Skip to main content

-1-


พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตัวละครการเมืองที่ไม่ยอมลงจากเวที กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "ภาษาไทย พ..พอเพียง" เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ 26 กรกฎาคม ที่จัดขึ้นโดย ราชบัณฑิตยสถาน มูลนิธิรัฐบุรุษฯ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่า


"
ภาษาไทยทำให้คนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ สื่อสารที่ดีต่อกัน ทำให้คนเข้าใจกัน ทำให้คนรักกัน โกรธ หรือเกลียดกัน ทำลายกันก็ได้ พวกเราคนไทยจึงต้องตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย ต้องไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ไม่ฟุ้งเฟื้อจนเกินไป ต้องรักษาและพัฒนาให้ลูกหลานอย่างพอเหมาะ" (มติชน, 27 .. 51, หน้า 13)


จากคำกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีความเข้าใจในพลังความสำคัญของคำพูด ของการใช้ภาษาที่สามารถทำให้คนรัก คนชัง สมานฉันท์หรือแตกแยกได้ และพลเอกเปรมคงตระหนักเป็นอย่างดีว่าคำพูด หรือการใช้ภาษาในลักษณะของการเดินสายพูดยุยง ปลุกปั่น สามารถนำไปสู่การรัฐประหารได้เช่นกัน


คำถามที่เราควรจะถามก็คือ การเดินสายเพื่อ “ใช้ภาษา” ของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่ผ่านมานั้น เป็นการใช้ภาษาเพื่อให้เกิดความโกรธ เกลียด ทำลายกัน หรือทำให้เกิดรัฐประหาร ใช่หรือไม่ ?

-2-


การใช้ภาษาของอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจที่สามารถทำให้คนโกรธเกลียดเคียดแค้น และฆ่ากันได้คือการใช้ภาษาของพวกฟาสซิสม์-ปฏิกริยา-ม็อบพันธมิตร ฯ


ครูภาษาไทยที่เพ้อพกกับความงามของภาษาไทย คงจะอกแตกตายหากได้ยินหรือได้อ่านการใช้ภาษาของคนกลุ่มนี้ เพราะพวกปฏิกริยาทำให้เห็นว่าภาษาไทยนั้นมีศักยภาพล้นเหลือในการจูงใจให้เกิดความเกลียด เคียดแค้น กระทั่งฆ่ากันได้แบบที่ม็อบพันธมิตร ฯ กำลังทำอยู่ ที่ชัดเจนอย่างยิ่งก็คือการใช้ “ปฏิกริยาภาษา” กรณีดา ตอร์ปิโด


การใช้ภาษาของฝ่ายซ้ายในสมัยก่อน หลายคำหากนำมาใช้ในปัจจุบันอาจฟังดูแปร่งแปลก แต่มีความรุ่มรวย ประณีต พิถีพิถัน มีลักษณะเป็นนามธรรมสูง ในขณะที่พวกปฏิกริยาฝ่ายขวาแถวสะพานมัฆวานนั้น “ด่าอย่างเดียว” ยิ่งด่าได้ “แรง” มากเท่าไหร่ก็จะได้รับการยอมรับมากเท่านั้น


การใช้ภาษาของพวกปฏิกริยาม็อบพันธมิตร ฯ นั้นเรียกได้ว่าเข้าใกล้ขั้นสูงสุดแล้ว เกือบจะไปถึงขีดจำกัดของความเลวทรามต่ำช้าที่ภาษาจะชักพาไปได้ นี่นอกจากจะเป็น “ความสามารถของภาษา” แล้ว แน่นอนเป็นความสามารถของผู้พูดด้วย


ลองมาดูว่าพวกพันธมิตรฯ แสดงออกทางภาษาในกรณีของดา ตอร์ปิโด ได้เก่งกาจเพียงใด


ปฎิกริยาภาษาของสนธิ ลิ้มทองกุล “อีนางนี่นอกจากจะต้องติดคุกแล้ว จะต้องเอามันให้ตาย ผมพูดจากตัวผมเองสาบาน อย่าให้กูเจอมึงที่ไหนนะ กูจะตบให้คว่ำเลยอีห่า”


ปฏิกิริยาภาษาของ ศ.ดร. ภูวดล ทรงประเสริฐ “จาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างรุนแรงที่สุด เท่าที่เคยมี คนไทยเคยวิพากษ์วิจารณ์ เคยมุ่งร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เท่ากับคนๆ นี้ เท่าที่ผมเกิดมา เท่าที่ผมศึกษามา ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์กว่า 200 ปี ไม่เคยมีใครวิพากษ์วิจารณ์ จาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์เท่ากับอีนางเปรตตัวนี้...


