Skip to main content

-1-


พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตัวละครการเมืองที่ไม่ยอมลงจากเวที กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "ภาษาไทย พ..พอเพียง" เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ 26 กรกฎาคม ที่จัดขึ้นโดย ราชบัณฑิตยสถาน มูลนิธิรัฐบุรุษฯ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่า


"
ภาษาไทยทำให้คนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ สื่อสารที่ดีต่อกัน ทำให้คนเข้าใจกัน ทำให้คนรักกัน โกรธ หรือเกลียดกัน ทำลายกันก็ได้ พวกเราคนไทยจึงต้องตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย ต้องไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ไม่ฟุ้งเฟื้อจนเกินไป ต้องรักษาและพัฒนาให้ลูกหลานอย่างพอเหมาะ" (มติชน, 27 .. 51, หน้า 13)


จากคำกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีความเข้าใจในพลังความสำคัญของคำพูด ของการใช้ภาษาที่สามารถทำให้คนรัก คนชัง สมานฉันท์หรือแตกแยกได้ และพลเอกเปรมคงตระหนักเป็นอย่างดีว่าคำพูด หรือการใช้ภาษาในลักษณะของการเดินสายพูดยุยง ปลุกปั่น สามารถนำไปสู่การรัฐประหารได้เช่นกัน


คำถามที่เราควรจะถามก็คือ การเดินสายเพื่อ “ใช้ภาษา” ของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่ผ่านมานั้น เป็นการใช้ภาษาเพื่อให้เกิดความโกรธ เกลียด ทำลายกัน หรือทำให้เกิดรัฐประหาร ใช่หรือไม่ ?

-2-


การใช้ภาษาของอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจที่สามารถทำให้คนโกรธเกลียดเคียดแค้น และฆ่ากันได้คือการใช้ภาษาของพวกฟาสซิสม์-ปฏิกริยา-ม็อบพันธมิตร ฯ


ครูภาษาไทยที่เพ้อพกกับความงามของภาษาไทย คงจะอกแตกตายหากได้ยินหรือได้อ่านการใช้ภาษาของคนกลุ่มนี้ เพราะพวกปฏิกริยาทำให้เห็นว่าภาษาไทยนั้นมีศักยภาพล้นเหลือในการจูงใจให้เกิดความเกลียด เคียดแค้น กระทั่งฆ่ากันได้แบบที่ม็อบพันธมิตร ฯ กำลังทำอยู่ ที่ชัดเจนอย่างยิ่งก็คือการใช้ “ปฏิกริยาภาษา” กรณีดา ตอร์ปิโด


การใช้ภาษาของฝ่ายซ้ายในสมัยก่อน หลายคำหากนำมาใช้ในปัจจุบันอาจฟังดูแปร่งแปลก แต่มีความรุ่มรวย ประณีต พิถีพิถัน มีลักษณะเป็นนามธรรมสูง ในขณะที่พวกปฏิกริยาฝ่ายขวาแถวสะพานมัฆวานนั้น “ด่าอย่างเดียว” ยิ่งด่าได้ “แรง” มากเท่าไหร่ก็จะได้รับการยอมรับมากเท่านั้น


การใช้ภาษาของพวกปฏิกริยาม็อบพันธมิตร ฯ นั้นเรียกได้ว่าเข้าใกล้ขั้นสูงสุดแล้ว เกือบจะไปถึงขีดจำกัดของความเลวทรามต่ำช้าที่ภาษาจะชักพาไปได้ นี่นอกจากจะเป็น “ความสามารถของภาษา” แล้ว แน่นอนเป็นความสามารถของผู้พูดด้วย


ลองมาดูว่าพวกพันธมิตรฯ แสดงออกทางภาษาในกรณีของดา ตอร์ปิโด ได้เก่งกาจเพียงใด


ปฎิกริยาภาษาของสนธิ ลิ้มทองกุล “อีนางนี่นอกจากจะต้องติดคุกแล้ว จะต้องเอามันให้ตาย ผมพูดจากตัวผมเองสาบาน อย่าให้กูเจอมึงที่ไหนนะ กูจะตบให้คว่ำเลยอีห่า”


ปฏิกิริยาภาษาของ ศ.ดร. ภูวดล ทรงประเสริฐ “จาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างรุนแรงที่สุด เท่าที่เคยมี คนไทยเคยวิพากษ์วิจารณ์ เคยมุ่งร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เท่ากับคนๆ นี้ เท่าที่ผมเกิดมา เท่าที่ผมศึกษามา ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์กว่า 200 ปี ไม่เคยมีใครวิพากษ์วิจารณ์ จาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์เท่ากับอีนางเปรตตัวนี้...


