Skip to main content

พวกกบโง่....เห็นนกกระยาง....เป็นนางฟ้า...
สมน้ำหน้า....หลงบูชา....ดุจนางแถน...
นางประแดะ.....แสร้งเมตตา...อย่างแกนๆ
ฝูงกบแสน....ดีใจ....ได้นายดี......๚ะ๛
                                                ๏..ตรังนิสิงเห...๚ะ๛( http://www.prachatai.com/webboard/wbtopic.php?id=733477 )


=========================================

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มพันธมิตรฯ มีส่วนอย่างสำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อมในการก่อปัญหามากมายหลากหลายด้านขึ้นมารุมเร้าสังคมไทย  ว่าที่จริง ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มาแล้วด้วยซ้ำที่พันธมิตรฯ จุดชนวนปัญหาขึ้นมาจนบานปลายโดยไม่มีที่ท่าว่าจะจบสิ้นลงง่าย ๆ ในอนาคตอันใกล้

ลัทธิพันธมิตร ฯ เรียนรู้และเก่งกาจในการสร้างปัญหาหรือทำให้เป็นปัญหาขึ้นแต่ไม่มีปัญญาแก้ได้สักเรื่องเดียว

- ต่อต้านนักการเมืองแต่ไม่มีปัญญาเฟ้นหาระบบใหม่ ๆ ในการคัดสรรกลั่นกรองหรือเลือกตั้งบุคคลเข้ามาสู่วงการเมือง แต่กลับแก้ตัวด้วยการพูดง่าย ๆ โดยการเสนอวาทกรรมเรื่อง "คุณธรรม" "จริยธรรม"  "คนดี" ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าไม่เคยใช้ได้ผลเลย  รัฐบาลสุรยุทธ  จุลานนท์ เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องความล้มเหลวของการทำหน้าที่ฝ่ายบริหารของเหล่าบรรดา "คนดี" การด่านักการเมืองนั้นง่ายแต่ก็ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น

- แทนที่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี 2540 ซึ่งลัทธิพันธมิตรฯ เห็นว่าให้อำนาจฝ่ายบริหารมากเกินไป ด้วยกติกาพิกลพิการในนามของรัฐธรรมนวยปี  2550 ซึ่งเป็นการเพิ่มปัญหาใหม่ๆ ขึ้นมาอีกมาก

- สร้างอารมณ์คลั่งชาติรวมหมู่ขึ้นในเรื่องเขาพระวิหารจนบานปลายนำไปสู่การเกลียดชังกระทั่งปะทะกับเพื่อนบ้านเขมร จะว่าไปแล้ว เขาพระวิหารเป็นเรื่องไร้สาระอย่างมากที่จะมาถกเถียงกัน แต่ลัทธิพันธมิตร ฯ กลับใช้เป็นโอกาสในการโฆษณาชวนเชื่อลัทธิของตนเองโดยไม่ไยดีว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ตามชายแดนจะได้รับผลกระทบมากเพียงใด

- สนับสนุนและเรียกร้องสิ่งที่เรียกว่า "ตุลาการภิวัฒน์" เพื่อจัดการฝ่ายตรงข้ามซึ่งออกมาในรูปของการยุบพรรคไทยรักไทยและการเพิกถอนสิทธิของสส. พรรคไทยรักไทย ออกมาในรูปของการคำพิพากษาคดี "ชิมไป บ่นไป" อันน่าหัวร่อ  ออกมาในรูปของการใช้คำหลวมๆ และกำกวมว่า "อาจจะ" "สุ่มเสี่ยง"  ในคดีของอดีต รมว. กระทรวงต่างประเทศ นพดล ปัทมะ อันเป็นการตีความเชิงวรรณกรรมที่เกินเลยไปจากกรอบกฎหมาย ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า "ตุลาการภิวัฒน์" จะเป็นอาวุธเพื่อจัดการฝ่ายตรงข้ามเท่านั้นเพราะลัทธิพันธมิตร ฯ ได้สร้างบรรทัดฐานอันสับสนให้แก่สังคมไทยเป็นอย่างมากเมื่อสามารถบุกรุกสถานที่ราชการได้เป็นแรมเดือนโดยไม่ถูกจับ เมื่อมอบตัวแล้วก็ยังสามารถประกันตัวออกไปบุกรุกสถานที่ราชการได้อีกเหมือนเดิม การกระทำเช่นนี้ ส่งผลกระเทือนต่อกระบวนการยุติธรรมเพราะความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นที่ใดที่หนึ่งก็ส่งผลกระทบต่อความยุติธรรมทั้งระบบ

