโจมตีสิ่งที่เรียกว่า “ระบอบทักษิณ” แม้ว่าจะไม่รู้ว่ามันคืออะไรกันแน่ก็ตาม


ใครที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับ “ระบอบทักษิณ” ไม่ว่าจะทางตรงหรืออ้อมหรือทำอะไรที่กลุ่มพันธมิตร ฯ ตีความแล้วว่า “อาจจะ” เป็นการขัดขวางกลุ่มพันธมิตร ฯ ในการจัดการกับ “ระบอบทักษิณ” จะได้รับปฏิกริยาตอบโต้จากกลุ่มพันธมิตร ฯ อย่างเช่นที่คุณศรราม เทพพิทักษ์ โดนข่มขืนใจให้ต้องออกมาขอโทษ.


บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ก่อนอื่นคงต้องขอยอมรับในความสามารถของชัย ราชวัตร ที่สามารถตรึงใจผู้อ่านคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐมายาวนานหลายปีจนกระทั่งถึงปัจจุบันและดูเหมือนว่าสามารถสร้างแฟนการ์ตูนรุ่นใหม่ ๆ ได้ไม่น้อย ความน่าสนใจประการหนึ่งของการ์ตูนคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” อยู่ที่การสร้างบทสนทนาระหว่างตัวการ์ตูนเพียงไม่กี่ประโยค แต่สื่อความหมายได้มากมายเสียยิ่งกว่าบทความที่ยาวเต็มหน้ากระดาษชัย ราชวัตร ใช้วาจาสั้น ๆ ในการเสียดสีหรือวิพากษ์วิจารณ์ถึงสถานการณ์ปัจจุบันหรือบางครั้งเป็นการกล่าวหาใส่ความเกินจริง โดยที่เขาตัวเขาเองไม่ต้องรับผลอันใดจากการกระทำของตนเอง ตัวอย่างเช่นไทยรัฐ, 26…
เมธัส บัวชุม
ครั้งแล้วครั้งเล่าที่ ชัย ราชวัตร แสดงความหยาบของตัวเองผ่านการ์ตูนชุด “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ที่เขียนให้กับหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ไทยรัฐ ชัดเจนอย่างยิ่งตั้งแต่ช่วงวิกฤติการเมืองสมัยทักษิณ ชินวัตร จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ชัย ราชวัตร เอาการเอางานอย่างมากในการใช้ตัวการ์ตูนโจมตีฝ่ายที่ตนเองไม่ชอบ บางครั้งเขาออกอาการก้าวร้าวผิดปกติเมื่อความขัดแย้งทางการเมืองแหลมคม เป็นผลให้การ์ตูนของเขาแตกต่างจากการ์ตูนของคนอื่น ๆ คือเป็นการ์ตูนที่เด็ก ๆ อ่านไม่รู้เรื่องเพราะอ้างอิงกับข้อมูลและความเป็นไปในสถานการณ์ปัจจุบัน อันที่จริงความน่าสนใจของหนังสือการ์ตูนโดยทั่วไปนั้นอยู่ที่การใช้ “ภาพ” เป็นตัวเล่าเรื่อง…
เมธัส บัวชุม
อาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ เพื่อนโทรมาชวนผมไปฟังการสัมมนาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่จัดขึ้นเนื่องในงานธรรมศาสตร์วิชาการ เรื่อง “ก้าวต่อไปของการเมืองภาคประชาชนไทยหลังการเลือกตั้งทั่วไป 2550” เพื่อนบอกว่ามีคุณจาตุรนต์ ฉายแสง คุณจอน อึ๊งภากรณ์ คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นพ.เหวง โตจิราการ คุณรสนา โตสิตระกูลผมได้ยินรายชื่อแล้วรู้สึกสนใจโดยเฉพาะคุณจาตุรนต์ ฉายแสง นักการเมืองคุณภาพที่หาได้ยากยิ่งในแวดวงการเมืองไทยปัจจุบัน แต่สุดท้ายแล้ว ผมก็ผิดหวัง คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ไม่มาร่วมวงสัมมนาแต่อย่างใด คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นำเสนอการวิเคราะห์อย่างเป็นวิชาการ อย่างไรก็ตาม…
เมธัส บัวชุม
คงเป็นเพราะความเชี่ยวชาญส่วนตัวหรือเคยผ่านประสบการณ์เลวร้ายเรื่องยาเสพติดมาก่อน คุณเฉลิม อยู่บำรุง จึงนำเสนอนโยบายปราบปรามยาเสพติดเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งหนึ่งว่าจะจัดการเฉียบขาดต่อพ่อค้า (และแม่ค้า) ยาเสพติดโดยลงโทษรุนแรงคือประหารชีวิต อย่างไรก็ตามคุณเฉลิม อยู่บำรุงไม่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้แทนในครั้งนั้น ดังนั้น นโยบายอันดุดันเรื่องนี้ของคุณเฉลิม  อยู่บำรุงจึงถูกพับเก็บไปการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา นโยบายทางสังคมอย่างเรื่องยาเสพติดและเรื่องอื่น ๆ ไม่ได้ถูกชูขึ้นหาเสียงมากนัก ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหลายโดยมากแล้วจะเน้นเรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจ การสร้างความอยู่ดีกินดี…