พี่น้องจงจำไว้ว่า ถ้าหากสถาบันพระมหากษัตริย์ ยังคงถูกลบหลู่จากคนเหล่านี้ โดยที่สำนักงานตำรวจไม่ทำอะไร พี่น้องจงจำไว้ได้เลยภายในเวลาไม่นาน ผมเชื่อว่าแผ่นดินนี้จะลุกเป็นไฟ จากความไม่พอใจที่อีนางกะหรี่ตัวนี้ด่าสถาบันสูงสุดอย่างแน่นอน”


ปฏิกริยาภาษาของ พลเอกปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ “รู้สึกดีใจกับประเทศที่สุด ที่วันนี้มีการจับกุมผู้ซึ่งผมคิดว่า บังอาจที่สุดเท่าที่ผมรับราชการมา ไม่เคยเจอผู้หญิงคนไหนเป็นแบบนี้ คำพูดที่สุภาพ คงใช้กับ ... ผมอยากจะพูดว่ามันเดียรัจฉานดีๆ นี่เอง” (หัวไม้ story, คำนิยมดา ตอร์ปิโด, ปราศรัยโดยกลุ่มพันธมิตร ฯ, http://blogazine.prachatai.com/user/headline/post/1103)


จากตัวอย่างที่ยกมา จะเห็นได้ว่าภาษาของพวก “ปฏิกริยา” นั้นสุดยอดเพียงใด ผู้อ่านจะถูกภาษาลากพาไปจนถึงสุดขอบของจินตนาการของความโกรธเกลียดชิงชัง ซึ่งแน่นอนว่าจินตนาการเหล่านี้เป็นเรื่องไร้เหตุผล


ภาษาของพวกม็อบพันธมิตร ฯ เป็นภาษาที่ไร้เหตุผล เป็นภาษาที่ใช้สำหรับการด่าทอแบบคนที่ไม่ได้รับการขัดเกลาหรือได้รับการอบรมสั่งสอน การใช้ภาษาของคนประเภทเหล่านี้ส่อให้เห็นถึงลักษณะที่ใกล้เคียงกับความเป็นสัตว์อย่างยิ่งในแง่ของการไม่มีวัฒนธรรม


ปฏิกริยาภาษาของม็อบพันธมิตร ฯ มีกลุ่มคำจำนวนมากที่เป็นคำกริยาและคำวิเศษณ์ที่ใช้สำหรับการขยายความและการเร้าอารมณ์จนเกินพอดี หรือเป็นคำเก่าโบร่ำโบราณ เป็นต้นว่า “กูจะตบให้คว่ำเลยอีห่า” ”อย่างบัดซบ อย่างสามานย์ อย่างสถุนที่สุด” “กะหรี่” ฯลฯ


การกล้าใช้คำเหล่านี้ในที่สาธารณะ และออกอากาศไปทั่วประเทศของม็อบพันธมิตรฯ โดยไม่มีใครท้วงติงนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกสำหรับสังคมไทยที่มือถือสาก ปากถือศีล เราลองคิดกันเล่น ๆ สิว่าถ้าท่านายก ฯ สมัคร สุนทรเวช พูดคำเหล่านี้ออกโทรทัศน์ช่อง NBT จะถูกประณามขนาดไหน แต่พอออกมาจากปากของพันธมิตร ฯ กลับ “รับกันได้”


-3-


พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และกลุ่มพันธมิตร ฯ ต่างเข้าใจถึงพลังความสำคัญของการใช้ภาษา การเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 49 และความแตกแยกชิงชังที่เกิดขึ้นทั่วประเทศเป็นประจักษ์พยานว่าคนพวกนี้ “ใช้ภาษา” เพื่ออะไร.


บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ก่อนอื่นคงต้องขอยอมรับในความสามารถของชัย ราชวัตร ที่สามารถตรึงใจผู้อ่านคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐมายาวนานหลายปีจนกระทั่งถึงปัจจุบันและดูเหมือนว่าสามารถสร้างแฟนการ์ตูนรุ่นใหม่ ๆ ได้ไม่น้อย ความน่าสนใจประการหนึ่งของการ์ตูนคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” อยู่ที่การสร้างบทสนทนาระหว่างตัวการ์ตูนเพียงไม่กี่ประโยค แต่สื่อความหมายได้มากมายเสียยิ่งกว่าบทความที่ยาวเต็มหน้ากระดาษชัย ราชวัตร ใช้วาจาสั้น ๆ ในการเสียดสีหรือวิพากษ์วิจารณ์ถึงสถานการณ์ปัจจุบันหรือบางครั้งเป็นการกล่าวหาใส่ความเกินจริง โดยที่เขาตัวเขาเองไม่ต้องรับผลอันใดจากการกระทำของตนเอง ตัวอย่างเช่นไทยรัฐ, 26…
เมธัส บัวชุม
ครั้งแล้วครั้งเล่าที่ ชัย ราชวัตร แสดงความหยาบของตัวเองผ่านการ์ตูนชุด “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ที่เขียนให้กับหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ไทยรัฐ ชัดเจนอย่างยิ่งตั้งแต่ช่วงวิกฤติการเมืองสมัยทักษิณ ชินวัตร จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ชัย ราชวัตร เอาการเอางานอย่างมากในการใช้ตัวการ์ตูนโจมตีฝ่ายที่ตนเองไม่ชอบ บางครั้งเขาออกอาการก้าวร้าวผิดปกติเมื่อความขัดแย้งทางการเมืองแหลมคม เป็นผลให้การ์ตูนของเขาแตกต่างจากการ์ตูนของคนอื่น ๆ คือเป็นการ์ตูนที่เด็ก ๆ อ่านไม่รู้เรื่องเพราะอ้างอิงกับข้อมูลและความเป็นไปในสถานการณ์ปัจจุบัน อันที่จริงความน่าสนใจของหนังสือการ์ตูนโดยทั่วไปนั้นอยู่ที่การใช้ “ภาพ” เป็นตัวเล่าเรื่อง…
เมธัส บัวชุม
อาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ เพื่อนโทรมาชวนผมไปฟังการสัมมนาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่จัดขึ้นเนื่องในงานธรรมศาสตร์วิชาการ เรื่อง “ก้าวต่อไปของการเมืองภาคประชาชนไทยหลังการเลือกตั้งทั่วไป 2550” เพื่อนบอกว่ามีคุณจาตุรนต์ ฉายแสง คุณจอน อึ๊งภากรณ์ คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นพ.เหวง โตจิราการ คุณรสนา โตสิตระกูลผมได้ยินรายชื่อแล้วรู้สึกสนใจโดยเฉพาะคุณจาตุรนต์ ฉายแสง นักการเมืองคุณภาพที่หาได้ยากยิ่งในแวดวงการเมืองไทยปัจจุบัน แต่สุดท้ายแล้ว ผมก็ผิดหวัง คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ไม่มาร่วมวงสัมมนาแต่อย่างใด คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นำเสนอการวิเคราะห์อย่างเป็นวิชาการ อย่างไรก็ตาม…
เมธัส บัวชุม
คงเป็นเพราะความเชี่ยวชาญส่วนตัวหรือเคยผ่านประสบการณ์เลวร้ายเรื่องยาเสพติดมาก่อน คุณเฉลิม อยู่บำรุง จึงนำเสนอนโยบายปราบปรามยาเสพติดเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งหนึ่งว่าจะจัดการเฉียบขาดต่อพ่อค้า (และแม่ค้า) ยาเสพติดโดยลงโทษรุนแรงคือประหารชีวิต อย่างไรก็ตามคุณเฉลิม อยู่บำรุงไม่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้แทนในครั้งนั้น ดังนั้น นโยบายอันดุดันเรื่องนี้ของคุณเฉลิม  อยู่บำรุงจึงถูกพับเก็บไปการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา นโยบายทางสังคมอย่างเรื่องยาเสพติดและเรื่องอื่น ๆ ไม่ได้ถูกชูขึ้นหาเสียงมากนัก ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหลายโดยมากแล้วจะเน้นเรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจ การสร้างความอยู่ดีกินดี…