การณ์กลับกลายเป็นว่า "ตุลาการภิวัฒน์" คือการทำลายระบอบตุลาการหรือนิติรัฐลงอย่างยากที่จะกู้คืน

- ยั่วยุให้เกิดการปะทะของประชาชนสองฝ่ายที่จังหวัดอุดรธานี เป็นการสร้างความแตกแยก แบ่งฝักฝ่ายอย่างไร้เหตุผล

- ปลุกปั่นสร้างเงื่อนไขให้เกิดการสลายม็อบเพราะตำรวจไม่มีทางเลือกอย่างอื่น โดยหวังจะใช้เป็นข้ออ้างเรื่องการใช้ความรุนแรง เพื่อทำลายความชอบธรรมกระทั่งกดดันให้รัฐบาลต้องลาออก กระนั้นก็ตามมีข้อน่ากังขามากมายที่อาจเป็นไปได้ว่า การบาดเจ็บและเสียชีวิตเมื่อ 7 ตุลาคม 51 นั้นมาจากฝีมือของลัทธิพันธมิตร ฯ เอง

ลัทธิพันธมิตรฯ เรียนผูกแต่ไม่เรียนแก้ ก่อปัญหาแล้วโยนความรับผิดชอบใส่คนอื่น ยัดเยียดเรื่องของตนเองให้กลายเป็นเรื่องสาธารณะ  และเคลื่อนไหวโจมตีคนอื่นบนฐานจินตนาการของการใส่ร้าย

เราอาจกล่าวได้ว่า ลัทธิพันธมิตรฯ เป็นทั้งต้นเหตุและอาการของโรคของสังคมไทย สังคมไทยที่กำลังจะถึงคราวเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ

มองให้กว้างขึ้น การเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของลัทธิพันธมิตรฯ เป็นอาการดิ้นรนสุดชีวิตของระบอบเก่าที่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ต้องพังทลายลงอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ยิ่งดิ้นรนอาการก็ยิ่งกำเริบ

เพราะโลกเคลื่อนตัวไปข้างหน้า ระบอบประชาธิปไตยคือปลายทางและวิธีการ ไม่มีระบอบอื่นหรือทางเลือกอีกแล้ว แต่แน่นอนว่าคนจำนวนน้อย และอภิชนที่เสวยสุขอยู่บนยอดของปิระมิดเพียงไม่กี่กลุ่มจะไม่เห็นด้วยและหาทางต่อต้านสุดกำลัง ผลปรากฏออกมาในรูปของกลุ่มมอมเมาทางการเมืองอย่างพันธมิตร ฯ

การต่อสู้ที่ผ่านมาและที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ไม่ว่าพลังประชาชนจะสูญเสียเพลี่ยงพล้ำหรือได้ชัยชนะนั่นไม่สำคัญเท่ากับว่าเรารู้ว่าเรากำลังสู้อยู่กับอะไร และเพื่ออะไร เมื่อลัทธิพันธมิตรฯ เป็นเหตุแห่งปัญหา เราก็ควรแก้ไขกำจัดปัญหานั้นเสีย.     