พี่น้องจงจำไว้ว่า ถ้าหากสถาบันพระมหากษัตริย์ ยังคงถูกลบหลู่จากคนเหล่านี้ โดยที่สำนักงานตำรวจไม่ทำอะไร พี่น้องจงจำไว้ได้เลยภายในเวลาไม่นาน ผมเชื่อว่าแผ่นดินนี้จะลุกเป็นไฟ จากความไม่พอใจที่อีนางกะหรี่ตัวนี้ด่าสถาบันสูงสุดอย่างแน่นอน”


ปฏิกริยาภาษาของ พลเอกปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ “รู้สึกดีใจกับประเทศที่สุด ที่วันนี้มีการจับกุมผู้ซึ่งผมคิดว่า บังอาจที่สุดเท่าที่ผมรับราชการมา ไม่เคยเจอผู้หญิงคนไหนเป็นแบบนี้ คำพูดที่สุภาพ คงใช้กับ ... ผมอยากจะพูดว่ามันเดียรัจฉานดีๆ นี่เอง” (หัวไม้ story, คำนิยมดา ตอร์ปิโด, ปราศรัยโดยกลุ่มพันธมิตร ฯ, http://blogazine.prachatai.com/user/headline/post/1103)


จากตัวอย่างที่ยกมา จะเห็นได้ว่าภาษาของพวก “ปฏิกริยา” นั้นสุดยอดเพียงใด ผู้อ่านจะถูกภาษาลากพาไปจนถึงสุดขอบของจินตนาการของความโกรธเกลียดชิงชัง ซึ่งแน่นอนว่าจินตนาการเหล่านี้เป็นเรื่องไร้เหตุผล


ภาษาของพวกม็อบพันธมิตร ฯ เป็นภาษาที่ไร้เหตุผล เป็นภาษาที่ใช้สำหรับการด่าทอแบบคนที่ไม่ได้รับการขัดเกลาหรือได้รับการอบรมสั่งสอน การใช้ภาษาของคนประเภทเหล่านี้ส่อให้เห็นถึงลักษณะที่ใกล้เคียงกับความเป็นสัตว์อย่างยิ่งในแง่ของการไม่มีวัฒนธรรม


ปฏิกริยาภาษาของม็อบพันธมิตร ฯ มีกลุ่มคำจำนวนมากที่เป็นคำกริยาและคำวิเศษณ์ที่ใช้สำหรับการขยายความและการเร้าอารมณ์จนเกินพอดี หรือเป็นคำเก่าโบร่ำโบราณ เป็นต้นว่า “กูจะตบให้คว่ำเลยอีห่า” ”อย่างบัดซบ อย่างสามานย์ อย่างสถุนที่สุด” “กะหรี่” ฯลฯ


การกล้าใช้คำเหล่านี้ในที่สาธารณะ และออกอากาศไปทั่วประเทศของม็อบพันธมิตรฯ โดยไม่มีใครท้วงติงนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกสำหรับสังคมไทยที่มือถือสาก ปากถือศีล เราลองคิดกันเล่น ๆ สิว่าถ้าท่านายก ฯ สมัคร สุนทรเวช พูดคำเหล่านี้ออกโทรทัศน์ช่อง NBT จะถูกประณามขนาดไหน แต่พอออกมาจากปากของพันธมิตร ฯ กลับ “รับกันได้”


-3-


พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และกลุ่มพันธมิตร ฯ ต่างเข้าใจถึงพลังความสำคัญของการใช้ภาษา การเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 49 และความแตกแยกชิงชังที่เกิดขึ้นทั่วประเทศเป็นประจักษ์พยานว่าคนพวกนี้ “ใช้ภาษา” เพื่ออะไร.


บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมใส่เครื่องหมายไปยาลน้อยหลังคำว่า “ม็อบพันธมิตร ฯ” ด้วยละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าผู้อ่านแต่ละคนสามารถที่จะเลือกใส่คำต่อท้ายคำว่า “พันธมิตร” ลงไปได้ตามที่เห็นสมควร เพราะรู้สึกกระดากละอายเกินกว่าที่จะเรียกกลุ่มนี้ด้วยชื่อเต็ม ๆ ที่ต่อท้ายด้วยคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ครั้งแล้ว ครั้งเล่าที่คนกลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” คือมีแต่ความใจแคบ เอาแต่ใจตนเอง ขาดความอดทนอดกลั้นทางการเมือง ความอดทนอดกลั้นทางการเมืองที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของการอยู่ร่วมกัน (เพราะจะได้ไม่ต้องฆ่ากัน) นอกจากขาดความอดทนอดกลั้นแล้วกลุ่มพันธมิตร ฯ…
เมธัส บัวชุม
บทความที่แล้ว ผมเสนอว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่ม “พันธมิตรประชาชนเพื่ออะไรก็ตามแต่” ไม่สามารถเรียกว่าด้วยคำหรูๆ เกินจริงอย่าง “อารยะขัดขืน” ได้ หากแต่ควรเรียกว่า “อารยะข่มขืน” น่าจะเหมาะกว่า และผมได้แปลคำว่า “อารยะข่มขืน” ว่าหมายถึงการ “ข่มขืนที่เนียนๆ” อันหมายถึงการละเมิดขืนใจทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคมที่ดูเหมือนจะถูกกฎหมายและดูเหมือนจะมีอารยะ แต่ที่แท้แล้ว เลวร้ายไม่น้อยกว่าการใช้กำลังบังคับตรงๆ เพราะเป็นการใช้กลอุบายเล่ห์เหลี่ยมหรือกลวิธีที่แนบเนียนแยบคายในการเข้าไปมีสิทธิเหนือร่างกายและจิตใจของผู้อื่น ส่วนในระดับของสังคมการเมืองนั้น…
เมธัส บัวชุม
เพื่อให้เห็นภาพและเกิดความชัดเจน เป็นความเหมาะสมที่เราจะเทียบเคียงการทำรัฐประหารซึ่งทุกครั้งจะถูกอ้างในนามของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่าง (เขาพระวิหาร การแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ปฏิญญาฟินแลนด์) เข้ากับการข่มขืน เพราะมันมีอะไรหลายอย่างที่เหมือนกันมาก ๆ ใช้เพียงสามัญสำนึกเราก็รู้ว่าการทำรัฐประหารและการข่มขืนคือการละเมิดเพิกถอนในสิทธิทุกด้านและทุก ๆ หลักการของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในร่างกาย จิตใจและสติปัญญาตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออก สิ่งที่คนถูกข่มขืนได้สูญเสียไปคือคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ อันเป็นแก่นสาระของการมีชีวิตอยู่…
เมธัส บัวชุม
กล้องถ่ายรูป นอกจากจะเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บภาพแล้วยังสามารถเป็นอาวุธไปได้พร้อมกัน  หลายคนที่สันหลังหวะและกำลังจะหวะจึงมักกลัวกล้องเพราะมันจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ฟ้องด้วยภาพ” ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าคำบรรยายเป็นไหน ๆ และในรายที่ความผิดปรากฏชัดแล้ว กล้องก็สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ประจานด้วยภาพ” ได้อีกด้วยนักการเมืองหรือดาราหรือกระทั่งคนธรรมดาเวลาทำผิดจึงมักจะหลบกล้อง เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้นักศึกษาอมนกเขาแลกเกรดก็พยายามเลี่ยงหลบกล้องโดยเอาปี๊บคลุมหัว หรือนักการเมืองบางรายลงทุนพรางตัวเพื่อไม่ให้กล้องจับภาพได้ขณะที่เข้าพบป๋าเป็นการส่วนตัว…