เมธัส บัวชุม
การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบัน ทำให้ผมอดไม่ได้ที่จะนึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างเด็ดขาด และได้ผลของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่ถึงแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักสิทธิมนุษยชน แต่ข้อดีอันเป็นรูปธรรมที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือยาเสพติดได้ลดหายไปจากสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน-นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผม “คิดถึง” อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร การเอาจริงเอาจังกับปัญหายาเสพติดของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายเดือดร้อนถูกจับกันถ้วนหน้าทั้งที่ก่อนหน้านี้ซื้อและขายอย่างสะดวกสบายโดยที่รัฐบาลไม่มีปัญญาจะจัดการได้ ผู้ขายยาเสพติดรายใหญ่คนหนึ่งบอกว่า เขาสามารถซื้อตำรวจได้ทั้งจังหวัด…
เมธัส บัวชุม
อาจารย์สมศักดิ์  เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นกลางบางกลุ่มที่เป็นพวก “สองไม่เอา” คือไม่เอาทั้ง “ทักษิณ” และ “ไม่เอารัฐประหาร” จนเป็นประเด็นถกเถียงน่าสนใจทางโลกไซเบอร์นักวิชาการบางคนพยายามที่จะไปให้พ้นจาก “สองไม่เอา” โดยพูดถึง “ทางเลือกที่สาม” แต่ที่สุดก็ไม่สามารถบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม” นั้นคืออะไร การพยายามค้นหาหรือสร้าง “ทางเลือกที่สาม” มีข้อดีในแง่ที่ว่าอาจช่วยเปิดจินตนาการทางการเมืองให้กว้างขึ้นแต่ก็นั่นแหละใครจะบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม”  เป็นอย่างไร  “ทางเลือกที่สาม” มีจริงหรือ ?เมื่อ “ทางเลือกที่สาม” ไม่มีอยู่จริง…
เมธัส บัวชุม
คุณสมัคร  สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน พูดถึง “มือสกปรก” และ “มือที่มองไม่เห็น” ที่พยายามสอดเข้ามาจุ้นจ้านแทรกแซงการเมืองเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล คุณสมัคร สุนทรเวชบอกว่าเป็นมือที่อยู่ “นอกวงการเมือง” เป็นมือที่จะเข้ามาทำลายระบอบประชาธิปไตยเสียงข้างมาก โดยมีความต้องการที่จะขัดขวางพรรคพลังประชาชนไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล“ไอ้มือสกปรกที่อยู่ข้างนอก ที่จะยื่นมาทำให้การเลือกตั้งล้มเหลวนั้น ผมขอแถลงว่า เราต้องทำอย่างนี้ เพื่อรักษาเกียรติยศ เกียรติคุณของ กกต.ไม่ให้ท่านโดยอำนาจมืดมาบีบบังคับ มาทำให้การจัดตั้งรัฐบาลเป็นการเฉไฉ ทั้ง 4 พรรค เราได้ตกลงกันแล้วว่า เราจะดำเนินการตั้งรัฐบาล ซึ่งตั้งได้แน่นอน…
เมธัส บัวชุม
-1-ครั้งที่แล้ว ผมเขียนแสดงความคิดเห็นต่อบทความของศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งเขียนยกย่องว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความสง่างามออกมาสามเรื่องจนทำให้เหมาะกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแต่ถึงเวลานี้ไม่ทราบว่าศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ จะยังเห็นว่าคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีความสง่างามอยู่อีกหรือไม่เพราะหลังจากที่พ่ายแพ้ต่อพรรคพลังประชาชนแล้ว เขาก็ออกอาการที่เรียกได้ว่า "ขี้แพ้ชวนตั้งพรรค"ด้วยแรงหนุนจากบุคคลบางกลุ่ม และองค์กรบางองค์กร ตลอดจนการได้รับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในกรุงเทพมหานครที่มีชัยเหนือพรรคพลังประชาชนพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับสอง…