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ก่อนอื่นคงต้องขอยอมรับในความสามารถของชัย ราชวัตร ที่สามารถตรึงใจผู้อ่านคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐมายาวนานหลายปีจนกระทั่งถึงปัจจุบันและดูเหมือนว่าสามารถสร้างแฟนการ์ตูนรุ่นใหม่ ๆ ได้ไม่น้อย ความน่าสนใจประการหนึ่งของการ์ตูนคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” อยู่ที่การสร้างบทสนทนาระหว่างตัวการ์ตูนเพียงไม่กี่ประโยค แต่สื่อความหมายได้มากมายเสียยิ่งกว่าบทความที่ยาวเต็มหน้ากระดาษชัย ราชวัตร ใช้วาจาสั้น ๆ ในการเสียดสีหรือวิพากษ์วิจารณ์ถึงสถานการณ์ปัจจุบันหรือบางครั้งเป็นการกล่าวหาใส่ความเกินจริง โดยที่เขาตัวเขาเองไม่ต้องรับผลอันใดจากการกระทำของตนเอง ตัวอย่างเช่นไทยรัฐ, 26…
เมธัส บัวชุม
ครั้งแล้วครั้งเล่าที่ ชัย ราชวัตร แสดงความหยาบของตัวเองผ่านการ์ตูนชุด “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ที่เขียนให้กับหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ไทยรัฐ ชัดเจนอย่างยิ่งตั้งแต่ช่วงวิกฤติการเมืองสมัยทักษิณ ชินวัตร จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ชัย ราชวัตร เอาการเอางานอย่างมากในการใช้ตัวการ์ตูนโจมตีฝ่ายที่ตนเองไม่ชอบ บางครั้งเขาออกอาการก้าวร้าวผิดปกติเมื่อความขัดแย้งทางการเมืองแหลมคม เป็นผลให้การ์ตูนของเขาแตกต่างจากการ์ตูนของคนอื่น ๆ คือเป็นการ์ตูนที่เด็ก ๆ อ่านไม่รู้เรื่องเพราะอ้างอิงกับข้อมูลและความเป็นไปในสถานการณ์ปัจจุบัน อันที่จริงความน่าสนใจของหนังสือการ์ตูนโดยทั่วไปนั้นอยู่ที่การใช้ “ภาพ” เป็นตัวเล่าเรื่อง…
เมธัส บัวชุม
อาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ เพื่อนโทรมาชวนผมไปฟังการสัมมนาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่จัดขึ้นเนื่องในงานธรรมศาสตร์วิชาการ เรื่อง “ก้าวต่อไปของการเมืองภาคประชาชนไทยหลังการเลือกตั้งทั่วไป 2550” เพื่อนบอกว่ามีคุณจาตุรนต์ ฉายแสง คุณจอน อึ๊งภากรณ์ คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นพ.เหวง โตจิราการ คุณรสนา โตสิตระกูลผมได้ยินรายชื่อแล้วรู้สึกสนใจโดยเฉพาะคุณจาตุรนต์ ฉายแสง นักการเมืองคุณภาพที่หาได้ยากยิ่งในแวดวงการเมืองไทยปัจจุบัน แต่สุดท้ายแล้ว ผมก็ผิดหวัง คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ไม่มาร่วมวงสัมมนาแต่อย่างใด คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นำเสนอการวิเคราะห์อย่างเป็นวิชาการ อย่างไรก็ตาม…
เมธัส บัวชุม
คงเป็นเพราะความเชี่ยวชาญส่วนตัวหรือเคยผ่านประสบการณ์เลวร้ายเรื่องยาเสพติดมาก่อน คุณเฉลิม อยู่บำรุง จึงนำเสนอนโยบายปราบปรามยาเสพติดเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งหนึ่งว่าจะจัดการเฉียบขาดต่อพ่อค้า (และแม่ค้า) ยาเสพติดโดยลงโทษรุนแรงคือประหารชีวิต อย่างไรก็ตามคุณเฉลิม อยู่บำรุงไม่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้แทนในครั้งนั้น ดังนั้น นโยบายอันดุดันเรื่องนี้ของคุณเฉลิม  อยู่บำรุงจึงถูกพับเก็บไปการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา นโยบายทางสังคมอย่างเรื่องยาเสพติดและเรื่องอื่น ๆ ไม่ได้ถูกชูขึ้นหาเสียงมากนัก ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหลายโดยมากแล้วจะเน้นเรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจ การสร้างความอยู่ดีกินดี…