เมธัส บัวชุม
"ขี้กะโหล่ย" เป็นศัพท์วัยรุ่นทั่วไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้ มักจะมีความหมายเชิงลบ ทำนองว่าไม่เข้าท่า ไม่ได้เรื่อง นิสัยไม่ดี พฤติกรรมแย่ เป็นที่รังเกียจ ไม่ควรเข้าใกล้ อย่าไปคบหา ชอบเอาเปรียบ เห็นแก่ได้ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น "ไอ้ลองมันขี้กะโหล่ย หน้าพระใจมาร กูไม่อยากสุงสิงกับมันหรอก" หรือ "ไอ้ลิ้มขี้กะโหล่ยโดนตำรวจจับไปเมื่อวานฐานปากดี"  หรือ "ม็อบพันธมารขี้กะโหล่ย หลอกขายเสื้อยามเผาแผ่นดิน" ฯลฯ
เมธัส บัวชุม
ปฏิวัติ 14 ตุลา 2516 ประชาชนรวมตัวกันเพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการทหาร ดึงอำนาจจากมือของเหล่าขุนนางข้าราชการมาเป็นของประชาชน ซึ่งในขณะนั้นบรรดาขุนนางข้าราชการแห่งระบอบอมาตยาธิปไตยครอบครองเป็นใหญ่ในเวทีการเมืองของสภาผู้แทนราษฎรอยู่  แต่ปัจจุบันกลับตาลปัตร เมื่อประชาชนร่วมแรงร่วมใจกับรัฐบาลประชาธิปไตยต่อสู้กับซากเดนแห่งระบอบอมาตยาธิปไตย ซึ่งกลายเป็นกลุ่มพลังนอกเวทีรัฐสภา เป็นกลุ่มเผด็จการนอกรัฐธรรมนูญที่ต้องการบ่อนเซาะทำลายความเข้มแข็งของระบอบรัฐสภาการขยับตัวเคลื่อนไหวของ “ระบอบเก่า” เพื่อหวนกลับมามีบทบาทในเวทีการเมือง ทำให้ประชาชนเกิดกระแสตื่นตัวต่อต้าน…
เมธัส บัวชุม
อาการตบะแตกกับนักข่าว/คอลัมนิสต์ ของนายก ฯ สมัคร  สุนทรเวช เป็นเรื่องที่เข้าใจได้และไม่ใช่อะไรที่น่าตื่นเต้นตกใจแต่อย่างใด  แต่บรรดานักข่าวและผู้อยู่ในแวดวงออกอาการตระหนกตกใจราวกับสาวแรกรุ่นที่กำลังจะโดนข่มขืนเป็นครั้งแรก โดยไม่ตระหนักเลยว่า ที่ผ่านมานักข่าว/คอลัมนิสต์ กระทำการข่มขืนคนอื่นอยู่ตลอดเวลา หรือในทางกลับกันก็ถูกอำนาจที่เหนือกว่าข่มขืนหลายครั้ง การคุกคามข่มขืนสื่อมวลชนในยุคเผด็จการทหารครองเมือง เทียบไม่ได้แม้แต่นิดเดียวกับปัจจุบัน สื่อบางแขนงชิงข่มขืนตัวเองเสียก่อนที่จะถูกเผด็จการทหารที่นำโดยพลเอกสนธิ  บุณยรัตนกลิน จัดการข่มขืน (เราควรย้ำถึงชื่อของพลเอกสนธิ …
เมธัส บัวชุม
เครือผู้จัดการมีสื่ออยู่ในมือหลากหลายครบครัน ทั้งเคเบิลทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและเวบไซต์ อันทำให้การโฆษณาชวนเชื่อที่เหลวไหลของพวกเขาเป็นไปอย่างครอบคลุมกว้างขวาง เกิดประสิทธิภาพไม่น้อยพวกเขา (เครือผู้จัดการ) สถาปนาตัวเองตามแต่ใจต้องการโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาเลือกตั้งหรือแต่งตั้งด้วยบทบาทหลากหลายเหลือเชื่อคือเป็นตั้งแต่ “ยาม” ไปจนถึง “ผู้จัดการ”“ยาม” และ “ผู้จัดการ” นั้นอยู่กันคนละชนชั้นหรือพูดด้วยภาษาแบบหมอประเวศ วะสี ก็คืออยู่กันคนละ “ภาคส่วน” แต่บทบาทหน้าที่ทั้งหมดนี้พุ่งไปที่จุดประสงค์เดียวกันสำหรับ “ยาม” ภาพลักษณ์ที่ตายตัวคือเป็นคนระดับล่างของสังคม เป็นผู้ใช้แรงงานหรือใช้กำลัง…
เมธัส บัวชุม
