Skip to main content
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง


ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย

1. เริ่มที่กรณีการส่ง SMS ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าโทรศัพท์มือถือของประชาชน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชี้แจงกรณีนี้ว่า


"นายอภิสิทธิ์ และนายกรณ์ชี้แจงว่า การส่งข้อความสั้นไม่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ส่วนตัว ถือเป็นการเชิญชวนประชาชนให้มามีส่วนร่วมทางการเมือง และการตอบกลับนั้นเป็นความสมัครใจของเจ้าของโทรศัพท์เอง (มติชนรายวัน, 20 มีนาคม พ.ศ. 2552)

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01p0101200352&sectionid=0101&selday=2009-03-20


เราจะเห็นได้ว่าการชี้แจงจากฝ่ายรัฐบาลนั้นไม่สามารถช่วยให้หลุดพ้นจากประเด็นในเรื่องจริยธรรมได้เลย เป็นไปได้ที่การส่งข้อความสั้นไม่เกี่ยวกับเรื่องผลประโยชน์แต่มันเป็นเรื่องที่ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชนอย่างแน่นอน เป็นเรื่องผิดจริยธรรมอย่างไม่ต้องสงสัยเพราะนำข้อมูลส่วนบุคคลไปให้กับบริษัทเอกชน รัฐบาลอภิสิทธิ์ชอบอวดอ้างเรื่องจริยธรรมแต่กลับทำผิดหน้าตาเฉย แถมยัง(กล้า)บอกว่าเป็นสิทธิของประชาชนที่จะตอบกลับ


2. กรณีของนายกษิต ภิรมย์ ผู้ซึ่งเปรียบเหมือน "ปลาเน่า" บรรจุกระป๋อง การอภิปรายจากฝ่ายค้านได้เปิดเผยให้เห็น "ตำหนิ" ในชีวิตมากมายจนน่าตกใจทั้งที่เป็นเรื่องส่วนตัว และเรื่องการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขอตั๋วจากการบินไทยปีละ 500 ใบ อ้างว่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแต่กลับไปแจกจ่ายให้ญาติ เรื่องเปียโน (ไม่เสียภาษี) ที่อ้างว่าจะเอาไปให้ผู้บริหารบ้านเมืองแต่กลับนำไปเป็นของตนเอง และที่สร้างชื่อเสียให้กับตนเองคือการลงทุนปิดสนามบินเพื่อให้ตนเองได้เป็นรัฐมนตรี นายกษิต ภิรมย์ ตอบฝ่ายค้านว่า


"ทำไมผมถึงไป ขอเรียนว่าใครก็ตามที่มีอุดมการณ์ มีความเป็นนักประชาธิปไตย และร่วมต่อต้านการทุจริตมิชอบ รวมกระทั่งการต่อสู้การเป็นเผด็จการรัฐสภา ครอบงำสังคมไทย สิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ผมรับไม่ได้ เป็นสิ่งที่ผมต่อสู้มาตลอดชีวิต ผมไม่มีความละอายใดๆ ที่จะทำในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ทั้งในที่แจ้งและที่เปิดเผย


ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา ที่กล่าวหาว่าผมใช้ถ้อยคำรุนแรงต่อสมเด็จฯ ฮุนเซนนั้น เพราะก่อนหน้านี้ ท่านได้รับข้อมูลว่าไทยได้ส่งกำลังทหาร 500 นาย เข้าประชิดชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดขึ้นหลังจากท่านสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ต่างประเทศสมัยนั้น เดินทางกลับมาจากการเยือนกัมพูชา สมเด็จฯฮุนเซนก็ออกมาประกาศว่าให้รัฐบาลไทยถอนทหารออกไป ด้วยความรักชาติ และต้องการรักษาความสง่างาม รักษาศักดิ์ศรีของทหารไทย ผมจึงได้พูดไปอย่างที่ปรากฏในเทปบันทึกภาพที่ท่านผู้อภิปรายนำออกมาเปิดเผยต่อที่ประชุม"

(มติชนรายวัน, 21 มีนาคม. พ.ศ. 2552) 

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pol04210352&sectionid=0133&day=2009-03-21


