Skip to main content

พวกกบโง่....เห็นนกกระยาง....เป็นนางฟ้า...
สมน้ำหน้า....หลงบูชา....ดุจนางแถน...
นางประแดะ.....แสร้งเมตตา...อย่างแกนๆ
ฝูงกบแสน....ดีใจ....ได้นายดี......๚ะ๛
                                                ๏..ตรังนิสิงเห...๚ะ๛( http://www.prachatai.com/webboard/wbtopic.php?id=733477 )


=========================================

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มพันธมิตรฯ มีส่วนอย่างสำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อมในการก่อปัญหามากมายหลากหลายด้านขึ้นมารุมเร้าสังคมไทย  ว่าที่จริง ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มาแล้วด้วยซ้ำที่พันธมิตรฯ จุดชนวนปัญหาขึ้นมาจนบานปลายโดยไม่มีที่ท่าว่าจะจบสิ้นลงง่าย ๆ ในอนาคตอันใกล้

ลัทธิพันธมิตร ฯ เรียนรู้และเก่งกาจในการสร้างปัญหาหรือทำให้เป็นปัญหาขึ้นแต่ไม่มีปัญญาแก้ได้สักเรื่องเดียว

- ต่อต้านนักการเมืองแต่ไม่มีปัญญาเฟ้นหาระบบใหม่ ๆ ในการคัดสรรกลั่นกรองหรือเลือกตั้งบุคคลเข้ามาสู่วงการเมือง แต่กลับแก้ตัวด้วยการพูดง่าย ๆ โดยการเสนอวาทกรรมเรื่อง "คุณธรรม" "จริยธรรม"  "คนดี" ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าไม่เคยใช้ได้ผลเลย  รัฐบาลสุรยุทธ  จุลานนท์ เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องความล้มเหลวของการทำหน้าที่ฝ่ายบริหารของเหล่าบรรดา "คนดี" การด่านักการเมืองนั้นง่ายแต่ก็ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น

- แทนที่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี 2540 ซึ่งลัทธิพันธมิตรฯ เห็นว่าให้อำนาจฝ่ายบริหารมากเกินไป ด้วยกติกาพิกลพิการในนามของรัฐธรรมนวยปี  2550 ซึ่งเป็นการเพิ่มปัญหาใหม่ๆ ขึ้นมาอีกมาก

- สร้างอารมณ์คลั่งชาติรวมหมู่ขึ้นในเรื่องเขาพระวิหารจนบานปลายนำไปสู่การเกลียดชังกระทั่งปะทะกับเพื่อนบ้านเขมร จะว่าไปแล้ว เขาพระวิหารเป็นเรื่องไร้สาระอย่างมากที่จะมาถกเถียงกัน แต่ลัทธิพันธมิตร ฯ กลับใช้เป็นโอกาสในการโฆษณาชวนเชื่อลัทธิของตนเองโดยไม่ไยดีว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ตามชายแดนจะได้รับผลกระทบมากเพียงใด

- สนับสนุนและเรียกร้องสิ่งที่เรียกว่า "ตุลาการภิวัฒน์" เพื่อจัดการฝ่ายตรงข้ามซึ่งออกมาในรูปของการยุบพรรคไทยรักไทยและการเพิกถอนสิทธิของสส. พรรคไทยรักไทย ออกมาในรูปของการคำพิพากษาคดี "ชิมไป บ่นไป" อันน่าหัวร่อ  ออกมาในรูปของการใช้คำหลวมๆ และกำกวมว่า "อาจจะ" "สุ่มเสี่ยง"  ในคดีของอดีต รมว. กระทรวงต่างประเทศ นพดล ปัทมะ อันเป็นการตีความเชิงวรรณกรรมที่เกินเลยไปจากกรอบกฎหมาย ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า "ตุลาการภิวัฒน์" จะเป็นอาวุธเพื่อจัดการฝ่ายตรงข้ามเท่านั้นเพราะลัทธิพันธมิตร ฯ ได้สร้างบรรทัดฐานอันสับสนให้แก่สังคมไทยเป็นอย่างมากเมื่อสามารถบุกรุกสถานที่ราชการได้เป็นแรมเดือนโดยไม่ถูกจับ เมื่อมอบตัวแล้วก็ยังสามารถประกันตัวออกไปบุกรุกสถานที่ราชการได้อีกเหมือนเดิม การกระทำเช่นนี้ ส่งผลกระเทือนต่อกระบวนการยุติธรรมเพราะความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นที่ใดที่หนึ่งก็ส่งผลกระทบต่อความยุติธรรมทั้งระบบ

การณ์กลับกลายเป็นว่า "ตุลาการภิวัฒน์" คือการทำลายระบอบตุลาการหรือนิติรัฐลงอย่างยากที่จะกู้คืน

- ยั่วยุให้เกิดการปะทะของประชาชนสองฝ่ายที่จังหวัดอุดรธานี เป็นการสร้างความแตกแยก แบ่งฝักฝ่ายอย่างไร้เหตุผล

- ปลุกปั่นสร้างเงื่อนไขให้เกิดการสลายม็อบเพราะตำรวจไม่มีทางเลือกอย่างอื่น โดยหวังจะใช้เป็นข้ออ้างเรื่องการใช้ความรุนแรง เพื่อทำลายความชอบธรรมกระทั่งกดดันให้รัฐบาลต้องลาออก กระนั้นก็ตามมีข้อน่ากังขามากมายที่อาจเป็นไปได้ว่า การบาดเจ็บและเสียชีวิตเมื่อ 7 ตุลาคม 51 นั้นมาจากฝีมือของลัทธิพันธมิตร ฯ เอง

ลัทธิพันธมิตรฯ เรียนผูกแต่ไม่เรียนแก้ ก่อปัญหาแล้วโยนความรับผิดชอบใส่คนอื่น ยัดเยียดเรื่องของตนเองให้กลายเป็นเรื่องสาธารณะ  และเคลื่อนไหวโจมตีคนอื่นบนฐานจินตนาการของการใส่ร้าย

เราอาจกล่าวได้ว่า ลัทธิพันธมิตรฯ เป็นทั้งต้นเหตุและอาการของโรคของสังคมไทย สังคมไทยที่กำลังจะถึงคราวเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ

มองให้กว้างขึ้น การเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของลัทธิพันธมิตรฯ เป็นอาการดิ้นรนสุดชีวิตของระบอบเก่าที่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ต้องพังทลายลงอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ยิ่งดิ้นรนอาการก็ยิ่งกำเริบ

เพราะโลกเคลื่อนตัวไปข้างหน้า ระบอบประชาธิปไตยคือปลายทางและวิธีการ ไม่มีระบอบอื่นหรือทางเลือกอีกแล้ว แต่แน่นอนว่าคนจำนวนน้อย และอภิชนที่เสวยสุขอยู่บนยอดของปิระมิดเพียงไม่กี่กลุ่มจะไม่เห็นด้วยและหาทางต่อต้านสุดกำลัง ผลปรากฏออกมาในรูปของกลุ่มมอมเมาทางการเมืองอย่างพันธมิตร ฯ

การต่อสู้ที่ผ่านมาและที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ไม่ว่าพลังประชาชนจะสูญเสียเพลี่ยงพล้ำหรือได้ชัยชนะนั่นไม่สำคัญเท่ากับว่าเรารู้ว่าเรากำลังสู้อยู่กับอะไร และเพื่ออะไร เมื่อลัทธิพันธมิตรฯ เป็นเหตุแห่งปัญหา เราก็ควรแก้ไขกำจัดปัญหานั้นเสีย.     

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…