เหตุการณ์ทางการเมืองช่วงก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อล้มรัฐบาลประชาธิปไตยกระทั่งถึงยุคเผด็จการคมช. ครองเมืองซึ่งได้สร้างเครื่องมือต่างๆ (รวมทั้งรัดทำมะนวยฉบับหัวคูน) เพื่อสืบทอดอำนาจและทำการถอนรากถอนโคนรากฐานอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้น มีอะไรที่น่าสนใจมากมายจนผมคิดว่าน่าจะมีนักเขียนมือดีสักคนนำเอาเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ บวกกับจินตนาการบรรเจิดมาผูกร้อยเข้าเป็นนวนิยายชั้นเยี่ยมได้สักหลายเรื่อง การเมืองช่วงก่อนและหลังรัฐประหารนั้น “เป็นนิยายยิ่งกว่านิยาย” เสียอีก ไม่ว่าจะเป็นการกลับตาลปัตรกลายเป็น “ฮีโร่” อย่างช่วยไม่ได้ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร ความพ่ายแพ้ยกแรกของเผด็จการทหาร…
เมธัส บัวชุม
-1-ปกติแล้ว ผมจะไม่หยิบนิตยสาร “เนชั่นสุดสัปดาห์” ขึ้นมาเปิดดูเพราะไม่คิดว่ามีคอลัมน์อะไรที่ดึงดูดใจเพียงพอ นอกจากก่อนหน้านี้ที่พลิกเปิดไปดู “เรื่องสั้น” เพื่อตรวจดูว่าเรื่องสั้นของตัวเองได้รับการพิจารณาหรือเปล่า แต่ตอนนี้ผมหมดปัญญาและพลังที่จะเขียนเรื่องสั้นแล้ว  ดังนั้นเวลาหยุดดูที่แผงหนังสือผมเพียงแต่กวาดสายตาดูนิตยสารรายสัปดาห์ยี่ห้อนี้เพียงผ่าน ๆ เท่านั้นแต่ “เนชั่นสุดสัปดาห์” ล่าสุดที่หน้าปกเป็นรูป “ธีรยุทธ  บุญมี” นักคิดวิธีสร้างข่าวให้ตนเองนั้นสะกดให้ต้องหยิบขึ้นมาเปิดดู ที่น่าสนใจไม่ใช่รูป “ธีรยุทธ  บุญมี” แต่เป็น “คำ” ที่พาดผ่านหน้าปกซึ่งเขียนว่า “ตุลาตอแหล ?” พาดหัว…
เมธัส บัวชุม
-1-การได้รับรู้ข้อมูลจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง ตลอดจนเข้าไปข้องเกี่ยวกับวงการตำรวจ-ยาบ้าเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับผม ไม่คิดฝันว่าชีวิตที่หมกมุ่นอยู่แต่กับหนังสือและการคิดประเด็นทางนามธรรมอะไรไปเรื่อยเปื่อยจะได้พบพานประสบการณ์ชีวิตอีกด้านหนึ่ง ที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ด้วยวัยที่เพิ่มขึ้น ผมก็เช่นเดียวกับหลาย ๆ คนที่มองเรื่องยาเสพติดด้วยสายตาวิตกกังวล แลเห็นมันเป็นปิศาจที่นำความเลวร้ายเดือดร้อนมาสู่ชีวิต เป็นเหมือนมะเร็งที่คอยบั่นทอนสภาพร่างกายและจิตใจของคนที่ตกเป็นเหยื่อ (มันชวนให้นึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณเสียจริง ๆ!) ต่างไปจากเมื่อก่อนที่มองเรื่องนี้อีกแบบหนึ่ง…
เมธัส บัวชุม
  หนุ่มคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าวันดีคืนดีเขาก็ต้องตื่นขึ้นมาตอนประมาณตีสาม เพราะเพื่อนของหลานมาเคาะประตูเรียก"มีอะไร" เขาถาม"งานเข้า!" เพื่อนของหลานบอก ก่อนที่จะขยายความว่าหลานของเขาถูกจับยาบ้า ตอนนี้อยู่ที่สถานีตำรวจแล้วเขารีบไปที่สถานีตำรวจทันที อกสั่นขวัญแขวนเพราะเป็นห่วงหลาน พบหลานนั่งก้มหน้า น้ำตาคลอ และถูกใส่กุญแจมือ"ไม่ทัน!" หลานบอกทันทีที่เจอหน้า เขาไม่แน่ใจว่าคำว่า "ไม่ทัน" ของหลานนั้นหมายถึงอะไร มันอาจหมายถึงว่า "หนีตำรวจไม่ทัน" หรืออาจหมายถึงว่า "ทิ้งยาบ้าที่ติดตัวอยู่ไม่ทัน" เขาถามหลานสองสามคำและถามตำรวจอีกสองสามคำ ได้ความว่าหลานมียาบ้าติดตัวอยู่ 20 เม็ด พร้อมกับเงิน 4 พันกว่าบาท…