เมธัส บัวชุม
การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบัน ทำให้ผมอดไม่ได้ที่จะนึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างเด็ดขาด และได้ผลของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่ถึงแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักสิทธิมนุษยชน แต่ข้อดีอันเป็นรูปธรรมที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือยาเสพติดได้ลดหายไปจากสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน-นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผม “คิดถึง” อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร การเอาจริงเอาจังกับปัญหายาเสพติดของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายเดือดร้อนถูกจับกันถ้วนหน้าทั้งที่ก่อนหน้านี้ซื้อและขายอย่างสะดวกสบายโดยที่รัฐบาลไม่มีปัญญาจะจัดการได้ ผู้ขายยาเสพติดรายใหญ่คนหนึ่งบอกว่า เขาสามารถซื้อตำรวจได้ทั้งจังหวัด…
เมธัส บัวชุม
อาจารย์สมศักดิ์  เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นกลางบางกลุ่มที่เป็นพวก “สองไม่เอา” คือไม่เอาทั้ง “ทักษิณ” และ “ไม่เอารัฐประหาร” จนเป็นประเด็นถกเถียงน่าสนใจทางโลกไซเบอร์นักวิชาการบางคนพยายามที่จะไปให้พ้นจาก “สองไม่เอา” โดยพูดถึง “ทางเลือกที่สาม” แต่ที่สุดก็ไม่สามารถบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม” นั้นคืออะไร การพยายามค้นหาหรือสร้าง “ทางเลือกที่สาม” มีข้อดีในแง่ที่ว่าอาจช่วยเปิดจินตนาการทางการเมืองให้กว้างขึ้นแต่ก็นั่นแหละใครจะบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม”  เป็นอย่างไร  “ทางเลือกที่สาม” มีจริงหรือ ?เมื่อ “ทางเลือกที่สาม” ไม่มีอยู่จริง…
เมธัส บัวชุม
คุณสมัคร  สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน พูดถึง “มือสกปรก” และ “มือที่มองไม่เห็น” ที่พยายามสอดเข้ามาจุ้นจ้านแทรกแซงการเมืองเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล คุณสมัคร สุนทรเวชบอกว่าเป็นมือที่อยู่ “นอกวงการเมือง” เป็นมือที่จะเข้ามาทำลายระบอบประชาธิปไตยเสียงข้างมาก โดยมีความต้องการที่จะขัดขวางพรรคพลังประชาชนไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล“ไอ้มือสกปรกที่อยู่ข้างนอก ที่จะยื่นมาทำให้การเลือกตั้งล้มเหลวนั้น ผมขอแถลงว่า เราต้องทำอย่างนี้ เพื่อรักษาเกียรติยศ เกียรติคุณของ กกต.ไม่ให้ท่านโดยอำนาจมืดมาบีบบังคับ มาทำให้การจัดตั้งรัฐบาลเป็นการเฉไฉ ทั้ง 4 พรรค เราได้ตกลงกันแล้วว่า เราจะดำเนินการตั้งรัฐบาล ซึ่งตั้งได้แน่นอน…
เมธัส บัวชุม
-1-ครั้งที่แล้ว ผมเขียนแสดงความคิดเห็นต่อบทความของศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งเขียนยกย่องว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความสง่างามออกมาสามเรื่องจนทำให้เหมาะกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแต่ถึงเวลานี้ไม่ทราบว่าศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ จะยังเห็นว่าคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีความสง่างามอยู่อีกหรือไม่เพราะหลังจากที่พ่ายแพ้ต่อพรรคพลังประชาชนแล้ว เขาก็ออกอาการที่เรียกได้ว่า "ขี้แพ้ชวนตั้งพรรค"ด้วยแรงหนุนจากบุคคลบางกลุ่ม และองค์กรบางองค์กร ตลอดจนการได้รับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในกรุงเทพมหานครที่มีชัยเหนือพรรคพลังประชาชนพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับสอง…