เข้าใจได้ที่นายกษิต ภิรมย์ ไม่สนใจเรื่องเล็กน้อยอย่างตั๋วเครื่องบินหรือเปียโน แต่น่าตกใจที่นายกษิต ภิรมย์กล้าพูดว่าตนเอง "มีความเป็นนักประชาธิปไตย" อันที่จริงถ้านายกษิต ภิรมย์ อยากจะเป็น "แมน" กว่านี้ ควรจะกล่าวว่า "ผมไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง การตัดสินด้วยเสียงข้างมาก ผมจึงออกมาต่อต้าน" ผมอยากจะสรุปการกระทำของนายกษิต ภิรมย์ ว่า "จัดการสิ่งที่(เห็นว่า)เลว ด้วยการกระทำที่เลวกว่า"


ในเรื่องประเด็นเขาพระวิหาร กล่าวคำผรุสวาทใส่สมเด็จฯ ฮุนเซ็นออกสื่อสาธารณะโดยไม่ระวังปาก นายกษิต ภิรมย์ ออกตัวว่าเป็นการตอบโต้การกระทำของสมเด็จฮุนเซ็น ที่เกิดจากการเข้าใจผิด


สมมติว่าเกิดจากการเข้าใจผิดจริง นายกษิต ภิรมย์ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องแสดงกริยาหรือกล่าวถ้อยคำหยาบคายอย่างที่ได้กล่าวไป ไม่น่าเชื่อว่าคนที่เป็นนักการทูตหลายประเทศ ไม่ได้มีกิริยาวาจาแตกต่างจากชาวบ้านร้านตลาดเลยแม้แต่น้อย เปิดเผยสกุลรุนชาติของตนเองออกมาง่ายดาย ถ้านายกษิต ภิรมย์ อยากจะเป็น "แมน" กว่านี้ แค่เปิดปากยอมรับผิดและขอโอกาสปรับปรุงแก้ไขน่าจะช่วยให้ตนเองดูดีขึ้น


3. ที่หนักเกินเยียวยาคือการให้เหตุผลของสส.พันธมิตร นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ เขาพูดหลายครั้งหลายหนเรื่องปิดสนามบินว่า พันธมิตรไม่ได้ปิด แต่ผู้ว่าการท่าอากาศยานฯ และ ผอ.สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นผู้สั่งปิด


"นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ได้ลุกขึ้นใช้สิทธิพาดพิงว่า ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายสากลถือเป็นทัศนคติของคนมอง แต่การจะเข้าข่ายเป็นผู้ก่อการร้ายได้ต้องครบองค์ประกอบตามอนุสัญญาทางการบิน ต้องใช้กำลังประทุษร้ายอากาศยานในขณะบินอยู่ ต้องปิดน่านฟ้าสากล แต่เราไม่เคยยึดเครื่องบินหรือทำลายอากาศยาน เพียงใช้เวทีด้านหน้าสนามบิน โดยไม่มีการปิดถนนและในบันทึกการประชุมบอร์ดการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (บอท.) ก็ระบุว่าผู้ว่าการท่าอากาศยานฯ และ ผอ.สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นผู้สั่งปิดไม่ใช่เรา"

( เดลินิวส์, วันที่ 21 มีนาคม 2552) http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=194032&Newstype=1&template=1


การให้เหตุผลของนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ เป็นเรื่องน่าทุเรศเหลือเชื่อ เป็นการเอาสีข้างเข้าถูอย่างแท้จริง ผมสามารถยกตัวอย่างเทียบเคียงเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นว่า สมมติว่าเกิดการลอบวางระเบิดในโรงเรียนแห่งหนึ่งจนเสียหายยับเยิน ผู้อำนายการจึงสั่งปิดโรงเรียน 2 สัปดาห์เพื่อซ่อมแซมอาคารที่เสียหาย กรณีนี้เราจะกล่าวโทษผู้อำนวยการว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้โรงเรียนปิด?


ไม่น่าเชื่อว่านายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ จะเป็นอาจารย์สอนหนังสือ ไม่น่าเชื่อว่านายสมเกียติ พงษ์ไพบูลย์ พูดเช่นนี้ขณะอยู่ในสภาฯ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์เป็นตัวสะท้อนได้อย่างดีถึงคุณภาพของพันธมิตร

 

รัฐบาลเอาตัวรอดไปได้เพราะแรงหนุนจากหลายฝ่าย แต่เราก็ได้เห็นกันอีกครั้งหนึ่งว่าระดับสติปัญญาและคุณภาพของรัฐบาลนี้มีไม่มากนัก แค่พูดให้เป็นเหตุเป็นผล หรือตอบให้ตรงคำถามยังทำไม่ได้เลย.