เมธัส บัวชุม
การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบัน ทำให้ผมอดไม่ได้ที่จะนึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างเด็ดขาด และได้ผลของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่ถึงแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักสิทธิมนุษยชน แต่ข้อดีอันเป็นรูปธรรมที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือยาเสพติดได้ลดหายไปจากสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน-นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผม “คิดถึง” อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร การเอาจริงเอาจังกับปัญหายาเสพติดของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายเดือดร้อนถูกจับกันถ้วนหน้าทั้งที่ก่อนหน้านี้ซื้อและขายอย่างสะดวกสบายโดยที่รัฐบาลไม่มีปัญญาจะจัดการได้ ผู้ขายยาเสพติดรายใหญ่คนหนึ่งบอกว่า เขาสามารถซื้อตำรวจได้ทั้งจังหวัด…
เมธัส บัวชุม
อาจารย์สมศักดิ์  เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นกลางบางกลุ่มที่เป็นพวก “สองไม่เอา” คือไม่เอาทั้ง “ทักษิณ” และ “ไม่เอารัฐประหาร” จนเป็นประเด็นถกเถียงน่าสนใจทางโลกไซเบอร์นักวิชาการบางคนพยายามที่จะไปให้พ้นจาก “สองไม่เอา” โดยพูดถึง “ทางเลือกที่สาม” แต่ที่สุดก็ไม่สามารถบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม” นั้นคืออะไร การพยายามค้นหาหรือสร้าง “ทางเลือกที่สาม” มีข้อดีในแง่ที่ว่าอาจช่วยเปิดจินตนาการทางการเมืองให้กว้างขึ้นแต่ก็นั่นแหละใครจะบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม”  เป็นอย่างไร  “ทางเลือกที่สาม” มีจริงหรือ ?เมื่อ “ทางเลือกที่สาม” ไม่มีอยู่จริง…
เมธัส บัวชุม
คุณสมัคร  สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน พูดถึง “มือสกปรก” และ “มือที่มองไม่เห็น” ที่พยายามสอดเข้ามาจุ้นจ้านแทรกแซงการเมืองเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล คุณสมัคร สุนทรเวชบอกว่าเป็นมือที่อยู่ “นอกวงการเมือง” เป็นมือที่จะเข้ามาทำลายระบอบประชาธิปไตยเสียงข้างมาก โดยมีความต้องการที่จะขัดขวางพรรคพลังประชาชนไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล“ไอ้มือสกปรกที่อยู่ข้างนอก ที่จะยื่นมาทำให้การเลือกตั้งล้มเหลวนั้น ผมขอแถลงว่า เราต้องทำอย่างนี้ เพื่อรักษาเกียรติยศ เกียรติคุณของ กกต.ไม่ให้ท่านโดยอำนาจมืดมาบีบบังคับ มาทำให้การจัดตั้งรัฐบาลเป็นการเฉไฉ ทั้ง 4 พรรค เราได้ตกลงกันแล้วว่า เราจะดำเนินการตั้งรัฐบาล ซึ่งตั้งได้แน่นอน…
เมธัส บัวชุม
-1-ครั้งที่แล้ว ผมเขียนแสดงความคิดเห็นต่อบทความของศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งเขียนยกย่องว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความสง่างามออกมาสามเรื่องจนทำให้เหมาะกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแต่ถึงเวลานี้ไม่ทราบว่าศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ จะยังเห็นว่าคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีความสง่างามอยู่อีกหรือไม่เพราะหลังจากที่พ่ายแพ้ต่อพรรคพลังประชาชนแล้ว เขาก็ออกอาการที่เรียกได้ว่า "ขี้แพ้ชวนตั้งพรรค"ด้วยแรงหนุนจากบุคคลบางกลุ่ม และองค์กรบางองค์กร ตลอดจนการได้รับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในกรุงเทพมหานครที่มีชัยเหนือพรรคพลังประชาชนพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับสอง…