เมธัส บัวชุม
ผมรู้สึกประหลาดใจ คาดไม่ถึง เหลือเชื่อ รับไม่ได้ ต่อบทความของศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2550  ผมอ่านอย่างตั้งใจทีคำ ทีละประโยค  เมื่ออ่านจบแล้ว ได้แต่ส่ายหัว บ่นงึมงัมอยู่คนเดียวว่านิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เขียนอย่างที่เขียนไปแล้วได้อย่างไร เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า นิธิ  เอียวศรีวงศ์ ในวัยชรา ได้ทำลายตัวเองด้วยการเขียนบทความอันน่าสะอิดสะเอียนเพื่อชื่นชม คุณอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อย่างหน้ามืดตามัว เขาเขียนว่า“คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแสดงความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (…
เมธัส บัวชุม
-1-เป็นที่รู้กันดีว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือกกต.ชุดปัจจุบันซึ่งมีคนอย่าง นางสดศรี สัตยธรรม ผู้ซึ่งดูเหมือนจะชมชอบ “สถาบันทหาร” เป็นพิเศษเป็นคณะกรรมการรวมอยู่ด้วยนั้น เป็นองค์กรที่กล่าวได้ว่าคลอดออกมาจาก “มดลูก” ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ที่ทำการรัฐประหารปล้นชิงอำนาจมาจากประชาชน โดยมีพลเอกสนธิ บุญยรัตนกลิน ผู้ซึ่งนอกจากชอบอ้างเรื่อง “ความมั่นคง” แล้วยังชอบอ้างเรื่อง “คุณธรรม จริยธรรม” แต่ว่ากันว่าจดทะเบียนสมรสซ้อนอย่างน้อยสองครั้งเป็นอดีตประธาน  เป็นที่รู้กันดีว่าจุดประสงค์หลักของคมช.และ “บรรดาลูกๆ”  ทั้งหลายก็คือต้องการทำลายล้าง ถอนรากถอนโคน…
เมธัส บัวชุม
-1-การยึดอำนาจโดยกลุ่มทหาร ที่เรียกตัวเองด้วยชื่อที่ฟังดูคุ้นหูสำหรับคนที่พบเห็นหรือศึกษาเกี่ยวกับการรัฐประหารมาบ้างว่า “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (คปค.) ในวันที่ 19 กันยายน 2549 นั้นถือเป็นฝันร้ายยาวนานสำหรับสังคมการเมืองไทย และเชื่อว่าจะตามหลอกตามหลอนประวัติศาสตร์ของประชาธิปไตยไปตลอดคณะทหารที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเรียกตัวเองเสียใหม่แต่ก็ยังฟังดูคุ้น ๆ อยู่ดีว่า “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” (คมช.) บัดนี้คำว่า “ความมั่นคง” ปรากฏขึ้นอย่างเป็นทางการแล้วในรูปของชื่อเรียกและนับจากนี้เป็นต้นไป วาทกรรม “ความมั่นคง”…
เมธัส บัวชุม
หนังสือที่มีชื่อโดนใจใครหลาย ๆ คนเรื่องนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางทั้งจากคนที่เห็นด้วยและคนที่รับไม่ได้แน่นอนว่าพรรคพลังประชาชนจะต้องถูกอกถูกใจที่มีคนมาช่วย "ด่า" รัฐธรรมนูญปี 2550เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่หัวหน้าพรรคฝีปากกล้าของพลังประชาชนเคยลั่นมาแล้วก่อนหน้านี้ว่า "รัฐธรรมนูญเฮงซวย"นักวิชาการน้อยใหญ่หลายคนเห็นตรงกันโดยไม่จำเป็นต้องทำโพลล์ว่ารัฐธรรมนูญปี 50 นั้นเฮงซวยจริง ๆ ทั้งนี้เพราะมันไม่ตอบโจทย์ที่กำลังเป็นปัญหาของสังคม ไม่ตอบคำถามของคนชั้นกลางที่อยากมีชีวิตมั่นคงภายใต้กระแสของโลกาภิวัฒน์ ทั้งยังไม่ช่วยให้คนระดับล่างมองเห็นอนาคตที่ดีขึ้นในวันข้างหน้าแต่รัฐธรรมนูญเฮงซวยฉบับปี 2550…