 

 

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ก่อนอื่นคงต้องขอยอมรับในความสามารถของชัย ราชวัตร ที่สามารถตรึงใจผู้อ่านคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐมายาวนานหลายปีจนกระทั่งถึงปัจจุบันและดูเหมือนว่าสามารถสร้างแฟนการ์ตูนรุ่นใหม่ ๆ ได้ไม่น้อย ความน่าสนใจประการหนึ่งของการ์ตูนคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” อยู่ที่การสร้างบทสนทนาระหว่างตัวการ์ตูนเพียงไม่กี่ประโยค แต่สื่อความหมายได้มากมายเสียยิ่งกว่าบทความที่ยาวเต็มหน้ากระดาษชัย ราชวัตร ใช้วาจาสั้น ๆ ในการเสียดสีหรือวิพากษ์วิจารณ์ถึงสถานการณ์ปัจจุบันหรือบางครั้งเป็นการกล่าวหาใส่ความเกินจริง โดยที่เขาตัวเขาเองไม่ต้องรับผลอันใดจากการกระทำของตนเอง ตัวอย่างเช่นไทยรัฐ, 26…
เมธัส บัวชุม
ครั้งแล้วครั้งเล่าที่ ชัย ราชวัตร แสดงความหยาบของตัวเองผ่านการ์ตูนชุด “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ที่เขียนให้กับหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ไทยรัฐ ชัดเจนอย่างยิ่งตั้งแต่ช่วงวิกฤติการเมืองสมัยทักษิณ ชินวัตร จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ชัย ราชวัตร เอาการเอางานอย่างมากในการใช้ตัวการ์ตูนโจมตีฝ่ายที่ตนเองไม่ชอบ บางครั้งเขาออกอาการก้าวร้าวผิดปกติเมื่อความขัดแย้งทางการเมืองแหลมคม เป็นผลให้การ์ตูนของเขาแตกต่างจากการ์ตูนของคนอื่น ๆ คือเป็นการ์ตูนที่เด็ก ๆ อ่านไม่รู้เรื่องเพราะอ้างอิงกับข้อมูลและความเป็นไปในสถานการณ์ปัจจุบัน อันที่จริงความน่าสนใจของหนังสือการ์ตูนโดยทั่วไปนั้นอยู่ที่การใช้ “ภาพ” เป็นตัวเล่าเรื่อง…
เมธัส บัวชุม
อาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ เพื่อนโทรมาชวนผมไปฟังการสัมมนาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่จัดขึ้นเนื่องในงานธรรมศาสตร์วิชาการ เรื่อง “ก้าวต่อไปของการเมืองภาคประชาชนไทยหลังการเลือกตั้งทั่วไป 2550” เพื่อนบอกว่ามีคุณจาตุรนต์ ฉายแสง คุณจอน อึ๊งภากรณ์ คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นพ.เหวง โตจิราการ คุณรสนา โตสิตระกูลผมได้ยินรายชื่อแล้วรู้สึกสนใจโดยเฉพาะคุณจาตุรนต์ ฉายแสง นักการเมืองคุณภาพที่หาได้ยากยิ่งในแวดวงการเมืองไทยปัจจุบัน แต่สุดท้ายแล้ว ผมก็ผิดหวัง คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ไม่มาร่วมวงสัมมนาแต่อย่างใด คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นำเสนอการวิเคราะห์อย่างเป็นวิชาการ อย่างไรก็ตาม…
เมธัส บัวชุม
คงเป็นเพราะความเชี่ยวชาญส่วนตัวหรือเคยผ่านประสบการณ์เลวร้ายเรื่องยาเสพติดมาก่อน คุณเฉลิม อยู่บำรุง จึงนำเสนอนโยบายปราบปรามยาเสพติดเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งหนึ่งว่าจะจัดการเฉียบขาดต่อพ่อค้า (และแม่ค้า) ยาเสพติดโดยลงโทษรุนแรงคือประหารชีวิต อย่างไรก็ตามคุณเฉลิม อยู่บำรุงไม่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้แทนในครั้งนั้น ดังนั้น นโยบายอันดุดันเรื่องนี้ของคุณเฉลิม  อยู่บำรุงจึงถูกพับเก็บไปการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา นโยบายทางสังคมอย่างเรื่องยาเสพติดและเรื่องอื่น ๆ ไม่ได้ถูกชูขึ้นหาเสียงมากนัก ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหลายโดยมากแล้วจะเน้นเรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจ การสร้างความอยู่ดีกินดี…