เมธัส บัวชุม
ผมรู้สึกประหลาดใจ คาดไม่ถึง เหลือเชื่อ รับไม่ได้ ต่อบทความของศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2550  ผมอ่านอย่างตั้งใจทีคำ ทีละประโยค  เมื่ออ่านจบแล้ว ได้แต่ส่ายหัว บ่นงึมงัมอยู่คนเดียวว่านิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เขียนอย่างที่เขียนไปแล้วได้อย่างไร เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า นิธิ  เอียวศรีวงศ์ ในวัยชรา ได้ทำลายตัวเองด้วยการเขียนบทความอันน่าสะอิดสะเอียนเพื่อชื่นชม คุณอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อย่างหน้ามืดตามัว เขาเขียนว่า“คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแสดงความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (…
เมธัส บัวชุม
-1-เป็นที่รู้กันดีว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือกกต.ชุดปัจจุบันซึ่งมีคนอย่าง นางสดศรี สัตยธรรม ผู้ซึ่งดูเหมือนจะชมชอบ “สถาบันทหาร” เป็นพิเศษเป็นคณะกรรมการรวมอยู่ด้วยนั้น เป็นองค์กรที่กล่าวได้ว่าคลอดออกมาจาก “มดลูก” ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ที่ทำการรัฐประหารปล้นชิงอำนาจมาจากประชาชน โดยมีพลเอกสนธิ บุญยรัตนกลิน ผู้ซึ่งนอกจากชอบอ้างเรื่อง “ความมั่นคง” แล้วยังชอบอ้างเรื่อง “คุณธรรม จริยธรรม” แต่ว่ากันว่าจดทะเบียนสมรสซ้อนอย่างน้อยสองครั้งเป็นอดีตประธาน  เป็นที่รู้กันดีว่าจุดประสงค์หลักของคมช.และ “บรรดาลูกๆ”  ทั้งหลายก็คือต้องการทำลายล้าง ถอนรากถอนโคน…
เมธัส บัวชุม
-1-การยึดอำนาจโดยกลุ่มทหาร ที่เรียกตัวเองด้วยชื่อที่ฟังดูคุ้นหูสำหรับคนที่พบเห็นหรือศึกษาเกี่ยวกับการรัฐประหารมาบ้างว่า “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (คปค.) ในวันที่ 19 กันยายน 2549 นั้นถือเป็นฝันร้ายยาวนานสำหรับสังคมการเมืองไทย และเชื่อว่าจะตามหลอกตามหลอนประวัติศาสตร์ของประชาธิปไตยไปตลอดคณะทหารที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเรียกตัวเองเสียใหม่แต่ก็ยังฟังดูคุ้น ๆ อยู่ดีว่า “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” (คมช.) บัดนี้คำว่า “ความมั่นคง” ปรากฏขึ้นอย่างเป็นทางการแล้วในรูปของชื่อเรียกและนับจากนี้เป็นต้นไป วาทกรรม “ความมั่นคง”…
เมธัส บัวชุม
หนังสือที่มีชื่อโดนใจใครหลาย ๆ คนเรื่องนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางทั้งจากคนที่เห็นด้วยและคนที่รับไม่ได้แน่นอนว่าพรรคพลังประชาชนจะต้องถูกอกถูกใจที่มีคนมาช่วย "ด่า" รัฐธรรมนูญปี 2550เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่หัวหน้าพรรคฝีปากกล้าของพลังประชาชนเคยลั่นมาแล้วก่อนหน้านี้ว่า "รัฐธรรมนูญเฮงซวย"นักวิชาการน้อยใหญ่หลายคนเห็นตรงกันโดยไม่จำเป็นต้องทำโพลล์ว่ารัฐธรรมนูญปี 50 นั้นเฮงซวยจริง ๆ ทั้งนี้เพราะมันไม่ตอบโจทย์ที่กำลังเป็นปัญหาของสังคม ไม่ตอบคำถามของคนชั้นกลางที่อยากมีชีวิตมั่นคงภายใต้กระแสของโลกาภิวัฒน์ ทั้งยังไม่ช่วยให้คนระดับล่างมองเห็นอนาคตที่ดีขึ้นในวันข้างหน้าแต่รัฐธรรมนูญเฮงซวยฉบับปี 2550…