เมธัส บัวชุม
ผมรู้สึกประหลาดใจ คาดไม่ถึง เหลือเชื่อ รับไม่ได้ ต่อบทความของศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2550  ผมอ่านอย่างตั้งใจทีคำ ทีละประโยค  เมื่ออ่านจบแล้ว ได้แต่ส่ายหัว บ่นงึมงัมอยู่คนเดียวว่านิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เขียนอย่างที่เขียนไปแล้วได้อย่างไร เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า นิธิ  เอียวศรีวงศ์ ในวัยชรา ได้ทำลายตัวเองด้วยการเขียนบทความอันน่าสะอิดสะเอียนเพื่อชื่นชม คุณอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อย่างหน้ามืดตามัว เขาเขียนว่า“คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแสดงความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (…
เมธัส บัวชุม
-1-เป็นที่รู้กันดีว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือกกต.ชุดปัจจุบันซึ่งมีคนอย่าง นางสดศรี สัตยธรรม ผู้ซึ่งดูเหมือนจะชมชอบ “สถาบันทหาร” เป็นพิเศษเป็นคณะกรรมการรวมอยู่ด้วยนั้น เป็นองค์กรที่กล่าวได้ว่าคลอดออกมาจาก “มดลูก” ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ที่ทำการรัฐประหารปล้นชิงอำนาจมาจากประชาชน โดยมีพลเอกสนธิ บุญยรัตนกลิน ผู้ซึ่งนอกจากชอบอ้างเรื่อง “ความมั่นคง” แล้วยังชอบอ้างเรื่อง “คุณธรรม จริยธรรม” แต่ว่ากันว่าจดทะเบียนสมรสซ้อนอย่างน้อยสองครั้งเป็นอดีตประธาน  เป็นที่รู้กันดีว่าจุดประสงค์หลักของคมช.และ “บรรดาลูกๆ”  ทั้งหลายก็คือต้องการทำลายล้าง ถอนรากถอนโคน…
เมธัส บัวชุม
-1-การยึดอำนาจโดยกลุ่มทหาร ที่เรียกตัวเองด้วยชื่อที่ฟังดูคุ้นหูสำหรับคนที่พบเห็นหรือศึกษาเกี่ยวกับการรัฐประหารมาบ้างว่า “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (คปค.) ในวันที่ 19 กันยายน 2549 นั้นถือเป็นฝันร้ายยาวนานสำหรับสังคมการเมืองไทย และเชื่อว่าจะตามหลอกตามหลอนประวัติศาสตร์ของประชาธิปไตยไปตลอดคณะทหารที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเรียกตัวเองเสียใหม่แต่ก็ยังฟังดูคุ้น ๆ อยู่ดีว่า “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” (คมช.) บัดนี้คำว่า “ความมั่นคง” ปรากฏขึ้นอย่างเป็นทางการแล้วในรูปของชื่อเรียกและนับจากนี้เป็นต้นไป วาทกรรม “ความมั่นคง”…
เมธัส บัวชุม
หนังสือที่มีชื่อโดนใจใครหลาย ๆ คนเรื่องนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางทั้งจากคนที่เห็นด้วยและคนที่รับไม่ได้แน่นอนว่าพรรคพลังประชาชนจะต้องถูกอกถูกใจที่มีคนมาช่วย "ด่า" รัฐธรรมนูญปี 2550เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่หัวหน้าพรรคฝีปากกล้าของพลังประชาชนเคยลั่นมาแล้วก่อนหน้านี้ว่า "รัฐธรรมนูญเฮงซวย"นักวิชาการน้อยใหญ่หลายคนเห็นตรงกันโดยไม่จำเป็นต้องทำโพลล์ว่ารัฐธรรมนูญปี 50 นั้นเฮงซวยจริง ๆ ทั้งนี้เพราะมันไม่ตอบโจทย์ที่กำลังเป็นปัญหาของสังคม ไม่ตอบคำถามของคนชั้นกลางที่อยากมีชีวิตมั่นคงภายใต้กระแสของโลกาภิวัฒน์ ทั้งยังไม่ช่วยให้คนระดับล่างมองเห็นอนาคตที่ดีขึ้นในวันข้างหน้าแต่รัฐธรรมนูญเฮงซวยฉบับปี 2550…