เมธัส บัวชุม
การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบัน ทำให้ผมอดไม่ได้ที่จะนึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างเด็ดขาด และได้ผลของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่ถึงแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักสิทธิมนุษยชน แต่ข้อดีอันเป็นรูปธรรมที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือยาเสพติดได้ลดหายไปจากสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน-นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผม “คิดถึง” อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร การเอาจริงเอาจังกับปัญหายาเสพติดของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายเดือดร้อนถูกจับกันถ้วนหน้าทั้งที่ก่อนหน้านี้ซื้อและขายอย่างสะดวกสบายโดยที่รัฐบาลไม่มีปัญญาจะจัดการได้ ผู้ขายยาเสพติดรายใหญ่คนหนึ่งบอกว่า เขาสามารถซื้อตำรวจได้ทั้งจังหวัด…
เมธัส บัวชุม
อาจารย์สมศักดิ์  เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นกลางบางกลุ่มที่เป็นพวก “สองไม่เอา” คือไม่เอาทั้ง “ทักษิณ” และ “ไม่เอารัฐประหาร” จนเป็นประเด็นถกเถียงน่าสนใจทางโลกไซเบอร์นักวิชาการบางคนพยายามที่จะไปให้พ้นจาก “สองไม่เอา” โดยพูดถึง “ทางเลือกที่สาม” แต่ที่สุดก็ไม่สามารถบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม” นั้นคืออะไร การพยายามค้นหาหรือสร้าง “ทางเลือกที่สาม” มีข้อดีในแง่ที่ว่าอาจช่วยเปิดจินตนาการทางการเมืองให้กว้างขึ้นแต่ก็นั่นแหละใครจะบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม”  เป็นอย่างไร  “ทางเลือกที่สาม” มีจริงหรือ ?เมื่อ “ทางเลือกที่สาม” ไม่มีอยู่จริง…
เมธัส บัวชุม
คุณสมัคร  สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน พูดถึง “มือสกปรก” และ “มือที่มองไม่เห็น” ที่พยายามสอดเข้ามาจุ้นจ้านแทรกแซงการเมืองเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล คุณสมัคร สุนทรเวชบอกว่าเป็นมือที่อยู่ “นอกวงการเมือง” เป็นมือที่จะเข้ามาทำลายระบอบประชาธิปไตยเสียงข้างมาก โดยมีความต้องการที่จะขัดขวางพรรคพลังประชาชนไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล“ไอ้มือสกปรกที่อยู่ข้างนอก ที่จะยื่นมาทำให้การเลือกตั้งล้มเหลวนั้น ผมขอแถลงว่า เราต้องทำอย่างนี้ เพื่อรักษาเกียรติยศ เกียรติคุณของ กกต.ไม่ให้ท่านโดยอำนาจมืดมาบีบบังคับ มาทำให้การจัดตั้งรัฐบาลเป็นการเฉไฉ ทั้ง 4 พรรค เราได้ตกลงกันแล้วว่า เราจะดำเนินการตั้งรัฐบาล ซึ่งตั้งได้แน่นอน…
เมธัส บัวชุม
-1-ครั้งที่แล้ว ผมเขียนแสดงความคิดเห็นต่อบทความของศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งเขียนยกย่องว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความสง่างามออกมาสามเรื่องจนทำให้เหมาะกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแต่ถึงเวลานี้ไม่ทราบว่าศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ จะยังเห็นว่าคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีความสง่างามอยู่อีกหรือไม่เพราะหลังจากที่พ่ายแพ้ต่อพรรคพลังประชาชนแล้ว เขาก็ออกอาการที่เรียกได้ว่า "ขี้แพ้ชวนตั้งพรรค"ด้วยแรงหนุนจากบุคคลบางกลุ่ม และองค์กรบางองค์กร ตลอดจนการได้รับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในกรุงเทพมหานครที่มีชัยเหนือพรรคพลังประชาชนพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับสอง…
เมธัส บัวชุม
ผมรู้สึกประหลาดใจ คาดไม่ถึง เหลือเชื่อ รับไม่ได้ ต่อบทความของศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2550  ผมอ่านอย่างตั้งใจทีคำ ทีละประโยค  เมื่ออ่านจบแล้ว ได้แต่ส่ายหัว บ่นงึมงัมอยู่คนเดียวว่านิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เขียนอย่างที่เขียนไปแล้วได้อย่างไร เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า นิธิ  เอียวศรีวงศ์ ในวัยชรา ได้ทำลายตัวเองด้วยการเขียนบทความอันน่าสะอิดสะเอียนเพื่อชื่นชม คุณอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อย่างหน้ามืดตามัว เขาเขียนว่า“คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแสดงความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (…
เมธัส บัวชุม
-1-เป็นที่รู้กันดีว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือกกต.ชุดปัจจุบันซึ่งมีคนอย่าง นางสดศรี สัตยธรรม ผู้ซึ่งดูเหมือนจะชมชอบ “สถาบันทหาร” เป็นพิเศษเป็นคณะกรรมการรวมอยู่ด้วยนั้น เป็นองค์กรที่กล่าวได้ว่าคลอดออกมาจาก “มดลูก” ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ที่ทำการรัฐประหารปล้นชิงอำนาจมาจากประชาชน โดยมีพลเอกสนธิ บุญยรัตนกลิน ผู้ซึ่งนอกจากชอบอ้างเรื่อง “ความมั่นคง” แล้วยังชอบอ้างเรื่อง “คุณธรรม จริยธรรม” แต่ว่ากันว่าจดทะเบียนสมรสซ้อนอย่างน้อยสองครั้งเป็นอดีตประธาน  เป็นที่รู้กันดีว่าจุดประสงค์หลักของคมช.และ “บรรดาลูกๆ”  ทั้งหลายก็คือต้องการทำลายล้าง ถอนรากถอนโคน…
เมธัส บัวชุม
-1-การยึดอำนาจโดยกลุ่มทหาร ที่เรียกตัวเองด้วยชื่อที่ฟังดูคุ้นหูสำหรับคนที่พบเห็นหรือศึกษาเกี่ยวกับการรัฐประหารมาบ้างว่า “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (คปค.) ในวันที่ 19 กันยายน 2549 นั้นถือเป็นฝันร้ายยาวนานสำหรับสังคมการเมืองไทย และเชื่อว่าจะตามหลอกตามหลอนประวัติศาสตร์ของประชาธิปไตยไปตลอดคณะทหารที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเรียกตัวเองเสียใหม่แต่ก็ยังฟังดูคุ้น ๆ อยู่ดีว่า “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” (คมช.) บัดนี้คำว่า “ความมั่นคง” ปรากฏขึ้นอย่างเป็นทางการแล้วในรูปของชื่อเรียกและนับจากนี้เป็นต้นไป วาทกรรม “ความมั่นคง”…
เมธัส บัวชุม
หนังสือที่มีชื่อโดนใจใครหลาย ๆ คนเรื่องนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางทั้งจากคนที่เห็นด้วยและคนที่รับไม่ได้แน่นอนว่าพรรคพลังประชาชนจะต้องถูกอกถูกใจที่มีคนมาช่วย "ด่า" รัฐธรรมนูญปี 2550เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่หัวหน้าพรรคฝีปากกล้าของพลังประชาชนเคยลั่นมาแล้วก่อนหน้านี้ว่า "รัฐธรรมนูญเฮงซวย"นักวิชาการน้อยใหญ่หลายคนเห็นตรงกันโดยไม่จำเป็นต้องทำโพลล์ว่ารัฐธรรมนูญปี 50 นั้นเฮงซวยจริง ๆ ทั้งนี้เพราะมันไม่ตอบโจทย์ที่กำลังเป็นปัญหาของสังคม ไม่ตอบคำถามของคนชั้นกลางที่อยากมีชีวิตมั่นคงภายใต้กระแสของโลกาภิวัฒน์ ทั้งยังไม่ช่วยให้คนระดับล่างมองเห็นอนาคตที่ดีขึ้นในวันข้างหน้าแต่รัฐธรรมนูญเฮงซวยฉบับปี 2550…